ข้ามไปเนื้อหา

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
เสริมศักดิ์ ใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 129 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ถัดไปสรวงศ์ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ.2567
(0 ปี 239 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าอิทธิพล คุณปลื้ม
ถัดไปสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 207 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าศักดา คงเพชร
ถัดไปกฤษณพงศ์ กีรติกร
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสรอรรถ กลิ่นประทุม
สมบัติ อุทัยสาง
ประชา มาลีนนท์
ประมวล รุจนเสรี
สุธรรม แสงประทุม
ถัดไปบัญญัติ จันทน์เสนะ
ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
(2 ปี 159 วัน)
ก่อนหน้ายงยุทธ วิชัยดิษฐ
ถัดไปสุจริต ปัจฉิมนันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2548–2549)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
เพื่อไทย (2555–2561), (2562–ปัจจุบัน)
คู่สมรสระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
ลายมือชื่อ

เสริมศักดิ์​ พงษ์พานิช (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย [1] อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อดีตรองประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และอดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ [2]

ประวัติ

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรของนายจำรัส กับนางพริ้ง พงษ์พานิช มีพี่น้อง 9 คน หนึ่งในนั้นคือ มนตรี พงษ์พานิช[3] อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมรสกับ นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช (อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดขอนแก่น)[4] มีบุตร 3 คน หญิง 2 คน ชาย 1 คน ซึ่งบุตรชายคือ ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคเพื่อไทย และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ

การศึกษา

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่

ในระหว่างรับราชการ ได้เข้ารับการศึกษา อบรมหลักสูตรต่างๆ ได้แก่

  • หลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ รุ่นที่ 18
  • หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 20
  • หลักสูตรฝ่ายอำนวยการอาสารักษาดินแดน ชุดที่ 5
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับ 9 ของกระทรวงมหาดไทย
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับ 10 ของกระทรวงมหาดไทย
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39

การรับราชการ

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เริ่มรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และเป็นปลัดอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง (ไปแก้ไขปัญหากรณีนายอำเภอคนก่อนเสียชีวิตจากการวางระเบิด ของ ผกค.) นายอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นายอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี นายอำเภอเมืองราชบุรี และผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดปทุมธานี และตำแหน่งอธิการวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จากนั้นได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อธิบดีกรมโยธาธิการ และตำแหน่งสุดท้าย คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

งานการเมือง

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2548)[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6] และ เสริมศักดิ์ ได้เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[8] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[9] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) และในปี พ.ศ. 2566 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในคณะรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็นรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในคณะดังกล่าว[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ยศกองอาสารักษาดินแดน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2018-10-03.
  2. ข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช[ลิงก์เสีย]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  6. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  7. "เสริมศักดิ์เข้าร่วมชุมนุม นปช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  8. บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว[ลิงก์เสีย]
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  10. "เปิดประวัติ 10 รัฐมนตรีว่าการ 'กระทรวงเศรษฐกิจ' ใน 'ครม.เศรษฐา1'". bangkokbiznews. 2023-09-02.
  11. รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีบรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๗๒, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ถัดไป
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(ครม. 63)

(28 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567)
สรวงศ์ เทียนทอง
อิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567)
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ศักดา คงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(ครม. 60)

(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
กฤษณพงศ์ กีรติกร
สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
สรอรรถ กลิ่นประทุม
สมบัติ อุทัยสาง
ประชา มาลีนนท์
ประมวล รุจนเสรี
สุธรรม แสงประทุม

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ครม. 55)

(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
บัญญัติ จันทน์เสนะ
ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุจริต ปัจฉิมนันท์