สมบัติ อุทัยสาง
สมบัติ อุทัยสาง | |
---|---|
ไฟล์:สมบัติ อุทัยสาง.jpg | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ วัฒนา อัศวเหม ประภัตร โพธสุธน พินิจ จารุสมบัติ สนธยา คุณปลื้ม |
ถัดไป | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช สมชาย สุนทรวัฒน์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | จรัส พั้วช่วย ไสว พัฒโน ทวี ไกรคุปต์ สมศักดิ์ เทพสุทิน เอนก ทับสุวรรณ พินิจ จารุสมบัติ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เดช บุญ-หลง |
ถัดไป | ดิเรก เจริญผล อร่าม โล่ห์วีระ สมศักดิ์ เทพสุทิน พินิจ จารุสมบัติ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | สุจิวรรณ อุทัยสาง |
สมบัติ อุทัยสาง ประธานกรรมการ บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และอดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม
ประวัติ
[แก้]สมบัติ อุทัยสาง เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายบุญส่ง กับนางสี อุทัยสาง สมรสกับสุจิวรรณ มีบุตรธิดา 3 คน
การศึกษา
[แก้]สมบัติ อุทัยสาง เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดไทร และชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อจากนั้นจึงได้เข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 13 แต่ลาออกในเวลาต่อมา เพื่อเข้าศึกษาต่อที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมบัติ อุทัยสาง สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเคยได้รับทุนไปศึกษษด้านการขนส่งและคมนาคม ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี
การทำงาน
[แก้]สมบัติ อุทัยสาง เริ่มรับราชการครูที่โรงเรียนสุวรรณรามวิทยาคม เมื่อปี พ.ศ. 2502 ต่อมาจึงได้โอนย้ายมารับราชการในสังกัดกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ในระหว่างปี พ.ศ. 2531-2535 และเป็นอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กระทั่งได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[1]
สมบัติ อุทัยสาง ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จำคุก 2 ปี ปรับเงิน 4,000 บาท เนื่องจากการแจ้งบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี[2][3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๔/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- ↑ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบเล่ม 126 ตอน 90ก วันที่ 27 พฤศจิกายน 2552
- ↑ "สมบัติ อุทัยสาง เว้นวรรคการเมือง5ปีแจ้งทรัพย์สินเท็จ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2011-02-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๘, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ครูชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- นักวิทยุสมัครเล่นชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า