สุชาติ ตันเจริญ
สุชาติ ตันเจริญ | |
---|---|
สุชาติ ใน พ.ศ. 2566 | |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 296 วัน) | |
ก่อนหน้า | เจริญ จรรย์โกมล |
ถัดไป | ปดิพัทธ์ สันติภาดา |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ลลิตา ฤกษ์สำราญ | |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล |
ถัดไป | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 181 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ประชาธิปัตย์ (2529–2531) ชาติไทย (2531–2535), 2538–2539) สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535–2538) ไท (2539–2543) ความหวังใหม่ (2543–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) เพื่อแผ่นดิน (2550–2553) ภูมิใจไทย (2553–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) |
บุตร | คชาภา ตันเจริญ ศักดิ์ชาย ตันเจริญ |
สุชาติ ตันเจริญ (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่หนึ่ง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา 9 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคไทยรักไทย อีกทั้งยังเป็นอดีต ส.ส.ในกลุ่ม 16[1]
ประวัติ
[แก้]สุชาติ ตันเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก San Jose State University สหรัฐ และระดับปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจาก Notre Dame de Namur University ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายสุชาติ ตันเจริญ เป็นบุตรชายของนายวิเชียร และนางสุภา ตันเจริญ อีกทั้งเป็นน้องชายของนายพิเชษฐ์ ตันเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และมีศักดิ์เป็นอาของนายณัชพล ตันเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เขามีบุตรชาย 2 คน คือ นายคชาภา ตันเจริญ (มดดำ)[2] ดารานักแสดง ดีเจ และ พิธีกรชื่อดัง และนายศักดิ์ชาย ตันเจริญ (มดเล็ก) อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 3 สังกัดพรรคเพื่อไทย[3]
การทำงาน
[แก้]นายสุชาติ ตันเจริญ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา 9 สมัย เคยสังกัดพรรคการเมืองหลายพรรค ทั้ง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคสามัคคีธรรม พรรคไท พรรคชาติไทย พรรคไทยรักไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2535[4] และ พ.ศ. 2538 เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2548
นายสุชาติ ตันเจริญ เคยลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคไท ในปี พ.ศ. 2539 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เพียงคนเดียวของพรรค[5] นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคการเมืองถึง 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และพรรคไทยรักไทย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6] จึงได้นำสมาชิกในกลุ่มบ้านริมน้ำ ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และในปี พ.ศ. 2553 ได้ย้ายไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย[7]
จากนั้นในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายสุชาติได้นำสมาชิกในกลุ่มบ้านริมน้ำของตนเองกว่า 40 คนมาสมัครสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ
นายสุชาติ ได้รับฉายาว่า "ตี๋กร่าง" จากการทำหน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในแบบที่ไม่ยอมใครง่าย ๆ [8]
ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือกสุชาติให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 1 เป็นสมัยที่ 2 โดยเฉือนเอาชนะนางสาวเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ไปเพียง 2 เสียงด้วยคะแนนเสียง 248-246 เสียง[9] ในการปฏิบัติหน้าที่เขาได้แสดงบทบาทตำหนิพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร[10] ในที่สุดเขาจึงย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ในปี 2566
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]- พ.ศ. 2539 ว่าที่นายกองเอก สุชาติ ตันเจริญ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก สุชาติ ตันเจริญ [11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
- ↑ พ่อมดดำ โผล่เซอร์ไพรส์ลูกชาย เปิดปมคาใจไม่ให้ใช้นามสกุล เผยความแสบหนีซบโอ๊ค
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-29. สืบค้นเมื่อ 2023-06-27.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พรรคไท (พ.ศ. 2539)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี18เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8คนซบภท.3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
- ↑ แต้มต่อยี่ห้อ "ตีกร่าง" สมทบเพื่อแผ่นดิน..![ลิงก์เสีย] จากโอเคเนชั่น
- ↑ ระทึก"พ่อมดดำ" สุชาติ ตันเจริญ ซิวรองประธานสภา คนที่ 1 แบบเฉียดฉิว
- ↑ กลับคอกเก่า 'พ่อมดดำ' โชว์ฝีปากด่าประยุทธ์ เป็นนายกฯประสาอะไรปล่อยสภาล่ม การเมืองยุคเลวร้ายที่สุด
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบ้านโพธิ์
- สกุลตันเจริญ
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไท (พ.ศ. 2539)
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- ชาวไทยเชื้อสายจีน