ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ยุทธศักดิ์ ศศิประภา | |
---|---|
พล.อ. ยุทธศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2556 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ถัดไป | สุกำพล สุวรรณทัต |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วัฒนชัย วุฒิศิริ |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ถัดไป | อุดมเดช สีตบุตร |
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 | |
ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2558 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2480 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2550) เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | คุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา |
บุตร | 4 คน |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2504–2540 |
ยศ | พลเอก[1] พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] |
บังคับบัญชา | สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม |
ผ่านศึก | |
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2480) ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตที่ปรึกษายิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลทักษิณ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[4] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม โดยสื่อมวลชนมักเรียกว่า "บิ๊กอ็อด"
ประวัติ
[แก้]ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ พล.ท. อรรถ และนางจำรูญ ศศิประภา เป็นพี่ชายของพล.อ. อัครเดช ศศิประภา อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานกรรมการบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว) ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับคุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา ธิดาของจอมพล ประภาส จารุเสถียร กับท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร มีบุตรธิดา 4 คน คือ
- พ.ต. ดร.ปรภฎ ศศิประภา
- นางสาวอภิษฎา ศศิประภา
- นางสาววลัยพรรณ ศศิประภา
- นางสาวจันทิมา ศศิประภา
การศึกษา
[แก้]ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 8 (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ. กิตติ รัตนฉายา) ในปี พ.ศ. 2504 เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 48 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 33 นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมหลักสูตรพลร่ม และจู่โจม จากศูนย์การทหารราบ กองทัพบก สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รับราชการในสังกัดกองทัพบก จนกระทั่งได้รับยศชั้น "พลตรี" ในปี พ.ศ. 2528 ในตำแหน่งเสนาธิการกรมการรักษาดินแดน ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้เลื่อนชั้นยศเป็น "พลโท" ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว และได้รับพระราชทานยศ "พลเอก" ในปี พ.ศ. 2536[5] เป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม และได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม[6] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานยศ "พลเรือเอก พลอากาศเอก"[7] จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2541
การเมือง
[แก้]พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้าสู่งานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 23[8] และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อเปิดทางให้ผู้สมัครในลำดับถัดได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[9] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 พล.อ. ยุทธศักดิ์เป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 4[10] แต่ในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2555 ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[11] ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ก่อนการชุมนุมของกปปส. และแนวร่วมไม่นาน ได้ปรากฏคลิปเสียงที่เชื่อว่าเป็นเสียงสนทนากันระหว่างพล.อ. ยุทธศักดิ์ กับดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ต่างประเทศ โดยเนื้อหาที่ปรากฏเป็นเรื่องการสนทนากันเกี่ยวกับนายทหารระดับผู้บัญชาการกองทัพ โดยเฉพาะผู้บัญชาการทหารบก และตอนหนึ่งได้มีการกล่าวถึงถั่งเช่า ซึ่งเป็นสมุนไพรนจีนสำหรับบำรุงสมรรถนะทางเพศ จึงทำให้พล.อ. ยุทธศักดิ์ได้รับฉายาว่า "นายพลถั่งเช่า"[12]
ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[13]
การกีฬา
[แก้]พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2545[14] และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[15] และเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[18]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[19]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[20]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[21]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[22]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[23]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[24]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[26]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2546 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เวียดนามใต้ :[27]
- พ.ศ. 2515 – แกลแลนทรี่ครอส ประดับดาวบรอนซ์
- พ.ศ. 2515 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2515 – เหรียญเจ้าที่ราชการ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2515 – เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2515 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- พ.ศ. 2515 – เหรียญวัฒนธรรม และการศึกษา ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2515 – เหรียญบริการสาธารณสุข ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2515 – เหรียญสวัสดิภาพสังคม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2515 – เหรียญบริการโยธาธิการ สื่อสาร และการขนส่ง ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2515 – เหรียญแรงงานอันทรงเกียรติ ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพัฒนาชนบท ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2515 – เหรียญเกียรติคุณตำรวจ ชั้นที่ 2
- พ.ศ. 2515 – เหรียญกีฬาเยาวชน ชั้นที่ 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ได้รับพระราชทานยศพลเอก
- ↑ ได้รับพระราชทานยศพลอากาศเอก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
- ↑ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว
- ↑ รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม
- ↑ ได้รับพระราชทานยศ "พลเรือเอก พลอากาศเอก"
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ "ฟังชัดๆ อีกครั้ง คลิปลับแฉสัมพันธ์ "ทักษิณ-แก๊งนายพลถั่งเช่า" เปลือยการเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
- ↑ "ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
- ↑ "พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-09-25.
- ↑ ราชกิจจ่นุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ จำนวน ๒,๖๘๓ ราย, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๓๒๓, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๐๒๕, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๘๖, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๔๖๐, ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ 27.0 27.1 วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 268 (หน้าที่ 78-79)
ก่อนหน้า | ยุทธศักดิ์ ศศิประภา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง (18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555) |
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | ||
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.60) (9 สิงหาคมพ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นายพลชาวไทย
- พลเรือเอกชาวไทย
- พลอากาศเอกชาวไทย
- พลอากาศโทชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ปลัดกระทรวงกลาโหมไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.5
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย