ข้ามไปเนื้อหา

อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
อนุดิษฐ์ ใน พ.ศ. 2556
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าจุติ ไกรฤกษ์
ถัดไปพรชัย รุจิประภา
รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพีรพันธุ์ พาลุสุข
(รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
(รัฐมนตรีว่าการ)
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 26 กันยายน พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าภูมิธรรม เวชยชัย
ถัดไปประเสริฐ จันทรรวงทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 เมษายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2548–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2566)
ไทยสร้างไทย (2566–ปัจจุบัน)[1]
คู่สมรสอรวรรณ นาครทรรพ
ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายเรืออากาศ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ชื่อเล่นป๊อป
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพอากาศ
ประจำการพ.ศ. 2535–2548
ยศ นาวาอากาศเอก
สัญญาณเรียกขานเดวิล (Devil)

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ชื่อเล่น ป๊อบ เป็นนักการเมืองและอดีตทหารอากาศชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีต เลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตสายไหม 3 สมัย เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23 จากนั้นเข้ามาสู่รั้วกองทัพอากาศ เป็นนักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 30 และเมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนการบิน ถูกส่งไปประจำการเป็นนักบินขับไล่ของกองทัพอากาศหลายฝูงบิน ทำการบินกับเครื่องบินรบหลาบแบบ จนกระทั่งได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับฝูงบินคนแรกของฝูงบินขับไล่สกัดกั้นสมรรถนะสูงแบบ F-16 ADF (ฝูงบินที่ 102)

ต่อมาได้ลาออกจากราชการและเบนเข็มมาทำงานด้านการเมือง สังกัดพรรคไทยรักไทย โดยทำหน้าที่เป็น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี พ.ศ. 2548 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตสายไหม 3 สมัย (พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562) และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2]

ประวัติ

[แก้]

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ หรือ "ผู้การป๊อบ" เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2508 (ป๊อป) เป็นบุตรชายคนที่ 2 จากบุตรชายทั้งหมด 6 คน ของ นาวาอากาศตรี ฐิติ นาครทรรพ (อดีตเลขาธิการพรรคสามัคคีธรรม) และ นางสุมาลี นาครทรรพ (นามสกุลเดิม: นานา เป็นน้องสาวของนายเล็ก นานา) สมรสกับนางอรวรรณ นาครทรรพ มีบุตร-ธิดาทั้งหมด 6 คน

น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 7, ระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23, ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอากาศยาน) จากโรงเรียนนายเรืออากาศ และได้รับปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรสำหรับนักบริหาร รุ่นที่ 12 จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม นอกจากนี้ ยังสำเร็จการศึกษา ในหลักสูตรทางการทหารคือ โรงเรียนการบิน รุ่นที่ 82-30-2, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 76, หลักสูตรการฝึกบินทางอากาศยุทธวิธี รุ่นที่ 5, หลักสูตรนายทหารยุทธการระดับฝูงบิน รุ่นที่ 39, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 40 และหลักสูตรการสงครามทางอากาศ รุ่นที่ 4

และในขณะที่ยังรับราชการอยู่ในกองทัพอากาศ น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ยังได้รับการเชิดชูให้ได้รับรางวัลเกียรติยศต่าง ๆ ในหลายโอกาส ดังนี้

  1. โล่เชิดชูเกียรติ ศิษย์การบินดีเด่น และ อันดับที่ 1 ภาควิชาการ ของโรงเรียนการบินกองทัพอากาศ
  2. โล่เชิดชูเกียรติ การศึกษาดีเด่นอันดับ 1 “เชิดวุฒากาศ” ในรุ่นที่ 40 ของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
  3. เกียรติบัตรผู้บำเพ็ญประโยชน์ดีเด่น และ เกียรติบัตรการศึกษาดีเยี่ยม ในรุ่นที่ 76 ของโรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง
  4. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สาขาบริหารราชการและการปกครอง “อุบล เรียงสุวรรณ” ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2548

นอกจากนี้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ยังได้รับเลือกให้มีตำแหน่งทางสังคม อันได้แก่ การได้รับเลือกให้เป็นอุปนายกสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2545-2547 และการได้รับเลือกให้เป็นประธานมูลนิธิรวมน้ำใจคลองเตย ในปี พ.ศ. 2548 อีกด้วย

ประวัติด้านการศึกษา

[แก้]
  • ระดับมัธยมศึกษา
    1. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รุ่นที่ 7
    2. โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23
  • ระดับอุดมศึกษา
    1. โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 30 สาขาวิชาวิศวกรรมอากาศยาน
  • หลักสูตรทางการทหาร
    1. โรงเรียนการบิน รุ่นที่ 82-30-2
    2. โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง ร่นที่76
    3. หลักสูตรการฝึกบินทางอากาศยุทธวิธี รุ่นที่ 5
    4. หลักสูตรนายทหารยุทธการระดับฝูงบิน รุ่นที่ 39
    5. โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 40
    6. หลักสูตรการสงครามทางอากาศรุ่นที่ 4
  • ระดับปริญญาโท
    1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม รุ่นที่ 12
  • หลักสูตรพิเศษ
    1. หลักสูตรผู้บริหารการเมืองการปกครอง สถานบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 12
    2. หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 14
    3. หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 18
    4. หลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 3
    5. หลักสูตร ABC (Academy of Business Creativity) หรือ สถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ รุ่นที่ 7 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    6. หลักสูตรเดอะสตอรี่ รุ่นที่1 (The Story-The Ultimated Leadership tool) มหาวิทยาลัยศรีปทุม

การทำงาน

[แก้]

การรับราชการในกองทัพอากาศ

[แก้]

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยได้รับมอบหมาย บรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งหน้าที่ตามลำดับคือ เป็นนักบินในหน่วยบินไอพ่นขับไล่โจมตี สังกัดหน่วยบิน 1032 เมื่อปี พ.ศ. 2535, เป็นผู้บังคับหน่วยบินไอพ่นขับไล่โจมตี สังกัดหน่วยบิน 1031 เมื่อปี พ.ศ. 2539, เป็นหัวหน้าแผนกควบคุมการยุทธทางอากาศ เมื่อปี พ.ศ. 2541, เข้าร่วมเป็นฝ่ายเสนาธิการ ในกองฝึกผสมคอบร้าโกลด์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 และ เป็นผู้บังคับฝูงบินขับไล่สกัดกั้นที่ 102 คนแรก ซึ่งเป็นฝูงบินที่ใช้เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง แบบ เอฟ-16 เอดีเอฟ เมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยมีสัญญาณเรียกขานทางหทารว่า เดวิล (Devil)[3]

นอกจากนี้ น.อ.อนุดิษฐ์ ยังมีโอกาสไปปฏิบัติภารกิจสำคัญในต่างประเทศคือ ไปปฏิบัติราชการตามโครงการปรับปรุงเครื่องแสดงผลการยุทธทางอากาศ (เอซีเอ็มไอ) ที่รัฐอิสราเอล, เป็นผู้บรรยายพิเศษ แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางอากาศแห่งชาติ ที่รัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา, เป็นผู้บังคับฝูงบินผสม ในการฝึก "สปิน อัพ" ที่รัฐแอริโซนา และผู้บังคับฝูงบินผสม ในการฝึก "เรดแฟลก 03" ที่รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองครั้ง เป็นการฝึกด้วยเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ-16 นอกประเทศครั้งแรกของกองทัพอากาศไทย

งานการเมือง

[แก้]

น.อ.อนุดิษฐ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ได้แก่ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2548 -2549, อนุกรรมาธิการ พิจารณาและติดตาม งบประมาณของเหล่าทัพ และประสิทธิภาพของกองทัพไทย ในคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตสายไหม พ.ศ. 2550, 2554 และ 2562

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2]

จนกระทั่งวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[4]

ในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566 น.อ.อนุดิษฐ์ ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. พร้อมกับนายสุพล จุลใส[5] และย้ายไปสังกัดพรรคไทยสร้างไทย[6] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานปราบโกงของพรรค[7][8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ไปอีก! ‘อนุดิษฐ์’ นัด27ม.ค.แถลงทิ้ง ‘เพื่อไทย’ คาดซบพรรคหญิงหน่อย...
  2. 2.0 2.1 พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  3. "เจาะขุมกำลัง 'เพื่อนปุ่น-ป็อป' ผงาดคุม 'กองทัพ'". Spacebar.
  4. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  5. “ชวน” แจ้งสภา ส.ส.ลาออกอีก 5 -ให้ถอดแมสก์ประชุมได้
  6. "'อนุดิษฐ์' แจงเหตุ ไขก๊อกจาก 'เพื่อไทย' ลั่น จุดยืนไม่เปลี่ยน ไม่ก้มหัวเผด็จการ". 2023-01-27.
  7. ""สุดารัตน์" สวมเสื้อ "ไทยสร้างไทย" รับ "อนุดิษฐ์" เข้าพรรค นั่ง ผอ.ปราบโกง". www.thairath.co.th. 2023-01-31.
  8. pum (2023-01-31). "ไทยสร้างไทย เปิดตัว อนุดิษฐ์ นั่ง ผอ.สำนักงานปราบโกง". ประชาชาติธุรกิจ.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๖๒, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ถัดไป
จุติ ไกรฤกษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
พรชัย รุจิประภา
พีรพันธุ์ พาลุสุข
(รัฐมนตรี)

รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(30 เมษายน – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
(รัฐมนตรี)