จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[1] นักการปกครอง และนักเขียน
ประวัติ
[แก้]จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2462 ในตระกูลของเทพหัสดิน ได้รับการศึกษาเบื้องต้นเข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในปี พ.ศ. 2471 มีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ. 3640 นับเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ (DSA รุ่น 2478) และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และเข้ารับการศึกษาในชั้นปริญญาตรีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อักษรศาสตร์บัณฑิต และเข้าศึกษาขั้นปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา และมีการศึกษาโหราศาสตร์สากลเพิ่มเติม จนจบได้ประกาศนียบัตรชั้นสูงโหราศาสตร์ยูเรเนียนระบบฮัมบวร์ค
การทำงาน
[แก้]นายจำนง เริ่มต้นอาชีพเป็นครูโดยเริ่มรับราชการในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นได้โอนย้ายไปเป็นปลัดอำเภอ ในปี พ.ศ. 2487 ในช่วงที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา และเติบโตในหน้าที่การงานเป็นนายอำเภอ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดลำพูน ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2510) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (15 ตุลาคม 2510 - 30 กันยายน พ.ศ. 2514) จังหวัดราชบุรี (1 ตุลาคม 2514 - 30 กันยายน 2518) ฯลฯ จนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งสุดท้ายเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 ในสมัยรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 - 21 ธันวาคม 2521
งานเขียน
[แก้]นายจำนง มีผลงานในด้านการเป็นนักเขียนที่เกี่ยวข้องกับแวดวงของนักการปกครอง อาทิ สามสิบสองปีชีวิตนักปกครอง เป็นหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำกว่า 10 ครั้ง หนังสืออีกหลายเล่ม ได้แก่ อำนาจอยู่หนใด , อยากมีความสุข ,คนเราควรฝัน ,มหัศจรรย์ชีวิตลิขิตเองได้--หนังสือธรรมะดีๆเล่มหนึ่ง ทั้งรักทั้งกลัว และยังเป็นนักเขียนบทความในกับนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[5]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๕๔, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ทะเบียนประวัติของนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ หนังสือ 108 ปีโรงเรียนเทพศิรินทร์
- เครือญาติสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา , พิมพ์ครั้งที่ 6, 2545.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2557
- ครูชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
- ราชสกุลเทพหัสดิน
- ณ อยุธยา
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน