ประชุม รัตนเพียร
ประชุม รัตนเพียร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
ก่อนหน้า | นิพนธ์ ศศิธร |
ถัดไป | พลตรี ศิริ สิริโยธิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
ก่อนหน้า | คล้าย ละอองมณี |
ถัดไป | สวัสดิ์ คำประกอบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 |
เสียชีวิต | 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 (87 ปี) โรงพยาบาลพญาไท 2 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | วิจิตรา รัตนเพียร |
บุตร | ประวิช รัตนเพียร ประเวช รัตนเพียร วาชิต รัตนเพียร วิชุดา รัตนเพียร |
บุพการี |
|
ประชุม รัตนเพียร (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2556) เป็นบุตรชายของนายอิ่ม และนางแวว รัตนเพียร โดยที่บิดานั้นเป็นกำนัน นายประชุมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด (ส.ส.ตราด) ถึง 4 สมัย คือ ในปี พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย, ในปี พ.ศ. 2518 และพ.ศ. 2519 สังกัดพรรคธรรมสังคม และในปี พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคประชากรไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี (ส.ส.นนทบุรี) 2 สมัย คือ ในปี พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชากรไทยทั้ง 2 ครั้ง
ประวัติ
[แก้]นายประชุม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[1] ในสมัยรัฐบาลที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2518 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[2] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[3] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ และสมัยที่มี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2526[4] และยังเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2519 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นอกจากนี้แล้วในแวดวงการศึกษาและการกีฬา ยังถือว่าเป็นปูชนียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง จนได้ชื่อเรียกขานว่า ครูชุม จากนายกำพล วัชรพล สื่อมวลชนผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ซึ่งเป็นโรงเรียนพาณิชยการเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2505 และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต หรืออาร์แบ็ค และในแวดวงกีฬาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ อาทิ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย, นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ด้านครอบครัว สมรสกับนางวิจิตรา รัตนเพียร โดยมีบุตรธิดารวม 4 คน ได้แก่ ดร.ประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี, ดร.ประเวช รัตนเพียร อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย, ดร.วาชิต รัตนเพียร ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์ และ ดร.วิชุดา รัตนเพียร สมาชิกวุฒิสภา
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]นายประชุม ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 87 ปี เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 ที่โรงพยาบาลพญาไท 2[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ อดีตรมต. “ประชุม รัตนเพียร” ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา จากข่าวสด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๙ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๙๕, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐
ก่อนหน้า | ประชุม รัตนเพียร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อนุ รมยานนท์ | นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2518- 2519) |
พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2469
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- นักการศึกษาชาวไทย
- บุคคลในวงการพลศึกษา
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคประชากรไทย
- พรรคสามัคคีธรรม
- คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.