โรงพยาบาลขอนแก่น
โรงพยาบาลขอนแก่น | |
---|---|
Khon Kaen Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลศูนย์ |
ที่ตั้ง | 54,56 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร.043-009-900 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | 1 มกราคม พ.ศ. 2494 |
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข |
ความร่วมมือ | โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ผู้อำนวยการ | นายแพทย์สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ |
จำนวนเตียง | 1,238[1] |
เว็บไซต์ | https://www.kkh.go.th/ |
โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประเภทโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A ประเภทสถานพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (advance tertiary care)
ประวัติ
[แก้]ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2490 มีเนื้อที่ 49 ไร่ 2 งาน เปิดให้บริการเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494 มีหอผู้ป่วยรวมรับผู้ป่วย 25 เตียง มีแพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน เภสัชกร 1 คน มีอาคารผู้ป่วยนอก โรงซักฟอก
- พ.ศ. 2502 มีการสร้างอาคารสูติกรรม อาคารห้องตรวจฉุกเฉิน อาคารผู้ป่วยเด็ก และอาคารห้องพิเศษ มียูนิตทำฟัน 1 ตัว ห้องผ่าตัด 2 ห้อง
- พ.ศ. 2506 เพิ่มอาคารผ่าตัดและหอผู้ป่วยศัลยกรรม ต่อมารับผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วยยาเสพติดได้สร้างอาคารอุบัติเหตุและอาคารสงฆ์อาพาธ และได้แยกแผนกอย่างชัดเจน
- พ.ศ. 2509 ริเริ่มการใช้สารรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก ซึ่งเป็นมาตรฐานในการรักษาโรคไข้เลือดออก
- พ.ศ. 2510 มีการออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการผู้ป่วยในเขตทุรกันดาร ร่วมกับทหารและตำรวจ
- พ.ศ. 2518 ได้ริเริ่มเป็นสถานฝึกงาน ฝึกอบรมและฝึกสอน เน้นด้านวิชาการมากขึ้น แยกแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อออกจากแผนกศัลยกรรม
- พ.ศ. 2519 แยกแผนกจักษุและโสต ศอ นาสิก ระบาดวิทยา สุขศึกษา รักษาพยาบาลในชุมชน สังคมสงเคราะห์ กายภาพบำบัด กายอุปกรณ์ อาชีวบำบัด ต่อเติมห้องผ่าตัดจาก 4 เตียงเป็น 8 เตียง และมีการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการผ่าตัด ใช้กล้องเลเซอร์ในการรักษาดวงตา และสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่สูง
- พ.ศ. 2524 ปรับระบบการจัดซื้อพัสดุ ครุภัณฑ์ มีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม คือ อาคารพักแพทย์ อาคารผู้ป่วยหู คอ จมูก และสูติกรรม อาคารน้ำเกลือ อาคารผู้ป่วย 150 เตียง และอาคารพยาธิวิทยา
- พ.ศ. 2530 สร้างอาคารผู้ป่วยเพิ่มเติม 120 เตียง มีระบบพัฒนาบริการสาธารณสุข ปรับปรุงระบบประปาในโรงพยาบาล ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย สร้างตึกโภชนาการใหม่ ปรับระบบการบริการอาหารให้ผู้ป่วย มีการใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เป็นเครื่องแรกในกลุ่มงานรังสีวิทยา ก่อสร้างอาคารสงฆ์อาพาธ
- พ.ศ. 2532-2536 สร้างอาคารเพิ่มเติมหลายอาคาร จำนวนเตียงมากขึ้น เช่น อาคารผ่าตัด ผู้ป่วยหนัก อาคารพักผู้ป่วย 150 เตียง โครงการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมอาคาร ของบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ เน้นความประทับใจให้กับผู้รับบริการ มีโครงการพัฒนาระบบบริการฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ
- พ.ศ. 2537-2540 มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล จัดระบบเครือข่ายข้อมูล ปรับปรุงระบบโทรศัพท์เป็นระบบอัตโนมัติ สร้างอาคารผู้ป่วยนอก อาคารผู้ป่วยใน 150 เตียง อาคารรักษาศพ อาคารผู้ป่วยใน 114 เตียง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและวางรูปแบบพื้นที่ภายในโรงพยาบาล ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค มีการพัฒนาด้านวิชาการจัดตั้งศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา มีการจัดทำโครงการที่รับผิดชอบต่อสังคมหลายโครงการเช่น โครงการป้องกันอุบัติเหตุ โครงการรณรงค์รับประทานผักปลอดพิษ ฯลฯ ส่วนการพัฒนาคุณภาพก็ได้เข้าร่วมโครงการนำร่อง มีการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพหลายกิจกรรมเช่น TQM ESB OD 5ส ตั้งสำนักประกันสุขภาพ มีโครงการพัฒนาโรงพยาบาลมากมายอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนางานในเชิงรุก เน้นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่บ้าน
- พ.ศ. 2540 เริ่มพัฒนาคุณภาพตามกระบวนการ Hospital accreditation และตั้งสำนักนโยบายและแผน
- พ.ศ. 2541 มีการเตรียมตัวที่จะเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ มีการก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุ เพื่อเป็น ศูนย์อุบัติเหตุของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พ.ศ. 2543 มีการพัฒนาโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลทุกด้าน
- พ.ศ. 2544 มีการก่อตั้งหน่วยไตเทียมและแพทย์แผนไทย และเข้าร่วมเป็นเครือข่ายหน่วยบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- พ.ศ. 2545 เดือนมกราคม ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามกระบวนการ Hospital accreditation
- พ.ศ. 2546 ได้รับการรับรองให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และมีการก่อสร้างอาคารสูติกรรม ขยายงานอาชีวเวชกรรม และกลุ่มงานจิตเวช
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ได้ขยายหน่วยงานเพื่อรับรองการบริการของผู้ป่วยที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น คือ อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม เคมีบำบัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
[แก้]ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน 1 หลักสูตร คือ
|
ระยะเวลาในการศึกษา
[แก้]ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
รายนามผู้อำนวยการ
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายแพทย์จำลอง มุ่งการดี | พ.ศ. 2492-2506 |
2 | นายแพทย์ประมุข จันทวิมล | พ.ศ. 2506-2517 |
3 | นายแพทย์สุจิน ผลากรกุล | พ.ศ. 2517-2519 |
4 | นายแพทย์ประสาน ธรรมธาริล | พ.ศ. 2519-2529 |
5 | นายแพทย์ชาตรี สุเมธวานิชย์ | พ.ศ. 2529-2532 |
6 | นายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ | พ.ศ. 2532-2536 |
7 | นายแพทย์สมหมาย ศรีมหาวงษ์ | พ.ศ. 2536-2540 |
8 | นายแพทย์ชัยณรงค์ เชษฐโชติศักดิ์ | พ.ศ. 2540-2544 |
9 | นายแพทย์วิทยา จารุพูนผล | พ.ศ. 2544-2550 |
10 | นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ | พ.ศ. 2550-2557 |
11 | นายแพทย์ธรรมนูญ วิสิฐธนวรรธ | พ.ศ. 2557-2558 |
12 | นายแพทย์ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล | พ.ศ. 2558-2561 |
13 | นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ | พ.ศ. 2561 |
14 | นายแพทย์ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล | พ.ศ. 2561-2563 |
15 | แพทย์หญิงนาตยา มิลส์ | พ.ศ. 2563-2564 |
16 | นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ | พ.ศ. 2564-2567 |
17 | นายแพทย์สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ระบบฐานข้อมูลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา, 5.การสาธารณสุข 22 สิงหาคม 2564.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ระบบรายงานข้อมูลพื้นฐาน กบรส. สป.สธ. เก็บถาวร 2020-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน