ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Khon Kaen University
International College
ชื่อย่อKKUIC
สถาปนาพ.ศ. 2551
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณบดีผศ. สิริมนพร ทิพสิงห์
ที่อยู่
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
สีน้ำเงิน
เว็บไซต์ic.kku.ac.th

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University International College : KKUIC) เป็นส่วนราชการไทยระดับวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกจัดตั้งตามแผนยุทธศาตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นศูนย์การศึกษาระดับนานาชาติชั้นนำในประเทศในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยมุ่งเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัตินักศึกษาไทย จีน เกาหลี ไต้หวันและประเทศอื่น ๆ ในแถบภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จะได้มีโอกาสในการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์วัฒนธรรมที่หลากหลายและแตกต่างกัน รวมทั้งการศึกษาดูงานและฝึกงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มเปิดรับนักศึกษาครั้งแรก เมื่อปี 2551 มีนักศึกษาต่างประเทศในปัจจุบันแถบทวีปยุโรป ได้แก่ ชาวฟินแลนด์ เยอรมัน เดนมาร์ค ทางทวีปอเมริกา ได้แก่ชาวแคนาดา สหรัฐอเมริกา ส่วนนักศึกษาที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เวียตนาม กำพูชา ลาว พม่า จีน นอกจากนี้มีมาจาก บราซิล อเมริกาใต้ แกมเบียร์ ออสเตรเลีย ภูฏาน ญี่ปุ่น ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นแบบนานาชาติ ส่วนอาจารย์ผู้สอน มาจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ นิวซีแลนด์ แคนาดา นอกจากนั้นมีมาจาก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และอาจารย์ชาวไทย

วิสัยทัศน์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีมาตรฐานสากลในด้านการผลิตบัณฑิตหลักสูตรภาษาอังกฤษที่สามารถประยุกต์ความรู้ความสามารถ ทักษะมาใช้ได้อย่างเหมาะสมในวิชาชีพ เป็นประโยชน์แก่สังคม และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศ และภูมิภาคเอเชีย

พันธกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นองค์กรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถในวิชาการ ทักษะชีวิตที่จำเป็น ทัศนคติในการดำเนินชีวิต เรียนรู้ ซาบซึ้ง ความสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม และการสนับสนุนความสัมพันธ์ตางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์ จัดการศึกษาและการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (General Education Courses) ในหลักสูตรนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยร่วมมือทางวิชาการด้านการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ กับหน่วยงานอื่น สถาบันศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

โอกาสในการทำงาน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ จะมีโอกาสในในอนาคตในด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษาต่อ และ ด้านการทำงาน เช่น โอกาสในการปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐ และ เอกชน เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต ฝ่ายต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และ อื่น ๆ หน่วยงานเอกชน เช่น องค์กรเอกชนนานาชาติเพื่อพัฒนาชนบท บริษัทระดับชาติ โอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในมหาวิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

หลักสูตร

[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท หลักสูตรเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาการจัดการการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาการระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาเทคโนโลยีสื่อสร้างสรรค์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวารสารศาสตร์ระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาธุรกิจสากล (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาการตลาดระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาการเป็นผู้ประกอบการระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษ
  • English Preparation for International College (EPIC)
  • English for Specific Academic Purposes 1 (ESAP 1)
  • English for Specific Academic Purposes 2 (ESAP 2)

คณบดี

[แก้]
ทำเนียบคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข พ.ศ. 2551 - 2552 (รักษาการแทน)
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพิน เตชะมณี พ.ศ. 2553 - 2556
3. ศาสตราจารย์ ดร.ละออศรี เสนาะเมือง พ.ศ. 2557 - 2564
4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริมนพร ทิพสิงห์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อ้างอิง

[แก้]