คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Medicine, Khon Kaen University | |
ชื่อย่อ | พ. / MED |
---|---|
สถาปนา | 9 กันยายน พ.ศ. 2515[1] |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
คณบดี | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภัทรพงษ์ มกรเวส |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารศรีนครินทร์เวชสาร |
สี | สีเขียวใบไม้ |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลศรีนครินทร์ |
เว็บไซต์ | www.md.kku.ac.th |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Medicine, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโรงเรียนแพทย์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 5 ของประเทศไทย เป็นโรงแพทย์แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภาและเป็นแห่งที่ 6 ของประเทศ[2]ถัดจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, คณะแพทยศาสตร์ มช., คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์ มอ. มีสถานที่ปฏิบัติการคือโรงพยาบาลศรีนครินทร์
ประวัติ
[แก้]คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มการพิจารณาจัดตั้งขึ้นเมื่อในปี พ.ศ. 2511 ศาสตราจารย์ พิมล กลกิจ ได้นำเสนอโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รับหลักการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณารายละเอียด วิธีการดำเนินงาน และได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลอิสราเอล ส่งผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ รวม 5 คน มาจัดการทำ Master plan ของศูนย์แพทยศาสตร์
สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับหลักการ และแต่งตั้งกรรมการพิจารณารายละเอียดการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และรับหลักการโครงร่างการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามที่เสนอกับให้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป ซึ่งกรณีสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้เสนอไปแล้วจนได้บรรจุเข้าใน "แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 3" (พ.ศ. 2515 - 2519) [3]
คณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาแห่งชาติ อนุมัติการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2515 และประกาศจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์อย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2515 โดยมีนายแพทย์ กวี ทังสุบุตร รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และเป็นผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์[4]
คณะแพทยศาสตร์ เริ่มรับนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2517 โดยคัดจากคณะวิทยาศาสตร์ - อักษรศาสตร์ จำนวน 16 คน เพื่อมาเรียนปีที่สองในคณะแพทยศาสตร์ และเปิดรับสมัครรุ่นที่ 2 เป็นจำนวน 44 คน ในปี พ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบในการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ ในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโรงพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเริ่มเปิดบริการผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ อาคารชั่วคราวบริเวณสีฐาน โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นภดล ทองโสภิต ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก[5]
การก่อสร้างโรงพยาบาล
[แก้]โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มก่อสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2518 โดยบริษัท Llewelyn-Davies Weeks Forester-Walkers and Bor. แห่งประเทศอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบ และบริษัท Kingston Reynolds Thom & Allardice Limited (KRTA) แห่งประเทศนิวซีแลนด์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง และเป็นที่ปรึกษาการวางแผนผังออกแบบสร้างคลังเลือดกลาง เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารโรงพยาบาล ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ชื่อว่าโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (SRINAGARIND HOSPITAL) โรงพยาบาลแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2521 และเริ่มเปิดบริการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในปัจจุบัน[6]
งานวางศิลาฤกษ์
[แก้]เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จเจิมและทรงพระสุหร่าย พระพุทธชินราชจำลอง ณ พระวิหาร โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์โดยเสด็จด้วย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ได้เสด็จมาเบิกพระเนตร และทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในพระพุทธ ชินราชจำลอง และได้พระราชทานนามว่า "พระพุทธกวี กิตติวรรณ ทังสุบุตร นิมิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น" สถิตย์มังคลากรมุมินทร์ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2523[7]
การเปิดโรงพยาบาล
[แก้]สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเททองหล่อพระรูปสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระศรีนครินทรา ณ บริเวณวัดเบญจมบพิตร โดยใช้เงินที่นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาใน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้ร่วมกันออกรับบริจาคจากประชาชน โดยการออกขายธงวันมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ได้รวบรวมเงินได้ประมาณ 300,000 บาท เศษ และได้อัญเชิญพระรูปจำลองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขึ้นพระดิษฐานบนแท่นหน้าโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2526[8]
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ และได้ทรงแนะนำให้ก่อสร้างอาคารสูงขึ้นกว่าเดิม โดยนายประมวล สภาวสุ ได้สนองต่อพระราชกระแสได้แก้ไขแบบก่อสร้าง อาคารจาก 2 ชั้น เป็น 4 ชั้น และคณะแพทยศาสตร์ ได้ขอพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า "อาคาร 89 พรรษาสมเด็จย่า" และในอาคารหลังนี้ ทางคณะได้แบ่งหอผู้ป่วย จำนวน 1 หอ เป็นหอผู้ ป่วยสำหรับสงฆ์อาพาธโดยเฉพาะ โดยการประสานงานกับพระอาจารย์ทูล ขิปปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบรรดาศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมกันจัดหากองทุนถวายแก่หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี ซึ่งได้บริจาคเงิน 9 ล้านบาท เป็นงบประมาณซื้อครุภัณฑ์ ส่วนเงินที่เหลือให้จัดเป็นกองทุนดำเนินการหอสงฆ์อาพาธต่อไป และหลวงปู่เทศก์ เทศรังสี ยังได้อนุญาตให้ใช้ชื่อหอ สงฆ์นี้ว่า หองสงฆ์อาพาธ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ (หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี) นอกจากนี้ ฯพณฯ ประมวล สภาวสุ, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นี รักษ์พลเมือง, คุณวาริน พูนศิริวงศ์, คุณผานิต พูนศิริวงศ์ และคุณหญิง สุเนตร พงษ์โสภณ ได้จัดการแสดงคอนเสริตและหาเงินบริจาคเพื่อเป็นเงิน กองทุน จัดซื้อุปกรณ์และเครื่องมือ ผ่าตัดเป็นเงินอีก 50 ล้านบาท[9]
สัญลักษณ์
[แก้]- สีประจำคณะ
ภาควิชา
[แก้]
ปรีคลินิก
|
ชั้นคลินิก
|
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[10] | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต[11] | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ)
|
ระดับประกาศนียบัตร[12] | |
---|---|
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต | ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง |
ไม่มีการเรียนการสอน | หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
|
อันดับโลก
[แก้]การจัดอันดับของ QS world university ranking by subject
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2021
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย และอันดับที่ 351 - 400 ของโลก[13]
- สาขา Medicine (แพทยศาสตร์)
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์
[แก้]โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |||
---|---|---|---|
โรงพยาบาล | จังหวัด | สังกัด | |
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ | จังหวัดขอนแก่น | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | |||
โรงพยาบาล | จังหวัด | สังกัด | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น | จังหวัดขอนแก่น | กระทรวงสาธารณสุข | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม | จังหวัดมหาสารคาม | กระทรวงสาธารณสุข | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี | จังหวัดอุดรธานี | กระทรวงสาธารณสุข |
คณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กวี ทังสุบุตร |
พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517 (รักษาการแทนฯ) | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ |
พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2520 (รักษาการแทนฯ) | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมบัติ ชัยเพ็ชร | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2521 (รักษาการแทนฯ) | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง เนตรเฉลียว สัณฑ์พิทักษ์ | พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2525 | |
5. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ | พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2527 | |
6. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นพดล ทองโสภิต | พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2528 (รักษาการแทนฯ) | |
7. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชนินทร์ มหรรฆานุเคราะห์ |
พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2528 (รักษาการแทนฯ) | |
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ อาคม สวัสดิพาณิชย์ | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2528 (รักษาการแทนฯ) | |
9. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมพร โพธินาม | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540 | |
10. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พลศักดิ์ จีระวิพูลวรรณ | พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544 | |
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชาติ อารีมิตร | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548 | |
12. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม | พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2552 | |
13. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิเศก ลุมพิกานนท์ | พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2556 | |
14. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญชัย พานทองวิริยะกุล | พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2563 | |
15. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ | พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2567 | |
16. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภัทรพงษ์ มกรเวส | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ (ศิษย์เก่า) : นางสาวไทย ประจำปี 2542
- แพทย์หญิง กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี (ศิษย์เก่า) : รองนางสาวไทยปี 2552
- นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน (ศิษย์เก่า) : อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ (ศิษย์เก่า) : นักการเมือง
- นายแพทย์ สุกมล วิภาวีพลกุล (ศิษย์เก่า) : จิตแพทย์ชื่อดัง, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์สุขภาพทางเพศและครอบครัว
- นายแพทย์ พิชญ์ สันติจิตรุ่งเรือง (ศิษย์เก่า) : เจ้าของสถาบันกวดวิชาชีววิทยา Biobeam
- นายแพทย์ เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช (ศิษย์เก่า) : นักร้อง-นักแสดง จากเวทีเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปีที่ 6
- นายแพทย์ อภิวัฒน์ พิริยไชโย (ศิษย์เก่า) : นักร้อง จากเวทีทรูอคาเดมี่แฟนเทเซีย ปีที่ 10
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 89, ตอนที่ 144, 28 กันยายน พ.ศ. 2515, ฉบับพิเศษ หน้า 3
- ↑ แพทยสภา. โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง เรียงลำดับ. 18 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะแพทยศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 122
- ↑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะแพทยศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 122
- ↑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะแพทยศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 123
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีเปิด โรงพยาบาลศรีนครินทร์, 15 ธันวาคม 2526
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีเปิด โรงพยาบาลศรีนครินทร์, 15 ธันวาคม 2526
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีเปิด โรงพยาบาลศรีนครินทร์, 15 ธันวาคม 2526
- ↑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ที่ระลึกเนื่องในพิธีเปิดอาคาร 89 พรรษาสมเด็จย่า, 24 มกราคม 2537
- ↑ ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ↑ ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ↑ ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ↑ "QS World University Rankings by Subject 2021: Medicine". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).