ไพโรจน์ ไชยพร
ไพโรจน์ ไชยพร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2524 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม |
เสียชีวิต | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 (67 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร |
ไพโรจน์ ไชยพร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม 2 สมัย
ประวัติ
[แก้]นายไพโรจน์ ไชยพร เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ที่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายเสรี กับ นางพรหม ไชยพร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไพโรจน์ ไชยพร ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 สิริอายุรวม 67 ปี
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2544 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดธาตุทอง
การทำงาน
[แก้]ไพโรจน์ เริ่มทำงานครั้งแรกโดยเข้ารับราชการที่กรมบัญชีกลาง พ.ศ. 2500 หลังจากที่บิดาเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2501 จึงลาออกจากราชการมาร่วมกับ ไพเราะ พูลเกษ พี่สาวผู้บริหารกิจการของบิดา และขยายกิจการออกไปจนกลุ่มบริษัท ไทยเสรีฯ
ต่อมา พ.ศ. 2506 ได้เป็นประธานกรรมการบริษัทไทยเสรีห้องเย็น และอีกหลายๆ บริษัทในเครือในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2522-2523 ยังได้เข้าทำธุรกิจการเงินโดยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกไฟแนนซ์ รวมทั้งยังเข้าลงทุนในธุรกิจหนังสือพิมพ์ โดยเป็นประธานบริษัท เดอะ เนชั่น จำกัด
งานการเมือง
[แก้]ไพโรจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2529 รวม 2 สมัย [1]
ไพโรจน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2 สมัย เมื่อ พ.ศ. 2523[2] และ พ.ศ. 2526[3] ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ไพโรจน์ ไชยพร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดพรรคกิจสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2544
- บุคคลจากอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
- นักการเมืองจากจังหวัดสมุทรสงคราม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เสียชีวิตจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว