ข้ามไปเนื้อหา

มานิต นพอมรบดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มานิต นพอมรบดี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 10 มกราคม พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าวิชาญ มีนชัยนันท์
ถัดไปพรรณสิริ กุลนาถศิริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2556)
เพื่อไทย (2556–2561)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสกอบกุล นพอมรบดี (เสียชีวิต)
บุตรกุลวลี นพอมรบดี

มานิต นพอมรบดี กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 1 พรรคภูมิใจไทย แต่ภูมิลำเนาเป็นคนอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นสามีของนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคไทยรักไทย ที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

นายมานิต และนางกอบกุล มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ

นายมานิต เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของจังหวัดราชบุรี และเซียนพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เป็นแกนนำพรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

การศึกษา

[แก้]

นายมานิต สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การเมือง

[แก้]
นายมานิตในขณะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายมานิต นพอมรบดี เป็นแกนนำพรรคภูมิใจไทยคนหนึ่งที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชึวะ ในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข [2] ซึ่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง ในกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน และมีการสรุปผลการตรวจสอบว่า เกิดความไม่โปร่งใสในการบริหารงบประมาณตามโครงการดังกล่าว เป็นสาเหตุให้นายวิทยา แก้วภารดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ทำให้กระแสจากฝ่ายต่างๆ รวมถึงนายกรัฐมนตรีต้องการให้นายมานิต ลาออกด้วยเช่นกัน[3]

เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553 นายมานิต นพอมรบดี แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่ได้มีการทุจริตตามที่ถูกกล่าวหา[4]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[5] ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 69[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-21.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  3. เจอเส้นตายมาร์ค-ภท.ถอย "มานิต"ออก! เตรียมยื่นไขก๊อกวันจันทร์[ลิงก์เสีย]
  4. มานิตแถลงลาออกแล้ว[ลิงก์เสีย]
  5. ‘มานิต นพอมรบดี’ โผล่สมัคร พปชร. เมินคนวิจารณ์พรรคทหาร-คึกคักพรุ่งนี้เปิดถึงเที่ยงคืน
  6. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ช หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓