ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ٱلْمَمْلَكَة ٱلْعَرَبِيَّة ٱلسُّعُوْدِيَّة (อาหรับ) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | รียาด 24°39′N 46°46′E / 24.650°N 46.767°E |
ภาษาราชการ | อาหรับ[2][3] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2014[4]) | 90% ชาวอาหรับ 10% แอฟริกา-อาหรับ |
ศาสนา (ค.ศ. 2010)[6] |
|
เดมะนิม |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์อิสลาม |
สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ | |
มุฮัมมัด บิน ซัลมาน | |
สภานิติบัญญัติ | ไม่มี [a] |
ก่อตั้ง | |
ค.ศ. 1727 | |
ค.ศ. 1824 | |
13 มกราคม ค.ศ. 1902 | |
23 กันยายน ค.ศ. 1932 | |
• ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกสหประชาชาติ | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 |
31 มกราคม ค.ศ. 1992 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,149,690[2] ตารางกิโลเมตร (830,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 12) |
0.7 | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2022 ประมาณ | 38,401,000[9] (อันดับที่ 40) |
15 ต่อตารางกิโลเมตร (38.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 174) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 2.00 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 17) |
• ต่อหัว | 55,800 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 27) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 1.01 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 18) |
• ต่อหัว | 27,900 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 43) |
จีนี (ค.ศ. 2013) | 45.9[11] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021) | 0.875[12] สูงมาก · อันดับที่ 40 |
สกุลเงิน | ริยาลซาอุดีอาระเบีย (SR) (SAR) |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามาตรฐานซาอุดีอาระเบีย) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป (ฮ.ศ.) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +966 |
โดเมนบนสุด |
ซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Saudi Arabia; อาหรับ: ٱلسُّعُوْدِيَّة) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Kingdom of Saudi Arabia; อาหรับ: ٱلْمَمْلَكَة ٱلْعَرَبِيَّة ٱلسُّعُوْدِيَّة) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,150,000 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในทวีปเอเชีย และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันตก มีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ติดประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศกาตาร์ บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ติดประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และติดประเทศเยเมนทางใต้ และแยกกับประเทศอียิปต์ด้วยบริเวณตอนเหนือของอ่าวอัลอะเกาะบะฮ์ ซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทราย ภูเขา และพื้นที่แห้งแล้งซึ่งไม่สามารถอยู่อาศัยได้ มีประชากรราว 32 ล้านคนซึ่งมากเป็นอันดับ 4 ในโลกอาหรับ เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดคือรียาด โดยมีญิดดะฮ์เป็นเมืองท่าที่สำคัญและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ซาอุดีอาระเบียยังเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และอัลมะดีนะฮ์ สองนครสำคัญทางศาสนาอิสลาม
ก่อนการถือกำเนิดของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ดินแดนของซาอุดีอาระเบียเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณมากมาย บริเวณนี้แสดงให้เห็นร่องรอยจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศาสนาอิสลามซึ่งถือเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกถือกำเนิดขึ้นในดินแดนปัจจุบัน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุฮัมมัด ได้รวบรวมประชากรทั้งหมดในคาบสมุทรอาหรับเข้าด้วยกัน และถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลาม[13] หลังการเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 ผู้ติดตามของเขาได้ขยายอาณาเขตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ตามมาด้วยการพิชิตดินแดนครั้งใหญ่โดยมุสลิม (ตั้งแต่บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรียไปยังบางส่วนของเอเชียกลางและภูมิภาคตะวันออกของเอเชียใต้) ในเวลาไม่กี่ทศวรรษ ราชวงศ์อาหรับที่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนซาอุดีอาระเบียปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (ค.ศ. 632–661) รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ค.ศ. 661–750) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 750–1517) และรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ (ค.ศ. 909–1171) เช่นเดียวกับราชวงศ์อื่น ๆ ในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป
พื้นที่บริเวณคาบสมุทรและพื้นที่ในภูมิภาคตอนเหนืออันอุดมสมบูรณ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง ในขณะที่พื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ซึ่งมีความแห้งแล้งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเล็ก ๆ และเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อออตโมมันอาระเบีย พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้[14] ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งใน ค.ศ. 1932 โดย สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านการพิชิตหลายครั้งเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1902 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ซาอุดีอาระเบียปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยการตัดสินใจทางการเมืองตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือระหว่างพระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี และชนชั้นสูง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบเผด็จการ[15][16] กลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนาในชื่อ วะฮาบีย์ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งนิกายซุนนี ถูกมองว่าสะท้อนลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย[17] แต่อิทธิพลจากสถาบันศาสนาก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในคริสต์ทศวรรษ 2010[18] กฎหมายพื้นฐานของซาอุดีอาระเบียยังคงนิยามตนเองว่าเป็นรัฐอิสลามอาหรับที่มีอำนาจอธิปไตย โดยมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ และกรุงรียาดมีสถานะเป็นเมืองหลวง
มีการค้นพบปิโตรเลียมในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1938 และตามมาด้วยการค้นพบอื่น ๆ อีกหลายแห่งในแคว้นตะวันออก[19][20] และนับแต่นั้น ซาอุดีอาระเบียได้กลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดชาติหนึ่งของโลก ซาอุดีอาระเบียได้รับการวิจารณ์ในหลายด้าน เช่น บทบาทในสงครามกลางเมืองเยเมน การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย และประวัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตที่รุนแรง ตลอดจนความล้มเหลวในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ การเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนา และผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระเจ้า การต่อต้านชาวยิว และการตีความกฎหมายชารีอะฮ์ที่เคร่งครัด[21] นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 รัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศภายใต้โครงการวิชัน 2030 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน
ซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาค และประเทศอำนาจปลานกลางของโลก[22] มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นอันดับที่ 19 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอันดับ 17 ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ รายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมัน โดยถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก มีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 2 และปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองเป็นอันดับ 6 ของโลก[23] ซาอุดีอาระเบียถูกจัดอันดับโดยธนาคารโลกอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยสูง และเป็นประเทศเดียวในโลกอาหรับที่เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในกลุ่ม 20[24] และเป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง พลเมืองมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน ไม่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา[25] และมีบริการสุขภาพที่ทันสมัย ซาอุดีอาระเบียยังเป็นถิ่นอาศัยของผู้พลัดถิ่นที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก สืบเนื่องจากความต้องการแรงงานต่างชาติจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นสังคมผู้สูงอายุน้อยที่สุดของโลก โดยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรมีอายุต่ำกว่า 25 ปี[26] นอกจากการเป็นสมาชิกของสภาความร่วมมืออ่าวแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม สันนิบาตอาหรับ องค์การผู้ให้บริการการขนส่งทางอากาศอาหรับ โอเปก และยังเป็นคู่ค้าที่สำคัญขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]การควบรวมราชอาณาจักรฮิญาซและภูมิภาคนัจญด์เข้าด้วยกันนำไปสู่การก่อตั้งรัฐใหม่ในชื่อ อัลมัมละกะตุลอะเราะบียะตุสซุอูดียะฮ์ (المملكة العربية السعودية) ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1932 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด วลีดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ราชอาณาจักรอาหรับแห่งราชวงศ์ซะอูด"[27] หรือ "ราชอาณาจักรแห่งราชวงศ์ซะอูดอาหรับ"[28] แต่ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปนิยมแปลว่า "ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย" (the Kingdom of Saudi Arabia)[29]
คำว่า ซาอุดี (Saudi) ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากวลี อัสซุอูดียะฮ์ (السعودية) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อประเทศในภาษาอาหรับ วลีดังกล่าวเป็นคุณศัพท์วลีที่ได้จากการเติมหน่วยคำแสดงความเกี่ยวข้องที่เรียกว่า นิสบะฮ์ (نسبة) ต่อท้ายชื่อราชวงศ์ซะอูดหรือ อาลซุอูด (آل سعود) การใช้วลี อัสซุอูดียะฮ์ ในชื่อประเทศสะท้อนให้เห็นถึงทัศนะที่ว่าประเทศนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของราชวงศ์[30][31] ชื่อ อาลซุอูด เป็นชื่อในภาษาอาหรับที่ได้จากการเติมคำว่า อาล (آل) ซึ่งหมายถึง "ตระกูลของ..." หรือ "ราชวงศ์ของ..."[32] ไว้ข้างหน้าชื่อบุคคลที่เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล ซึ่งในกรณีของชื่อ อาลซุอูด นี้ก็คือ ซะอูด อิบน์ มุฮัมมัด อาล มุกริน พระราชบิดาของมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด อาล มุกริน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[33]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ดินแดนของซาอุดีอาระเบียครอบครองพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 บริเวณคาบสมุทรอาหรับ (คาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก)[34] ซึ่งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 16° ถึง 33° เหนือ และลองจิจูด 34° ถึง 56° เนื่องจากทางใต้ของประเทศมีพรมแดนติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน ขนาดที่แน่นอนของประเทศจึงไม่ได้กำหนดไว้ กองสถิติแห่งสหประชาชาติประมาณการตัวเลขที่ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร (830,000 ตารางไมล์) และระบุว่าซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและแผ่นอาหรับ[35]
ลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายของซาอุดีอาระเบียถูกปกคลุมโดยทะเลทรายอาหรับ สเตปป์ เทือกเขาหลายแห่ง ทุ่งลาวาภูเขาไฟ และที่ราบสูง รุบอุลคอลี ครอบคลุมถึงสามส่วนในภาคใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเป็นทะเลทรายทรายที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก[36] แม้จะมีทะเลสาบในประเทศ ทว่าซาอุดีอาระเบียถือเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามขนาดพื้นที่ที่ไม่มีแม่น้ำถาวร บริเวณที่อุดมสมบูรณ์จะพบได้ในลุ่มน้ำในลุ่มน้ำ แอ่ง และโอเอซิส[37] จังหวัดทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Asir เป็นภูเขาและมีภูเขา Sawda สูง 3,133 ม. (10,279 ฟุต) ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในประเทศ ซาอุดีอาระเบียเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟกว่า 2,000 ลูก[38]
ซาอุดีอาระเบียมีสภาพอากาศแบบทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึงสูงมากในตอนกลางวันโดยเฉพาะในฤดูร้อน และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืน อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ประมาณ 45 °ซ (113 °ฟ) แต่สูงสุดอาจสูงถึง 54 °ซ (129 °ฟ) ในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่า 0 °ซ (32 °ฟ) ยกเว้นพื้นที่ส่วนใหญ่ทางเหนือของประเทศที่มีหิมะตกเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภูเขาของแคว้นตะบูก อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้จนถึงปัจจุบันคือ -12.0 °ซ (10.4 °ฟ)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
[แก้]ซาอุดีอาระเบียเป็นถิ่นอาศัยของระบบนิเวศภาคพื้นดิน 5 แห่ง ได้แก่ ทะเลทรายที่มีหมอกริมชายฝั่งคาบสมุทรอาหรับ ทุ่งหญ้าบริเวณเชิงเขาอาหรับทางตะวันตกเฉียงใต้ ป่าดิบเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของอาหรับ ทะเลทรายอาหรับ และทะเลแดง ทะเลทรายเขตร้อนนูโบ-ซินเดียน และพื้นที่กึ่งทะเลทราย[39] เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือดาวอาระเบีย หมาป่าอาระเบีย ไฮยีนา วงศ์พังพอน ลิงบาบูน แมวทราย สัตว์ต่าง ๆ เช่น ละมั่ง ออริกซ์ เสือดาว และเสือชีตาห์ มีจำนวนมากจนถึงศตวรรษที่ 19 เมื่อการล่าอย่างกว้างขวางทำให้สัตว์เหล่านี้เกือบจะสูญพันธุ์ สิงโตอินเดีย สัตว์ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมอาศัยในซาอุดีอาระเบียจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนถูกล่าจนสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกพบได้ทุกภูมิภาค ได้แก่ นกอินทรี เหยี่ยว แร้ง นกทราย และนกปรอด ซาอุดีระเบียยังเป็นของงูหลายชนิด รวมถึงงูพิษหลายสายพันธุ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลแดงเป็นหนึ่งในแหล่งระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายที่สุดของโลก เป็นที่อยู่อาศัยของปลามากกว่า 1,000 ชนิด[40]
ความหลากหลายอันอุดมสมบูรณ์ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวปะการังความยาวกว่า 2,000 กม. (1,240 ไมล์) ที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่ง แนวประการังเหล่านี้มีอายุ 5,000–7000 ปี และส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินปะการังหินปะการังและปะการังพอไรต์ ทะเลแดงยังมีแนวปะการังนอกชายฝั่งหลายแห่ง การก่อตัวของแนวปะการังนอกชายฝั่งที่ผิดปกติจำนวนมากขัดต่อรูปแบบการจำแนกแนวปะการังแบบคลาสสิก และโดยทั่วไปมีสาเหตุมาจากกิจกรรมการแปรสัณฐานในระดับสูงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคก่อนการสถาปนาซาอุดีอาระเบีย
[แก้]ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาหรับ เมื่อ มุฮัมมัด บินซะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลซะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุซะอูด) ในปี 1902 อิบนุซะอูดได้ยึดรียาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
สมัยการรวมชาติ
[แก้]การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "เขตเป็นกลาง" ขึ้นด้วยกัน 2 แห่ง คือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรัก และซาอุดีอาระเบียกับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่
อิบนุซะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายซะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์ซะอูดได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศ็อล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศ็อล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย
ซาอุดีอาระเบียมิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับกับอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบียได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของโอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย
ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศ็อล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะฮัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของกษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบียได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะฮัดได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนกษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์ฟะฮัดได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอฮ์ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของซาอุดีอาระเบียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชายสุลต่านรัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของกษัตริย์ฟะฮัด ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง
ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟะฮัด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ
ในระหว่างปี 1990 - 1991 พระราชาธิบดี ฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม
การเมืองการปกครอง
[แก้]ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบียใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่น ๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ พระราชาธิบดี ฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ
สิทธิมนุษยชน
[แก้]รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกำหนดให้ชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมปฏิบัติตามกฎหมายชะรีอะห์ ล้วนอยู่ภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของราชวงศ์ซะอูดซึ่งได้รับการวิจารร์จากองค์กรและรัฐบาลระหว่างประเทศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ[41] ลัทธิอำนาจนิยม ที่ครอบงำพลเมืองซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่ "เลวร้ายที่สุด" ในการสำรวจประจำปีโดย องค์กรวิจัยและสนับสนุนประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล วิจารณ์ว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงและความยุติธรรมใช้วิธีทรมานผู้ต้องขัง เพื่อดึงคำสารภาพเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี[42] ซาอุดีอาระเบียงดเว้นจากการลงคะแนนเสียงของสหประชาชาติที่รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวว่าขัดต่อกฎหมายอิสลาม[43] ตัวเลขการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการประหารชีวิตในปี 2016 2019 และ 2022 ถูกประณามจากกลุ่มสิทธิระหว่างประเทศ[44]
กฎหมายของซาอุดีอาระเบียไม่ให้การรับรองความหลากหลายทางเพศ หรือเสรีภาพทางศาสนา รวมถึงข้อห้ามในการปฏิบัติของพลเมืองที่มิใช่มุสลิม[45] ระบบยุติธรรมของประเทศสนับสนุนการลงโทษประหารชีวิตเป็นประจำ รวมถึงการประหารชีวิตในที่สาธารณะด้วยการตัดศีรษะ[46] โทษประหารชีวิตบังคับใช้ได้สำหรับความผิดที่หลากหลาย[47] รวมถึงการฆาตกรรม, ข่มขืน, การโจรกรรมด้วยอาวุธ, การใช้ยาเสพติด, การละทิ้งความเชื่อทางศาสนา, การล่วงประเวณี, การใช้เวทมนตร์คาถาอย่างงมงาย และสามารถทำได้โดยการตัดศีรษะด้วยดาบ การขว้างปาหิน หรือการยิง ตามด้วยตรึงกางเขน[48] ในเดือนเมษายน 2020 ศาลฎีกาซาอุดีอาระเบียได้ออกคำสั่งให้ยกเลิกการลงโทษการเฆี่ยนตีออกจากกฎหมายของซาอุดีอาระเบีย และให้แทนที่ด้วยโทษจำคุกหรือปรับ[49][50]
ประชากรสตรีในซาอุดีอาระเบียต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และอยู่ภายใต้ระบบการปกครองซึ่งถือว่าประชากรหญิงเปรียบเสมมือนผู้เยาว์[51] แม้จะมีประชากรหญิงกว่า 70% ได้สิทธิลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย ทว่าด้วยเหตุผลทางสังคม แรงงานสตรียังคิดเป็นกว่า 5% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ[52] การปฏิบัติต่อสตรีในประเทศได้รับการขนานนามว่าเป็น "การแบ่งแยกเพศ" อย่างชัดเจน[53] ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศปลายทางที่มีชื่อเสียงสำหรับชายและหญิงที่ถูกค้ามนุษย์เพื่อการใช้แรงงานทาส และการแสวงประโยชน์ทางเพศในเชิงพาณิชย์ ชายและหญิงจากเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอื่น ๆ อีกมากมายสมัครใจเดินทางไปซาอุดีอาระเบียในฐานะคนรับใช้ในบ้านหรือแรงงานที่มีทักษะต่ำ ทว่ามีบางรายที่ถูกบังคับไปโดยไม่สมัครใจ
กองทัพ
[แก้]กองกำลังทหารของซาอุดีอาระเบียประกอบด้วยกองกำลังย่อยสาขาต่าง ๆ ได้แก่ กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, การป้องกันทางอากาศของราชวงศ์, กองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์, กองกำลังป้องกันดินแดนแห่งชาติ, กองทหารรักษาการณ์, กองกำลังรักษาชายแดน, กองกำลังฉุกเฉิน, กองกำลังรักษาความปลอดภัยพิเศษ และหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ รวมจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำการทุกสาขาเกือบ 480,700 ราย นอกจากนี้ยังมีหน่วยสืบราชการลับ รับผิดชอบการในเรื่องการแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับราชการ
ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ทางการทหารกับปากีสถานมาอย่างยาวนาน มีการสันนิษฐานว่าซาอุดีอาระเบียได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการระเบิดปรมาณูของปากีสถานอย่างลับ ๆ และมีความพยายามซื้ออาวุธปรมาณูจากปากีสถานในอนาคตอันใกล้นี้[54][55] ซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้จ่ายทางทหารสูงที่สุดในโลก โดยประมาณการใช้จ่ายกว่า 8% ของจีดีพีประเทศในการทหาร ตามการประมาณการของ SIPRI ในปี 2020 ซึ่งกำหนดให้ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่ใช้จ่ายด้านการทหารมากเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐ และจีน[56] และยังเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกระหว่างปี 2015 ถึง 2019 โดยเป็นผู้รับอาวุธกว่าครึ่งหนึ่งที่สหรัฐส่งออกมายังตะวันออกกลาง[57] การใช้จ่ายด้านการป้องกันและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 และมีมูลค่าประมาณ 78.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ปี 2019
จากข้อมูลของบีไอซีซี ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีกำลังทหารมากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก และมีอุปกรณ์ทางทหารที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากอิสราเอล ซาอุดีอาระเบียยังพัฒนาคลังแสงเทคโนโลยีชั้นสูงที่ทันสมัย ทำให้เป็นประเทศติดอาวุธที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยอุปกรณ์ทางทหารของประเทศส่วนใหญ่ได้รับการส่งมอบจากสหรัฐ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร[58] โดยสหรัฐทำการค้าอาวุธ และอุปกรณ์ทางการทหารด้วยมูลค่าสูงถึง 80 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง ค.ศ. 1951 ถึง 2006 ให้แก่กองทัพซาอุดีอาระเบีย[59] เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2010 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้แจ้งเจตนารมย์ต่อสภาคองเกรสถึงความตั้งใจที่จะขายอาวุธที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ซึ่งจะเป็นมูลค่าการซื้อขายกว่า 60.5 พันล้านดอลลาร์ แผนการนี้แสดงถึงการพัฒนาความสามารถในการพัฒนากองทัพซาอุดีอาระเบียอย่างมาก[60] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 บีเออี บริษัทชั้นนำด้านการป้องกันของอังกฤษได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 1.9 พันล้านปอนด์ (3 พันล้านดอลลาร์) เพื่อจัดหาเครื่อง บีเออี ฮ็อค ให้แก่ซาอุดีอาระเบีย[61] ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม ระหว่างปี 2010–2018 ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยได้รับอาวุธหลักมากกว่าใน ค.ศ. 2005–2009 ถึงสี่เท่า การนำเข้าที่สำคัญประกอบด้วยเครื่องบินรบ 45 ลำจากสหราชอาณาจักร เฮลิคอปเตอร์ต่อสู้ 38 ลำจากสหรัฐอเมริกา เครื่องบินบรรทุกน้ำมัน 4 ลำจากสเปน และยานเกราะมากกว่า 600 คันจากแคนาดา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมสหประชาชาติในปี 1945 และยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม สันนิบาตอาหรับ องค์กรผู้ให้บริการการขนส่งทางอากาศแห่งอาหรับ และ โอเปก ซาอุดีอาระเบียสนับสนุนการก่อตั้งสหภาพศุลกากรอาหรับในปี 2015 และตลาดร่วมอาหรับตามที่ประกาศในการประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 2009[62] ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งโอเปก ราชอาณาจักรมีบาทบาทนำในการนโยบายการกำหนดราคาน้ำมันโดยทั่วไป ทำให้ตลาดน้ำมันโลกมีเสถียรภาพและพยายามลดการผันผวนของราคาเพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจตะวันตก[63] ใน ค.ศ. 1973 ซาอุดีอาระเบียและประเทศอาหรับอื่น ๆ ได้กำหนดห้ามขนส่งน้ำมันกับสหรัฐ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ที่สนับสนุนอิสราเอลในสงครามยมคิปปูร์[64] การคว่ำบาตรทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันที่มีผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวมากมายต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก
ระหว่างกลางทศวรรษ 1970 ถึง 2002 ซาอุดีอาระเบียใช้เงินกว่า 70 พันล้านดอลลาร์ใน "ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในต่างประเทศ" ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ และตั้งแต่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา เข้ารับตำแหน่งในปี 2009 สหรัฐได้ค้าอาวุธให้กับซาอุดีอาระเบียคิดเป็นมูลค่ากว่า 110,000 ล้านดอลลาร์[65] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียดในช่วงปีสุดท้ายของการบริหารของโอบามา[66][67] แม้ว่าโอบามาจะอนุญาตให้กองกำลังสหรัฐให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์และข่าวกรองแก่ซาอุดีอาระเบียในการแทรกแซงทางทหารในเยเมน[68] ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ซาอุดีอาระเบียจ่ายเงิน 100 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัทอเมริกันเพื่อล็อบบี้รัฐบาลสหรัฐ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ และกษัตริย์ซัลมานได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงสำหรับซาอุดีอาระเบียเพื่อซื้ออาวุธจากสหรัฐมูลค่า 110 พันล้านดอลลาร์ทันที และ 350 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปี[69] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 วุฒิสภาสหรัฐ ลงมติคัดค้านข้อเสนอให้หยุดการขายขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางขั้นสูงมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ไปยังซาอุดีอาระเบีย เพื่อไม่ให้มีการแทรกแซงทางทหารในเยเมน
ความสัมพันธ์กับชาติตะวันออกกลางหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิหร่านและอิรักเต็มไปด้วยความตึงเครียด จากการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ[70] และบทบาทของซาอุดีอาระเบียในสงครามอ่าวปี 1991 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กองทหารสหรัฐประจำการบนซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ปี 1991 กระตุ้นให้เกิดการตอบโต้ของอิสลามิสต์ และขยายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงสืบถึงปัจจุบัน จีนถือเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ชาวซาอุดีอาระเบียจำนวนมากได้แสดงมุมมองเชิงบวกต่อจีนเช่นกัน[71] ใน ค.ศ. 2019 มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ออกมาปกป้องกลุ่มค่ายปรับทัศนคติซินเจียง โดยกล่าวว่า "จีนมีสิทธิ์ดำเนินการต่อต้านการก่อการร้ายและขจัดความรุนแรงเพื่อความมั่นคงของชาติ"[72] ในเดือนกรกฎาคม 2019 เอกอัครราชทูตสหประชาชาติใน 37 ประเทศ รวมทั้งซาอุดีอาระเบีย ได้ลงนามในจดหมายร่วมถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อปกป้องการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ของจีนและชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ๆ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
เพื่อปกป้องราชวงศ์คาลิฟาแห่งบาห์เรน ซาอุดีอาระเบียได้ส่งกองทหารไปปราบปรามการประท้วงของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2011[73] รัฐบาลซาอุดีอาระเบียถือว่าการลุกฮือในระยะเวลา 2 เดือนเป็น "ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย" ที่เกิดจากชาวชีอะห์ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรส่วนใหญ่ของบาห์เรน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2015 ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มรัฐมุสลิมซุนนี ได้เริ่มการแทรกแซงทางทหารในเยเมนเพื่อต่อต้านกลุ่มชีอะห์ และกองกำลังที่จงรักภักดีต่ออดีตประธานาธิบดี อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ซึ่งถูกปลดออกจากการลุกฮือของชาวอาหรับสปริง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56,000 คนจากเหตุรุนแรงในเยเมนระหว่างเดือนมกราคม 2016 ถึงเดือนตุลาคม 2018[74] ซาอุดีอาระเบีย ร่วมกับกาตาร์และตุรกี สนับสนุนกองทัพแห่งชัยชนะอย่างเปิดเผย[75][76] กลุ่มกองกำลังต่อต้านรัฐบาลที่ต่อสู้ในสงครามกลางเมืองซีเรีย
ในเดือนมีนาคม 2015 สวีเดนยกเลิกข้อตกลงด้านอาวุธกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นการยุติข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศที่มีมายาวนานกว่าทศวรรษกับราชอาณาจักร การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดนถูกซาอุดีอาระเบียขัดขวางขณะพูดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิสตรีที่สันนิบาตอาหรับในกรุงไคโร[77] ซาอุดีอาระเบียถูกมองว่าเป็นอิทธิพลปานกลางในความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล ในช่วงต้นปี 2014 ความสัมพันธ์กับกาตาร์เริ่มตึงเครียดจากการสนับสนุนกลุ่มอิควานมุสลิมีน และความเชื่อของซาอุดีอาระเบียว่ากาตาร์กำลังแทรกแซงกิจการของตน ซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรได้วิพากษ์วิจารณ์ช่องทีวีอัลญะซีเราะฮ์ในกาตาร์ และความสัมพันธ์ของกาตาร์กับอิหร่าน ใน ค.ศ. 2017 ซาอุดีอาระเบียได้เริ่มต้นการปิดล้อมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศในกาตาร์[78]
ใน ค.ศ. 2017 ซาอุดีอาระเบียวางแผนที่จะสกัดยูเรเนียมภายในประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อก้าวไปสู่ความพอเพียงในการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2017 รัฐบาลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับจีนเพื่อสำรวจและประเมินยูเรเนียม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2020 มีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียได้สร้างโรงงานในทะเลทรายในภูมิภาคเมดินาสำหรับการสกัดยูเรเนียมด้วยความช่วยเหลือของประเทศจีน[79] เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2020 เดอะการ์เดียนได้เผยแพร่รายงานพิเศษที่เปิดเผยว่าซาอุดีอาระเบียกำลังปูทางสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในประเทศ รายงานลับที่ได้รับจากสื่อระบุว่า ราชอาณาจักรได้รับความช่วยเหลือจากนักธรณีวิทยาจีนในการผลิตยูเรเนียมมากกว่า 90,000 ตันจากแหล่งสะสมหลักสามแห่งในใจกลาง และทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ใกล้กับบริเวณการพัฒนาเมืองใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าอย่างนีอุม
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 แคว้น ได้แก่
เศรษฐกิจ
[แก้]โครงสร้าง
[แก้]ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 ซาอุดีอาระเบียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลางและเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[80] มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก ประมาณ 260 พันล้านบาร์เรล หรือประมาณหนึ่งในสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก รายรับประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียจึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบียเผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมน้ำมันคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของซาอุดีอาระเบีย เทียบกับ 40% ของภาคเอกชน ซาอุดีอาระเบียมีน้ำมันสำรองอย่างเป็นทางการประมาณ 260 พันล้านบาร์เรล (4.1×1010 m3) ซึ่งประกอบด้วยประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณสำรองปิโตรเลียมทั้งหมดที่ถูกค้นพบแล้วของโลก[81] โอเปก จำกัดการผลิตน้ำมันของสมาชิกโดยพิจารณาจาก "ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว" ปริมาณสำรองที่เผยแพร่ของซาอุดีอาระเบียมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 1980 คือเพิ่มขึ้นประมาณ 100 พันล้านบาร์เรล (1.6×1010 m3) ระหว่างปี 1987 ถึง 1988[82] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึง 2013 "บริการสาธารณูประโภคหลักหลายประการ" ได้รับการปฏิรูป เช่น ประปาเทศบาล ไฟฟ้า โทรคมนาคม และบางส่วนของการศึกษาและการดูแลสุขภาพ การควบคุมการจราจร และการรายงานอุบัติเหตุทางรถยนต์ ดัชนี TASI ของตลาดหลักทรัพย์ซาอุดีอาระเบียพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 16,712.64 ในปี 2005 และปิดที่ 8,535.60 ณ สิ้นปี 2013 ในเดือนพฤศจิกายน 2005 ซาอุดีอาระเบียได้รับการอนุมัติให้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานการลงทุนทั่วไปของซาอุดีอาระเบียเพื่อส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบียมีรายชื่อภาคอุตสาหกรรมที่ห้ามการลงทุนจากต่างประเทศ แต่รัฐบาลมีแผนที่จะเปิดการลงทุนในบางส่วน เช่น โทรคมนาคม การประกันภัย และการส่ง/จำหน่ายไฟฟ้าในอนาคต
นอกจากปิโตรเลียมและก๊าซแล้ว ซาอุดีอาระเบียยังมีภาคการทำเหมืองทองคำที่สำคัญ และอุตสาหกรรมแร่ที่สำคัญอื่น ๆ ภาคเกษตรกรรม (โดยเฉพาะในตะวันตกเฉียงใต้) เป็นที่ตั้งหลักของผลิตผลจากผัก ผลไม้ อินทผลัม ฯลฯ และปศุสัตว์และงานชั่วคราวจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยผู้แสวงบุญฮัจญ์ประจำปีประมาณสองล้านคน ซาอุดีอาระเบียกำลังเปิดใช้งานท่าเรือของตนมากขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมในการค้าระหว่างยุโรปและจีนนอกเหนือจากการขนส่งน้ำมัน ด้วยเหตุนี้ ท่าเรือต่าง ๆ กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีการลงทุนด้านโลจิสติกส์ ประเทศนี้ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลที่วิ่งจากชายฝั่งจีนไปทางทิศใต้ผ่านปลายด้านใต้ของอินเดียไปยังมอมบาซา ผ่านทะเลแดงและคลองสุเอซไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจนถึงภูมิภาคเอเดรียติกตอนบน สู่ศูนย์กลางเมือง ตรีเยสเต ทางตอนเหนือของอิตาลี พร้อมเส้นทางรถไฟไปยังยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และทะเลเหนือ[83][84][85][86]
ตัวเลขและสถิติด้านความยากจนในราชอาณาจักรไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลของสหประชาชาติ เนื่องจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบียไม่ได้ออกเอกสารใด ๆ ในเรื่องนี้[87] ในเดือนธันวาคม 2011 กระทรวงมหาดไทยของซาอุดีอาระเบียได้จับกุมนักข่าวสามคน และกักขังเป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์เพื่อสอบปากคำหลังจากที่พวกเขาอัปโหลดวิดีโอในหัวข้อดังกล่าวบนยูทูบ[88] โดยเจ้าของวิดีโอได้ให้ข้อมูลว่าประชากรกว่า 22% ของประเทศอาจประสบความยากจน[89]
เกษตรกรรม
[แก้]การพัฒนาการเกษตรอย่างจริงจังเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1970 รัฐบาลได้เปิดตัวโครงการสำคัญเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อสร้างถนนในชนบท เครือข่ายชลประทาน โรงเก็บและส่งออก และส่งเสริมสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร เป็นผลให้มีการเติบโตอย่างมหัศจรรย์ในการผลิตอาหารพื้นฐานทั้งหมด ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียมีทรัพยากรอาหารหลายอย่างในประเทศอย่างพอเพียง รวมทั้งเนื้อสัตว์ นม และไข่ ประเทศเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี อินทผลัม ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ปลา สัตว์ปีก ผลไม้ ผัก และดอกไม้ไปยังตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ ชาวนาซาอุดีอาระเบียยังปลูกธัญพืชอื่นๆ จำนวนมาก เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ในปี ค.ศ. 2016 รัฐบาลประกาศยุติการผลิตข้าวสาลีเพื่อรักษาทรัพยากรน้ำ[90]
ซาอุดีอาระเบียมีฟาร์มโคนมที่ทันสมัย และใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง อัตราการผลิตนมต่อปีอยู่ที่ 6,800 ลิตร (1,800 แกลลอนสหรัฐ) ซึ่งเป็นหนึ่งในปริมาณที่สูงที่สุดในโลก บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมในท้องถิ่น Almarai เป็นบริษัทนมครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง[91] ความสำเร็จทางการเกษตรที่น่าทึ่งที่สุดของราชอาณาจักรซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการเป็นผู้นำเข้ามาเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีใน ค.ศ. 1978 ประเทศได้สร้างโรงเก็บเมล็ดพืชแห่งแรกขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ซาอุดีอาระเบียเริ่มส่งออกข้าวสาลีไปยัง 30 ประเทศ รวมทั้งจีนและอดีตสหภาพโซเวียต และในพื้นที่การผลิตหลักอย่างตะบูก ลูกเห็บ และกอซิม ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 8.1 ตันต่อเฮกตาร์ (3.6 ตันสั้น/เอเคอร์) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เพิ่มการผลิตผักและผลไม้ด้วยการปรับปรุงทั้งเทคนิคทางการเกษตรและถนนที่เชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภคในเมือง ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้รายใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พืชผลส่วนใหญ่ได้แก่ แตงโม องุ่น ผลไม้รสเปรี้ยว หอมใหญ่ สควอช และมะเขือเทศ ปลูกในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ของประเทศ[92]
การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
[แก้]หนึ่งในความท้าทายหลักสำหรับรัฐบาลซาอุดีอาระเบียคือปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีการลงทุนจำนวนมากในด้านการแยกปริมาณเกลือออกจากน้ำทะเล การจ่ายน้ำ การระบายน้ำทิ้ง และการบำบัดน้ำเสีย ปัจจุบัน น้ำดื่มประมาณ 50% มาจากการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล, 40% จากการขุดน้ำบาดาลที่ไม่หมุนเวียน และอีก 10% จากภูเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ[93] พื้นดินของประเทศส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินทำให้ไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซาอุดิอาระเบียแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการซื้อที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในสหรัฐ, อาร์เจนตินา และทวีปแอฟริกา[94][95][96] ซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้ซื้อที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรายใหญ่ในต่างประเทศ[97][98]
ตามโครงการติดตามตรวจสอบร่วม (JMP) สำหรับการประปาและสุขาภิบาลขององค์การอนามัยโลก และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ล่าสุดเกี่ยวกับการเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลในซาอุดีอาระเบีย จากการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2004 บ่งชี้ว่า 97% ของประชากรสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มที่ได้รับการปรับปรุง และ 99% สามารถเข้าถึงแหล่งสุขอนามัยที่ดีขึ้น สำหรับข้อมูลปี 2015 ประมาณการว่าการเข้าถึงสุขอนามัยเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 100%[99][100] อย่างไรก็ตาม ยังมีประชากรกว่า 900,000 คนโดยประมาณที่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่ถูกสุขอนามัย
การท่องเที่ยว
[แก้]แม้ว่าการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในซาอุดีอาระเบียยังคงเกี่ยวข้องกับการแสวงบุญทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเติบโตในภาคการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน และนันทนาการ จากข้อมูลของธนาคารโลก มีผู้เดินทางมาซาอุดีอาระเบียประมาณ 14.3 ล้านคนในปี 2012 ทำให้เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากเป็นอันดับ 19 ของโลก[101] การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบียปี 2030 และจากรายงานของ BMI Research ในปี 2018 พบว่าการท่องเที่ยวทั้งเชิงศาสนาและนันทนาการมีศักยภาพในการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ
นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 รัฐบาลเสนอการตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาและคอนเสิร์ต ในเดือนกันยายน 2019 รัฐบาลได้ประกาศแผนการที่จะเปิดการยื่นขอการตรวจลงตราสำหรับผู้มาเยือน ซึ่งผู้คนจากประมาณ 50 ประเทศจะสามารถขอกาตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวไปยังซาอุดีอาระเบียได้
-
หมู่บ้านธีเอน ในภูมิภาคอัลบาฮาห์
-
เมืองโบราณอัล-อูลา
-
ทิวทัศน์ชายหาดในโครงการทะเลแดง
-
ญะบะลุสเซาดะฮ์ ด้วยความสูง 3,133 เมตร (10,279 ฟุต) ทำให้เป็นบริเวณที่สูงที่สุดของประเทศ
-
พิพิธภัณฑ์บ้านนาซีฟ เมืองญิดดะห์
-
เขตประวัติศาสตร์อัต-ตูไรฟ์ ตั้งอยู่ใน อัด-ดีรียาห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของญิดดะห์
-
หมู่บ้านประวัติศาสตร์ริจัล อัลมา
-
โบราณสถานมะดาอินศอเลียะห์
-
ประตูเมืองในหมู่เกาะฟาราซาน
ประชากรศาสตร์
[แก้]ประชากรของซาอุดีอาระเบีย ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 คาดว่าจะอยู่ที่ 26.9 ล้านคน แม้ว่าประชากรซาอุดีอาระเบียได้รับการพิสูจน์แล้วว่ายากต่อการประมาณการอย่างแม่นยำมาเป็นเวลานานเนื่องจากแนวโน้มของผู้นำซาอุดีอาระเบียที่จะขยายผลการสำรวจสำมะโนประชากร[102] ประชากรซาอุดีอาระเบียเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1950 และหลายปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตของประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี[103] องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของพลเมืองซาอุดีอาระเบียประกอบไปด้วยชาวอาหรับคิดเป็น 90% และแอฟโฟร-อาหรับอีก 10%
ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ชาวซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบยังชีพในจังหวัดชนบท แต่ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ดินแดนทั้งหมดได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี 2012 ชาวซาอุดีอาระเบียประมาณ 80% อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะรียาด ญิดดะห์ หรือ อัดดัมมาม
ภาษา
[แก้]ภาษาอาหรับมีสถานะเป็นภาษาราชการ[114] มีกลุ่มภาษาถิ่นหลักสี่กลุ่มที่พูดโดยชาวซาอุดีอาระเบีย: ภาษาอาหรับนัจญ์ดี (มีผู้พูด 14.6 ล้านคน), ภาษาอาหรับฮิญาซ (10.3 ล้านคน), ภาษาอาหรับอ่าว (0.96 ล้านคน) และภาษาอาหรับบาห์เรน ภาษาฟาอิฟีมีผู้พูดประมาณ 50,000 คน รวมถึงภาษาเมห์รีอีกประมาณ 20,000 คน[115] ภาษามือในซาอุดีอาระเบียเป็นภาษาหลักของผู้บกพร่องทางการได้ยิน โดยมีผู้พูดประมาณ 100,000 คน ชุมชนชาวต่างชาติขนาดใหญ่ยังพูดภาษาของตนเองอีกด้วย ซึ่งตามข้อมูลในปี 2018 จำนวนมากที่สุดคือ ภาษาเบงกอล, ภาษาตากาล็อก, ภาษาปัญจาบ, ภาษาอูรดู, ภาษาอาหรับอียิปต์, ภาษาโรฮีนจา, ภาษาอาหรับเลวานไทน์ตอนเหนือ และ ภาษามลยาฬัม[116]
การศึกษา
[แก้]การศึกษาในทุกระดับไม่มีค่าใช้จ่าย แม้ว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะจำกัดเฉพาะพลเมืองเท่านั้น[117] ระบบการศึกษาประกอบด้วยโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษา ชั้นเรียนมีการแยกตามเพศชัดเจน ในระดับมัธยมศึกษา สามารถเลือกโรงเรียนได้ 3 แบบ คือ ศึกษาทั่วไป เทคนิค หรือ การศึกษาเพื่อศาสนา[118] อัตราการรู้หนังสือของประเทศอยู่ที่ 99% ในเพศชายและ 96% ในเพศหญิงในปี 2020[119][120] สำหรับเยาวชน อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 99.5% สำหรับทั้งสองเพศ[121][122]
ตามแผนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 1435–1438 ปฏิทินฮิจเราะห์ นักเรียนที่ลงทะเบียนในสาขา "วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ" จะต้องศึกษาวิชาศาสนาห้าวิชา ได้แก่ เตาฮีด ฟิกฮฺ ตัฟซีร หะดีษ และการศึกษาอิสลามและคัมภีร์กุรอาน อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2021 กระทรวงศึกษาธิการของซาอุดีอาระเบียได้ควบรวมวิชาทางศาสนาอิสลามหลายวิชาเข้าบรรุในตำราเล่มเดียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องลงทะเบียนในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ 6 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา และคอมพิวเตอร์ การศึกษาระดับอุดมศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจำนวนมากก่อตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 2000 สถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ มหาวิทยาลัยซาอูด ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งอัลมะดีนะฮ์ ก่อตั้งในปี 1961 และมหาวิทยาลัยคิงอับดุลอาซิซ ในญิดดะฮ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1967 มหาวิทยาลัยปรินเซสโนรา บินท อับดุลารามัน เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับสตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งใน ค.ศ. 1970
อันดับทางวิชาการของมหาวิทยาลัยโลก จัดอันดับสถาบันซาอุดีอาระเบีย 4 แห่งรวมอยู่ในรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำ 500 แห่งในปี 2021[123] การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS แสดงรายการมหาวิทยาลัยซาอุดีอาระเบีย 14 แห่งจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกปี 2022 และมหาวิทยาลัย 23 แห่งรวมอยู่ใน 100 อันดับแรกในโลกอาหรับ[124]
ใน ค.ศ. 2018 ซาอุดีอาระเบียอยู่ในอันดับที่ 28 ของโลกในด้านผลงานวิจัยคุณภาพสูงตามวารสาร Nature ทำให้เป็นประเทศตะวันออกกลาง ประเทศอาหรับ และประเทศมุสลิมที่มีผลงานดีที่สุด ซาอุดีอาระเบียใช้จ่าย 8.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพื่อการศึกษา เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 4.6%[125] ซาอุดีอาระเบียอยู่ในอันดับที่ 66 ในดัชนีนวัตกรรมโลกในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 68 ในปี 2019[126][127] การท่องจำโดยท่องส่วนใหญ่ของอัลกุรอาน การตีความและความเข้าใจ (ตัฟซีร) และการนำประเพณีอิสลามมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหัวใจสำคัญของ ศาสนาที่สอนในลักษณะนี้ยังเป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนหลักสูตร[128] อย่างไรก็ตาม ซีไอเอรายงานถึงผลที่ตามมาก็คือ เยาวชนซาอุดีอาระเบีย "โดยทั่วไปขาดการศึกษาและทักษะทางเทคนิคที่ภาคเอกชนต้องการ"
ภาคศาสนาของหลักสูตรระดับชาติของซาอุดีอาระเบียได้รับการตรวจสอบในรายงานปี 2006 โดย Freedom House ซึ่งสรุปว่า "หลักสูตรศาสนาของโรงเรียนรัฐบาลของซาอุดีอาระเบียยังคงเผยแพร่อุดมการณ์แห่งความเกลียดชังต่อ "ผู้ไม่ศรัทธา" นั่นคือ คริสเตียน ยิว ชีอะต์ และศูฟี ,ชาวมุสลิมซุนนีย์ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนของวะฮาบี, ชาวฮินดู, ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า และอื่น ๆ"[129]
สาธารณสุข
[แก้]การดูแลสุขภาพในซาอุดีอาระเบียเป็นระบบการดูแลสุขภาพระดับชาติผ่านหน่วยงานรัฐ ซาอุดีอาระเบียได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 26 ประเทศที่ดีที่สุดในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูง[130] กระทรวงสาธารณสุขของซาอุดีอาระเบีย (MOH) เป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลที่ดูแลด้านการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพประชากร ต้นกำเนิดของกระทรวงสามารถสืบย้อนไปถึง ค.ศ. 1925 เมื่อมีการจัดตั้งหน่วยงานด้านสุขภาพในภูมิภาคหลายแห่ง โดยแห่งแรกในเมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย สถาบันสุขภาพต่าง ๆ ถูกควบรวมกันใน ค.ศ. 1950 อับดุลลาห์ บิน ไฟซาล อัล ซาอุด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนแรกดำรงตำแหน่งเป็นเวลาสามปี โดยมีบทบาทหลักในการจัดตั้งกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่[131]
กระทรวงสาธารณสุขจัดการแข่งขันระหว่างแต่ละอำเภอ และระหว่างบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลต่าง ๆ แนวคิดนี้ส่งผลให้มีการสร้างโครงการ "Ada'a" ซึ่งเปิดตัวในปี 2016 ระบบใหม่นี้เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพระดับประเทศสำหรับบริการและโรงพยาบาล หลังจากการนำตาราง KPI ใหม่ไปใช้ เวลาในการรอการรับบริการ และการวัดผลที่สำคัญอื่น ๆ ก็ดีขึ้นอย่างมากทั่วทั้งราชอาณาจักร[132] กระทรวงได้พัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ หรือที่เรียกว่ากลยุทธ์การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย หรือเรียกสั้นๆ ว่า DPAS[133] การดูแลตนเองที่ไม่ดีในบรรดาประชากรบางกลุ่มในประเทศ ทำให้เกิดการเลือกวิถีชีวิตที่ไม่ดี ส่งผลให้กระทรวงแนะนำว่าควรขึ้นภาษีสำหรับอาหาร เครื่องดื่ม และบุหรี่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพในภูมิภาค
ซาอุดีอาระเบียมีความคาดหมายคงชีพเฉลี่ยที่ 75 ปี (73.79 สำหรับเพศชาย และ 76.61 สำหรับเพศหญิง) อัตราการเสียชีวิตของทารกในปี 2019 เท่ากับ 5.7 ต่อ 1,000 ราย[134] ในปี 2016 ประชากรผู้ใหญ่ 69.7% มีน้ำหนักเกิน และ 35.5% เป็นโรคอ้วน[135] การสูบบุหรี่ในซาอุดีอาระเบียในทุกกลุ่มอายุเป็นที่แพร่หลาย ในปี 2009 เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของผู้สูบบุหรี่ต่ำสุดคือนักศึกษามหาวิทยาลัย (~13.5%) ในขณะที่ผู้สูงอายุมีอัตราสูงสุด (~25%) การศึกษายังพบว่าร้อยละของผู้สูบบุหรี่ชายนั้นสูงกว่าเพศหญิงมาก (~26.5% สำหรับผู้ชาย, ~9% สำหรับผู้หญิง) ก่อนปี 2010 ซาอุดีอาระเบียไม่มีนโยบายห้ามหรือจำกัดการสูบบุหรี่
สิทธิสตรี
[แก้]นับตั้งแต่อดีต ประชากรสตรีถูกริดรอนบทบาทและเสรีภาพทางสังคมอย่างเปิดเผย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ถือว่าการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียต่อสตรีเป็น "ปัญหาสำคัญ" และตั้งข้อสังเกตว่าสตรีมีสิทธิทางการเมืองน้อยเนื่องจากนโยบายการเลือกปฏิบัติของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นมกุฎราชกุมารในปี 2017 ก็มีการปฏิรูปสังคมหลายครั้งเกี่ยวกับสิทธิสตรี ภายใต้กฎหมายซาอุดีอาระเบียฉบับที่แล้ว ประชากรหญิงทุกคนจำเป็นต้องมีผู้ปกครองหรือผู้นำที่เป็นผู้ชาย (วาลี) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นบิดา, พี่ชาย, สามี หรือลุง (มะห์รอม) ต่อมา ในปี 2019 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไขบางส่วนเพื่อแยกสตรีที่มีอายุมากกว่า 21 ปีออกจากข้อกำหนดนี้ การแก้ไขดังกล่าวยังให้สิทธิสตรีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กเล็กด้วย[136][137]
ในปี 2006 วาเจฮะห์ อัล-ฮูไวเดอร์ นักสตรีนิยมและนักข่าวชาวซาอุดีอาระเบียผู้มีชื่อเสียง กล่าวว่า "ผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบียถูกกดขี่ให้อ่อนแอ ไม่ว่าสถานะของพวกเธอจะสูงแค่ไหน ไม่มีกฎหมายที่จะปกป้องพวกเธอจากการถูกโจมตีจากใครก็ตาม " ต่อมา ซาอุดีอาระเบียได้บังคับใช้กฎหมายต่อต้านความรุนแรงในครอบครัวในปี 2014 นอกจากนี้ ระหว่างปี 2017 ถึง 2020 ประเทศได้กล่าวถึงปัญหาการเดินทาง การล่วงละเมิดทางเพศ การรับเงินบำนาญ และการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานที่มีต่อสตรี[138] อัล-ฮูไวเดอร์และนักเคลื่อนไหวคนอื่นมีท่าทีตอบสนองเชิงบวกต่อทิศทางการเพิ่มสิทธีและเสรีภาพให้แก้ประชากรหญิงในประเทศ
ในทางนิตินัย สตรีในซาอุดีอาระเบียยังเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในศาล โดยคำให้การในชั้นศาลของชายหนึ่งคนจะมีน้ำหนักเท่ากับการให้การของสตรีสองคนในกฎหมายครอบครัวและมรดก[139] และผู้ชายสามารถมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนได้ และเป็นเพศที่มีสิทธิในการหย่ากับภรรยาของตนเองโดยมิต้องมีเหตุผลที่ชอบธรรม และแม้จะไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา ในทางกลับกัน ฝ่ายหญิงจะสามารถหย่าได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากสามีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 ผู้หญิงได้รับสิทธิในการหย่าร้างโดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ปกครองตามกฎหมาย ภายใต้กฎหมายสถานะส่วนบุคคลฉบับใหม่[140]
วัฒนธรรม
[แก้]ซาอุดีอาระเบียมีทัศนคติและขนบธรรมเนียมเก่าแก่หลายศตวรรษ ซึ่งมักมาจากอารยธรรมอาหรับ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของซาอุดีอาระเบียคือมรดกอิสลามและประเพณีของชาวเบดูอินตลอดจนบทบาททางประวัติศาสตร์ในฐานะศูนย์กลางการค้าโบราณ[141]
อาหาร
[แก้]อาหารซาอุดีอาระเบีย คล้ายกับประเทศโดยรอบในคาบสมุทรอาหรับและโลกอาหรับในวงกว้าง และได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกี อินเดีย เปอร์เซีย และแอฟริกา เนื้อหมูเป็นสิ่งต้องห้ามโดยชาวมุสลิม การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ต้องได้รับการเชือดอย่างถูกต้องภายใต้ข้อกำหนดของ ฮาลาล กะบาบ และ ฟาลาฟล เป็นที่นิยมเช่นเดียวกับชาวัรมา (เนื้อแกะย่างเนื้อแกะหรือไก่หมัก) เช่นเดียวกับในประเทศอาหรับอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ มัคบู (กับซะฮ์) ข้าวพร้อมเนื้อแกะ ไก่ ปลา หรือกุ้ง เป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติ เช่นเดียวกับมานดิ ขนมปังทาบูนเป็นอาหารหลักในแทบทุกมื้อ เช่นเดียวกับอินทผลัม ผลไม้สด โยเกิร์ต และครีม กาแฟอาหรับเป็นเครื่องดื่มแบบดั้งเดิมในอาหารอาหรับ หลักฐานยืนยันที่เก่าแก่ที่สุดของการดื่มกาแฟหรือความรู้เกี่ยวกับต้นกาแฟมีประวัติสืบไปถึงศตวรรษที่ 15 โดยลัทธิศูฟี
การแต่งกาย
[แก้]เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวซาอุดีอาระเบียแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya)
กีฬา
[แก้]ฟุตบอลเป็นกีฬาประจำชาติของชาวซาอุดีอาระเบีย ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 1988 และ 1996) และเป็นหนึ่งในสองทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุด 6 ครั้ง ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง และยังเป็นชาติแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในนามทีมชาติชุดใหญ่
การดำน้ำสกูบา วินด์เซิร์ฟ เรือใบ และบาสเกตบอล (ซึ่งเล่นโดยทั้งชายและหญิง) ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน ทีมบาสเกตบอลแห่งชาติซาอุดีอาระเบียที่คว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียปี 1999[142][143][144] กีฬาแบบดั้งเดิมเช่น การแข่งม้าและอูฐก็เป็นที่นิยมเช่นกัน สนามกีฬาในริยาดจัดการแข่งขันในฤดูหนาวประจำปีซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1974 เป็นหนึ่งในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของกีฬาและดึงดูดสัตว์และผู้ขับขี่จากทั่วทั้งภูมิภาค การล่าสัตว์ป่าในสภาพธรรมชาติและที่อยู่อาศัยโดยใช้นกล่าเหยื่อที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับความนิยม
กีฬาของสตรีเป็นที่ถกเถียงกันเนื่องจากการปราบปรามการมีส่วนร่วมของสตรีโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดนี้ผ่อนคลายลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[145][146] จนถึงปี 2018 สตรีไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมกีฬาในสนาม ที่นั่งแบบแยกส่วนซึ่งอนุญาตให้ประชากรสตรีเข้าได้ ได้รับการพัฒนาในสนามกีฬาสามแห่งทั่วเมืองใหญ่ในประเทศ[147]
สื่อมวลชน
[แก้]โทรทัศน์ได้รับการเผยแพร่เข้าสู่ซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1954 ซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดหลักสำหรับดาวเทียมและเพย์ทีวีในภูมิภาค โดยครอบครองส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของตลาดกระจายเสียงในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ บริษัทกระจายเสียงรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ได้แก่ เอ็ม บี ซี กรุ๊ป, โรตานา กรุ๊ป และ Saudi Broadcasting Authority[148]
รัฐบาลซาอุดีอาระเบียติดตามสื่ออย่างใกล้ชิด และจำกัดสื่อดังกล่าวภายใต้กฎหมายของรัฐที่เป็นทางการ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดข้อจำกัดเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามบางอย่างที่นำโดยรัฐบาลในการควบคุมข้อมูลได้ดึงดูดความสนใจจากนานาชาติด้วยเช่นกัน ใน ค.ศ. 2022 ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนประเมินสถานการณ์สื่อมวลชนของราชอาณาจักรว่า "ตึงเครียดมาก"[149] หนังสือพิมพ์ยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียกำเนิดขึ้นในซาอุดีอาระเบีย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศและในบริเวณอ่าวเปอร์เซียคือ อัล ฟะลาฮ์ ซึ่งเปิดตัวในปี 1920 หนังสือพิมพ์ทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในซาอุดีอาระเบียดำเนินงานโดยเอกชน[150]
ประชากรของซาอุดีอาระเบียได้รับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในปี 1994[151] จากข้อมูลของธนาคารโลก ณ ปี 2020 ประชากร 98% ของซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของประเทศที่มีเปอร์เซ็นต์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด[152] ซาอุดีอาระเบียมีความเร็วอินเทอร์เน็ต 5G ที่เร็วที่สุดชาติหนึ่งในโลก[153][154] และยังเป็นตลาดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 27 ด้วยรายได้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2021 โดยนำหน้าเบลเยียมและหลังนอร์เวย์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ มีสภาที่ปรึกษาหรือสภาชูรอ ซึ่งไม่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ[7] เพราะบทบาทของสภานี้มีแค่เฉพาะเป็นที่ปรึกษา จึงไม่ถือเป็นนิติบัญญัติ[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "About Saudi Arabia: Facts and figures". The Royal Embassy of Saudi Arabia, Washington, DC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2012.
- ↑ 2.0 2.1 Saudi Arabia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ↑ "Basic Law of Governance". Ministry of Education. Ministry of Education – Kingdom of Saudi Arabia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
- ↑ "The World Factbook". 2 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02.
- ↑ "Saudi Arabia - The World Factbook". CIA. CIA. สืบค้นเมื่อ 30 May 2021.
- ↑ "Religious Composition by Country" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2021.
- ↑ Hefner, Robert W. (2009). Remaking Muslim Politics: Pluralism, Contestation, Democratization. Princeton University Press. p. 202. ISBN 978-1-4008-2639-1.
- ↑ "Analysts: Saudi Arabia Nervous About Domestic Discontent". www.voanews.com. VoA News - English. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
- ↑ "The total population – General Authority for Statistics". stats.gov.sa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2022". IMF.org. International Monetary Fund. October 2022. สืบค้นเมื่อ October 11, 2022.
- ↑ "The World Factbook". CIA.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 28 May 2019.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ James E. Lindsay (2005-06-30). Daily Life in the Medieval Islamic World. Internet Archive. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-32270-9.
- ↑ Al-Rasheed, Madawi (2013-03-15). A Most Masculine State: Gender, Politics and Religion in Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-76104-8.
- ↑ "Council of Ministers System | The Embassy of The Kingdom of Saudi Arabia". www.saudiembassy.net.
- ↑ Wehrey, Frederic; Wehrey, Frederic. "The Authoritarian Resurgence: Saudi Arabia's Anxious Autocrats". Carnegie Endowment for International Peace (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Malbouisson, Cofie D. (2007). Focus on Islamic issues. ISBN 978-1-6002
- ↑ "Saudi Crown Prince Mohammed seeks to reduce influential clerics' power". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ Learsy, Raymond (2011). Oil and Finance: The Epic Corruption. p. 89.
- ↑ "Oil Discovered in Saudi Arabia - National Geographic Society". web.archive.org. 2016-12-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-12. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Byman, Daniel L. (-001-11-30T00:00:00+00:00). "Confronting Passive Sponsors of Terrorism". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Buzan, Barry (2004). The United States and the Great Powers. Cambridge: Polity Press. p. 71. ISBN 978-0-7456-3375-6.
- ↑ https://www.eia.gov/international/?view=production
- ↑ Wynbrandt, James (2004). A Brief History of Saudi Arabia. Infobase Publishing. p. 242. ISBN 978-1-4381-0830-8. Archived from the original on 11 February 2023. Retrieved 20 June 2015.
- ↑ "Tax in Saudi Arabia | Saudi Arabia Tax Guide - HSBC Expat". www.expat.hsbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Lewis, Bernard (2003). The crisis of Islam : holy war and unholy terror. Internet Archive. New York : Modern Library. ISBN 978-0-679-64281-7.
- ↑ Safran, Nadav (1988). Saudi Arabia: The Ceaseless Quest for Security (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9484-0.
- ↑ "Saudi Arabia". U.S. Department of State.
- ↑ Wilson, Peter W. (1994-07-20). Saudi Arabia: The Coming Storm (ภาษาอังกฤษ). M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-3347-7.
- ↑ Kamrava, Mehran (2011-01-03). The Modern Middle East: A Political History since the First World War (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. ISBN 978-0-520-94753-5.
- ↑ Wynbrandt, James (2010). A brief history of Saudi Arabia. Internet Archive. New York, NY : Facts On File. ISBN 978-0-8160-7876-9.
- ↑ Hariri-Rifai, Wahbi; Hariri-Rifai, Mokhless (1990). The heritage of the Kingdom of Saudi Arabia. p. 26. ISBN 978-0-9624483-0-0.
- ↑ Stokes, Jamie (2009). Encyclopedia of the Peoples of Africa and the Middle East, Volume 1. p. 605. ISBN 978-0-8160-7158-6.
- ↑ University Microfilms (2004). Dissertation Abstracts International: The sciences and engineering. p. 23.
- ↑ Vincent, Peter (2008-01-17). Saudi Arabia: An Environmental Overview (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. ISBN 978-0-203-03088-2.
- ↑ "Saudi Arabia | History, Map, Flag, Capital, Population, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Francis, Mohammed. "The Tourists Guide To The 10 Amazing Volcanoes in Saudi Arabia". For Lovers Of The Magic Kingdom (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Dinerstein, Eric; Olson, David; Joshi, Anup; Vynne, Carly; Burgess, Neil D.; Wikramanayake, Eric; Hahn, Nathan; Palminteri, Suzanne; Hedao, Prashant; Noss, Reed; Hansen, Matt (2017-06-01). "An Ecoregion-Based Approach to Protecting Half the Terrestrial Realm". Bioscience. 67 (6): 534–545. doi:10.1093/biosci/bix014. ISSN 0006-3568. PMC 5451287. PMID 28608869.
- ↑ "Species in theRed Sea". www.fishbase.se.
- ↑ Department Of State. The Office of Electronic Information, Bureau of Public Affairs. "Saudi Arabia". 2001-2009.state.gov (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudi Arabia Archives". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Abiad, Nisrine (2008). Sharia, Muslim States and International Human Rights Treaty Obligations: A Comparative Study (ภาษาอังกฤษ). BIICL. ISBN 978-1-905221-41-7.
- ↑ Anishchenkova, Valerie (2020-06-01). Modern Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 978-1-4408-5705-8.
- ↑ "2009 Human Rights Report: Saudi Arabia". web.archive.org. 2010-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-15. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Rights group condemns Saudi beheadings". NBC News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudi system condemned". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2003-08-09.
- ↑ "Saudi executioner tells all" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2003-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Saudi Arabia to abolish flogging - supreme court". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-04-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "In landmark decision, Saudi Arabia to eliminate flogging punishment". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-24.
- ↑ "Women and Saudi Arabia's Male Guardianship System | HRW". web.archive.org. 2016-08-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Public Debate in Saudi Arabia on Employment Opportunities for Women". MEMRI (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "The Australian who has become a prisoner of gender apartheid". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2009-11-13.
- ↑ Venter, Al J. (2007). Allah's bomb : the Islamic quest for nuclear weapons. Internet Archive. Guilford, CT : Lyons. ISBN 978-1-59921-205-0.
- ↑ "Asia Times - Asia's most trusted news source for the Middle East". web.archive.org. 2003-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Global defence spending: the United States widens the gap". IISS (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "USA and France dramatically increase major arms exports; Saudi Arabia is largest arms importer, says SIPRI | SIPRI". www.sipri.org.
- ↑ "About this Collection | Country Studies | Digital Collections | Library of Congress". Library of Congress, Washington, D.C. 20540 USA.
- ↑ "U.S. Arms Clients Profiles--SAUDI ARABIA". web.archive.org. 2010-11-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "U.S. Middle East Policy-Arms for the King and His Family: The U.S. Arms Sale to Saudi Arabia". web.archive.org. 2010-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Reuters | Breaking International News & Views". Reuters (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "KUNA : Arab leaders issue resolutions, emphasize Gaza reconstruction efforts - - 20/01/2009". www.kuna.net.kw.
- ↑ "OPEC : Brief History". www.opec.org.
- ↑ "The Arab Oil Threat". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1973-11-23. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ Norton, Ben (2016-08-30). "Rights group blasts U.S. "hypocrisy" in "vast flood of weapons" to Saudi Arabia, despite war crimes". Salon (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Obama: Congress veto override of 9/11 lawsuits bill 'a mistake'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-09-29. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "We finally know what Hillary Clinton knew all along – Saudi Arabia is funding Isis". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2016-10-15.
- ↑ "How strained are US-Saudi relations?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ News, A. B. C. "The truth about President Trump's $110 billion Saudi arms deal". ABC News (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Iraq's foreign militants 'come from US allies'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2007-11-22.
- ↑ "Saudi Poll: China Leads U.S.; Majority Back Curbs on Extremism, Coronavirus". The Washington Institute (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ma, Alexandra. "Saudi crown prince defended China's imprisonment of a million Muslims in internment camps, giving Xi Jinping a reason to continue his 'precursors to genocide'". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Saudi Arabian troops enter Bahrain as regime asks for help to quell uprising". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2011-03-14.
- ↑ "'The Yemen war death toll is five times higher than we think – we can't shrug off our responsibilities any longer'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-26.
- ↑ "Gulf-allies-and-'Army-of-Conquest' - Al-Ahram Weekly". web.archive.org. 2015-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-15. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "'Army of Conquest' rebel alliance pressures Syria regime". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "At last, a Western country stands up to Saudi Arabia on human rights". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2015-03-13.
- ↑ "Qatar-Gulf crisis: Your questions answered". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudi Arabia signs cooperation deals with China on nuclear energy". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2017-08-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". IMF (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "International - U.S. Energy Information Administration (EIA)". www.eia.gov.
- ↑ "Wayback Machine". web.archive.org. 2010-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Network, WANG KAIHAO China Daily Asia News (2018-03-24). "Ancient silk road port found in Saudi Arabia". nationthailand (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "How Saudi Arabia revived the ancient Silk Road". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-03.
- ↑ "China to Boost Belt and Road Links with Saudi Arabia". The Maritime Executive (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Insights". www.business.hsbc.ae (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Poverty Hides Amid Saudi Arabia's Oil Wealth". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Saudi film-makers enter second week of detention". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2011-10-23.
- ↑ "A foreign Saudi plot to expose foreign poverty in foreign Saudi « Lebanon Spring". web.archive.org. 2012-01-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Saudi Arabia ends domestic wheat production | World-grain.com | March 18, 2016 14:23 | World Grain". www.world-grain.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Elopak". web.archive.org. 2008-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Agriculture & Water | The Embassy of The Kingdom of Saudi Arabia". www.saudiembassy.net.
- ↑ "Desalination in Saudi Arabia: An attractive investment opportunity". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-25.
- ↑ Wilkerson, Michael (2024-11-26). "Why is Saudi Arabia buying up African farmland?". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Aburawa, Arwa (2012-06-26). "African Land Grab Continues – Middle East Is Major Buyer - Green Prophet" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Outsourcing's third wave". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2024-11-24.
- ↑ Khetani, Sanya. "These 14 Countries Are Buying Incredible Amounts Of Foreign Land In Deals You Never Hear About". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ X (2014-03-29). "China looks abroad for greener pastures". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "WASHwatch has ended | WASH Matters". washmatters.wateraid.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ WHO/UNICEF Joint Monitoring Programme for Water Supply and Sanitation
- ↑ "Wish you were here". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Saudi Arabia on the dole". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ Long, David E. (2005). Culture and customs of Saudi Arabia. Internet Archive. Greeenwood Press. ISBN 978-0-313-32021-7.
- ↑ "About ArRiyadh". High Commission for the Development of Ar-Riyadh. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 105.0 105.1 105.2 105.3 105.4 105.5 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Eastern Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 106.0 106.1 106.2 106.3 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Makkah Al-Mokarramah Region, 2014 A.D." Stats.gov.sa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 107.0 107.1 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Aseer Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Hail Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 109.0 109.1 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Madinah Al-Monawarah Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Riyad Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Qaseem Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Najran Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Tabouk Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "وزارة التعليم". web.archive.org. 2022-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2024-06-30.
- ↑ الحيدري, الرياض: فيصل (2012-06-20). "20 ألف سعودي يتحدثون "المهرية"". Watanksa (ภาษาArabic).
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Basheer, K. P. M. (2017-12-13). "Market for Malayalam films unfolding in Saudi". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2024-11-24.
- ↑ "Saudi Education System". www.ukessays.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "K 12 Education System of Saudi Arabia Classes 1 to 12". www.saudiarabiaeducation.info.
- ↑ "Literacy rate, adult female (% of females ages 15 and above) | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Literacy rate, adult male (% of males ages 15 and above) | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Literacy rate, youth male (% of males ages 15-24) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Literacy rate, youth female (% of females ages 15-24) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "ShanghaiRanking's Academic Ranking of World Universities". www.shanghairanking.com.
- ↑ "QS Arab Region University Rankings 2022". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudi Arabia most improved economy for business". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-28.
- ↑ "Global Innovation Index 2019". www.wipo.int (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "RTD - Global Innovation Index 2020 (Cornell/Insead/WIPO)". ec.europa.eu.
- ↑ "Education in Saudi Arabia". WENR (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2001-11-01.
- ↑ "freedomhouse.org: Press Release". web.archive.org. 2008-12-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ Al-Hanawi, Mohammed Khaled; Khan, Sami A.; Al-Borie, Hussein Mohammed (2019-02-27). "Healthcare human resource development in Saudi Arabia: emerging challenges and opportunities—a critical review". Public Health Reviews. 40 (1): 1. doi:10.1186/s40985-019-0112-4. ISSN 2107-6952. PMC 6391748. PMID 30858991.
{{cite journal}}
: CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ "Abdullah Al-Faisal Passes Away". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2007-05-09.
- ↑ "Saudi Arabia's 937 Service Center received 80,007 calls last week". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-15.
- ↑ "It's time to tip the scale against Saudi Arabia's obesity problem". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2018-08-01.
- ↑ "Life expectancy at birth, total (years) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Noncommunicable diseases: Risk factors". www.who.int (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ correspondent, Martin Chulov Middle East (2019-08-03). "'We feel empowered': Saudi women relish their new freedoms". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-11-24.
- ↑ "Saudi Arabia to allow adult women to travel, register divorce". The Nation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-08-02.
- ↑ "Saudi Arabia's Legal Reforms Help Women in the Workforce". web.archive.org. 2023-08-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-14. สืบค้นเมื่อ 2024-11-24.
- ↑ "2010 Human Rights Report: Saudi Arabia". web.archive.org. 2011-04-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2024-11-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Saudi Arabia Reforms Marriage Laws To Empower Women". About Her (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-09.
- ↑ "Culture, Traditions and Art". Saudi Arabian Cultural Mission | (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://web.archive.org/web/20111028000423/http://saudiembassy.net/files/PDF/Publications/Magazine/1998-Winter/slamdunk.htm
- ↑ "Saudi women show greater interest in sports and games - Arab News". web.archive.org. 2012-01-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Men Basketball Asia Championship 1999 Fukuoka (JPN)- 28.08-05.09 Winner China". web.archive.org. 2012-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Elwazer, Schams (2013-05-05). "Saudi government sanctions sports in girls' private schools". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudi Arabia: No Women on Asian Games Team". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2014-09-17.
- ↑ Hallam, Emanuella Grinberg,Jonny (2017-10-30). "Saudi Arabia to let women into sports stadiums". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ The Report: Saudi Arabia 2008 (ภาษาอังกฤษ). Oxford Business Group. 2008. ISBN 978-1-902339-00-9.
- ↑ "Index | RSF". rsf.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Wayback Machine". web.archive.org. 2014-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-10-16.
- ↑ "Internet in Saudi Arabia | Internet.sa | انترنت السعودية". internet.sa.
- ↑ "Individuals using the Internet (% of population) - Saudi Arabia | Data". data.worldbank.org.
- ↑ "Saudi Arabia has fastest 5G download speed, S Korea second --Full list of 15 countries". Zee News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Saudi 5G Is Fast, and New Spectrum Allocations Should Make it Faster". Ookla - Providing network intelligence to enable modern connectivity (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-19.
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
บรรณานุกรม
[แก้]- Abir, Mordechai (1987). Saudi Arabia in the oil era: regime and elites : conflict and collaboration. ISBN 978-0-7099-5129-2.
- Abir, Mordechai (1993). Saudi Arabia: Government, Society, and the Persian Gulf Crisis. ISBN 978-0-415-09325-5.
- Mordechai, Abir (2019). Saudi Arabia In The Oil Era: Regime And Elites; Conflict And Collaboration. Taylor & Francis. ISBN 978-1-00-031069-6.
- Al-Rasheed, Madawi (2010). A History of Saudi Arabia. ISBN 978-0-521-74754-7.
- Bowen, Wayne H. (2007). The History of Saudi Arabia. ISBN 978-0-313-34012-3.
- Hegghammer, Thomas (2010). Jihad in Saudi Arabia: Violence and Pan-Islamism Since 1979. ISBN 978-0-521-73236-9.
- House, Karen Elliott (2012). On Saudi Arabia: Its People, Past, Religion, Fault Lines—and Future. Alfred A. Knopf. ISBN 978-0-307-27216-4.
- Long, David E. (2005). Culture and Customs of Saudi Arabia. ISBN 978-0-313-32021-7.
- Malbouisson, Cofie D. (2007). Focus on Islamic issues. ISBN 978-1-60021-204-8.
- Otto, Jan Michiel (2010). Sharia Incorporated: A Comparative Overview of the Legal Systems of Twelve Muslim Countries in Past and Present. ISBN 978-90-8728-057-4.
- Tausch, Arno; Heshmati, Almas; Karoui, Hichem (2015). The political algebra of global value change. General models and implications for the Muslim world (1st ed.). New York: Nova Science. ISBN 978-1-62948-899-8. Available at: https://www.researchgate.net/publication/290349218_The_political_algebra_of_global_value_change_General_models_and_implications_for_the_Muslim_world
- Tausch, Arno (2021). The Future of the Gulf Region: Value Change and Global Cycles. Gulf Studies, Volume 2, edited by Prof. Mizanur Rahman, Qatar University (1st ed.). Cham, Switzerland: Springer. ISBN 978-3-030-78298-6., especially Chapter 8: Saudi Arabia—Religion, Gender, and the Desire for Democracy. In: The Future of the Gulf Region. Gulf Studies, vol 2. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-78299-3_8
- Tripp, Harvey; North, Peter (2009). CultureShock! A Survival Guide to Customs and Etiquette. Saudi Arabia (3rd ed.). Marshall Cavendish.
- Tripp, Harvey; North, Peter (2003). Culture Shock, Saudi Arabia. A Guide to Customs and Etiquette. Singapore; Portland, Oregon: Times Media Private Limited.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ซาอุดีอาระเบีย เก็บถาวร 2021-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์รัฐบาลอย่างเป็นทางการ
- Saudi Arabia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่เว็บไซต์ Curlie
- Mister Saad[ลิงก์เสีย] will provide his app development service in Saudi Arabia
- Saudi Arabia profile from the BBC News
- Wikimedia Atlas of Saudi Arabia
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- Key Development Forecasts for Saudi Arabia from International Futures