ภาษาปัญจาบ
ปัญจาบ | |
---|---|
ਪੰਜਾਬੀ, پن٘جابی | |
'ปัญจาบี' ซึ่งเขียนด้วยอักษรชาห์มุขีที่ใช้ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน (บน) และอักษรคุรมุขีที่ใช้ในรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย (ล่าง) | |
ออกเสียง |
|
ประเทศที่มีการพูด | ปากีสถานและอินเดีย |
ภูมิภาค | ภูมิภาคปัญจาบ |
ชาติพันธุ์ | ชาวปัญจาบ |
จำนวนผู้พูด | 113 ล้านคน (2017)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน |
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย |
ผู้วางระเบียบ | Department of Languages, ปัญจาบ, ประเทศอินเดีย[7] Punjab Institute of Language, Art, and Culture - ปากีสถาน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | pa |
ISO 639-2 | pan |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:pan – Panjabipnb – Western Panjabi |
Linguasphere | 59-AAF-e |
พื้นที่ในอนุทวีปอินเดียที่มีผู้พูดภาษาปัญจาบ | |
ปัญจาบ (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ, อักษรชาห์มุขี: پن٘جابی,[8] ออกเสียง [pənˈdʒaːbːi]) เป็นภาษาอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวปัญจาบในภูมิภาคปัญจาบของประเทศปากีสถานและอินเดีย มีการประมาณว่ามีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 113 ล้านคน โดย 80.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2017 อยู่ในปากีสถาน ส่วนอินเดียมีผู้พูด 31.1 ล้านคน (ใน ค.ศ. 2011)
ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) [9]และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา'
ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้
สำเนียงและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
[แก้]ภาษาปัญจาบ เป็นภาษาราชการของรัฐปัญจาบในอินเดีย และเป็นภาษาราชการร่วมในรัฐข้างเคียงคือ จันทิครห์ เดลฮี และหรยณะ มีผู้พูดในบริเวณใกล้เคียงเช่นแคชเมียร์และหิมาจัลประเทศ เป็นภาษาหลักของจังหวัดปัญจาบในปากีสถานแต่ไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ โดยภาษาราชการในบริเวณดังกล่าวคือภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ
ภาษาปัญจาบมีสำเนียงต่างๆมากมาย โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาสินธีในปากีสถานและภาษาฮินดีในประเทศอินเดีย สำเนียงหลักของภาษาปัญจาบคือ ลาโฮรี ดัรบี มัลไว และโปวาธี ในอินเดีย สำเนียง โปโกฮารี ลัห์นดี และ มุลตานีในปากีสถาน สำเนียงลาโอรีเป็นสำเนียงมาตรฐานสำหรับภาษาเขียนของภาษาปัญจาบ บางสำเนียงเช่นสำเนียงโดกรี สิไรกิ และอินห์โก บางครั้งแยกออกเป็นอีกภาษาต่างหาก
ภาษาปัญจาบตะวันตกและตะวันออก
[แก้]แหล่งข้อมูลบางแหล่งแบ่งภาษาปัญจาบเป็นภาษาปัญจาบตะวันตกหรือลัห์นดี กับภาษาปัญจาบตะวันออกซึ่งเป็นข้อมูลที่อ้างอิงจาก G.A. Grierson นักภาษาศาสตร์ท่เข้าไปสำรวจในอินเดีย Grierson กำหนดว่าภาษาปัญจาบตะวันตกคือภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกของเส้นแบ่งแนวเหนือใต้จากตำบลสาหิวัลไปตำบลคุชรานวาลา อย่างไรก็ตามข้อเสนอนี้ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่
คำศัพท์
[แก้]คำศัพท์ภาษาปัญจาบสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ ภาษาอูรดู ภาษาเปอร์เซีย และภาษาสันสกฤต ภาษาที่ใช้ในหมู่ผู้อพยพชาวปัญจาบจะมีคำยืมจากภาษาที่ใช้ในบริเวณนั้น เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาดัตช์
อ้างอิง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 80.5 ล้านคนในประเทศปากีสถาน (2017), 31.1 ล้านคนในอินเดีย (2011), 0.5 ล้านคนในประเทศแคนาดา (2016), 0.3 ล้านคนในสหราชอาณาจักร (2011), 0.3 ล้านคนในสหรัฐ (2017), 0.1 ล้านคนในออสเตรเลีย (2016). ดู § การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ ข้างล่าง.
- ↑ "NCLM 52nd Report" (PDF). NCLM. 15 November 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
- ↑ "Punjab mandates all signage in Punjabi, in Gurmukhi script". The Hindu. 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.0
- ↑ "All milestones, signboards in Haryana to bear info in English, Hindi and Punjabi: Education Minister". The Indian Express. 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
- ↑ "Punjabi, Urdu made official languages in Delhi". The Times of India. 25 June 2003. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ "Multi-lingual Bengal". The Telegraph. 11 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018.
- ↑ India, Tribune (19 August 2020). "Punjabi matric exam on Aug 26". The Tribune. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
- ↑ Laurie Bauer, 2007, The Linguistics Student's Handbook, Edinburgh
- ↑ Bhatia, T. "Punjabi: A Cognitive-Descriptive Grammar", 1993. p 279. ISBN 0-415-00320-2
ข้อมูล
[แก้]- Bhardwaj, Mangat Rai (2016), Panjabi: A Comprehensive Grammar, Routledge, doi:10.4324/9781315760803, ISBN 9781138793859.
- Bhatia, Tej K. (2008), "Major regional languages", ใน Braj B. Kachru; Yamuna Kachru; S.N. Sridhar (บ.ก.), Language in South Asia, Cambridge University Press, pp. 121–131, doi:10.1017/CBO9780511619069.008, ISBN 9780511619069.
- แม่แบบ:Cite LSI
- Jain, Dhanesh (2003), "Sociolinguistics of the Indo-Aryan Languages", ใน Cardona, George; Jain, Dhanesh (บ.ก.), The Indo-Aryan Languages, Routledge, pp. 46–66, ISBN 978-0-415-77294-5.
- Masica, Colin (1991), The Indo-Aryan Languages, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-29944-2.
- Nayar, Baldev Raj (1966), Minority Politics in the Punjab, Princeton University Press, ISBN 9781400875948.
- Shackle, Christopher (2003), "Panjabi", ใน Cardona, George; Jain, Dhanesh (บ.ก.), The Indo-Aryan Languages, Routledge, pp. 581–621, ISBN 978-0-415-77294-5.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bhatia, Tej. 1993 and 2010. Punjabi : a cognitive-descriptive grammar. London: Routledge. Series: Descriptive grammars.
- Gill H.S. [Harjit Singh] and Gleason, H.A. 1969. A reference grammar of Punjabi. Revised edition. Patiala, Punjab, India: Languages Department, Punjab University.
- Chopra, R. M., Perso-Arabic Words in Punjabi, in: Indo-Iranica Vol.53 (1–4).
- Chopra, R. M.., The Legacy of The Punjab, 1997, Punjabee Bradree, Calcutta.
- Singh, Chander Shekhar (2004). Punjabi Prosody: The Old Tradition and The New Paradigm. Sri Lanka: Polgasowita: Sikuru Prakasakayo.
- Singh, Chander Shekhar (2014). Punjabi Intonation: An Experimental Study. Muenchen: LINCOM EUROPA.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาษาปัญจาบ ที่เว็บไซต์ Curlie
- English to Punjabi Dictionary เก็บถาวร 10 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน