ประเทศภูฏาน
ราชอาณาจักรภูฏาน འབྲུག་རྒྱལ་ཁབ (ซองคา) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ทิมพู 27°28.0′N 89°38.5′E / 27.4667°N 89.6417°E |
ภาษาราชการ | ซองคา |
ศาสนา | |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก | |
เชอริง ต๊อบเกย์ | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | สภาแห่งชาติ |
• สภาล่าง | สมัชชาแห่งชาติ |
ก่อตั้ง | |
• รวมชาติภูฏาน | ค.ศ. 1616–1634 |
17 ธันวาคม ค.ศ. 1907 | |
8 สิงหาคม ค.ศ. 1949 | |
21 กันยายน ค.ศ. 1971 | |
18 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 38,394 ตารางกิโลเมตร (14,824 ตารางไมล์)[3][4] (อันดับที่ 133) |
1.1 | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 797,765[5] (อันดับที่ 165) |
• สำมะโนประชากร 2022 | 727,145[6] |
19.3 ต่อตารางกิโลเมตร (50.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 162) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 9.853 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 166) |
• ต่อหัว | 12,967 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 134) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 2.653 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 178) |
• ต่อหัว | $3,491[7] (อันดับที่ 153) |
จีนี (2017) | 37.4[8] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.654[9] ปานกลาง · อันดับที่ 129 |
สกุลเงิน | งุลตรัม (BTN) รูปี (₹) (INR) |
เขตเวลา | UTC+06 (เวลามาตรฐานภูฏาน) |
รูปแบบวันที่ | ปปปป-ดด-วว |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +975 |
โดเมนบนสุด | .bt |
ประเทศภูฏาน (อังกฤษ: Bhutan; บูตาน, ซองคา: འབྲུག་ཡུལ་, อักษรโรมัน: Druk Yul, /ʈuk̚˩.yː˩/; ฏุ่กยวี่)[10] หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (อังกฤษ: Kingdom of Bhutan; ซองคา: འབྲུག་རྒྱལ་ཁབ་, อักษรโรมัน: Druk Gyal Khap)[11] เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน
ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน เป็นชื่อเรียกในภาษาฮินดี भूटान (Bhūṭān) มีที่มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"
เทือกเขาหิมาลัยในภูฏาน มียอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 7,000 เมตร (23,000 ฟุต) Gangkhar Puensum เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของภูฏานและอาจเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ยังไม่มีนักเดินทางไปพิชิตยอดเขา[12] สัตว์ป่าของภูฏานมีความโดดเด่นในด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง[13] รวมทั้งทาคิน เมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูฏานคือทิมพู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
ภูฏานและทิเบตเป็นดินแดน แรก ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งมีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดียในช่วงชีวิตของพระโคตมพุทธเจ้า ในสหัสวรรษแรก สำนักพระพุทธศาสนาวัชรยานได้แผ่ขยายไปยังภูฏานจากจักรวรรดิปาละแห่งเบงกอลทางใต้ ทิเบต ภูฏาน รัฐสิกขิม และบางส่วนของเนปาล ภูฏานเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิทิเบตเช่นกัน ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 16 เงวัง นามยาล องค์ลามะผู้มีชื่อเสียง ได้รวมหุบเขาของภูฏานให้เป็นรัฐเดียว นามยาลเป็นผู้นำดินแดนในการเอาชนะการรุกรานของทิเบตได้สามครั้ง รวมถึงปราบปรามโรงเรียนสอนศาสนาที่เป็นคู่แข่งกัน ทำการรวบรวมประมวลกฎหมาย Tsa Yig และจัดตั้งรัฐบาลของผู้บริหารตามระบอบประชาธิปไตยและพลเรือน นามยาลกลายเป็น Zhabdrung Rinpoche หรือผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่คนแรกของประเทศ และผู้สืบทอดของเขาทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของภูฏาน เช่น ทะไลลามะในทิเบต ในช่วงศตวรรษที่ 17 ภูฏานได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย สิกขิม และเนปาล และยังมีอิทธิพลอย่างมากในรัฐคูชเบฮาร์[14] ภูฏานยกเบงกอลดูอาร์ให้แก่บริติชราชในช่วงสงครามภูฏานในศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์วังชุกกลายเป็นผู้ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย และรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอังกฤษในอนุทวีป ต่อมาใน ค.ศ. 1910 ประเทศได้ร่วมสนธิสัญญารับประกันตามคำแนะนำของอังกฤษในด้านนโยบายต่างประเทศเพื่อแลกกับการปกครองตนเองภายในในภูฏาน ข้อตกลงดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่กับอินเดียในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งทั้งสองประเทศยอมรับอธิปไตยของกันและกัน ภูฏานเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1971 และขยายความสัมพันธ์กับ 55 ประเทศ รวมทั้งบังกลาเทศ[15] อิสราเอล[16] คูเวต[17] บราซิล[18] ญี่ปุ่น[19] ไทย[20] และตุรกี[21] รวมถึงสหภาพยุโรป ในขณะที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากกองทัพอินเดีย แต่ภูฏานยังคงมีหน่วยทหารของตนเอง
รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2008 นำไปสู่จัดตั้งรัฐบาลแบบรัฐสภาโดยมีรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งและสภาแห่งชาติเป็นผู้ควบคุม ภูฏานเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) ในปี 2020 ภูฏานอยู่ในอันดับสามในเอเชียใต้ รองจากศรีลังกาและมัลดีฟส์ในดัชนีการพัฒนามนุษย์[22] ภูฏานยังเป็นสมาชิกของ กลุ่มประเทศเพื่อความร่วมมือแก้ไขผลกระทบภาวะโลกร้อน Climate Vulnerable Forum, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, บิมสเทค, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ธนาคารโลก, ยูเนสโก และ องค์การอนามัยโลก ภูฏานอยู่ในอันดับหนึ่งในด้านเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ความสะดวกในการทำธุรกิจ สันติภาพ และอัตราการทุจริตในปี 2016 และเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำสำรองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ[23] ปัญหาสำคัญในปัจจุบันของประเทศคือ การละลายของธารน้ำแข็งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[24]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453
การเมือง
[แก้]1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล (พ.ศ 2451 – 2540)
2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยมีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรีบริหาร ประเทศ (พ.ศ. 2541 – 2551) สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเก วังชุก ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรี ขึ้นบริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏาน เป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว และไม่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป
- นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้ารัฐบาลคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณะมนตรี ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภาคณะมนตรี (เทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 10 คน และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดลำดับ 1 - 5 จะสลับหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานสภาคณะมนตรีวาระละ 1 ปี
3) การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ (ตั้งแต่ปี 2551)
มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ทรองดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน
- สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
- สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ในสมัยศตวรรษที่ 17 ลามะ ซับดุง นาวัง นัมเกยล ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 ลามะ ซับดุง ได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ สมเด็จพระราชาธิบดีอูเก็น วังชุก ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองทรองซา ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์วังชุก ในปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองทรองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำ และเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนา และมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 คือ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก
ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพรรคการเมืองสองพรรค
กองทัพ
[แก้]กองทัพหลวงภูฏานเป็นกองทัพของภูฏานและเป็นกองกำลังติดอาวุธที่อ่อนแอที่สุด[25] ตามการสำรวจของ Global Firepower ประกอบด้วยราชองครักษ์และตำรวจภูฏาน การเป็นสมาชิกเป็นไปโดยสมัครใจและอายุขั้นต่ำในการรับสมัครคือ 18 ปี กองทัพประจำการมีจำนวนประมาณ 16,000 คน และได้รับการฝึกฝนโดยกองทัพอินเดีย มีงบประมาณประจำปีประมาณ 13.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.8% ของ GDP) ในฐานะประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูฏานจึงไม่มีกองทัพเรือ นอกจากนี้ยังไม่มีกองทัพอากาศหรือกองบินทหารบก กองทัพพึ่งพากองบัญชาการอากาศของกองทัพอากาศอินเดียในการช่วยเหลือทางอากาศ
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น มณฑล รวมทั้งหมด 20 มณฑล ได้แก่
|
|
สัญลักษณ์ประจำชาติ
[แก้]- สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
- ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัสนิยมปลูกตามวัด
- ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน
- อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ Ema datshi ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เช่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
- ธงชาติภูฏาน
- สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
- สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
- มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศ
[แก้]ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ
- เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
- ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
- ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน
ภูมิอากาศ
[แก้]เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
- ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
- ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
- ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
- ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง
เศรษฐกิจ
[แก้]สกุลเงินของภูฏานคืองุลตรัมซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย[26]
แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก[26] แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4[27] ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา[28][29]
รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย
การท่องเที่ยว
[แก้]ในปี 2014 ภูฏานต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 133,480 คน เพื่อมุ่งสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่มีมูลค่าสูง โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายวันระหว่าง 180 ถึง 290 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน[30] (หรือมากกว่านั้น) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ครอบคลุมการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักในโรงแรม[31] อุตสาหกรรมนี้มีพนักงาน 21,000 คนและคิดเป็น 1.8% ของ GDP อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของภูฏานในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าแท้จริงแล้วเพียงดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยเท่านั้น
ทรัพยากรธรรมชาติ
[แก้]ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
ประชากร
[แก้]- จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน
- อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546)
- เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
- ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก
- งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
- โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
- กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ
- กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มเชื้อสายธิเบต
- กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ
- กลุ่ม เนปาล คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล
- กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย และ อื่นๆ
- กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
สุขภาพ
[แก้]ประชากรภูฏานมีอายุขัยเฉลี่ย 70.2 ปี (69.9 สำหรับผู้ชาย และ 70.5 สำหรับผู้หญิง) ตามข้อมูลล่าสุดในปี 2016 จากธนาคารโลก[32] การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานในภูฏานนั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญของภูฏาน[33]
วัฒนธรรม
[แก้]- ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
- เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)
- วันหยุดและเทศกาล
- วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
- วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
- วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว
อาหาร
[แก้]ข้าว (ข้าวแดง) บัควีท และข้าวโพด เป็นอาหารหลักของชาวภูฏาน อาหารท้องถิ่นยังรวมถึงเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อจามรี ไก่ และเนื้อแกะ และยังมีซุปและสตูว์เนื้อสัตว์และผักแห้งที่ปรุงรสด้วยพริกและชีส Ema datshi ปรุงด้วยชีสและพริกเผ็ดมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติที่แพร่หลายและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวภูฏาน อาหารประเภทนม โดยเฉพาะเนยและชีสจากยาคค์และวัว ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เครื่องดื่มยอดนิยม ได้แก่ ชาเนย ชาดำ อาราที่ผลิตในท้องถิ่น (ไวน์ข้าว) และเบียร์
ศาสนา
[แก้]ประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่าวัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และศาสนาคริสต์ 0.3%
- ดูเพิ่มเติมได้ที่ พุทธศาสนาในประเทศภูฏาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pew Research Center – Global Religious Landscape 2010 – religious composition by country" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2016.
- ↑ "Bhutan, Religion And Social Profile | National Profiles | International Data". Thearda.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-17. สืบค้นเมื่อ 2022-07-17.
- ↑ "9th Five Year Plan (2002–2007)" (PDF). Royal Government of Bhutan. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2011.
- ↑ "National Portal of Bhutan". Department of Information Technology, Bhutan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "Bhutan". City Population. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Butan". International Monetary Fund.
- ↑ "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 September 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ การเขียนและอ่านชื่อ ประเทศภูฏาน - ราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ Driem, George van (1998). Dzongkha = Rdoṅ-kha. Leiden: Research School, CNWS. p. 478. ISBN 978-90-5789-002-4.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ "Flora and Fauna of Bhutan - Rich Biodiversity of the Himalayan Kingdom". www.holidify.com.
- ↑ Karthikeyan, Ananth (2017-10-01). "The brief supremacy of a mountain kingdom". DNA India (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Correspondent, Diplomatic (2014-12-09). "Bhutan was first to recognise Bangladesh". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Israel Establishes Diplomatic Relations With Bhutan". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ Newspaper, Bhutan's Daily. ""Bhutan and Kuwait have gained the trust and respect of the entire world"". Kuensel Online.
- ↑ https://www.mfa.gov.bt/?p=244#:~:text=Brazil%20is%20the%20only%20country,Bhutan%20has%20established%20diplomatic%20relations.&text=In%20total%2C%20Bhutan%20now%20has,on%20areas%20of%20mutual%20cooperation
- ↑ NEWS, KYODO. "Abe hails Japan's close ties with Bhutan, other royal families". Kyodo News+.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "King, Queen of Bhutan arrive". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ "From Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". Republic of Turkey Ministry of Foreign Affairs.
- ↑ "Human Development Index: Bangladesh moves 2 notches up, remains 5th in South Asia". Dhaka Tribune. 2020-12-21.
- ↑ https://www.un.org/esa/sustdev/sdissues/energy/op/hydro_tsheringbhutan.pdf
- ↑ "Bhutan | UNDP Climate Change Adaptation". www.adaptation-undp.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://web.archive.org/web/20090917165056/http://www.atimes.com/atimes/South_Asia/EL19Df04.html
- ↑ 26.0 26.1 "Bhutan:Economy". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
- ↑ "Rank Order - GDP - real growth rate". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
- ↑ "Power sales to India to fuel Bhutan's growth". The Hindu Business Line. 2007-01-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
- ↑ "Tala Hydroelectric Project, Bhutan". power-technology.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
- ↑ "Bhutan Tourist Visa Cost and Requirement". BhutanTravelOperator.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ CNN, Lester V. Ledesma. "5 reasons Bhutan is worth the US$250 daily fee". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Life expectancy at birth, total (years) - Bhutan | Data". data.worldbank.org.
- ↑ https://web.archive.org/web/20120904194200/http://www.constitution.bt/TsaThrim%20Eng%20(A5).pdf
- เมธา บรรณทัศน์. เปิดปูม คลายปม ภูฏาน. กทม. ชมรมเด็ก. 2550
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bhutan.gov.btเก็บถาวร 30 ธันวาคม 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Official Government Web Portal of Bhutan
- Bhutan. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Bhutan Links เก็บถาวร 2009-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the National Library of Bhutan.
- Bhutan profile, BBC News.
- Bhutan from UCB Libraries GovPubs.
- Bhutan, Encyclopædia Britannica entry.
- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 03 (11 ed.). 1911. pp. 846–848.
- ประเทศภูฏาน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Bhutan
- Key Development Forecasts for Bhutan from International Futures.