ข้ามไปเนื้อหา

นกปรอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae

เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน

เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด"[2] ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้[3] ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล"[4]

ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล[1]) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล [5] ได้แก่

นกปรอดที่พบในประเทศไทย

[แก้]

ทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[6] และมีบางชนิด คือ นกปรอดหัวโขน ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างแพร่หลาย[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Delacour, J. (1943): A revision of the genera and species of the family Pycnonotidae (bulbuls). Zoologica 28(1): 17–28.
  2. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๔ นก / อนุกรมนก[ลิงก์เสีย]
  3. "ปรอด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2012-11-05.
  4. Fishpool et al. (2005)
  5. Advance Thailand Geographic ฉบับที่ 125 พ.ศ. 2553
  6. สัตว์ป่าคุ้มครอง
  7. ชาวแหลมสิงห์เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกขาย สร้างรายได้อย่างงดงาม จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]