โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า | |
---|---|
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | เลขที่ 91 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี, ไทย |
หน่วยงาน | |
ประเภท | โรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิขั้นต้น |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 515 เตียง เปิดให้บริการจริง 606 เตียง |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 91 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด มีพื้นที่ทั้งหมด 24 ไร่ 1 งาน 2.6 ตารางวา ปัจจุบันโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 515 เตียง[1] เปิดให้บริการจริง 606 เตียง เป็นศูนย์เชียวชาญรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อุบัติเหตุ ทารกแรกเกิด โรคหลอดเลือดสมอง ด้านมะเร็ง ด้านจักษุ ด้านโรคหลอดเลือดสมอง ด้านสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยปากแหว่างเพดานโหว่ และศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น[2]
ประวัติ
[แก้]โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเปิดให้บริการวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า" เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชชนนี สมเด็จพระศรีสุลาลัยเป็นชาวจังหวัดนนทบุรี
เดิมจังหวัดนนทบุรีไม่มีโรงพยาบาล ขุนบุรีภิรมย์กิจ (พริ้ม จารุมาศ) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ริเริ่มดำเนินการสร้างโรงพยาบาล แต่ประสบปัญหาเรื่องที่ดินในการก่อสร้าง ซึ่งจากการเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกันขุนบุรีภิรมย์กิจได้ออกจากราชการเสียก่อน ต่อมา พ.ศ. 2499 ผู้ว่าราชการคนใหม่นามว่า นายประกอบ ทรัพย์มณี ได้ดำเนินการสร้างต่อ โดยเห็นว่าที่ดินบริเวณวัดเทพอุรุมภังค์หรือวัดหัวเมืองซึ่งเป็นวัดร้าง (ที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบัน) ที่ตั้งนี้ในอดีตเป็นที่ตั้งของ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เมืองท่าหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา โดยที่ตั้งวัดนี้อยู่ในเขตเหนือ[3] ที่ดินที่กล่าวมามีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่เศษ อยู่ใกล้กับที่ดินเดิมที่เคยเจรจาไว้ เห็นว่าเหมาะสมจะก่อสร้างโรงพยาบาล จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ขึ้น
โรงพยาบาลเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2500 ในชื่อ โรงพยาบาลนนทบุรี มีอาคารเพียง 2 หลัง คือ อาคารอำนวยการ เป็นตึกชั้นเดียวให้บริการผู้ป่วยนอก และอาคารไม้ชั้นเดียวใช้เป็นหอผู้ป่วย ในระยะแรกประชาชนไม่นิยมมารับบริการเนื่องจากมีแพทย์และเจ้าหน้าที่น้อย จน พ.ศ. 2530 ได้เพิ่มเติมตึกขึ้นเป็น 4 ชั้น และมีตึกอำนวยการหลังใหม่เป็นอาคาร 2 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2526 ภายหลัง พ.ศ. 2530 นนทบุรีมีผู้อพยพมาอยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้เริ่มมีผู้มาใช้บริการมากขึ้น จน พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า" ขณะนั้น มีจำนวนเพียง 217 เตียง เจ้าหน้าที่ 530 คน ผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ 530 คน ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลพระนั่งเกล้ามีการขยับขยายอาคารเพิ่มขึ้น เช่น หอผู้ป่วยพิเศษเฉลิมพระเกียรติ 4 ชั้น อาคารปฏิบัติการ 5 ชั้น ได้รื้อเรือนไม้และตึกอำนวยการหลังแรก ตึกอำนวยการหลังที่ 2 เพื่อสร้างอาหารเวชศาสตร์ฟื้นฟู หอผู้ป่วย 8 ชั้น และอาคารเจษฎาบดินทร์ 9 ชั้น[4] ราว พ.ศ. 2559 ได้สร้างอาคารศูนย์การแพทย์พระนั่งเกล้า 18 ชั้น[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ก้าวสู่สิ่งที่ดีกว่า (Go to the Better)". ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.
- ↑ ""รพ.พระนั่งเกล้า" ระดมทุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์". สยามรัฐออนไลน์.
- ↑ "ภูมิบ้าน ภูมอเมือง : 'นนทบุรีศรีมหาสมุทร' เมืองท่าหน้าด่านแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม". แนวหน้า.
- ↑ "ประวัติโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า".
- ↑ "รพ.พระนั่งเกล้า ผุดโปรเจ็กต์ยักษ์พันล้านพร้อมก้าวสู่ รพ.ตติยภูมิระดับสูง - รับการขยายตัวเมืองนนท์".