โจโฮร์บะฮ์รู
โจโฮร์บะฮ์รู Johor Bahru | |
---|---|
นครโจโฮร์บะฮ์รู Bandaraya Johor Bahru | |
การถอดเสียงอักษรอื่น ๆ | |
• ยาวี | جوهر بهرو |
• จีน | 新山 |
• ทมิฬ | ஜொகூர் பாரு Jokūr Pāru (ทับศัพท์) |
จากบน ซ้ายไปขวา: ตึกระฟ้าใจกลางเมืองในเวลากลางคืน, ทางหลวงยะโฮร์-สิงคโปร์และโจโฮร์บะฮ์รูเซ็นตรัล ศูนย์กลางการขนส่งใน Southern Integrated Gateway, ตึกระฟ้าของใจกลางนคร, แหล่งนันทนาการฮูตันบันดาร์, แหล่งนันทนาการอ่าวดางา, อาคารสุลต่านอีบราฮิม, มัสยิดสุลต่าน อาบู บาการ์ และ Figure Museum | |
สมญา: เจบี, บันดาร์รายาเซอลาตัน (นครทางใต้) | |
คำขวัญ: Johor Bahru Bandar Raya Bertaraf Antarabangsa, Berbudaya dan Lestari (โจโฮร์บะฮ์รู นครระดับนานาชาติ มีวัฒนธรรม และความยั่งยืน) | |
แผนที่แบบโต้ตอบแสดงที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รู | |
ที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รูในรัฐยะโฮร์ ที่ตั้งของโจโฮร์บะฮ์รูในประเทศมาเลเซีย | |
พิกัด: 01°27′20″N 103°45′40″E / 1.45556°N 103.76111°E | |
ประเทศ | มาเลเซีย |
รัฐ | รัฐยะโฮร์ |
อำเภอ | โจโฮร์บะฮ์รู |
เขตบริหาร | รายการ |
ก่อตั้ง | 10 มีนาคม ค.ศ. 1855 (ในชื่อ "ตันจุงปูเตอรี") |
สถานะเทศบาล | 1 เมษายน ค.ศ. 1977 |
สถานะนคร | 1 มกราคม ค.ศ. 1994 |
การปกครอง | |
• องค์กร | สภานครโจโฮร์บะฮ์รู |
• นายกเทศมนตรี | Noorazam Osman |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 391.25 ตร.กม. (151.06 ตร.ไมล์) |
ความสูง[2] | 32 เมตร (105 ฟุต) |
ประชากร (2020)[3] | |
• ทั้งหมด | 858,118 คน |
• ความหนาแน่น | 2,192 คน/ตร.กม. (5,680 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+8 (ไม่ได้สำรวจ) |
รหัสไปรษณีย์ | 80xxx ถึง 81xxx |
รหัสพื้นที่ | 07 |
ทะเบียนรถยนต์ | J |
เว็บไซต์ | www |
โจโฮร์บะฮ์รู[4] หรือ ยะโฮร์บาฮ์รู[4] (มลายู: Johor Bahru) เป็นที่รู้จักในชื่อย่อว่า เจบี (มลายู: JB) เป็นเมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมลายู ซึ่งอยู่ทางเหนือของช่องแคบยะโฮร์ และอยู่ตรงข้ามกับนครรัฐสิงคโปร์ นครนี้มีประชากร 1,306,099 คนในพื้นที่ 391.25 ตารางกิโลเมตร นครโจโฮร์บะฮ์รูตั้งติดกับอิซกันดาร์ปูเตอรีกับปาซีร์กูดัง เมื่อรวมพื้นที่ทั้งสองเมืองทำให้เป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศมาเลเซียที่มีประชากร 2,246,712 คน[5][6][7]
โจโฮร์บะฮ์รูได้รับการจัดตั้งใน ค.ศ. 1855 ภายใต้ชื่อ ตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมื่อรัฐสุลต่านยะโฮร์อยู่ภายใต้อิทธิพลของเตอเมิงกง ดาเอ็ง อีบราฮิม จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "Johore Bahru" ใน ค.ศ. 1862 และกลายเป็นเมืองหลวงของรัฐสุลต่าน หลังย้ายศูนย์กลางบริหารของรัฐสุลต่านจากเตอลกบลางะฮ์ (Telok Blangah) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสิงคโปร์ตอนใต้[8] ทั้งนี้โจโฮร์บะฮ์รูเองก็เป็นเมืองสำคัญทางอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดทางใต้ของมาเลเซีย
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]บริเวณที่เป็นโจโฮร์บะฮ์รูในปัจจุบันเคยมีชื่อว่า ตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) และเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่มีเชื้อสายมลายู ต่อมา เตอเมิงกง ดาเอ็ง อีบราฮิมเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านนี้เป็น อิซกันดาร์ปูเตอรี (Iskandar Puteri) เมื่อเดินทางไปยังพื้นที่นี้ใน ค.ศ. 1858 หลังซื้อดินแดนจากสุลต่านอาลี[9] ก่อนที่สุลต่านอาบู บาการ์เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) หลังเตอเมิงกงเสียชีวิต[8] ฝั่งอังกฤษสะกดชื่อเมืองเป็น Johore Bahru หรือ Johore Bharu[10] แต่รูปสะกดปัจจุบันที่เป็นที่ยอมรับคือ Johor Bahru เนื่องจาก Johore ในภาษามลายูสะกดเป็น Johor (ไม่มีอักษร "e" ท้ายคำ)[11][12] บางครั้งก็มีการสะกดเป็น Johor Baru หรือ Johor Baharu[13][14]
ชุมชนชาวจีนในโจโฮร์บะฮ์รูเคยเรียกนครนี้ว่า "Little Swatow" เนื่องจากพลเมืองชาวจีนส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋วที่มีบรรพบุรุษจากซัวเถา ประเทศจีน พวกเขาเดินทางเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยเตอเมิงกง ดาเอ็ง อีบราฮิม[15] อย่างไรก็ตาม นครนี้เป็นที่รู้จักในภาษาจีนว่า ซินชาน หมายถึง "ภูเขาใหม่" (จีน: 新山; พินอิน: Xīnshān) เนื่องจากคำว่า "ภูเขา" อาจเคยหมายถึง "ดินแดน" หรือ "ที่ดิน" และชื่อ "ภูเขาใหม่" ใช้แยกจาก "ภูเขาเก่า" (Jiushan) ที่เคยใช้เรียกพื้นที่กรันจีและเซิมบาวังในประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามช่องแคบยะโฮร์ ซึ่งชาวจีนเคยเพาะปลูกพริกไทยและกะเมียในบริเวณนี้ ก่อนจะย้ายไปโจโฮร์บะฮ์รูเพื่อทำที่ดินปลูกพืชใหม่ใน ค.ศ. 1855[16][17]
ภูมิศาสตร์
[แก้]โจโฮร์บะฮ์รูตั้งอยู่ริมช่องแคบยะโฮร์ในบริเวณตอนใต้สุดของมาเลเซียตะวันตก[18] นครนี้เคยมีพื้นที่ 12.12 ตารางกิโลเมตร (4.68 ตารางไมล์) ใน ค.ศ. 1933 ก่อนที่จะขยายไปเป็นมากกว่า 220 ตารางกิโลเมตร (85 ตารางไมล์) ใน ค.ศ. 2000[1]
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของโจโฮร์บะฮ์รู (ค.ศ. 1974–2000) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.0 (87.8) |
32.0 (89.6) |
32.5 (90.5) |
32.8 (91) |
32.5 (90.5) |
32.1 (89.8) |
31.5 (88.7) |
31.5 (88.7) |
31.5 (88.7) |
31.8 (89.2) |
31.3 (88.3) |
30.6 (87.1) |
31.8 (89.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 21.9 (71.4) |
22.0 (71.6) |
22.4 (72.3) |
22.9 (73.2) |
23.1 (73.6) |
22.9 (73.2) |
22.4 (72.3) |
22.4 (72.3) |
22.4 (72.3) |
22.6 (72.7) |
22.7 (72.9) |
22.4 (72.3) |
22.5 (72.5) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 162.6 (6.402) |
139.8 (5.504) |
203.4 (8.008) |
232.8 (9.165) |
215.3 (8.476) |
148.1 (5.831) |
177.0 (6.969) |
185.9 (7.319) |
190.8 (7.512) |
217.7 (8.571) |
237.6 (9.354) |
244.5 (9.626) |
2,355.5 (92.736) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 11 | 9 | 13 | 15 | 15 | 12 | 13 | 13 | 13 | 16 | 17 | 15 | 162 |
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[19] |
การเมืองการปกครอง
[แก้]ในฐานะเมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ เมืองนี้มีบทบาทสำคัญในด้านสวัสดิการทางเศรษฐกิจของประชากรทั้งหมดของรัฐ ในการเมืองระดับรัฐ พื้นที่ของโจโฮร์บะฮ์รูประกอบด้วย 2 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ Larkin และ Stulang ซึ่งจะให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐยะโฮร์จำนวนเขตละ 1 ที่นั่ง ส่วนการเมืองระดับสหพันธ์ พื้นที่ของโจโฮร์บะฮ์รูทั้งหมดจะเป็นเขตเลือกตั้งเดียว (เขต P.160) ที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 ที่นั่ง[20]
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]โจโฮร์บะฮ์รูบริหารงานโดยสภานครโจโฮร์บะฮ์รู นายกเทศมนตรีคนปัจจุบันคือ Dato' Haji Mohd Noorazam bin Dato' Haji Osman ซึ่งเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2021[21][22] โจโฮร์บะฮ์รูได้รับสถานะนครเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1994[23] ครอบคลุมพื้นที่ 220 ตารางกิโลเมตร (85 ตารางไมล์)[1] ปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 11 คนในสภานคร ซึ่งมาจากพรรคอามานะห์ 3 คน, พรรคเบอร์ซาตู 3 คน, พรรคกิจประชาธิปไตย 3 คน, และพรรคยุติธรรมประชาชน 2 คน[24] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 อดีตนายกเทศมนตรี Adib Azhari Daud ถูกจับกุมและควบคุมตัวในข้อหารับสินบนจากผู้รับเหมาในขณะที่ดูแลโครงการพัฒนาโจโฮร์บะฮ์รู[25]
ความสัมพันธ์กับนานาชาติ
[แก้]มีหลายประเทศที่จัดตั้งสถานกงสุลในโจโฮร์บะฮ์รู เช่น อินโดนีเซีย[26] และสิงคโปร์ ส่วนประเทศญี่ปุ่นปิดสถานกงสุลของตนเองไปตั้งแต่ ค.ศ. 2014[27]
เมืองพี่น้อง
[แก้]ปัจจุบัน นครโจโฮร์บะฮ์รูมีเมืองพี่น้อง 7 เมือง:
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Background (Total Area)". Johor Bahru City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
- ↑ "Malaysia Elevation Map (Elevation of Johor Bahru)". Flood Map : Water Level Elevation Map. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
- ↑ "Total population by ethnic group, Local Authority area and state, Malaysia" (PDF). Statistics Department, Malaysia. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 November 2013. สืบค้นเมื่อ 12 March 2012.
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "Biggest Cities In Malaysia". World Atlas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
- ↑ "JB can be Malaysia's second-biggest city: Johor Sultan". The Star/Asia News Network. The Straits Times. 24 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- ↑ "Johor Bahru Population 2023". worldpopulationreview.com. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
- ↑ 8.0 8.1 "Background of Johor Bahru City Council and History of Johor Bahru" (PDF). Malaysian Digital Repository. 12 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 June 2015. สืบค้นเมื่อ 27 June 2015.
- ↑ Zainol Abidin Idid (Syed.). Pemeliharaan warisan rupa bandar: panduan mengenali warisan rupa bandar berasaskan inventori bangunan warisan Malaysia (ภาษามาเลย์). Badan Warisan Malaysia. ISBN 978-983-99554-1-5.
- ↑ Margaret W. Young; Susan L. Stetler; United States. Department of State (October 1985). Cities of the world: a compilation of current information on cultural, geograph. and polit. conditions in the countries and cities of 6 continents, based on the Dep. of State's "Post Reports". Gale. ISBN 978-0-8103-2059-8.
- ↑ Gordon D. Feir (10 September 2014). Translating the Devil: Captain Llewellyn C Fletcher Canadian Army Intelligence Corps In Post War Malaysia and Singapore. Lulu Publishing Services. pp. 378–. ISBN 978-1-4834-1507-9.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Cheah Boon Kheng (1 January 2012). Red Star Over Malaya: Resistance and Social Conflict During and After the Japanese Occupation, 1941–1946. NUS Press. pp. 13–. ISBN 978-9971-69-508-8.
- ↑ Carl Parkes (1994). Southeast Asia Handbook. Moon Publications. ISBN 9781566910026.
- ↑ Library of Congress (2009). Library of Congress Subject Headings. Library of Congress. pp. 4017–.
- ↑ "Keeping the art of Teochew opera alive". New Straits Times. AsiaOne. 24 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2015. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
- ↑ Heng, Jason (2021). Decoding Sejarah Melayu: The Hidden History of Ancient Singapore. ISBN 9798201638450.
- ↑ Patricia Pui Huen Lim (2002). Wong Ah Fook: Immigrant, Builder, and Entrepreneur. p. 35. ISBN 9789812323699.
- ↑ Eric Wolanski (18 January 2006). The Environment in Asia Pacific Harbours. Springer Science & Business Media. pp. 349–. ISBN 978-1-4020-3654-5.
- ↑ "World Weather Information Service – Johor Bahru". World Meteorological Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 March 2015.
- ↑ "List of Parliamentary Elections Parts and State Legislative Assemblies on Every States". Ministry of Information Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2014. สืบค้นเมื่อ 7 July 2015.
- ↑ "Sesi 'Clock In' Datuk Bandar MBJB Ke 11 Tuan Haji Amran bin A.Rahman". Johor Bahru City Council (ภาษามาเลย์). 23 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
- ↑ "Mayor's Profile". Johor Bahru City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2015. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
- ↑ "Background" (ภาษาอังกฤษ และ มาเลย์). Johor Bahru City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2015. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
- ↑ "MBJB laksana kaedah pentadbiran baharu" (ภาษามาเลย์). Sinar Online. 17 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
- ↑ "Johor Baru mayor arrested over alleged kickbacks from building projects," The Straits Times, 11 August 2021, retrieved 26 August 2021
- ↑ "Consulate General of the Republic of Indonesia, Johor Bahru". Consulate General of Indonesia, Johor Bahru, Johor, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2 July 2015.
- ↑ "Consular Office of Japan (Johor Bahru)". Embassy of Japan in Malaysia. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
- ↑ Amanda (10 November 2016). "Changzhou, Johor Bahru of Malaysia become sister-cities". JSChina.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
- ↑ Liuxi (16 February 2012). "First Cultural Exchange after Shantou and Johor Bahru becomes Sister Cities". Shantou Daily. Shantou Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
- ↑ "International Connections". Shantou Foreign and Oversea Chinese Affairs Bureau. Shantou Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
- ↑ Zazali Musa (10 March 2014). "Johor to strengthen trade and tourism activities with Guandong Province". The Star. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
- ↑ 32.0 32.1 Yu Ji (27 August 2011). "Kuching bags one of only two coveted 'Tourist City Award' in Asia". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
- ↑ "Malaysian investors in Cotabato City". CotabatoCity.net.ph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
- ↑ Helmut K Anheier; Yudhishthir Raj Isar (31 March 2012). Cultures and Globalization: Cities, Cultural Policy and Governance. SAGE Publications. pp. 376–. ISBN 978-1-4462-5850-7.
- ↑ "Relations between Turkey and Malaysia". Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Guinness, Patrick (1992). On the Margin of Capitalism: People and development in Mukim Plentong, Johor, Malaysia. South-East Asian social monographs. Singapore: Oxford University Press. p. 177. ISBN 978-0-19-588556-9. OCLC 231412873.
- Lim, Patricia Pui Huen (2002). Wong Ah Fook: Immigrant, Builder and Entrepreneur. Singapore: Times Editions. ISBN 978-981-232-369-9. OCLC 52054305.
- Oakley, Mat; Brown, Joshua Samuel (2009). Singapore: city guide. Footscray, Victoria, Australia: Lonely Planet. ISBN 978-1-74104-664-9. OCLC 440970648.
- Winstedt, Richard Olof; Kim, Khoo Kay (1992). A History of Johore, 1365–1941. M. B. R. A. S. Reprints (6) (Reprint ed.). Kuala Lumpur: Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. ISBN 978-983-99614-6-1. OCLC 255968795.
- John Drysdale (15 December 2008). Singapore Struggle for Success. Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. pp. 287–. ISBN 978-981-4677-67-7.
- Jamie Han (2014). "Communal riots of 1964". National Library Board. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.