รัฐปีนัง
รัฐปีนัง Negeri Pulau Pinang | |
---|---|
การถอดเสียงภาษาต่าง ๆ | |
• มลายู | Pulau Pinang (รูมี) ڤولاو ڤينڠ (ยาวี) |
• จีน | 槟城 (จีนตัวย่อ) 檳城 (จีนตัวเต็ม) |
• ทมิฬ | பினாங்கு |
สมญา: ไข่มุกตะวันออก | |
คำขวัญ: เบอร์ซาตูดันเซอเตีย ("สามัคคีและภักดี") | |
เพลง: อุนตุกเนอเกอรีกีตา ("เพื่อรัฐของเรา") | |
พิกัด: 5°24′52.2″N 100°19′45.12″E / 5.414500°N 100.3292000°E | |
เมืองหลวง | จอร์จทาวน์ |
การปกครอง | |
• ประเภท | ระบบรัฐสภา |
• ผู้ว่าราชการรัฐ | อับดุล ระฮ์มัน อับบัซ |
• มุขมนตรี | เฉา กวนโหย่ว (แนวร่วมแห่งความหวัง) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 1,048 ตร.กม. (405 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2018)[2] | |
• ทั้งหมด | 1,766,800 คน |
• ความหนาแน่น | 1,684 คน/ตร.กม. (4,360 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• เอชดีไอ (2017) | 0.827 (สูงมาก) (อันดับที่ 2)[3] |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 10xxx ถึง 11xxx (เกาะปีนัง) 12xxx ถึง 14xxx (เซอเบอรังเปอไร) |
รหัสโทรศัพท์ | +6-04-2, +6-04-6, +6-04-8 (เกาะปีนัง) +6-04-3, +6-04-5 (เซอเบอรังเปอไร) |
รหัส ISO 3166 | MY-07 |
ทะเบียนพาหนะ | P |
ก่อตั้งโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ | 11 สิงหาคม ค.ศ. 1786 |
อาณานิคมในพระองค์ในฐานะส่วนหนึ่งของนิคมช่องแคบ | 1 เมษายน ค.ศ. 1867 – 1 เมษายน ค.ศ. 1946 |
ญี่ปุ่นยึดครอง | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1941 – 3 กันยายน ค.ศ. 1945 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา | 31 มกราคม ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
เว็บไซต์ | www |
ปีนัง (อังกฤษ: Penang) หรือ ปูเลาปีนัง (มลายู: Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวลส์
ภูมิศาสตร์
[แก้]รัฐปีนังมีพื้นที่บนดินทั้งหมดเพียง 1,048 ตารางกิโลเมตร เป็นรัฐที่มีพื้นที่บนดินเล็กที่สุดอันดับสองของประเทศมาเลเซีย รองจากรัฐปะลิส รัฐปีนังตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ระหว่างละติจูด 5.59 ถึง 5.12 องศาเหนือ และลองจิจูด 100.17 ถึง 100.56 องศาตะวันออก รัฐปีนังประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วน ได้แก่ เกาะปีนัง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ และเป็นที่ตั้งของจอร์จทาวน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ และอีกส่วนหนึ่งคือเซอเบอรังเปอไร (สมารังไพร) ซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่
ประชากร
[แก้]รัฐปีนังเป็นเขตการปกครองเพียงแห่งเดียวของมาเลเซียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน โดยมีอัตราส่วนของประชากรเชื้อสายจีนประมาณร้อยละ 41.72 มากกว่าประชากรเชื้อสายมลายูซึ่งมีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 41.33[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
- ↑ "Current Population Estimates Malaysia, 2018". Department of Statistics Malaysia. July 2018.
- ↑ http://hdr.undp.org/en/countries/profiles/MYS
- ↑ "Penang Statistics (Quarter 1, 2008)" (PDF). Socio-Economic & Environmental Research Institute. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-07-19.
- ↑ "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
[แก้]- เกรียงไกร เกิดศิริ และคนอื่นๆ. (2564). จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
- ชุลีพร พงศ์สุพัฒน์. (2531, มิถุนายน). บทบาทและอิทธิพลทางการค้าของชาวจีนในปีนังตอนปลายศตวรรษที่ 19. อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2), น. 65-92.
- ตวงทิพย์ พรมเขต. (2560, สิงหาคม-2561, กรกฎาคม). เครือข่ายการค้าปีนัง-ภูเก็ต-ตรัง เหมืองแร่ และชาวจีนโพ้นทะเล. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42, น. 67-87.