ข้ามไปเนื้อหา

สุริยะใส กตะศิลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยะใส กตะศิลา
เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มีนาคม พ.ศ. 2515 (52 ปี)
จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองการเมืองใหม่
รวมพลังประชาชาติไทย
บุพการีนายบุญเรือง กตะศิลา
นางคำพันธ์ กตะศิลา
อาชีพอาจารย์
เป็นที่รู้จักจากผู้ประสานงานกลุ่มกรีน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย(สปท.) มหาวิทยาลัยรังสิต

ในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 สุริยะใสเป็นหนึ่งในแกนนำและเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ต่อมาได้เข้าเป็นเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ก่อนจะลาออกจากพรรคเนื่องจากมีความขัดแย้งภายในพรรค

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง พ.ศ. 2556-2557 สุริยะใสมีบทบาทเป็นแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ภายหลังจากวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับสุริยะใส ผู้ต้องหาคดีกบฏและความผิดอื่น โดยระบุให้สุริยะใสพร้อม 12 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชดใช้เงินรวมจำนวน 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ย ให้กับบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) คดีดังกล่าวเป็นคดีที่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรณีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551

ประวัติ

[แก้]

สุริยะใส กตะศิลา (ชื่อเล่น: ใส) เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นชาวตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายบุญเรือง และนางคำพันธ์ กตะศิลา

สุริยะใส เพื่อนเรียก"ยะใส"ด้วยความเป็นเด็กบ้านนอก ได้เห็นวิถีชีวิตความยากลำบากของชาวต่างจังหวัด ถูกข้าราชการ นายทุนและนักการเมืองเอาเปรียบโดยเฉพาะกรณีเขื่อนราษีไศล ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บ้านเกิดของตัวเอง หลังจบการศึกษาปริญญาตรี สุริยะใสทำงานเป็นนักวิชาการวุฒิสภา เป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วม วุฒิสภา และเป็นอนุกรรมการการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ประจำคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็ได้เริ่มทำงานภาคประชาชนในปี พ.ศ. 2545 โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)ในช่วงที่นายพิภพ ธงไชยเป็นประธาน

การศึกษา

[แก้]

สมัยที่เป็นนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สุริยะใสเคยเป็นประธานชมรมสาธารณสุข ได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองขับไล่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.)ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และได้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ซึ่งมีบทบาทในการเคลื่อนไหวกรณี ส.ป.ก. 4-01 และการเรียกร้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

การเมือง

[แก้]

สุริยะใสได้ลาออกจากพรรคการเมืองใหม่ เนื่องจากมีความขัดแย้งกันในเรื่องการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในกลางปี พ.ศ. 2554 พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 10 คน และจัดตั้งกลุ่มการเมืองกลุ่มใหม่ คือ กลุ่มการเมืองสีเขียว (Green Politics) หรือกลุ่มกรีน[ต้องการอ้างอิง]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]