หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล | |
---|---|
หม่อมเจ้า | |
ประสูติ | 22 มกราคม พ.ศ. 2490 |
หม่อม | หม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ยุคล |
ราชสกุล | ยุคล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ |
พระมารดา | หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล[1] (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2490) หรือ ท่านชายใหม่ เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับ หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ลำดับที่ 6 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
พระประวัติ
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (ท่านชายใหม่) ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2490 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา (สุฤทธิ์) เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หม่อมเจ้าจุลเจิม ทรงมีเชษฐา เชษฐภคินี และขนิษฐา ร่วมอุทร 4 องค์ คือ
- มาลินีมงคล อมาตยกุล (ท่านหญิงหยอย; 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483)
- ปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (ท่านหญิงเม้า; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
- หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ท่านชายมุ้ย; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485)
- หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล (ท่านหญิงยุ้ย; 23 ตุลาคม พ.ศ. 2496)
ทรงศึกษาชั้นประถมที่วชิราวุธวิทยาลัย และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ก่อนจะได้รับการส่งไปศึกษาต่อจนจบมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียน Kemper Military School รัฐมิสซูรี สหรัฐ และทรงศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัย Western Pacific University (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัย California Miramar University) และหลักสูตรปริญญาโทด้านการจัดการกีฬา
การทรงงาน
- รับราชการทหาร ยศร้อยตรี ศูนย์สงครามพิเศษหน่วยกองรบที่ 1 (กรพ.) ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี
- นายทหารประจำส่วนพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กองทหารมหาดเล็ก
- รับราชการที่กรมข่าวทหารบก ช่วยราชการในกองอำนวยการรักษาความปลอดภัย (กรป.)
- ราชองครักษ์พิเศษรักษาพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมราชองครักษ์[2]
- อดีตประธานสโมสรฟุตบอลราชวิถี
- ราชการสนาม ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปราม ผกค พื้นที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี 2518 ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน (ส.ช.2) ประเภทที่ 2 จากเหตุการณที่เขาค้อ ปี 2518
พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ จากพลตรี เป็น พลเอก ในปี 2562[3] เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ สนองพระเดชพระคุณเป็นราชองครักษ์พิเศษใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ลดยศของพลเอกหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ลงเป็นพลตรีตามเดิม[5][6] ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน หม่อมเจ้าจุลเจิมทรงโพสต์กลอนราชสวัสดิ์ผ่านเฟสบุ๊กของพระองค์[7]
การปฏิบัติหน้าที่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่สำคัญเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรงพระมุรธาภิเษก โดยพลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้ถวายบังคม 3 ครั้ง แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานและทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระเต้านวเคราะห์ รัชกาลที่ 4 ทรงวักน้ำจากพระเต้านวเคราะห์ รัชกาลที่ 4 และทรงแตะที่พระนลาฏ เสร็จแล้ว พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิมยุคล เสด็จลงจากมณฑปพระกระยาสนาน และถวายบังคม 3 ครั้ง
ชีวิตส่วนองค์
หม่อมเจ้าจุลเจิมเสกสมรส 2 ครั้ง ในครั้งแรกกับหม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา (เสนาลักษณ์) ซึ่งถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 มีโอรส - ธิดา 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล (คุณชายเหมา; 15 มีนาคม พ.ศ. 2518)
- หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล (คุณหญิงแอร์; 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520)
ต่อมาได้เสกสมรสใหม่กับหม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา (ขัติยสุรินทร์) ในปี พ.ศ. 2533 มีธิดา 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล (คุณหญิงแม้น; 17 กันยายน พ.ศ. 2533)
- หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ยุคล (คุณหญิงไหม; 3 มกราคม พ.ศ. 2535)
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 25 |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[12]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
พงศาวลี
พงศาวลีของหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล |
---|
|
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ Link
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ
- ↑ ราชสกุล “ยุคล” กับการเมืองไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานปรับลดชั้นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตร
- ↑ ด่วน! โปรดเกล้าฯ ลดยศทหาร "หม่อมเจ้าจุลเจิม"
- ↑ "พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล" โพสต์เฟซบุ๊ก กลอน "ราชสวัสดิ์"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙ เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๔, ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- หม่อมเจ้าชาย
- ราชสกุลยุคล
- ทหารบกชาวไทย
- ราชองครักษ์พิเศษ
- กปปส.
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3 (ร.10)