บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี |
คู่สมรส | นางธิดา แก้วประสิทธิ์ |
บุตร | พันโทหญิง จิตรลดา แก้วประสิทธิ์ นายบรรดาล แก้วประสิทธิ์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | |
ยศ | พลเอก |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม |
พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ อดีตนายทหาร และนักการเมือง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์, อดีตประธานมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร, อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก, อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1] อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด อดีตรองประธานราชตฤณมัยสมาคม และประธานองค์การพิทักษ์สยาม
ประวัติ
[แก้]พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ที่อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
พล.อ. บุญเลิศ สมรสกับนางธิดา แก้วประสิทธิ์ มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ
- พ.ท.หญิง จิตรลดา แก้วประสิทธิ์ ผู้ช่วยนายทหารคนสนิทปลัดกระทรวงกลาโหม
- นายบรรดาล แก้วประสิทธิ์
การศึกษา
[แก้]- นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 พ.ศ. 2503 (รุ่นเดียวกับพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์)
- นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 12 พ.ศ. 2508
ประวัติการทำงาน
[แก้]รับราชการทหาร
[แก้]พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เคยดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก นายทหารราชองครักษ์พิเศษ[2] ตุลาการศาลทหารสูงสุด รองประธานราชตฤณมัยสมาคมและประธานองค์การพิทักษ์สยาม
ในช่วงปี พ.ศ. 2520 พล.อ. บุญเลิศ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นพันตรี ได้เข้าร่วมในกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ที่มี พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ เป็นแกนนำในการล้มรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ อย่างไรก็ตามการก่อรัฐประหารครานั้นไม่ได้ประสบความสำเร็จ[3]
การเมือง
[แก้]นับจากวันนั้นเป็นเวลาหลายปีที่ พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ห่างหายจากสารบททางการเมือง แต่ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ชื่อของพล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ในฐานะประธานองค์การพิทักษ์สยาม ที่ประกาศเสียงดังฟังชัดว่าจะเป็นแกนนำมวลชนชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดีเดย์วันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ โดยมี "ธง" นำประเทศไทยย้อนเวลาไปสู่การ "แช่แข็ง" นักการเมืองไม่ให้มายุ่งกับการปฏิรูปประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พล.อ. บุญเลิศได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 26[4]
นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
[แก้]นอกจากนี้แล้ว พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยด้วย ซึ่งนับเป็นการดำรงตำแหน่งในช่วงที่สำคัญที่ทางไทยมีปัญหาบาดหมางกับทางสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ หรือไอบ้า จนเกือบจะถูกตัดสิทธิให้เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก และถูกให้ออกจากสมาชิกสหพันธ์ฯ[5] ซึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน พล.อ. บุญเลิศ ได้ประกาศไว้ว่าหากนักกีฬาไทยไม่อาจคว้าเหรียญทองมาได้ จะลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งต่อมาก็ไม่มีใครสามารถคว้าเหรียญทองมาได้จริง (ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ แก้ว พงษ์ประยูร ที่ได้เหรียญเงินในรุ่นไลต์ฟลายเวต) พล.อ. บุญเลิศ ก็ได้ลาออกจริงตามที่ได้ให้วาจาไว้[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ พลิกประวัติ เสธ.อ้าย แกนนำขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กระปุกดอตคอม, พฤศจิกายน 2555
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ "สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ จากวอยซ์ทีวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
- ↑ "'เสธ.อ้าย'ลาออก'นายกเสื้อกล้าม'แล้ว จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-30. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๓๔ หน้า ๔, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๘