สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | |
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม[1] | |
ดำรงตำแหน่ง | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[2] |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[3] | |
ดำรงตำแหน่ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2435[4] – 16 มีนาคม พ.ศ. 2439[5] 1 เมษายน พ.ศ. 2442 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
ประสูติ | 11 มกราคม พ.ศ. 2403 พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม |
ทิวงคต | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 (68 ปี) วังบูรพาภิรมย์ ประเทศสยาม |
หม่อม | หม่อมเลี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมสุ่น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมลับ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเยี่ยม ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมย้อย ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 14 พระองค์ |
ราชสกุล | ภาณุพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
ลายพระอภิไธย |
จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (11 มกราคม พ.ศ. 2403 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ชาววังมักเอ่ยพระนามอย่างลำลองว่า "สมเด็จพระราชปิตุลาฯ" ส่วนชาวบ้านมักออกพระนามว่า "สมเด็จวังบูรพา" เพราะทรงมีวังชื่อว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เป็นย่านวังบูรพาในปัจจุบัน ตามพระประวัตินั้น ทรงเป็นจอมพลในรัชกาลที่ 7 ที่ทหารรักมาก เล่ากันมาว่าพวกทหารมักจะแบกพระองค์ท่านขึ้นบนบ่าแห่แหนในวาระที่มีการฉลองต่าง ๆ เช่น ฉลองคล้ายวันประสูติ เป็นต้น
เป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย เป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์[6]
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403[7] ณ พระตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย ภายในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการสมโภชขึ้นเมื่อพระชันษาได้ 3 วัน และสมโภชเดือน ตามลำดับ ณ พระตำหนักที่ประสูติ
พระองค์มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีรวม 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
เมื่อปี พ.ศ.2404 ขณะพระชันษาได้ 1 ปี พระมารดาเสด็จสวรรคต ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2411 พระบิดาเสด็จสวรรคตขณะพระชันษาได้ 8 ปี พระองค์เป็นผู้โปรยข้าวตอกในกระบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์เป็นผู้โยง
เมื่อปี พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแห่รับพระสุพรรณบัฏเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 13 ปี หลังจากนั้น พระองค์ผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จออกไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่พระองค์ออกผนวช เมื่อครบพรรษาจึงลาผนวช
การศึกษา
[แก้]พระองค์ทรงเริ่มต้นการศึกษาเล่าเรียนในสำนักของครูผู้หญิงแล้วทรงเริ่มศึกษาด้วยพระองค์เองเรื่อยมา หลังจากนั้นจึงทรงเล่าเรียนหนังสือขอมและบาลีที่สำนักพระยาปริยัตติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงวิชาทางพุทธศาสตร์ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
หลังจากนั้น พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหารในสำนักกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 และทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในสำนักของมิสเตอร์ เอฟ.ยี. แปตเตอร์ซัน ที่โรงเรียนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมประตูพิมานไชยศรีชั้นนอกภายในพระบรมมหาราชวัง และทรงเรียนวิชาภาษาไทยเพิ่มเติมจากสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) รวมทั้งศึกษาแบบอย่างราชการพระราชประเพณีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
การรับราชการ
[แก้]พระองค์ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ รับราชการทหารครั้งแรกในตำแหน่งนายทหารพิเศษแต่งเครื่องยศชั้นนายร้อยโท กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสสิงคโปร์ (ครั้งที่ 2) และพม่าส่วนของอังกฤษตลอดประเทศอินเดีย รวมทั้งหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามตามชายทะเลฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ต่อมาในปี พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทายศเป็น นายพลเอก[8]
ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญเช่น รัฐมนตรี[9] และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรี[10]และนายกองเอกในกองเสือป่า[11][12] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อภิรัฐมนตรี[13]และองคมนตรี[14]ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงกลาโหม จเรทัพบก[15] จเรทหารทั่วไป[16][17] ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ[18] อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น
พระกรณียกิจ
[แก้]หนังสือค๊อตข่าวราชการ
[แก้]สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม ริมประตูศรีสุนทร ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษร่วมกับเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่น ๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ต่อมาแม้การสอนภาษาอังกฤษที่นั่นจะยกเลิกไป แต่เจ้านายก็ยังเสด็จไปชุมนุมกันที่ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม
สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธอบางพระองค์ ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวันมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เจ้านายที่ทรงร่วมจดข่าวในครั้งเริ่มแรกมี 6 พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "COURT" ซึ่งแปลว่า พระราชสำนัก ต่อมาใน พ.ศ. 2419 จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า หนังสือค๊อตข่าวราชการ
สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุก ๆ คน ทุก ๆ เช้า โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตนที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตราเพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้ แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐและให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นใน ติดแสตมป์หนึ่งอัฐ ถ้านอกคูพระนครออกไป ผู้ส่งต้องติดแสตมป์ 2 อัฐ
กิจการไปรษณีย์
[แก้]การจัดส่ง หนังสือ COURT และ หนังสือข่าวราชการ ของคนส่งหนังสือที่ทำหน้าที่รับส่งจดหมายระหว่างสมาชิกด้วย นับเป็นจุดเริ่มของการมี บุรุษไปรษณีย์ และการใช้แสตมป์ติดบนจดหมายที่สมาชิกของหนังสือ COURT และหนังสือข่าวราชการส่งถึงกัน จึงเป็นจุดเริ่มของการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้มีการไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นในประเทศไทย ทรงเห็นว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระทัยใส่ในเรื่องการไปรษณีย์ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข ขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข
การทิวงคต
[แก้]สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประชวรพระโรคพระอันตะอักเสบมาหลายวัน จนเสด็จทิวงคตในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 เวลา 18.27 น. ณ ตำหนักวังบูรพาภิรมย์ สิริพระชันษา 68 ปี 153 วัน วันต่อมาเวลา 17.10 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญประกอบพระโกศทองรองทรงบนแว่นฟ้าสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น 10 องค์ ชุมสาย 4 แถว แล้วทรงทอดผ้าไตร 40 พับ พระสงฆ์มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธาน สวดสดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา แล้วเสด็จฯ กลับ[19]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[20]
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์ เสกสมรสกับหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)[21] โดยได้รับการยกย่องให้เป็นสะใภ้หลวง และมีหม่อมอีก 6 คน ได้แก่[22]
- หม่อมเลี่ยม (สกุลเดิม ศุภสุทธิ์) ธิดาหลวงศุภมาตรา (สะอาด ศุภสุทธิ์)
- หม่อมสุ่น (สกุลเดิม ปักษีวงศา)
- หม่อมลับ (สกุลเดิม จาติกรัตน์) ธิดาพระมหาสงคราม (เอี่ยม จาติกรัตน์)
- หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ) ธิดานายกองนา (ทองดำ ยงใจยุทธ)
- หม่อมเยี่ยม (สกุลเดิม ณ บางช้าง) ธิดาหลวงมหาดไทย (แสง ณ บางช้าง)
- หม่อมย้อย (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร) ธิดาพระยาศรีสรราชภักดี (หนูเล็ก โกมารกุล ณ นคร)
มีพระโอรส 8 พระองค์ กับ 1 องค์ และมีพระธิดา 3 พระองค์ กับ 3 องค์ รวม 15 พระองค์/องค์ ได้แก่
ราชสกุลภาณุพันธุ์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระชันษา | คู่สมรส |
1 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ | ญ. | หม่อมเลี่ยม | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428[23] | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 | 23 ปี 19 วัน | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ |
2 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช | ช. | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 7 กันยายน พ.ศ. 2428[24] | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2477[25] | 48 ปี 318 วัน |
|
3 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช | ช. | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 7 มีนาคม พ.ศ. 2433 | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 | 18 ปี 59 วัน[26] | |
4 | หม่อมเจ้า | ญ. | ไม่มีข้อมูล | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2434 | 0 ปี 14 วัน | |
5 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล | ญ. | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 10 มีนาคม พ.ศ. 2436[24] | 23 มกราคม พ.ศ. 2500 | 63 ปี 319 วัน | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ |
6 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยนเยี่ยมพยับ | ช. | หม่อมสุ่น | 14 กันยายน พ.ศ. 2437 | 19 กันยายน พ.ศ. 2455 | 18 ปี 5 วัน | |
7 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพัลลัภดนัย | ช. | หม่อมลับ | 16 กันยายน พ.ศ. 2442 | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 | 1 ปี 290 วัน | |
8 | หม่อมเจ้าแดง | ช. | ไม่มีข้อมูล | 23 เมษายน พ.ศ. 2447 | 23 เมษายน พ.ศ. 2447 | 0 ปี 0 วัน | |
9 | หม่อมเจ้าไข่มุก | ญ. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 23 เมษายน พ.ศ. 2447 | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2447 | 0 ปี 250 วัน | |
10 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา | ญ. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2450[24] | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 | 71 ปี 324 วัน | หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล |
11 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2452[24] | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2525 | 73 ปี 126 วัน |
|
12 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2457[24] | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2528 | 71 ปี 161 วัน |
|
13 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านรเศรษฐสุริยลักษณ์ | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 | 22 มีนาคม พ.ศ. 2497 | 38 ปี 103 วัน | |
14 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต | ช. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 4 กันยายน พ.ศ. 2460[24] | 12 กันยายน พ.ศ. 2485 | 25 ปี 8 วัน | มณี สิริวรสาร (สกุลเดิม บุนนาค) |
15 | หม่อมเจ้าเล็ก | ญ. | หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 5 กันยายน พ.ศ. 2461 | 11 กันยายน พ.ศ. 2461 | 0 ปี 6 วัน |
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 13 มกราคม พ.ศ. 2402 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2413 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
- 4 สิงหาคม พ.ศ. 2413 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามงกุฎพงษวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพยศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชกุมาร กรมหมื่นภาณุพันธุวงศ์วรเดช[27]
- 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามงกุฎพงษวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพยศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชนรินทรานุชาธิบดี กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัติยศักดิ อรรคอุดมชาติ บรมนราธิราชโสทรานุชาธิบดี สุจริตจารีราชการัณย์ มหันตมหาอุสาหพิริยพหลดลประสิทธิ อเนกพิธคุณากร สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารอัธยาไศรย ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร[28]
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2468 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อัครอุดมชาติ ปรมินทรมหาราชโสทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาวชิราวุธราชปิตุลา มหันตมหาอุสาห พิริยพหลดลประสิทธิ สุจริตจารีราชการัณย์ สุรพลขันธ์คณาภรณ์ สุนทรธรรมพิทักษ์ อัครมโหฬารัธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพพิลาศ ธรรมิกนาถบพิตร[29]
- 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 : สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2425 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[31] (ดาราประดับเพชร พ.ศ. 2463)[32]
- พ.ศ. 2412 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[33] (ดาราประดับเพชร)[34]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[35]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[36]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[37]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[38]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[39]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[39]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[40]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[41]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[42]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญบุษปมาลา (ร.บ.ม.)[43]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[44]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[45]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[46]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[47]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[48]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2450 – เข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป (เข็มทอง)[49]
- พ.ศ. 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 1 (ทองคำลงยาราชาวดี)[50]
- พ.ศ. 2454 – เข็มไอยราพต
- พ.ศ. 2456 – เข็มพระบรมรูป ชั้นที่ 1 (ประดับเพชร)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ออสเตรีย-ฮังการี:
- โปรตุเกส:
- พ.ศ. 2421 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ ชั้นที่ 1
- สเปน:
- พ.ศ. 2422 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นที่ 1
- อิตาลี:
- พ.ศ. 2424 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2438 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริสและลาซารัส ชั้นที่ 1[51]
- ฮาวาย:
- ญี่ปุ่น:
- พ.ศ. 2433 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ขั้นสูงสุดประดับดอกคิริ[52]
- รัสเซีย:
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีขาว ชั้นที่ 1[53]
- ปรัสเซีย:
- พ.ศ. 2439 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 1[54]
- เบราน์ชไวค์:
- ฝรั่งเศส:
- พ.ศ. 2464 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[55]
พระสมัญญา
[แก้]- พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย[56]
พระยศ
[แก้]สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองทัพเรือสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | จอมพล จอมพลเรือ นายกองเอก |
พระยศทหาร
[แก้]- นายร้อยโท
- นายพันโทในกรมทหารล้อมวัง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[57]
- นายพลเอก[58]
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453: จอมพล[59]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456: จอมพลเรือ[60]
พระยศเสือป่า
[แก้]ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้แก่
- สมภพ เบญจาธิกุล จากภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง (2547)
ราชตระกูล
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งจเรทัพบกและเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
- ↑ ตั้งตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ
- ↑ "ตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กรมยุทธนาธิการ ในรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 136. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 65
- ↑ ได้รับพระราชทายศเป็น นายพลเอก
- ↑ ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ได้รับพระราชทานนายกองเอกในกองเสือป่า
- ↑ ได้รับพระราชทานนายกองเอกในกองเสือป่า
- ↑ "พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2618. 28 พฤศจิกายน 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจเรทัพบก
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจเรทหารทั่วไป
- ↑ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมจเรทหารทั่วไป
- ↑ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
- ↑ "ข่าวทิวงคต สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (ง): 957–958. 17 มิถุนายน 2471. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช, เล่ม 46, ตอน ง, 16 มิถุนายน พ.ศ. 2472, หน้า 793
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค[ลิงก์เสีย]
- ↑ หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ... เจ้าชายดาราทอง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. 376 หน้า. ISBN 974-322-980-9
- ↑ สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 132
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. [1], เล่ม 51, ตอน 0ง, 26 สิงหาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1606
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. [2], เล่ม 25, ตอน 17, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451, หน้า 499
- ↑ ประวัติศาสตร์การสถาปนาพระยศเจ้านายสมัย ร.5-ร.9 พ.ศ. 2413
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเลื่อนกรม, เล่ม ๑, ตอน ๕๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนแลกรมแลเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, 11 พฤศจิกายน ร.ศ.130, หน้า 1719-1721
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศเฉลิมพระอภิธัยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 376-377
- ↑ 31.0 31.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒนากร, 2468
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕๑, ๑๖ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าแลฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตรงกับวันประสูติกาล เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๗, ๑๖ มกราคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตรารัตนวราภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๔๘, ๑๖ มิถุนายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๘, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ 39.0 39.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๔, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๔, ๗ มกราคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๑, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๘, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญบุษปมาลา, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๘๔๐, ๒๖ มกราคม ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๕, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๐, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๒๘, ๘ ธันวาคม ๑๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๑๕, ๗ ธันวาคม ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๑๔; ๗ กุมภาพันธ์ ๑๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๕๑, ๑๓ ธันวาคม ๑๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย
- ↑ พระราชทานตั้งตำแหน่งยศนายทหารรักษาวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ "พระราชทานยศจอมพล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
- ↑ "พระราชทานยศจอมพลเรือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-01-19.
- ↑ พระราชทานยศนายกองเอกเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายกองตรีเสือป่า
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 77-78. ISBN 978-974-417-594-6
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หนังสือ COURT ข่าวราชการ : ความเชื่อมโยงสู่การก่อกำเนิดไปรษณีย์ไทย เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต | ผู้บัญชาการทหารเรือไทย (ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2463 — 31 สิงหาคม พ.ศ. 2465) |
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ||
นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) |
ผู้บัญชาการทหารเรือไทย (รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ 29 มกราคม พ.ศ. 2444 — 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ |
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | ||
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2444 — พ.ศ. 2453) |
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช | ||
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ((วาระที่ 2) 1 เมษายน พ.ศ. 2442 — 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444) |
จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช | ||
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) |
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ((วาระที่ 1) 1 เมษายน พ.ศ. 2435 — 16 มีนาคม พ.ศ. 2439) |
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2402
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2471
- เจ้าฟ้าชาย
- กรมพระยา
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ราชสกุลภาณุพันธุ์
- อภิรัฐมนตรี
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 7
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- จอมพลชาวไทย
- จอมพลเรือชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(พ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- บรรณาธิการหนังสือพิมพ์
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สมาชิกกองเสือป่า
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกคิริ
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนการไปรษณีย์
- บุคคลในสงครามฝรั่งเศส-สยาม