พนา แคล้วปลอดทุกข์
พนา แคล้วปลอดทุกข์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารบก | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 35 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | สุภัทรา แคล้วปลอดทุกข์ |
ศิษย์เก่า |
|
ชื่อเล่น | ปู |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น ปู เป็นนายทหารบกชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก, อดีต เสนาธิการทหารบก และแม่ทัพภาคที่ 1
ประวัติ
[แก้]พลเอกพนา มีชื่อเล่นว่า ปู เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ที่ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรชายคนโตของพลเอก ปรีชา แคล้วปลอดทุกข์ อดีตที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก กับวงศ์พรรณ แคล้วปลอดทุกข์ (สกุลเดิม:วิจารณ์ปรีชา) จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 26 (ตท.26) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 37 (จปร.37) และปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ[1]
รับราชการ
[แก้]พลเอกพนา เคยรับราชการในตำแหน่งอาจารย์กองวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรี, ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 จ.ฉะเชิงเทรา (กองพลสไตร์เกอร์) ก่อนจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และเสนาธิการทหารบก[2] กระทั่งวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2567 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกพนาเป็นผู้บัญชาการทหารบกสืบต่อจากพลเอกเจริญชัย หินเธาว์[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2555 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วงศ์เทวัญคอแดง ทัพอนุรักษ์ ภารกิจสกัดพลังส้ม". กรุงเทพธุรกิจ. 22 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2024.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'พล.อ.พนา' นั่ง ผบ.ทบ. 'พล.ร.อ.จิรพล' เป็น ผบ.ทร". ไทยโพสต์. 21 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2024.
- ↑ "เปิดประวัติ "พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์" จากหน่วย RDF สู่ ผบ.ทบ. และ พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ จากนายเรือเยอรมันสู่ ผบ.ทร". ฐานเศรษฐกิจ. 22 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2024.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๑, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕๗, ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๖, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕