ข้ามไปเนื้อหา

สมชาย แสวงการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชาย แสวงการ
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(5 ปี 60 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองอิสระ

สมชาย แสวงการ (ชื่อเล่น เอ๋; เกิด 12 เมษายน พ.ศ. 2505) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า

จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาบริหารกระบวนการยุติธรรม ,ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี,ปริญญาบัตร วปอ.2558, ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า),ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประสบการณ์การทำงาน

[แก้]
  • อาจารย์พิเศษ ประจำโรงเรียนกฎหมายและการเมือง ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ฝรั่งเศส 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 [1]- 5 มีนาคม 2567
  • ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา 2562- กรกฎาคม 2567
  • กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา)
  • สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 11 พฤษภาคม พ.ศ.2567
  • สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[2] – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  • เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • กรรมการและเลขานุการ-คณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภา ขับเครื่องการปฏิรูปประเทศ
  • กรรมการคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ)
  • สมาชิกวุฒิสภาจาก การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2554 12 เมษายน พ.ศ. 2554[3] - 11 เมษายน พ.ศ. 2557
  • สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 จาก การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[4]- 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  • สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 28 มกราคม พ.ศ. 2551
  • ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551
  • นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 2 สมัย พ.ศ. 2547-2548 , 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549[5]
  • อุปนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2546
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอ็นเอ็นเรดิโอ จำกัด และผู้อำนวยการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน
  • บรรณาธิการข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
  • กรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชุมใหญ่กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย – ฝรั่งเศสครั้งที่ 1/2565
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 147 ง วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และ แก้ไขคำผิดพระบรมราชโองการ, ราชกิจจานุเบกษา, 9 กันยายน 2557
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
  5. สมชาย แสวงการลาออก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]