ลัทธิเบรจเนฟ
ลัทธิเบรจเนฟ (รัสเซีย: Доктрина Брежневав; อังกฤษ: Brezhnev Doctrine) เป็นนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตครั้งที่แรกที่ระบุไว้อย่างชัดเจนมากที่สุดโดยเอส. เอวาเลฟ ใน 26 กันยายน 1968 ในบทความของหนังสือพิมพ์ปราฟดา ชื่อ อำนาจอธิปไตยและพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศสังคมนิยม เลโอนิด เบรจเนฟ ย้ำในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสหพรรคแรงงานโปแลนด์ครั้งที 5 ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 1968 ซึ่งกล่าวไว้ว่า:
- " เมื่อศัตรูของสังคมนิยมพยายามเปลี่ยนประเทศสังคมนิยมไปสู่ทุนนิยม มันจะกลายเป็นไม่เพียง แต่ปัญหาของประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่ปัญหาของประเทศสังคมนิยมทั้งหมด "
ลิทธิเบรจเนฟนี้ได้รับการประกาศซึ่งสื่อตะวันตกให้ถึงว่าสหภาพโซเวียตจะทำลายความพยายามเปิดเสรีและการลุกฮือต่างและพร้อมเข้าแทรกแซงทางทหาร เหมือนอดีตที่ผ่านมาในการลุกฮือที่ฮังการีและการแทรกแซงในเชโกสโลวาเกีย ซึ่งโซเวียตทำไปเพราะต้องให้ค่ายตะวันออกยังคงเป็นพันธมิตรและเป็นแนวป้องและยุทธศาสตร์สำคัญในกรณีเกิดสงครามกับนาโต
ในทางปฏิบัตินโยบายหมายความว่า จำกัดการกระทำต่างๆของรัฐบริวารในค่ายตะวันออกในการติดต่อกับกลุ่มค่ายตะวันตก นั่นคือไม่มีประเทศใดสามารถออกจากสนธิสัญญาวอร์ซอหรือการเปิดเสรีได้ ในหลักการโซเวียตมีสิทธิที่จะกำหนดว่าประเทศไหนต้องเป็น"สังคมนิยม" ซึ่งหมายความว่าโซเวียตสามารถแทรกแซงทางทหารนอกสนธิสัญญาวอร์ซอได้ ดังเช่นอัฟกานิสถานในปี 1979
หลักการเบรจเนฟ มีผลใช้อยู่นานจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์วิกฤตการเมืองในโปแลนด์[1] มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารเมื่อโปแลนด์จัดเลือกตั้งเสรีในปี 1989 และการพ่ายแพ้ของสหพรรคแรงงานโปแลนด์[2] ในปี 1989 หลักการเบรจเนฟมีชื่อติดตลกว่า หลักการซินาตร้า มาจากเพลง"ทางของฉัน" (My Way) ของ แฟรงก์ ซินาตรา[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilfried Loth. Moscow, Prague and Warsaw: Overcoming the Brezhnev Doctrine. Cold War History 1, no. 2 (2001) : 103–118.
- ↑ Hunt 2009, p. 945
- ↑ LAT, "'Sinatra Doctrine' at Work in Warsaw Pact, Soviet Says", Los Angeles Times, 1989-10-25.