ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษารัสเซีย (November 2011) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ประธานาธิบดี แห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต | |
---|---|
Президент Союза Советских Социалистических Республик | |
การเรียกขาน | ท่านประธานาธิบดี (ไม่ทางการ) ฮิสเอ็กเซลเลนซี (การทูต) |
จวน | วุฒิสภาเครมลิน มอสโก[1] |
ผู้แต่งตั้ง |
|
ตำแหน่งก่อนหน้า | Presidium of the Supreme Soviet (ในฐานะประมุขแห่งรัฐ) |
สถาปนา | 15 มีนาคม 1990 |
คนแรก | มีฮาอิล กอร์บาชอฟ |
คนสุดท้าย | มีฮาอิล กอร์บาชอฟ |
ยกเลิก | 25 ธันวาคม 1991 |
ตำแหน่งที่มาแทน | ไม่มี (สหภาพโซเวียตล่มสลาย) สภาประขุขแห่งรัฐของเครือรัฐเอกราช ประธานาธิบดีรัสเซีย |
ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต (รัสเซีย: Президент Советского Союза, อักษรโรมัน: Prezident Sovetskogo Soyuza) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Президент Союза Советских Социалистических Республик) เป็นประมุขแห่งรัฐของสหภาพโซเวียตตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2533 ถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีฮาอิล กอร์บาชอฟเป็นบุคคลเดียวที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นอกจากนี้กอร์บาชอฟยังเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 เขาได้รับส่วนแบ่งอำนาจเพิ่มขึ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีกระทั่งเขาลาออกหลังความพยายามรัฐประหารในโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2534
ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งบริหาร โดยยึดตามระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสผสมกัน
ก่อนหน้าการสถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดี ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียตโดยนิตินัยคือ ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุด (Chairman of the Presidium of the Supreme Soviet) ซึ่งสื่อนอกโซเวียตมักเรียกว่า "ประธานาธิบดี" ทว่าเกือบระยะเวลาของสหภาพโซเวียต อำนาจการเมืองฝ่ายบริหารที่มีผลทั้งหมดอยู่ในมือของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต โดยประธานคณะผู้บริหารสูงสุดใช้อำนาจในหน้าที่เชิงสัญลักษณ์และแต่ในนามเป็นส่วนมาก เลขาธิการพรรคสี่คนสุดท้ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เลโอนิด เบรจเนฟ, ยูรี อันโดรปอฟ, คอนสตันติน เชียร์เนนโคและกอร์บาชอฟดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัยร่วมกับเลขาธิการพรรคระหว่างสมัยดำรงตำแหน่งด้วย
เดิมประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่ผู้แทนประชาชน (Congress of People's Deputies)[5] และประธานาธิบดีเป็นประธานของสภาดังกล่าวโดยตำแหน่ง ทว่าการเลือกตั้งครั้งถัดมาทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน[3]
รองประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต คือ เกนนาดี ยานาเยฟ ผู้ยึดอำนาจกอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีในความพยายามรัฐประหารปี พ.ศ. 2534 เป็นคณะกรรมาธิการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ (State Committee of the State of Emergency)
รายนาม
[แก้]ลำดับ | ชื่อ (เกิด-เสียชีวิต) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | พรรคการเมือง | การเลือกตั้ง | รองประธานาธิบดี | นายกรัฐมนตรี | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มต้น | สิ้นสุด | ระยะเวลา | |||||||
1 | มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (1931–2022) |
15 มีนาคม 1990 | 25 ธันวาคม 1991 | 1 ปี 285 วัน | พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง สหภาพโซเวียต |
1990 | ตำแหน่งว่าง (จนถึง 27 ธันวาคม 1990) |
Nikolai Ryzhkov | |
เกนนาดี ยานาเยฟ | Valentin Pavlov | ||||||||
ยุบตำแหน่ง (หลัง 21 สิงหาคม 1991) |
Ivan Silayev | ||||||||
— | เกนนาดี ยานาเยฟ (1937–2010) รักษาการ, พิพาท |
19 สิงหาคม 1991 | 21 สิงหาคม 1991 | 0 ปี 2 วัน | พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง สหภาพโซเวียต |
— | ตำแหน่งว่าง | Valentin Pavlov |
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายนามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต
- นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต
- เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
- ผู้นำสหภาพโซเวียต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ O’Clery, Conor (2011). Moscow, December 25, 1991: The Last Day of the Soviet Union. New York: Public Affairs. p. 120. ISBN 9781610390125. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
- ↑ Remnick, David (March 15, 1990). "GORBACHEV ELECTED PRESIDENT". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ March 5, 2019.
- ↑ 3.0 3.1 1977 Soviet Constitution with amendments of 1989–1990. Chapter 15.1: President of the Soviet Union เก็บถาวร 16 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Soviet Law from 14 March 1990 N 1360-I "On establishment of the Presidency of the Soviet Union and amendments and additions to the Constitution (Basic Law) of the Soviet Union". Article III
- ↑ Soviet Law from 14 March 1990 N 1360-I "On establishment of the Presidency of the Soviet Union and amendments and additions to the Constitution (Basic Law) of the Soviet Union". Article III