ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาทางการของอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาราชการของอินเดีย)

ภาษาทางการ:
ภาษามือ:
ภาษาต่างชาติ: อังกฤษ – 200 ล้านคน (ผู้พูดภาษาที่สองใน ค.ศ. 2003)[5]

ภาษาที่พูดกันในประเทศอินเดียอยู่ในตระกูลภาษาหลายตระกูล โดยตระกูลหลักคือภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่มีชาวอินเดียพูดถึง 78.05% และตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีชาวอินเดียพูดถึง 19.64%[6][7] บางครั้งทั้งสองตระกูลถูกเรียกเป็นกลุ่มภาษาอินเดีย[8][9][10] ส่วนกลุ่มภาษาที่มีผู้พูด 2.31% ของประชากรทั้งหมดได้แก่ออสโตรเอเชียติก, จีน-ทิเบต, ไท–กะได และกลุ่มภาษาขนาดเล็กจำนวนน้อยกับโดดเดี่ยว[11]: 283  ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีภาษามากเป็นอันดับ 4 ของโลก (447) เป็นรองเพียงไนจีเรีย (524), อินโดนีเซีย (710) และปาปัวนิวกินี (840)[12] นอกจากนี้ อนุทวีปอินเดียยังเป็นที่ตั้งของภาษาฮินดี-อูรดู ภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ภาษาเบงกอล ภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และภาษาปัญจาบ ภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก[12]

รัฐธรรมนูญอินเดีย มาตราที่ 343 ระบุว่าภาษาราชการของสหภาพคือภาษาฮินดีในอักษรเทวนาครี ส่วนภาษาอังกฤษจะยังคงมีสถานะเดิมเป็นเวลา 15 ปีนับตั้งแต่ ค.ศ. 1947 ต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในพระราชบัญญัติภาษาราชการ ค.ศ. 1963 อนุญาตให้ใช้ภาษาอังกฤษร่วมกับภาษาฮินดีในรัฐบาลอินเดียอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง[2] รูปแบบตัวเลขที่ใช้ในทางราชการเป็น "รูปแบบเลขอินเดียสากล"[13][14] ซึ่งในโลกที่พูดภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เรียกเป็นตัวเลขอารบิก[1] ภาษาฮินดีไม่ได้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย รัฐธรรมนูญอินเดียไม่ได้ให้สถานะพิเศษแก่ภาษาใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะมีความเข้าใจผิดบ้างก็ตาม[15][16]

การปกครองโดยอังกฤษส่งผลให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาสำหรับการปกครอง ธุรกิจ และการศึกษา ภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในสองภาษาที่รัฐธรรมนูญของอินเดียอนุญาตให้ใช้ในการทำราชการในรัฐสภานอกเหนือไปจากภาษาฮินดี แม้ว่าภาษาฮินดีจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการและทำหน้าที่เป็นภาษากลางในส่วนใหญ่ของอินเดีย แต่ก็มีการคัดค้านการใช้ภาษาฮินดีในรัฐทางตอนใต้ของอินเดียอย่างมาก และภาษาอังกฤษก็กลายมาเป็นภาษากลางโดยพฤตินัยในส่วนใหญ่ของอินเดีย [17] มนุ โจเซฟ เขียนไว้ในบทความของเดอะนิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ว่า เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย และมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงมีผู้คนจำนวนมากต้องการเรียนภาษาอังกฤษ ดังนั้น "ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาประจำชาติโดยพฤตินัยของอินเดีย เป็นความจริงที่ขื่นขม"[18] ความสามารถทางภาษาอังกฤษสูงที่สุดในกลุ่มคนเมือง ผู้ร่ำรวย ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูง คริสเตียน ผู้ชาย และคนรุ่นใหม่ [19] ในปี ค.ศ. 2017 วัยรุ่นในชนบทมากกว่าร้อยละ 58 สามารถอ่านภาษาอังกฤษพื้นฐานได้ และผู้มีอายุ 14 ปีร้อยละ 53 และร้อยละ 60 ของผู้มีอายุ 18 ปีสามารถอ่านประโยคภาษาอังกฤษได้ [20]

กำหนดรายการที่แปดในรัฐธรรมนูญอินเดียระบุภาษาเพียง 22 ภาษา[21] ซึ่งได้รับการกล่าวถึงเป็นภาษาที่ ถูกกำหนด และได้รับการยอมรับ สถานะ และการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียยังให้รางวัลความโดดเด่นของภาษาคลาสสิก เช่น ภาษากันนาดา, มลยาฬัม, โอริยา, สันสกฤต, ทมิฬ และเตลูกู

รายงานจากสำมะโนอินเดีย ค.ศ. 2001 ประเทศอินเดียีภาษาหลัก 122 ภาษา และภาษาอื่น ๆ 1599 ภาษา อย่างไรก็ตาม จำนวนภาษาตามข้อมูลต่าง ๆ นั่นไม่เหมือนกัน โดยหลักเนื่องจากความแตกต่างในการตีความคำว่า "ภาษา" และ "ภาษาย่อย" สำมะโน ค.ศ. 2001 บันทึก 30 ภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากกว่าหนึ่งล้านคน และ 122 ภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 10,000 คน[22] ภาษาในการติดต่อที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อินเดียมีอยู่สองภาษา: ภาษาเปอร์เซีย[23] และภาษาอังกฤษ[24] ภาษาเปอร์เซียเคยเป็นภาษาของราชสำนักในอินเดียสมัยราชวงศ์โมกุล ถือเป็นภาษาเชิงบริหารเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนที่อังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคม[25] ภาษาอังกฤษยังคงมีบทบาทสำคัญในอินเดีย ซึ่งมีการใช้งานในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและในบางพื้นที่ของรัฐบาลอินเดีย ภาษาฮินดีมีจำนวนผู้พูดเป็นภาษาแม่ในประเทศอินเดียในปัจจุบันมากที่สุด[26] ทำหน้าที่เป็นภาษากลางทั่วอินเดียตอนเหนือและตอนกลาง รองลงมาคือภาษาเบงกอลซึ่งเป็นที่เข้าใจในอินเดียตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาอีกคือภาษามราฐีที่มีผู้พูดในภาคตะวันตกเฉียงใต้[27] อย่างไรก็ตาม มีความกังวลว่ามีการทอดทิ้งภาษาฮินดีในอินเดียตอนใต้ โดยเฉพาะในรัฐทมิฬนาฑูและรัฐกรณาฏกะ[28][17] รัฐมหาราษฏระ รัฐเบงกอลตะวันตก รัฐอัสสัม รัฐปัญจาบ และภูมิภาคอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษาหลักก็เริ่มแสดงความกังวลต่อภาษาฮินดีด้วย[29]

ภาษาราชการ (รัฐบาลกลาง)

[แก้]
  1. ภาษาฮินดี
  2. ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการเพิ่มเติม)

ภาษาราชการอื่น ๆ ของอินเดีย

[แก้]
  1. ภาษากอนกานี (Konkani, ภาษาราชการของกัว)
  2. ภาษากันนาดา (Kannada, ภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ)
  3. ภาษาคุชราต (Gujarati, ภาษาราชการของดาดราและนครหเวลี ดามันและดีอู และคุชราต)
  4. ภาษาแคชเมียร์ (Kashmiri)
  5. ภาษาโดกรี (Dogri, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัศมีร์)
  6. ภาษาเตลูกู (Telugu, ภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ)
  7. ภาษาทมิฬ (Tamil, ภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑูและพอนดิเชอร์รี)
  8. ภาษาเนปาลี (Nepali, ภาษาราชการของรัฐสิกขิม)
  9. ภาษาเบงกอล (Bengali ภาษาราชการของรัฐตรีปุระและรัฐเบงกอลตะวันตก)
  10. ภาษาโบโด (Bodo, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
  11. ภาษาปัญจาบ (Punjabi, ภาษาราชการของ รัฐปัญจาบ)
  12. ภาษามราฐี (Marathi, ภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระ)
  13. ภาษามลยาฬัม (Malayalam, ภาษาราชการของรัฐเกรละและลักษทวีป)
  14. ภาษามณีปุระ (ภาษาไมไต) (Manipuri, Meithei, ภาษาราชการของรัฐมณีปุระ)
  15. ภาษาไมถิลี (Maithili, ภาษาราชการของรัฐพิหาร)
  16. ภาษาสันตาลี (Santali)
  17. ภาษาสันสกฤต (Sanskrit)
  18. ภาษาสินธี (Sindhi)
  19. ภาษาอัสสัม (Assamese, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
  20. ภาษาอูรดู (Urdu, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
  21. ภาษาโอริยา (Oriya, ภาษาราชการของรัฐโอริศา)
  22. ภาษาฮินดี (Hindi, ภาษาราชการของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ รัฐพิหาร รัฐฉัตตีสครห์ กรุงนิวเดลี รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐฌาร์ขันท์ รัฐมัธยประเทศ รัฐราชสถาน รัฐอุตตรประเทศ และรัฐอุตตรขันท์)

ภาษาอื่น ๆ ที่นิยมพูดในอินเดีย

[แก้]

(มีคนพูดมากกว่า 5 ล้านคน แต่ไม่มีฐานะทางราชการ)

  1. ภาษาโคณฑี (Gondi, ชนเผ่ากอนด์ Gond)
  2. ภาษากาเนาจี (Kanauji, ภาษาของรัฐอุตตรประเทศ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  3. ภาษาคุตชี (Kutchi, ภาษาของคุตช์)
  4. ภาษาฉัตตีสครห์ (Chhattisgarhi, ภาษาของรัฐฉัตตีสครห์ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  5. ภาษาตูลู (Tulu, พูดโดยชาวตูเล Tule ของรัฐกรณาฏกะและรัฐเกรละ)
  6. ภาษาบุนเดลี (Bundeli, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  7. ภาษาโภชปุรี (Bhojpuri, ภาษาของพิหาร มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  8. ภาษาภิล (Bhili, ชนเผ่าภิล Bhil)
  9. ภาษามคธี (Magadhi, หรือ ภาษามคธ ภาษาของรัฐพิหารตอนใต้ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  10. ภาษามาร์วารี (Marwari, ภาษาของรัฐราชสถาน มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  11. ภาษาหริยนวี (Haryanvi, ภาษาของรัฐหรยาณา มักถือว่าประเภทย่อยของ ภาษาฮินดี)
  12. ภาษาอวาธี (Awadhi, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
  13. ภาษาฮินดูสตานี (Hindustani, การผสมระหว่างภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ส่วนใหญ่พูดในตอนเหนือของอินเดีย)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Constitution of India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
  2. 2.0 2.1 "Official Language Act | Government of India, Ministry of Electronics and Information Technology". meity.gov.in (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-01-24.
  3. Salzmann, Zdenek; Stanlaw, James; Adachi, Nobuko (8 July 2014). Language, Culture, and Society: An Introduction to Linguistic Anthropology. Westview Press. ISBN 9780813349558 – โดยทาง Google Books.
  4. "Official Language – The Union -Profile – Know India: National Portal of India". Archive.india.gov.in. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  5. "India". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
  6. "Indo-Aryan languages". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
  7. "Hindi languages". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
  8. Kak, Subhash. "Indic Language Families and Indo-European". Yavanika. The Indic family has the sub-families of North Indian and Dravidian
  9. Reynolds, Mike; Verma, Mahendra (2007), Britain, David (บ.ก.), "Indic languages", Language in the British Isles, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 293–307, ISBN 978-0-521-79488-6, สืบค้นเมื่อ 2021-10-04
  10. Kak, Subhash. "On The Classification Of Indic Languages" (PDF). Louisiana State University.
  11. Moseley, Christopher (10 March 2008). Encyclopedia of the World's Endangered Languages. Routledge. ISBN 978-1-135-79640-2.
  12. 12.0 12.1 "What countries have the most languages?". Ethnologue. 22 May 2019.
  13. Aadithiyan, Kavin (10 November 2016). "Notes and Numbers: How the New Currency May Resurrect an Old Language Debate". สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  14. "Article 343 in The Constitution Of India 1949". สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  15. Khan, Saeed (25 January 2010). "There's no national language in India: Gujarat High Court". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 5 May 2014.
  16. Press Trust of India (25 January 2010). "Hindi, not a national language: Court". The Hindu. Ahmedabad. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
  17. 17.0 17.1 Hardgrave, Robert L. (August 1965). The Riots in Tamilnad: Problems and Prospects of India's Language Crisis. Asian Survey. University of California Press.
  18. Joseph, Manu (2011-02-17). "India Faces a Linguistic Truth: English Spoken Here". The New York Times.
  19. S, Rukmini (2019-05-14). "In India, who speaks in English, and where?". mint. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  20. Pratim Gohain, Manash (22 January 2018). "58% of rural teens can read basic English: Survey". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  21. Languages Included in the Eighth Schedule of the Indian Constution เก็บถาวร 4 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. "Census Data 2001 : General Note". Census of India. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  23. Abidi, S.A.H.; Gargesh, Ravinder (2008). "4. Persian in South Asia". ใน Kachru, Braj B. (บ.ก.). Language in South Asia. Kachru, Yamuna & Sridhar, S.N. Cambridge University Press. pp. 103–120. ISBN 978-0-521-78141-1.
  24. Bhatia, Tej K and William C. Ritchie. (2006) Bilingualism in South Asia. In: Handbook of Bilingualism, pp. 780-807. Oxford: Blackwell Publishing
  25. "Decline of Farsi language – The Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2015-10-26.
  26. "Hindi mother tongue of 44% in India, Bangla second most spoken – The Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
  27. "The World Factbook". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-10-25.
  28. Nehru, Jawaharlal; Gandhi, Mohandas (1937). The question of language: Issue 6 of Congress political and economic studies. K. M. Ashraf.
  29. News, Nagpur. "Maharashtra to join 'anti – Hindi' stir at Bengaluru". www.nagpurtoday.in. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]