ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเตปที่ 3
ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 (ด้านขวา) บนจารึกศิลา JE 59635 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 1 ปี, 1629 - 1628 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | โซเบคโฮเทปที่ 8 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบหก |
เซคเอมเร สอังค์ทาวี เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 อิย์เคอร์โนเฟรต (อังกฤษ: Neferhotep III) หรือเรียกว่า เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สามหรือสี่จากราชวงศ์ที่สิบหก โดยพระองค์ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ริโฮลต์และดาร์เรลล์ เบเกอร์ ระบุไว้[1][2] ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์อยู่ที่ 1 ปี และปรากฏหลักฐานยืนยันที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เป็นหลักเพียงชิ้นเดียว คือ จารึกศิลาจากเมืองธีบส์[1] ในการศึกษาที่มีเก่ากว่าของเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ ได้ระบุให้พระองค์อยู่ในช่วงสิ้นสุดของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[3]
พระราชอาณาเขตในการปกครอง
[แก้]ในจารึกศิลาที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก (Cairo JE 59635 [CG 20799])[4][5] ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงเรียกเมืองธีบส์ว่า "เมืองของข้าพเจ้า" และยกย่องพระองค์เองว่าเป็น "ผู้ทรงนำทางแห่งชัยชนะของธีบส์"[6] โดยรีฮอล์ตเข้าใจการเน้นเกี่ยวกับเมืองธีบส์ของพระองค์นั้น แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงปกครองและมีอำนาจครอบคลุมบริเวณธีบส์แต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ เบเกอร์ยังชี้ให้เห็นถึงการขาดหลักฐานยืนยันร่วมสมัยทั้งหมดของเหล่าฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบหก (ยกเว้นฟาโรห์เบบิอังค์ และฟาโรห์เนบิไรรอที่ 1) นอกหุบเขาแม่น้ำไนล์ที่ทอดยาว 200 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองธีบส์นับตั้งแต่เมืองฮู ซึ่งอยู่ทางเหนือ จรดเมืองเอ็ดฟู ซึ่งอยู่ทางใต้[2] การที่ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงปกครองมากกว่าบริเวณธีบส์เดิมเล็กน้อยนั้นได้รับการเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยปรากฏตามจารึกศิลของผู้สืบทอดพระราชบลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ ซึ่งพระองค์ไว้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าคือฟาโรห์ในเมืองธีบส์ นี่คือเมืองของข้าพเจ้า"
เหตุการณ์ภายในรัชสมัย
[แก้]ในจารึกศิลาของดังกล่าว ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงเน้นบทบาทของพระองค์ในฐานะผู้จัดหาอาหารให้กับประชาชนของพระองค์โดยระบุว่า "พระองค์ ผู้ทรงหล่อเลี้ยงเมืองของพระองค์ให้รอดพ้นจากการกันดารอาหาร"[7] พร้อมกับพระนาม "เซคเอมเร สอังค์ทาวี พลานุภาพแห่งเทพรา พระองค์ ผู้ทรงหล่อเลี้ยงสองดินแดน" แสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าบริเวณอียิปต์บนต้องทนทุกข์ทรมานจากความอดอยากในสมัยช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบหก และฟาโรห์อีกพระองค์หนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 ก็ทรงออกพระนามที่มีลักษณะคล้ายกับพระนามของพระองค์เช่นกัน
ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงต้องเข้าไปพัวพันกับสงครามป้องกันจากการรุกรานของราชวงศ์ที่สิบห้าของชนชาวฮิกซอส ซึ่งท้ายที่สุดก็สามารถเข้ายึดครองเมืองธีบส์ของราชวงศ์ที่สิบหกในเวลาต่อมา โดยพระองค์ทรงยกย่องพระองค์เองในจารึกศิลาว่า "พระองค์ ผู้ซึ่งยกเมืองของพระองค์ขึ้น จากการจมอยู่ในความขัดแย้งกับชาวต่างชาติ"[1] และเชื่อกันว่าในจารึกศิลาดังกล่าวมีการกล่าวถึงมงกุฎเคเพรส ซึ่งเป็นการกล่าวถึงมงกุฏดังกล่าวครั้งแรกๆ ในประวัติศาสตร์ โดยพระองค์ทรงได้รับการกล่าวขานว่า "ทรงประดับด้วยมงกุฏเคเพรส ภาพที่มีพระชนม์ชีพของเทพรา เจ้าแห่งความหวาดกลัว"[8] ด้วยเหตุผลที่ยากจะเข้าใจจารึกศิลา ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ยังทรงถูกกล่าวถึงโดยฉายาว่า อิย์เคอร์โนเฟรต ที่จารึกไว้ในคาร์ทูธ:[4][9]
|
ภายหลังจากรัชสมัยอันสั้นของพระองค์แล้ว ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ ก็ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์เป็นระยะเวลาสั้นเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997), p.202
- ↑ 2.0 2.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 256-257
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, S. 67-68, 259 (XIII J.)
- ↑ 4.0 4.1 Pascal Vernus (1982): "La stèle du roi Sekhemsankhtaouyrê Neferhotep Iykhernofret et la domination Hyksôs (stèle Caire JE 59635)", ASAE 68, pp.129-135.
- ↑ W. V. Davies, The Origin of the Blue Crown, The Journal of Egyptian Archaeology, Vol. 68, (1982), pp. 69-76
- ↑ Ryholt, p.160
- ↑ Ryholt, p.306
- ↑ Ebba Kerrn Lillesø, Two Wooden Uræi, The Journal of Egyptian Archaeology, Vol. 61, (1975), pp. 137-146
- ↑ Ryholt, p.155