ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์ยากาเรบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยาคาเรบ เป็นผู้ปกครองในพื้นที่บางส่วนของอียิปต์โบราณในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล และน่าจะอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่[3][4] เช่นนี้พระองค์จะทรงปกครองจากที่เมืองอวาริส โดยครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะไปถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันฝั่งตกด้วย ตำแหน่งและตัวตนตามลำดับเวลาของพระองค์ยังไม่ชัดเจน

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

พระองค์เป็นหนึ่งในฟาโรห์เพียงไม่กี่พระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ คือ ตราประทับสคารับจำนวนสองชิ้น ซึ่งไม่ทราบที่มาของตราประทับทั้งสองชิ้น[3][4] โดยหนึ่งในสองชิ้นปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งเบอร์ลิน แค็ตตาล็อกหมายเลข 293/73 ส่วนอีกชิ้นอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพตรี แค็ตตาล็อกหมายเลข 11810[3][5][6][7]

เนื่องจาก "ยาคาเรบ" เป็นพระนามประสูติของฟาโรห์พระองค์นี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันว่าจะปรากฏพระนามของพระองค์อยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินหรือไม่ โดยบันทึกพระนามดังกล่าวเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่ได้รับชำระในช่วงต้นสมัยรามเสส ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นสำหรับราชวงศ์ที่สิบสี่ แต่จะบันทึกเฉพาะพระนามนำหน้าของฟาโรห์เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น เอกสารดังกล่าวยังอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ และพระนามนำหน้าของพระองค์อาจสูญหายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึก[4] ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการยืนยันอย่างแน่นอนจากหลักฐานตราประทับสคารับจำนวนสองชิ้นเท่านั้น ซึ่งตราประทับทั้งสองชิ้นนี้ทำขึ้นอย่างหยาบๆ และอาจจะเป็นไปได้ว่าพระนาม "ยาคาเรบ" เป็นรูปแบบที่อ่านไม่ถูกต้องหรือเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันของพระนามของฟาโรห์ที่ปรากฏหลักฐานอย่างดีในช่วงเวลาดังกล่าว[6]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา

[แก้]

ถึงแม้ว่าตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์จะยังคงไม่แน่นอน แต่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์เสนอว่า พระองค์ทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่ก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์ โดยการสันนิษฐานดังกล่าวอิงจากการเรียงลำดับของตราประทับสคารับที่มีอายุย้อนไปตั้งแต่ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Flinders Petrie: Scarabs and cylinders with names, illustrated by the Egyptian collection in University College, London by W. M. Flinders Petrie, British school of archaeology in Egypt and Egyptian research account, London 1917, available online copyright-free see pl. xxii, num 16.h.1
  2. Percy E. Newberry: Scarabs an introduction to the study of Egyptian seals and signet rings, with forty-four plates and one hundred and sixteen illustrations in the text, 1906, available online copyright-free see plate XXII, num 8, p. 151.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  4. 4.0 4.1 4.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 175–176
  5. Olga Tufnell: Studies on Scarab Seals Vol. 2, Aris & Phillips 1984, ISBN 978-0856681301, see seal num. 3493
  6. 6.0 6.1 The scarab on Digital Egypt, Petrie Museum.
  7. The scarab on the catalog of the Petrie Museum[ลิงก์เสีย]