ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์ทูชของพระนามประสูติของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 บนกำแพงหินปูนจากคอปโตส

อเมเนมเฮตที่ 1 (อียิปต์โบราณ: Ỉmn-m-hꜣt) หรือ อเมเนมฮัตที่ 1 หรือในรูปแบบที่แปรมาเป็นภาษากรีก อัมเมเนเมส เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์แรกจากราชวงศ์ที่สิบสอง ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ถือว่าเป็นยุคทองของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 อาจจะเป็นบุคคลเดียวกันกับราชมนตรีนามว่า อเมเนเมเฮต ซึ่งเป็นผู้คณะเดินทางไปยังวาดิ ฮัมมามัต ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ และพระองค์อาจจะยึดพระราชอำนาจจากฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4[14] นักวิชาการเห็นต่างกันว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ได้ถูกปลงพระชนม์โดยฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 หรือไม่ แต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นอิสระที่จะยืนยันในประเด็นนี้ และอาจจะมีช่วงเวลาของการขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกันระหว่างรัชสมัยของทั้งสองพระองค์[15]

พระองค์ไม่ได้มีเชื้อสายของราชวงศ์ พระองค์ประสูติแต่ผู้ปกครองท้องถิ่นหนึ่งในหลายเขตปกครอง[16]ของอียิปต์นามว่า เซนุสเรต กับนางเนเฟิร์ต ในองค์ประกอบของงานวรรณกรรมบางเรื่อง (คำทำนายแห่งเนเฟอร์ติ (the Prophecy of Neferti)[17] และตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮต (Instructions of Amenemhat)[18]) และทางด้านสถาปัตยกรรม การพลิกกลับของรูปแบบพีระมิดของผู้ปกครองในช่วงสมัยราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ มักถูกมองว่าเป็นความพยายามในการสร้างความชอบธรรมในราชบัลลังก์ของพระองค์ ข้อความในช่วงเวลานั้นกล่าวถึงพระราชมารดาของพระองค์ว่ามาจากเขตปกครองตา-เซติ นักวิชาการหลายคนในช่วงไม่กี่ปี้ที่ผ่านมาได้โต้แย้งว่า พระราชมารดาของพระองค์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 นั้นมาจากนิวเบีย[19][20][21]

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ได้ทรงย้ายราชธานีจากเมืองธีบส์ไปยังเมืองอิททจาวี และถูกฝังพระศพในเอล-ลิชต์ พระองค์อาจจะถูกลอบปลงพระชนม์

ช่วงต้นรัชสมัย

[แก้]

มีหลักฐานบางชิ้นที่แสดงว่าในช่วงต้นรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1ได้ถูกรุมเร้าด้วยความวุ่นวายทางการเมือง ดังที่ระบุไว้ในจารึกแห่งเนห์ริ ซึ่งเป็นผู้ปกครองท้องถิ่น[22] ได้มีการสู้รบทางเรือ ซึ่งมีผู้ร่วมช่วยทำการสู้รบกับพระองค์นามว่า คนุมโฮเทปที่ 1 ได้ช่วยรบจนได้รับชัยชนะ ในเวลาต่อมา คนุมโฮเทปได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นคนสำคัญที่เบนิ ฮาซาน และได้ก่อตั้งราชวงศ์ของผู้ปกครองท้องถิ่นขึ้นที่นั่น หลานชายของเขาคือ คนุมโฮเทปที่ 3[23]

ในจารึกของคนุมโฮเทปได้กล่าวถึงการเคลื่อนไหวการทางทการต่อต้านชาวเอเชียและชาวนิวเบีย[24]

พระนาม

[แก้]
พระนามฮอรัสของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1บนกำแพงหินปูนจากคอปโตส

พระนามของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ได้ปรากฏอยู่ในหนึ่งในสองตำราคำสอน (sebayt) หรือตำราทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องผู้ปกครองอียิปต์ ซึ่งมีชื่อว่า ตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮต ถึงแม้ว่าในปัจจุบันโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่า เป็นเพียงเอกสารที่ถูกเขียนโดยอาลักษณ์ตามพระราชโองการของฟาโรห์[18]

พระนามฮอรัสของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 คือ เวเฮมเมซู ซึ่งมีความหมายว่า การประสูติขึ้นใหม่ เป็นการอ้างอิงถึงสมัยราชอาณาจักรเก่า ซึ่งมีรูปเคารพและแบบจำลองทางวัฒนธรรม (เช่น การสร้างหลุมฝังพระศพแบบพีระมิดและลวดลายศิลปะอย่างสมัยราชอาณาจักรเก่า) ได้ถูกจำลองโดยฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสองหลังจากสิ้นสุดสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง การบูชาฟาโรห์ยังได้เป็นที่นิยมในช่วงเวลานี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง[25]

พีระมิด

[แก้]
พีระมิดที่พังทลายของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ที่ลิชต์

พีระมิดของพระองค์ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบลักษณะเดียวกับพีระมิดในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ห้าและหก โดยมีแกนกลางแข็งแรงที่ฉาบด้วยหินปูนเรียบอย่างดี

"แกนกลางของพีระมิดประกอบด้วยบล็อกหินปูนหยาบขนาดเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยทราย เศษหิน และอิฐโคลน บางทีคุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดคือมันรวมชิ้นส่วนของบล็อกหินจารึกจากสิ่งปลูกสร้างในสมัยราชอาณาจักรเก่า - มากมายหลายชิ้นมาจากทางเดินหลวงและวิหารพีระมิดรวมถึงของฟาโรห์คูฟู บล็อกหินแกรนิตจากสถานที่ฝังพระศพของฟาโรห์คาเฟรได้ถูกนำมาจัดเรียงเป็นทางเดินลาดลงของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 เราสามารถสรุปได้เพียงว่าพวกมันถูกเอามาจากซักคาราและกิซ่าและส่งไปที่ลิชต์ เพื่อรวมเข้ากับพีระมิดเพื่อประสิทธิภาพทางจิตวิญญาณของพวกเขา"[26]

เมื่อชั้นนอกของหินปูนถูกนำออก แกนกลางก็ทรุดตัวลง พีระมิดและวิหารได้ถูกใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับเตาปูน ดังนั้นในปัจจุบันจึงเหลือเพียงเล็กน้อย

พีระมิดของฟาโรห์ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางนี้ถูกสร้างขึ้นใกล้กับแม่น้ำไนล์ส่งผลให้ห้องฝังพระศพในปัจจุบันของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 จมอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากแม่น้ำไนล์ได้เปลี่ยนเส้นทาง พีระมิดมีผนังหินปูนด้านในและผนังด้านนอกเป็นอิฐโคลน โดยสมาชิกในราชวงศ์ถูกฝังอยู่ระหว่างกำแพงทั้งสองนี้ มีหลุมฝังศพมาสตาบาจำนวนหนึ่งอยู่ระหว่างกำแพงและมีปล่องฝังศพ 22 แห่งทางฝั่งตะวันตกของพีระมิด

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ได้ทรงเจริญรอยตามพระองค์ด้วยการสร้างพีระมิด ซึ่งเป็นรูปแบบของพีระมิดในสมัยช่วงราชวงศ์ที่หกมากกว่าพีระมิดของพระราชบิดาและสร้างที่ลิชต์เช่นกัน แต่พระราชนัดดาของพระองค์นามว่า ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ก็ไม่ได้สร้างพีระมิดเป็นหลุมฝังพระศพตามพระองค์

การลอบปลงพระชนม์

[แก้]

งานเขียนสองงานที่มีอายุสืบเนื่องมาจากช่วงปลายรัชสมัยสืบเนื่องมาจากปลายรัชกาลฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ได้บันทึกเกี่ยวกับการสวรรคตของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 หนึ่งในนั้นตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮต ซึ่งเป็นตำราที่ได้บันทึกคำสอนที่ฟาโรห์ผู้สวรรคตได้มอบให้กับพระราชโอรสในระหว่างกำลังพระสุบิน ในส่วนที่พระองค์ได้ทรงเตือนฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เกี่ยวกับการความสนิทสนมกับคนใกล้พระองค์มากจนเกินไป โดยพระองค์ได้ทรงเล่าเรื่องการสวรรคตของพระองค์เสริมไป:

"มันเป็นเวลาหลังพระกระยาหารเย็น เมื่อล่วงเข้าสู่ทิวาวาร และข้าได้ใช้ห่วงเวลาแห่งความสุขสำราญ ข้าได้บรรทมอยู่บนพระแท่นบรรจถรณ์ เมื่อข้ารู้สึกเหน็ดเหนื่อย และดวงใจของข้าก็เริ่มตามเข้าสู่นิทรา เมื่อนั้นอาวุธของเจ้าที่ปรึกษาของข้าก็ได้ถูกกวัดแกว่ง ข้าก็กลายเป็นดั่งงูในสุสาน เมื่อข้ารู้ตัว ข้าก็ตื่นจากนิทราขึ้นเพื่อต่อกร และพบว่าเป็นการลอบทำร้ายของราชองครักษ์ ถ้าหากข้าจับอาวุธได้อย่างเร็วพลัน ข้าคงจะทำให้พวกมันต้องหนีด้วยการพุ่งเข้าใส่! แต่ในคืนนั้นกลับไม่มีผู้แข็งแกร่งใดเลย และไม่มีผู้ใดที่จะต่อสู้เพียงคนเดียวได้ ความสำเร็จจะไม่มาโดยปราศจากผู้ช่วยเหลือ ดูเถิด ข้าได้รับบาดเจ็บขณะที่ข้าไม่มีเจ้า เมื่อคนข้างตัวข้ายังไม่ได้ยินว่าข้าจะมอบตัวให้แก่เจ้า เมื่อข้ายังไม่ได้ประทับร่วมกับเจ้า เพื่อที่ข้าจะได้ปรึกษาหารือกับเจ้า เพราะข้าไม่ได้วางแผน ข้าไม่ได้คาดการณ์ และดวงใจของข้าไม่ได้คิดถึงความประมาทเลินเล่อของข้ารับใช้เลย"[27]

ข้อความนี้อ้างอิงถึงแผนการสมคบคิดที่ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ถูกราชองครักษ์รักษาการณ์ของลอบปลงพระชนม์ ในขณะที่ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรสและเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์ ทรงกำลังดำเนินการทางหารในดินแดนลิเบีย ส่วนงานเขียนอื่นที่บันทึกเหตุการณ์ต่อไปนี้มีอยู่ในเรื่องราวแห่งซินูเฮ ซึ่งเป็นงานเขียนที่มีชื่อเสียงของวรรณกรรมอียิปต์:

"ในปีที่ 30 เดือนที่ 3 แห่งฤดูน้ำท่วม วันที่ 7 องค์เทพได้เสด็จขึ้นสู่ขอบฟ้าของพระองค์ เมื่อนั้น เซเฮเทปอิบเร กษัตริย์อียิปต์บนและล่างก็ได้เสด็จขึ้นสู่สรวงสวรรค์และได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับรัศมีแห่งดวงอาทิตย์ แขนขาขององค์เทพได้รวมเข้ากับพระองค์ ซึ่งเป็นพระผู้สร้างพระองค์; ในขณะที่พระราชวังอยู่ในความเงียบสงัด หัวใจก็โศกเศร้า ประตูบานใหญ่ได้ถูกปิด เหล่าข้าราชบริพารก็หมอบศีระษะลงบนตัก และบรรดาขุนนางก็เศร้าโศก บัดนี้พระองค์ได้ส่งกองทัพของพระองค์ไปยังดินแดนแห่งทเจเมห์ (ลิเบีย) ซึ่งทรงให้พระราชโอรสพระองค์โตนามว่า เซนุสเรต เป็นแม่ทัพนายกองไปโจมตีแคว้นต่างด้าว และจับเฉลยศึกที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งทเจนู และตอนนี้พระองค์ทรงกำลังเสด็จกลับมาและได้นำเฉลยศึกที่มีชีวิตจากทเจนูและเหล่าปศุสัตว์ทุกชนิดอย่างมากมายก่ายกอง และข้าราชสำนักไดดถูกส่งตัวไปทางทิศตะวันตก เพื่อไปเข้าเฝ้ากับพระราชโอรสแห่งกษัตริย์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในราชสำนัก และบรรดาผู้ส่งสารเข้าเฝ้าพระองค์ระหว่างทางเวลายามวิกาลแล้ว พระองค์มิได้รอช้า เหยี่ยวบินออกไปพร้อมกับผู้ติดตามของพระองค์ โดยมิได้แจ้งให้กองทัพทราบ แต่พระราชโอรสแห่งกษัตริย์ที่ติดตามพระองค์ในกองทัพนี้ถูกส่งไปและหนึ่งในนั้นถูกเรียกตัวกลับ(...)"[28]

การสืบสันตติวงศ์

[แก้]
จารึกหินหมายเลข ซีจี 20516

ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ถือเป็นฟาโรห์พระองค์แรกแห่งอียิปต์ที่ได้ให้พระราชโอรสขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์นั่นคือ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 จารึกที่ได้ระบุช่วงเวลาจากอไบดอส และตอนนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร (ซีจี 20516) มีอายุย้อนไปได้จนถึงปีที่ 30 แห่งงการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 1 และยังถึงปีที่ 10 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ซึ่งบันทึกไว้ว่า เจ้าชายเซนุสเรตได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์ในปีที่ 20 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1[29]

พระราชสำนัก

[แก้]

มีราชมนตรีในรัชสมัยของพระองค์เพียงไม่กี่คนเท่านั้น[30] ราชมนตรีในช่วงกลางรัชสมัยมีนามว่า ไอปิ[31] เมื่อถึงช่วงสิ้นสุดรัชสมัยมีราชมนตรีใหม่นามว่า อินเตฟิเกอร์[32] มีผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัตทั้งหมดสองคนภายใต้รัชสมัยของพระองค์นามว่า ไอปิอีกคนหนึ่ง และเรฮูเออร์ดเจอร์เซน เจ้าพนักงานชั้นสูงสองคนนามว่า เมเคตเร และโซเบคนัคต์ ก็ได้รับการระบุเช่นกัน

วรรณกรรมสมัยใหม่

[แก้]

นากิบ มาห์ฟูซ นักเขียนนวนิยายชาวอียิปต์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ได้รวมฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ไว้ในงานเขียนของเขาที่ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1941 เรื่อง "Awdat Sinuhi" และได้รับการแปลมาเป็นภาษาอังกฤษโดยเรย์มอนด์ สต็อคในปี ค.ศ. 2003 ในชื่อเรื่องว่า "The Return of Sinuhe" และในชุดเรื่องสั้นของนากิบ มาห์ฟูซ ชื่อว่า "Voices from the Other World" ซึ่งเรื่องนี้มีเค้าโครงมาจากมาจาก "เรื่องราวแห่งซินูเฮ (The Story of Sinuhe)" โดยตรง ถึงแม้ว่าจะเพิ่มรายละเอียดของความรักสามเส้าของคู่รักที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์อเมนเนมเฮตที่ 1 และซินูเฮ แต่ยังไม่ปรากฏในต้นฉบับของมาห์ฟูซ และยังรวมถึงฟาโรห์ในงานเขียนของเขาเกี่ยวกับผู้ปกครองของอียิปต์ "Facing the Throne" ในงานเขียนนี้ นากิบ มาห์ฟูซได้ให้เทพเจ้าแห่งอียิปต์โบราณมาวิพากษ์วิจารณ์เหล่าผู้ปกครองของประเทศตั้งแต่ฟาโรห์เมนาไปจนถึงประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ปีที่นำเสนอ ได้แก่: ประมาณ 1994–1964 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[2] ประมาณ 1991–1962 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[3][4][5][6] ประมาณ 1985–1956 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[7] ประมาณ 1981–1952 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[8] ประมาณ 1939–1910 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[9] ประมาณ 1939/1938-1908 ปีก่อนคริสต์ศักราช[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Schneider 2006, p. 174.
  2. Dodson & Hilton 2004, p. 288.
  3. Grimal 1992, p. 391.
  4. Clayton 1994, p. 78.
  5. Franke 2001, p. 68.
  6. Lehner 2008, p. 8.
  7. Shaw 2003, p. 483.
  8. Oppenheim et al. 2015, p. xix.
  9. Krauss & Warburton 2006, p. 491.
  10. Grajetzki 2006, p. 28.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Leprohon 2013, p. 57.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 von Beckerath 1984, p. 197.
  13. 13.0 13.1 13.2 Leprohon 2013, p. 58.
  14. Stiebing, William H. (2016) [2009]. Ancient Near Eastern History and Culture (2nd ed.). London; New York: Routledge. p. 156. ISBN 978-0-321-42297-2. OCLC 1004426779. สืบค้นเมื่อ June 21, 2020.
  15. E. Hornung, History of Ancient Egypt, 1999 p.50
  16. "Amenemhat I Sehetibre | Ancient Egypt Online" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  17. M. Lichtheim, Ancient Egyptian Literature, 1973 p.139
  18. 18.0 18.1 M. Lichtheim, Ancient Egyptian Literature, 1973 p.135
  19. General History of Africa Volume II - Ancient civilizations of Africa (ed. G Moktar). UNESCO. p. 152.
  20. Jr, Richard A. Lobban (10 April 2021). Historical Dictionary of Ancient Nubia (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 9781538133392.
  21. Van de Mieroop, Marc (2021). A history of ancient Egypt (Second ed.). Chichester, West Sussex. p. 99. ISBN 978-1119620877.
  22. Alan B. Lloyd, ed. A Companion to Ancient Egypt. Volume 52 of Blackwell Companions to the Ancient World. John Wiley & Sons, 2010 ISBN 1444320068 p.88
  23. Toby Wilkinson, The Rise and Fall of Ancient Egypt. Random House LLC, 2011 ISBN 0679604294 p.143
  24. Pharaoh: Amenemhat I (Sehetepibre) เก็บถาวร 2016-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน euler.slu.edu
  25. Shaw, Ian, บ.ก. (2000), The Oxford History of Ancient Egypt, Oxford: Oxford University Press, p. 159
  26. Lehner, Mark The Complete Pyramids, London: Thames and Hudson (1997)p.168 ISBN 0-500-05084-8
  27. "Egypt: Amenemhat I, 1st King of the 12th Dynasty". www.touregypt.net. สืบค้นเมื่อ 10 April 2018.
  28. Sir Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs, Oxford University Press 1961, p. 130–131
  29. Murnane, William J. Ancient Egyptian Coregencies, Studies in Ancient Oriental Civilization. No. 40. p.2. The Oriental Institute of the University of Chicago, 1977.
  30. Grajetzki 2006, pp. 28–29.
  31. Morales n.d., Tomb of Ipi (TT 315).
  32. JGU 2022, Person PD 146.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3.
  • "Chambre des Ancêtres". Louvre. Louvre. n.d. สืบค้นเมื่อ 20 August 2021.
  • Clayton, Peter A. (1994). Chronicle of the Pharaohs. London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05074-3.
  • Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. OCLC 602048312.
  • "EA117". The British Museum. The British Museum. n.d. สืบค้นเมื่อ 20 August 2021.
  • Franke, Detlef (2001). "Amenemhat I". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 1. Oxford: Oxford University Press. pp. 68–69. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Grajetzki, Wolfram (2006). The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society. London: Duckworth. ISBN 0-7156-3435-6.
  • Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8.
  • Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David A. (2006). "The Editors: Royal Annals". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 19–25. ISBN 978-90-04-11385-5.
  • Ilin-Tomich, Alexander (n.d.). "Persons and Names of the Middle Kingdom". Johannes Gutenberg Universität Mainz. Johannes Gutenberg Universität Mainz. สืบค้นเมื่อ July 12, 2022.
  • Kitchen, Kenneth A. (1975). Ramesside Inscriptions: Historical and Biographical. Vol. 1. Oxford: Blackwell. ISBN 0-903563-08-8.
  • Kitchen, Kenneth A. (1979). Ramesside Inscriptions: Historical and Biographical. Vol. 2. Oxford: Blackwell. OCLC 258591788.
  • Kitchen, Kenneth A. (1980). Ramesside Inscriptions: Historical and Biographical. Vol. 3. Oxford: Blackwell. OCLC 254744548.
  • Kitchen, Kenneth A. (2001). "King Lists". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford: Oxford University Press. pp. 234–238. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Krauss, Rolf; Warburton, David (2006). "Conclusions and Chronological Tables". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 473–498. ISBN 978-90-04-11385-5.
  • Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3.
  • Leprohon, Ronald J. (2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. Writings from the ancient world. Vol. 33. Atlanta: Society of Biblical Literature. ISBN 978-1-58983-736-2.
  • Morales, Antonio J. (n.d.). "Tomb of Ipi (TT 315)". Middle Kingdom Theban Project. Middle Kingdom Theban Project. สืบค้นเมื่อ July 12, 2022.
  • Murnane, William (1977). Ancient Egyptian Coregencies. Studies in Ancient Oriental Civilization. Vol. 40. Chicago, IL: The Oriental Institute. OCLC 462126791.
  • Oppenheim, Adela; Arnold, Dorothea; Arnold, Dieter; Yamamoto, Kumiko, บ.ก. (2015). Ancient Egypt Transformed: the Middle Kingdom. New York: Metropolitan Museum of Art. ISBN 9781588395641.
  • Redford, Donald B. (1986). Pharaonic King-lists, Annals, and Day-books. Society for the Study of Egyptian Antiquities 4. Mississauga: Benben Rubl. ISBN 0920168078.
  • Redford, Donald B. (2001). "Manetho". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford: Oxford University Press. pp. 336–337. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5.
  • Shaw, Ian, บ.ก. (2003). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-815034-3.
  • Simpson, William Kelly (2001). "Twelfth Dynasty". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 453–457. ISBN 978-0-19-510234-5.
  • Verner, Miroslav (2001). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8.
  • von Beckerath, Jürgen (1984). Handbuch der ägyptischen Königsnamen. München: Deutscher Kunstverlag. ISBN 9783422008328.
  • Waddell, William Gillan (1964) [1940]. Page, Thomas Ethelbert; Capps, Edward; Rouse, William Henry Denham; Post, Levi Arnold; Warmington, Eric Herbert (บ.ก.). Manetho with an English Translation. Cambridge, MA: Harvard University Press. OCLC 610359927.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Mahfouz, Naguib. The Return of Sinuhe in Voices from the Other World (translated by Robert Stock), Random House, 2003.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]