ข้ามไปเนื้อหา

พระอินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอินทร์
เทพแห่งสายฟ้า ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฝน น้ำตก ธรรมชาติ
พระอินทร์ประทับบนช้างเอราวัณ บนพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ชื่อในอักษรเทวนาครีइन्द्र / इंद
เป็นที่บูชาในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน
ส่วนเกี่ยวข้องเทวราช สวรรคาธิบดี เทพโลกบาล และเทพคณะอาทิตย์
ที่ประทับเวชยันต์วิมาน ในเมืองสุทัสสนะ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมืองอมราวดี ในอินทรโลก (สวรรค์)
อาวุธวัชระ, ศักรธนู, ศรอินทราสตร์, ดาบปรัญชะ, ขอช้าง, คทา, หอกวาสวีศักติ, จักร, สังข์ ฯลฯ
พาหนะช้างเอราวัณ
ม้าอุจไจศรพ
เวชยันตราชรถ เทียมม้าสีขาว มีพระมาตุลีเป็นสารถี
เป็นที่นับถือใน อินเดีย
 ไทย
 ลาว
 กัมพูชา
 จีน
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระอินทราณี, พระแม่สุธรรมา, พระแม่สุจิตรา, พระแม่สุนันทา, พระแม่สุชาดา, นางอหัลยา, นางกาลอัจนา, พระนางกุนตี, นางอัปสร 25 ล้านตน[1]
บุตร - ธิดาพระชยันต์, พระนางชยันตี, พระนางเทวเสนา, พาลี, อรชุน ฯลฯ
บิดา-มารดา

ตามคติศาสนาฮินดูสมัยฤคเวท ศาสนาเชน และศาสนาพุทธ พระอินทร์ (สันสกฤต: इन्द्र, อินฺทฺร; บาลี: อินฺท) เป็นเทวราช[2] ผู้ปกครองสวรรค์และอภิบาลโลก ต่อมาในสมัยปุราณะ พระอินทร์ก็ถูกลดบทบาทลงและเริ่มมีพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น กระทั่งกลายเป็นเทวดาชั้นรองจากมหาเทพตรีมูรติในปัจจุบัน

ในรามเกียรติ์ พระอินทร์กับนางกาลอัจนามีบุตรชื่อพาลี

ศาสนาฮินดู

[แก้]

ความสำคัญ

[แก้]

คัมภีร์ฤคเวทว่า[3]

ในยุคเริ่มแรกตามคัมภีร์ฤคเวท พระอินทร์เป็นประมุขแห่งทวยเทพ เป็นเจ้าแห่งสภาพภูมิอากาศ และเป็นเจ้าแห่งการสงคราม มีอุปนิสัยชอบช่วยเหลือสรรพสัตว์ สมัยแรกมักเรียกพระอินทร์ว่า ศักระ (แปล: ผู้องอาจเป็นเลิศ) ซึ่งขณะนั้นมีจำนวนเทวดาทั้งสิ้นสามสิบสามพระองค์ อันได้แก่ เทพคณะอาทิตย์ 12 พระองค์ เทพคณะวสุ 8 พระองค์ พระรุทระ 11 พระองค์ และพระอัศวิน 2 พระองค์ โดยมีพระอินทร์เป็นประมุขของเทวดาเหล่านี้ คัมภีร์ส่วนใหญ่กล่าวถึงวีรกรรมของพระอินทร์ในการปราบอสูรชื่อวฤตระ (Vritra) และวีรกรรมในการอภิบาลจักรวาลนานัปการ

พระอินทร์ปราบวฤตราสูร

[แก้]

ในฤคเวท วฤตราสูร หรือ อหิ เป็นบุตรของพระแม่ทนุ เป็นอสูรทานพ มีกายเป็นงูใหญ่ หรือ นาค ได้ขึ้นไปลักน้ำบนสวรรค์ และไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำ ทำให้ไม่มีน้ำฝนตกลงสู่โลก พระพิรุณได้ขอให้พระอินทร์ไปปราบ พระอินทร์ได้ใช้กระบองทำลายถ้ำ และ ใช้วัชระผ่าท้องวฤตราสูร ทำให้น้ำฝนตกลงสู่โลก

ต่อมาการนับถือพระอินทร์ทวีขึ้นเรื่อย ๆ พระอินทร์กลายเป็นต้นแบบแห่งกษัตริย์ของทั้งมนุษย์และเทวดาทั้งปวง ในภควัทคีตามีบทอธิบายถึงความสำคัญของพระอินทร์ว่า[3]

สถานะและอำนาจหน้าที่

[แก้]
(ซ้าย) พระอินทร์กายสีทอง มีพันตา 4 กร ทรงช้างเอราวัณ, (ขวา) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พร้อมกับพระนางศจี และขบวนแห่ของเหล่าเทวดา (ซ้าย) พระอินทร์กายสีทอง มีพันตา 4 กร ทรงช้างเอราวัณ, (ขวา) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พร้อมกับพระนางศจี และขบวนแห่ของเหล่าเทวดา
(ซ้าย) พระอินทร์กายสีทอง มีพันตา 4 กร ทรงช้างเอราวัณ, (ขวา) พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พร้อมกับพระนางศจี และขบวนแห่ของเหล่าเทวดา

พระอินทร์เป็นเทวดาองค์สำคัญของศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นประมุขแห่งทวยเทพ และเป็นประธานเทวสภา มีอำนาจหน้าที่ปกครอง ควบคุม ธำรง รักษา และบำรุงสวรรคโลกและมนุษยโลก ปรากฏมากในปรัมปราของศาสนาพราหมณ์ซึ่งสงครามระหว่างพระอินทร์และความชั่วร้ายบรรดามี

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ พระอินทร์มีบทบาทลดลงโดยเป็นเทวดาชั้นรองและมีหน้าที่รองจากตรีมูรติ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม อำนาจหน้าที่บางประการของพระอินทร์ถูกโอนไปให้ตรีมูรติ เช่น พระอิศวรกลายเป็นประมุขสูงสุดแห่งทวยเทพและเป็นประธานเทวสภา พระนารายณ์มีอำนาจหน้าที่อภิบาลมนุษยโลกแทน กับทั้งพลังอำนาจของพระอินทร์ยังเป็นรองตรีมูรติ เป็นต้นว่า ในคราวที่พระนารายณ์แบ่งภาคลงไปเป็นพระกฤษณะ พระกฤษณะสามารถสำแดงเดชยกเขาบังห่าฝนที่พระอินทร์บันดาลให้เกิดขึ้นมา เพื่อทรมานเหล่าผู้คน เพราะเสื่อมศรัทธาในพระอินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พวกพรหมณ์ของไวษณพนิกาย แต่งขึ้นภายหลังแล้วนำไปเพิ่มเติมในเรื่องราวของ พระกฤษณะเจ้าภายหลัง เพื่อลดความเชื่อถือในองค์อินทร์ ทุกศาสนาล้วนมีเทพหรือเทวดาที่วนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนมีอายุขัยดับไปและเกิดใหม่ มีแต่ศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าที่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่อยู่ในรูปพรหมและอรูปพรหม

นอกจากนี้แล้วยังมีความเชื่อว่า พระอินทร์เป็นเทพประจำทิศตะวันออก หรือ บูรพา อีกด้วย[4]

ลักษณะของพระอินทร์

[แก้]
พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (จิตรกรรมลายรดน้ำ วัดสุทศนเทพวราราม)

สมัยฤคเวท พระอินทร์มีร่างกายกำยำ ผม เครา และเล็บสีทอง มีตาทั่วตัว มี 4 กร ในสมัยต่อมา พระอินทร์เริ่มมีหน้าตาและรูปร่างสวยขึ้น โดยมีร่างกายสีแดง สีขาวนวล และกลายเป็นสีเขียวในปัจจุบัน คัมภีร์ฤคเวทมีว่า[5]

พระอินทร์ ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระเทวราช,พระสวรรคาธิบดี,พระวัชรหัสต์,พระวัชรปาณี,พระศักระ,พระเทเวนทร์,พระวฤษัน,พระวฤตรหัน,พระสุเรนทร์,พระโกสีย์,พระสหัสนัยน์,พระสหัสเนตร,พระสหัสรากษะ,พระปุรันทร,พระชิษณุ,พระอมรินทร์,พระศักรินทร์,พระมัฆวาน ฯลฯ

อาวุธประจำกายของพระอินทร์ได้แก่วชิราวุธ คือ วัชระ (สายฟ้า), พระขรรค์ชื่อ "ปรัญชะ," ศักรธนู, บ่วงบาศ, จักร, สังข์ ตะขอ แหตาข่าย ฯลฯ.

พระอินทร์มีพาหนะคือช้างเอราวัณ ซึ่งปรกติเป็นเทวดาองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ประสงค์จะเดินทางไปในที่ใด เทวดาเอราวัณก็จะกลายร่างเป็นช้างพาหนะ

พระอินทร์มีหนึ่งหน้า สี่มือ แต่โดยปรกติแล้วในจิตรกรรมต่าง ๆ มักปรากฏเพียงสองมือ มือหนึ่งถือวชิราวุธ[6]

ที่พักของพระอินทร์เรียก "ไวชยนต์" ตั้งอยู่ในเมืองอมราวดี บนเขาพระสุเมรุ เขาพระสุเมรุนี้เป็นที่ตั้งของชั้นฟ้าหรือสวรรคโลก บรรดาเทวดาในอมราวดีนครไร้ทุกข์ทุกประเภท วันหนึ่ง ๆ ชื่นชมและสมสู่กับอัปสร และเล่นสนุกบรรดามี[7]

ความสัมพันธ์กับเทพองค์อื่น

[แก้]
พระอินทร์ทรงวัชระ

พระอินทร์ วิวาห์กับพระนางศจี บุตรีของท้าวปุโลมัน ราชาทานพ มีบุตรด้วยกัน ได้แก่ พระชยันต์ อุปราชแห่งสวรรค์ พระนางชยันตี ชายาของพระศุกร์ พระนางเทวเสนา ชายาของพระขันทกุมาร

ความเจ้าชู้ของพระอินทร์

[แก้]

กาลอัจนา

[แก้]

ในเรื่องรามเกียรติ์ กาลอัจนา[8] เป็นเด็กสาวที่มีความน่ารักเป็นเลิศซึ่งฤๅษีโคดมสร้างขึ้นมาจากกองไฟเพื่อเป็นคู่สมรสของตน เนื่องจากได้รับคำสบประมาทจากนกกระจาบผัวเมียที่เกาะอยู่ข้างอาศรมว่าฤๅษีมีบาปเพราะไร้ผู้สืบสกุล ฤๅษีโคดมและกาลอัจนามีธิดาด้วยกันหนึ่งคนชื่อว่า สวาหะ

ภายหลังจากที่พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์ พระอินทร์คิดสนับสนุนพระราม และเผอิญมองลงมาจากวิมานเห็นกาลอัจนามีความน่ารักจับใจก็เกิดรักขึ้น เหาะลงมาหาในระหว่างที่ฤๅษีออกจากอาศรมเข้าป่าไปหาอาหาร ฝ่ายกาลอัจนาเห็นพระอินทร์รูปร่างหน้าตาสะสวยองอาจก็เกิดรักเช่นเดียวกัน ทั้งสองลักลอบได้เสียกันในคราวนั้นโดยไม่ทราบว่านางสวาหะแอบดูอยู่ภายนอก กาลอัจนาตั้งท้องกับพระอินทร์ ให้กำเนิดบุตรชายมีร่างกายสีเขียว ฤๅษีโคดมซึ่งไม่ทราบความจริงก็คิดว่าเป็นลูกของตน ให้ชื่อว่า กากาศ

ต่อมาเมื่อคราวที่ฤๅษีออกจากอาศรมเข้าป่าไปอีกครั้ง กาลอัจนานั่งอยู่ชานอาศรมมองขึ้นไปเห็นพระอาทิตย์มีรูปร่างหน้าตางดงามผึ่งผายก็หลงรัก ฝ่ายพระอาทิตย์ซึ่งรู้ว่ากาลอัจนาหลงรักก็เหาะลงมาสมสู่ด้วย โดยไม่ทราบว่านางสวาหะแอบดูอยู่ภายนอก กาลอัจนาตั้งท้องกับพระอาทิตย์ ให้กำเนิดบุตรชายมีร่างกายสีแดง ฤๅษีโคดมซึ่งไม่ทราบความจริงก็คิดว่าเป็นลูกของตน ให้ชื่อว่า สุครีพ

ต่อมานางสวาหะน้อยใจที่ฤๅษีโคดมเอาใจใส่บุตรชายทั้งสองมากกว่าตน จึงตัดพ้อเชิงว่ารักลูกคนอื่นมากกว่าลูกตน ฤๅษีโคดมเกิดสงสัยขึ้น เสี่ยงอธิษฐานโยนบุตรทั้งสามลงไปในน้ำ ผู้ใดเป็นบุตรที่แท้ที่จริงขอให้สามารถว่ายน้ำกลับมาหาตนได้โดยปลอดภัย ผู้ใดไม่ใช่ขอให้กลายเป็นลิง ซึ่งมีแต่นางสวาหะว่ายกลับมาหา ส่วนกากาศและสุครีพกลายเป็นลิงวิ่งเข้าป่าอีกฝั่งหายไป

ครั้นกลับถึงอาศรม ฤๅษีโคดมเดือดดาลยิ่งนัก กล่าวผรุสวาทแก่กาลอัจนา แล้วสาปให้กลายเป็นหินไปเสียจนกว่าพระรามจะผ่านมาและถอนคำสาปให้กลายเป็นคนดังเดิม คำสาปมีว่า

ก่อนจะกลายร่างเป็นก้อนหินนั้น กาลอัจฉาเห็นว่านางสวาหะปากดี จึงสาปให้ไปยืนขาเดียวอ้าปากกินลมอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล จนกว่าจะมีบุตร ต่อมาเมื่อพระรามและกองทัพผ่านมาบริเวณนี้ ก็ได้ถอนคำสาปให้กาลอัจฉากลายเป็นคนดังเดิม

อหัลยา

[แก้]

นางอหัลยา[9][10] (สันสกฤต: अहल्या, Ahalyā; แปล: ผู้หญิงสมบูรณ์แบบ[11]) เป็นเด็กสาวที่พระพรหมสร้างขึ้นด้วยเวทมนตร์ มีความน่ารักเป็นเลิศ บรรดาเทวดาชายทั้งปวงต่างใคร่ได้มาครอง พระพรหมตั้งเงื่อนไขไว้ว่าจะมอบอหลยาให้แก่บุคคลใดก็ตามที่สามารถท่องทั้งสามโลกได้ทั่วถึงเป็นบุคคลแรก พระอินทร์จึงเร่งเดินทางไปทั่วสามโลกเพื่อการนี้

ด้วยพลังอำนาจแห่งเทพระดับพระอินทร์จึงใช้เวลาพริบตาเดียวในการดังกล่าว ในขณะที่มาขอรับนางอหัลยาไปนั้น ฤๅษีนารทซึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุมของพระพรหมด้วยท้วงว่า ความจริงแล้วยังมีมหาฤๅษีชื่อโคตมะ (เคาตม มหาฤษิ) เคยเดินทางไปตลอดสามโลกก่อนพระอินทร์เสียอีก สมควรมอบนางอหัลยาให้แก่มหาฤๅษีโคตมะ พระพรหมเห็นชอบด้วยก็ดำเนินการตามนั้น

นางอหัลยาซึ่งหลงใหลในความงามของพระอินทร์จึงผิดหวัง และลักลอบร่วมรักกับพระอินทร์อยู่สม่ำเสมอ กระทั่งครั้งหนึ่งมหาฤๅษีจับได้คาหนังคาเขา จึงสาปให้มีอวัยวะเพศหญิงผุดขึ้นเต็มร่างกายพระอินทร์ พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสโยนี

ต่อมามหาฤๅษีโคตมะบรรเทาคำสาปให้อวัยวะเพศหญิงกลายเป็นดวงตาเสีย พระอินทร์จึงได้ชื่อว่า สหัสนัยน์ อันแปลว่า ผู้มีดวงตานับพัน[12]

ศาสนาพุทธ

[แก้]

ในเอกสารทางพุทธศาสนาและศาสนาเชน มักเรียกพระอินทร์โดยทั่วไปในชื่อท้าวสักกะหรือท้าวศักระ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะนั้นในบางครั้งมักถูกเรียกด้วยชื่อ "อินทระ" หรือในชื่อที่เรียกขานทั่วไปอีกชื่อว่า "เทวานัม อินทระ" อันหมายถึง "จอมเทพ" หรือ "หัวหน้าแห่งเทพทั้งหลาย" พระอินทร์เป็นเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา และเป็นพระโสดาบัน ในอดีตชาติ พระอินทร์ เกิดเป็นมฆมานพ เขาและสหายอีก 32 คน ได้ร่วมกันทำทานและสร้างศาลาที่พัก สระน้ำ และสวนสาธารณะ ไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อตายไป มฆมานพและสหาย 32 คน ได้ไปเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ท้าวสักกะเทวราชดีดพิณสามสายเพื่อเตือนสติเจ้าชายสิทธัตถะให้เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา

ในพม่า

[แก้]
เทวรูปนะตะจ้ามี่นที่พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง

ในพม่า ที่มีความเชื่อพื้นเมืองเรื่องของนะ ซึ่งมีลักษณะกึ่งผีกึ่งเทพารักษ์ มีกันอยู่หลายระดับทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติหรือนะหลวง ที่มีอยู่ทั้งหมด 37 ตน พระอินทร์ได้รับการยกให้เป็นประธานของนะหลวงทั้งหมด โดยมีชื่อเรียกว่า ตะจ้ามี่น (พม่า: သိကြားမင်း, ออกเสียง: [ðə.d͡ʑá.mɪ́ɰ̃]; จากภาษาสันสกฤต ၐကြ ศกฺร) การที่พระอินทร์ได้กลายเป็นประธานของนะหลวงนั้นเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธาแห่งราชวงศ์พุกามในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่นำเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากอาณาจักรสุธรรมวดีของชาวมอญมาเผยแพร่ให้แก่ชาวพม่า โดยนำมาผสมกับความเชื่อเรื่องนะซึ่งเป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มาก่อนหน้านี้[13]

ศาสนาเชน

[แก้]

ศาสนาเชน พระอินทร์เป็นที่รู้จักในชื่อ "เสาธรรเมนทระ" (Saudharmendra) และคอยรับใช้พระตีรถังกร (ผู้รู้แจ้งในธรรมในศาสนาเชน) อยู่เป็นนิจ เรื่องราวของพระอินทร์ส่วนมากปรากฏโดยทั่วไปในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสดามหาวีระ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระอินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  2. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
  3. 3.0 3.1 "Indra and Shiva" by KOENRAAD ELST". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  4. "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง". บ้านจอมยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  5. Hymn XXX, P. 407 The Hymns of the Atharvaveda
  6. (Masson-Oursel and Morin, 326).
  7. Rig Veda: Rig-Veda, Book 3: HYMN XXX. Indra
  8. "ประหวัดหนุมาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-15.
  9. นางกาลอัจนา[ลิงก์เสีย]
  10. ทนต์ (นามแฝง). เทวาลัย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทพริ้นติ้ง, 2535.
  11. "Ahalya" The Concise Oxford Dictionary of World Religions. John Bowker (Ed.) Oxford University Press, 2000.
  12. Dictionary of Hindu Lore and Legend (ISBN 0-500-51088-1) by Anna Dhallapiccola
  13. "Hla Tha Mein. "Thirty-Seven Nats".Retrieved 2006-07-03". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

หนังสือและบทความ

[แก้]
  • ชาตรี ประกิตนนทการ. (2552, เมษายน). คติพระอินทร์สมัยรัชกาลที่ 1: อุดมการณ์รัฐ พุทธศาสนา และสถาปัตยกรรม. ศิลปวัฒนธรรม. 30(6): 79-103.
  • วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. (2565). ทิพภาวะของกษัตริย์ในสมัยอยุธยา: กษัตริย์ในฐานะพระอินทร์. ใน ถักทอความคิด มิตรและศิษย์มอบให้ วินัย พงศ์ศรีเพียร. บรรณาธิการโดย ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, อรพินท์ คำสอน และธิษณา วีรเกียรติสุนทร. หน้า 142-162. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เว็บไซด์

[แก้]