ข้ามไปเนื้อหา

พระมหาไชไพรสภ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาไชไพรสภ
เทพแห่งข้าว
เป็นที่บูชาในศาสนาผี, พราหมณ์ไทย
ส่วนเกี่ยวข้องโพสพ
อาวุธพระขรรค์และรวงข้าว
พาหนะปลากราย
เป็นที่นับถือในประเทศไทย

พระมหาไชไพรสภ บ้างเรียก พระมหาไชย หรือ พระไพรประสบ เป็นเทพเจ้าแห่งข้าวหรือเทพที่คอยให้การคุ้มครองข้าวตามคติความเชื่อของไทย[1] มีลักษณะและหน้าที่อย่างเดียวกันกับแม่โพสพ เทพีแห่งข้าว ต่างเพียงเพศสภาพเท่านั้น[2]

พระมหาไชไพรสภ หรือพระมหาไชย ปรากฏใน ตำราภาพเทวรูป เป็นสมุดไทยดำที่เขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปรากฏในคัมภีร์ นารายณ์ยี่สิบปาง ระบุนามว่า พระไพรประสบ เป็นเทพเจ้าแห่งข้าว โดยเทพองค์นี้เป็นบุรุษเพศ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือรวงข้าว และอีกข้างหนึ่งถือพระขรรค์ มีปลากรายทองเป็นพาหนะ เชื่อว่าเป็นเทพที่พัฒนาจากแม่โพสพ ซึ่งเดิมเป็นสตรีเพศ แต่เปลี่ยนรูปลักษณ์ให้เป็นชายเนื่องจากพลวัตทางสังคมที่เชื่อว่าเพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง ดังนั้นเทพสตรีคือนางโพสพจึงถูกเปลี่ยนเป็นชายตามแนวคิดนั้น[2] เช่นเดียวกับชาวไทใต้คงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเทพเจ้าแห่งข้าวเป็นเพศชาย เรียกว่า "ปู่ขวัญข้าว" ซึ่งศิราพร ณ ถลาง สันนิษฐานว่าความเชื่อนี้คงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนเรื่องชายเป็นใหญ่[2]

มีจิตรกรรมรูปพระมหาไชไพรสภที่หน้าบันพระที่นั่งไชยชุมพลในพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • โพสพ – เทพีแห่งข้าวตามคติชนไทย
  • ผีตาแฮก – ผีบรรพบุรุษผู้บุกเบิกไร่นา ทำหน้าที่ปกปักรักษาพืชสวนไร่นา

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. "แม่โพสพ". ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ทิพยประติมา, หน้า 223-225
บรรณานุกรม
  • อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2560. 248 หน้า. ISBN 978-616-027673-13-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: length