ข้ามไปเนื้อหา

ผ่องศรี วรนุช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผ่องศรี วรนุช
ผ่องศรี วรนุช
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดผ่องศรี วรนุช
เกิด5 มิถุนายน พ.ศ. 2482 (85 ปี)[1]
ที่เกิดอำเภอมโนรมย์
จังหวัดชัยนาท
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2498 – ปัจจุบัน
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีลูกทุ่ง)

ผ่องศรี วรนุช เป็นนักร้องหญิงเพลงไทยประเภท เพลงลูกทุ่ง ได้รับสมญานามว่า ราชินีลูกทุ่ง (คนแรก) เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในวัยเยาว์ได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดแก่นเหล็ก เมื่ออายุ 15 ปี ได้เริ่มทำงานกับละครเร่คณะคุณหนู โดยเป็นเด็กรับใช้ ก่อนจะได้ร้องเพลงสลับฉากจนได้เป็นนางเอกของคณะ และเริ่มอาชีพนักร้องได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกในชีวิต "หัวใจไม่มีใครครอง" เมื่อปี พ.ศ. 2498 จนโด่งดังในฐานะนักร้องหลังจากการที่ได้มาร่วมงานกับวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ ประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพการทำงานในช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึงราวปี พ.ศ. 2525

ผ่องศรี วรนุช มีผลงานเพลงเป็นที่ปรากฏการณ์ต่อวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งเป็นจำนวนมาก ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ เสียงโทนสูง เช่น "ด่วนพิศวาส", "กอดหมอนนอนหนาว", "วิมานในฝัน", "ไหนว่าไม่ลืม", "น้ำตาเมียหลวง", "ฝนหนาวสาวครวญ", "คืนนี้พี่นอนกับใคร", "สาวเหนือเบื่อรัก", "ข้าวคอยเคียว", "คนสุดท้าย", "น้องเป็นคนรักที่เท่าไหร่", "น้อยใจรัก", "รักลาอย่าเศร้า", "ฝากดิน", "ภูเก็ต", "บาร์หัวใจ" เป็นต้น และยังถือเป็นศิลปินต้นแบบของนักร้องหญิงเพลงลูกทุ่งจำนวนมาก อาทิ บุปผา สายชล, พุ่มพวง ดวงจันทร์, สุนารี ราชสีมา, ศิรินทรา นิยากร ฯลฯ

ผ่องศรี วรนุช ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยลูกทุ่ง - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2535

ประวัติ

[แก้]

ผ่องศรี วรนุช เป็นบุตรีของ พ่อฉาก กับ แม่เล็ก วรนุช เริ่มต้นการร้องเพลงจากที่ได้ไปอยู่ละครเร่คณะของหนู สุวรรณประกาศ ละครเรชื่อดังจากจังหวัดเพชรบุรี ตอนแรกเป็นคนรับใช้ในคณะและฝึกไปก่อน ด้วยฐานะที่บ้านยากจนเลยขอแม่ว่าจะมาหากินถ้าไม่มีที่ดินไม่มีบ้านจะไม่ขอย้อนกลับไปขอไปตายเอาดาบหน้า เพราะตอนนั้นนอนแพไม่มีบ้านไม่มีที่ดิน จนอยู่ในคณะละครเร่มาปีกว่า จนได้ขึ้นร้องเพลงจากนั้นก็มีคนนำของกินของใช้มาให้ โดยที่ไม่ต้องซื้อเอง แต่เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อโดนตบปางตายเพราะเกิดความอิจฉาริษยากันในคณะ แต่เรื่องราวก็จบด้วยดี เพราะ ผ่องศรี ไม่ได้เอาเรื่อง

ต่อมาในปี 2502 ผ่องศรี วรนุช ได้ร้องเพลง "ไหนว่าไม่ลืม" แก้กับ สุรพล สมบัติเจริญ เลยทำให้เธอเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนมีผลงานต่อเนื่องยาวนาน และมีเพลงฮิตมากมายจนได้สมญานามเป็น "ราชินีลูกทุ่งคนแรกของเมืองไทย"

ชีวิตครอบครัว ผ่องศรี วรนุช เคยใช้ชีวิตอยู่กับ วัลลภ วิชชุกร และ เทียนชัย สมยาประเสริฐ นักร้องนักประพันธ์เพลงลูกทุ่งชื่อดัง ก่อนที่จะแยกทางกัน จากนั้นได้ใช้ชีวิตอยู่กินกับ ราเชนทร์ เรืองเนตร นักดนตรีชื่อดัง จน ราเชนทร์ เสียชีวิตไปเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยไม่มีทายาท และบั้นปลายของชีวิตนั้น ผ่องศรี วรนุช ตั้งใจไว้ว่าจะรับงานเป็นครั้งคราว และช่วยกิจกรรมงานการกุศลและสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าตัวได้ สร้าง พิพิธภัณฑ์ ผ่องศรี วรนุช เพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมา และรางวัลทรงเกียรติยศที่ได้จากการเป็นนักร้อง โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตได้เข้าชมฟรีย่านพุทธมณฑล สาย 5[2]

ผลงานแสดงภาพยนตร์

[แก้]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วันเกิดของผ่องศรี
  2. ประวัติ แม่ผ่อง ผ่องศรี หรือ ผ่องศรี วรนุช
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๖,๖๖๐ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-15. สืบค้นเมื่อ 2013-12-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]