คำผาย นุปิง
คำผาย นุปิง | |
---|---|
เกิด | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน |
เสียชีวิต | 23 กันยายน พ.ศ. 2557 (90 ปี) อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน |
สัญชาติ | ไทย |
ตำแหน่ง | ศิลปิน |
บิดามารดา |
|
รางวัล | ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน) ประจำ พ.ศ. 2538 |
ศิลปินแห่งชาติ |
คำผาย นุปิง (19 พฤษภาคม 2467 - 23 กันยายน 2557) เกิดที่บ้านหัวนา ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน[1] ศิลปินพื้นบ้าน มีความสามารถในการขับซอ สามารถเขียนบทซอที่มีสำนวนภาษาอันไพเราะ สละสลวย[2] เคยได้รับการประกาศเกียรติคุณซอ เมื่อ พ.ศ. 2514 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ในฐานะที่เป็นศิลปินที่อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นมรดกการแสดงของภาคเหนือ
ประวัติ
[แก้]นายคำผาย นุปิง เกิดวันที่ 19 พฤษภาคม 2467 ที่บ้านหัวนา ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ศิลปินพื้นบ้าน มีความสามารถในการขับซอ สามารถเขียนบทซอที่มีสำนวนภาษาอันไพเราะ สละสลวย เคยได้รับการประกาศเกียรติคุณซอ เมื่อ พ.ศ. 2514 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ในฐานะที่เป็นศิลปินที่อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นมรดกการแสดงของภาคเหนือ
เสียชีวิต
[แก้]คำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ) ประจำปี พ.ศ. 2538 [3] ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลน่าน ในวันที่ 23 กันยายน 2557 เวลา 10.00 น. สิริรวมอายุได้ 90 ปี 4 เดือน 4 วัน [4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณ สุสานบ้านหัวนา อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยในงานพระราชทานเพลิงศพครั้งนี้มีศิลปินล้านนาเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น แม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ ศิลปินแห่งชาติ แม่ครูผ่องศรี เมืองพาน พ่อครูมานพ เมืองพร้าว แม่ครูแสงเอ้ย สุริยะมล แม่ครูลำดวน สุวรรณภูคำ เป็นต้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
- ↑ "ราชาซอแห่งล้านนา "พ่อคำผาย นุปิง" ซาบซึ้งพระเทพฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
- ↑ "คำประกาศเกียรติคุณ ศิลปินแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-09-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (จำนวน ๕,๗๒๒ ราย)