ชินโซ อาเบะ
ชินโซ อาเบะ | |
---|---|
安倍 晋三 | |
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 16 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดินารูฮิโตะ |
รอง | ทาโร อาโซ |
ก่อนหน้า | โยชิฮิโกะ โนดะ |
ถัดไป | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2549 – 26 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิอากิฮิโตะ |
ก่อนหน้า | จุนอิจิโร โคอิซูมิ |
ถัดไป | ยาซูโอะ ฟูกูดะ |
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2555 – 14 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
รอง | มาซาฮิโกะ โคมูระ |
เลขาธิการพรรค | ชิเงรุ อิชิบะ ซาดากาซุ ทานิงากิ โทชิฮิโระ นิไก |
ก่อนหน้า | ซาดากาซุ ทานิงากิ |
ถัดไป | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน พ.ศ. 2549 – 26 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
เลขาธิการพรรค | สึโตมุ ทาเกเบะ ฮิเดนาโอะ นากางาวะ ทาโร อาโซ |
ก่อนหน้า | จุนอิจิโร โคอิซูมิ |
ถัดไป | ยาซูโอะ ฟูกูดะ |
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 26 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | จุนอิจิโร โคอิซูมิ |
ก่อนหน้า | ฮิโรบูกิ โฮโซดะ |
ถัดไป | ยาซูฮิซะ ชิโอซากิ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งใหม่ |
เขตเลือกตั้ง | จังหวัดยามางูจิ เขต 4 |
คะแนนเสียง | 86,258 (58.40%) |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งใหม่ |
ถัดไป | มาซาฮิโกะ โคมูระ |
เขตเลือกตั้ง | จังหวัดยามางูจิ เขต 1 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กันยายน พ.ศ. 2497 ชินจูกุ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (67 ปี) คาชิฮาระ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น |
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร (แผลจากอาวุธปืน) |
พรรคการเมือง | เสรีประชาธิปไตย |
คู่สมรส | อากิเอะ อาเบะ (พ.ศ. 2530) |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ |
|
ศิษย์เก่า |
|
ลายมือชื่อ | |
ชินโซ อาเบะ (ญี่ปุ่น: 安倍 晋三; โรมาจิ: Abe Shinzō; 21 กันยายน พ.ศ. 2497 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ 57 และหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2563 และก่อนหน้านั้นระหว่างปี 2549 ถึง 2550 เขายังเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีระหว่างปี 2548 ถึง 2549 นับเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ครองตำแหน่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
อาเบะเกิดในตระกูลการเมืองที่มีชื่อเสียง โดยมีศักดิ์เป็นหลานของโนบูซูเกะ คิชิ เขาได้ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซเกะ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา ภายหลังจบการศึกษาได้ทำงานกับบริษัทโคเบะสตีล และได้ลาออกในปี 2525 เพื่อเข้ามาทำงานการเมือง เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550 อาเบะได้ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเขาและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะได้ลาออกพร้อมกันในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามอาเบะก็ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ก่อนครบวาระตำแหน่ง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 ธันวาคม 2557
อาเบะเป็นนักอนุรักษนิยมที่นักวิจารณ์การเมืองเรียกเขาอย่างแพร่หลายว่าเป็นชาตินิยมฝ่ายขวา[1][2][3][4][5] เขาเป็นสมาชิกของนิปปงไคงิ[6] และมีทัศนะแบบแก้ไขประวัติศาสตร์ (revisionist) ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[7][8][9] รวมทั้งการปฏิเสธบทบาทของรัฐบาลในการบีบบังคับเกณฑ์หญิงบำเรอระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[10] ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับประเทศเกาหลีใต้[11][12] เขาถือว่าเป็นสายแข็งในประเด็นเกาหลีเหนือ และส่งเสริมการทบทวนมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดให้ญี่ปุ่นมีกองทัพ[13][14] อาเบะมีชื่อเสียงระดับนานาชาติในด้านนโยบายเศรษฐกิจของเขา ชื่อ "อะเบะโนมิกส์" ซึ่งมีการอัดฉีดปริมาณเงิน การกระตุ้นการคลัง และการปฏิรูปโครงสร้าง โดยมีผลลัพธ์ที่หลากหลาย[1][15]
วันที่ 28 สิงหาคม 2563 อาเบะประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากลำไส้ใหญ่อักเสบมีแผล (ulcerative colitis) และสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เขาระบุว่าเขาจะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตยที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคจะเลือกผู้สืบทอด[16][17] โดยตัวเต็งที่จะมาเข้ารับหน้าที่แทน ได้แก่ ทาโร อาโซ รองนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานและอดีตนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของอาเบะ; ชิเกรุ อิชิบะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เคยชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับอาเบะ ฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และทาโร โคโนะ รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน[18]
อาเบะถูกลอบสังหารด้วยปืนขณะปราศรัยที่เมืองนาระเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 จากฝีมือของอดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลที่ไม่พอใจนโยบายของนายอาเบะ[19][20] จากการสืบสวนของตำรวจ ผู้ต้องสงสัยได้ตั้งเป้าหมายที่อาเบะ โดยอ้างว่าอาเบะรับรู้ความผูกพันกับโบสถ์แห่งความสามัคคี ขบวนการศาสนาใหม่ที่ก่อตั้งในเกาหลีใต้[21]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]ชินโซ อาเบะเกิดในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. พ.ศ. 2497 ที่ชินจูกุ โตเกียว จากตระกูลการเมืองที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่นทั้งช่วงก่อนและหลังสงคราม ตระกูลของเขามีต้นกำเนิดจากจังหวัดยามางูจิ และทะเบียนราษฎร์ของอาเบะ (ฮนเซกิชิ) อยู่ที่นางาโตะ
โนบูซูเกะ คิชิ ตาของเขาเป็น "ราชาเศรษฐกิจ" โดยพฤตินัยในจีนที่ถูกครอบครองกับประเทศแมนจู รัฐหุ่นเชิดญี่ปุ่นในจีนตอนเหนือที่จัดตั้งขึ้นหลังการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นที่นำไปสู่สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่สอง[22][23] ในช่วงสงคราม เขาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอาวุธยุทโธปกรณ์ในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ฮิเดกิ โทโจ[24] ในช่วงสิ้นสุดสงคราม คิชิถูกคุมขังที่เรือนจำซูงาโมะเนื่องจากตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากรสงคราม "ชั้น-เอ" แต่ภายหลังถูกปล่อยตัวและลบล้างความผิดตามแผน"หลักสูตรย้อนกลับ"ของฝ่ายยึดครองในช่วงสงครามเย็น[24] คิชิช่วยก่อตั้งพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ใน พ.ศ. 2498[25] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2500 จนกระทั่งต้องลาออกใน พ.ศ. 2503 เนื่องจากการประท้วงอัมโปะ
คัง อาเบะ ปู่ของเขาเป็นเจ้าของที่ดินในยามางูจิที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาเบะเป็นผู้ยืนหยัดในสันติที่ต่อต้านรัฐบาลโทโจและสงครามในเอเชียตะวันออก ต่างจากผู้เป็นตาของชินโซ อาเบะ[26] ชินตาโร อาเบะ พ่อของเขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2501 ถึง 2534 พร้อมกับควมคุมตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชินตาโรอาสาตนเองเป็นนักบินคามิกาเซะ แต่สงครามสิ้นสุดลงก่อนที่เขาจะฝึกซ้อมเสร็จ[27]
อาเบะเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมเซเก และโรงเรียนมัธยมต้นและปลายเซเก (成蹊中学校・高等学校)[28] เขาเรียนรู้เรื่องการบริหารรัฐกิจ และจบระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซเกใน พ.ศ. 2520 ต่อมาย้ายไปที่สหรัฐและเรียนนโยบายสาธารณะที่ School of Policy, Planning, and Development (ปัจจุบันมีชื่อว่า USC Price School of Public Policy) มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียเป็นเวลาสามเทอม[29] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 อาเบะเริ่มทำงานให้กับโคเบะสตีล[30] จากนั้นจึงลาออกใน พ.ศ. 2525 เพื่อเข้ารับราชการหลายตำแหน่ง เช่น ผู้ช่วยผู้บริหารประจำกระทรวงการต่างประเทศ, เลขาส่วนตัวของประธานสภาสามัญพรรคแอลดีพี และเลขาส่วนตัวของเลขาธิการพรรคแอลดีพี[31]
ข้อโต้แย้ง
[แก้]นักวิจารณ์การเมืองจำนวนมากมีมุมมองอย่างกว้างว่าอาเบะเป็นนักชาตินิยมฝ่ายขวา[2][5][32] รูเพิร์ต วิงฟิลด์-เฮยส์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำโตเกียวกล่าวถึงเขาว่า "มีการโน้มเอียงไปฝ่ายขวามากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าส่วนใหญ่"[33] ในช่วงชีวิตทางการเมือง เขามักมีส่วนเกี่ยวข้องทางการปฏิเสธทางประวัติศาสตร์ (historical negationism) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[8][9][33] นักวิจารณ์บางส่วนรายงานว่า อาเบะสร้างความเสียหายในด้านความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้[34]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อาเบะแต่งงานกับอากิเอะ มัตสึซากิ นักสังคมสงเคราะห์และอดีตนักจัดรายการวิทยุ ใน พ.ศ. 2530 เธอเป็นลูกสาวของประธานบริษัทโมรินางะ ผู้ผลิตช็อกโกแลต เธอเป็นที่รู้จักในฉายา "พรรคฝ่ายค้านภายในบ้าน" เนื่องจากมุมมองของเธอมักขัดแย้งกับผู้เป็นสามีของเธอ หลังสามีได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เธอจึงเปิดอิซากายะจากธรรมชาติที่เขตคันดะ โตเกียว แต่ยังคงไม่เคลื่อนไหวในด้านการจัดการเนื่องจากการเร่งเร้าของแม่สามี[35] ทั้งคู่ไม่มีลูก เนื่องจากการบำบัดภาวะเจริญพันธุ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงต้นของการแต่งงาน[36] อาเบะนับถือศาสนาพุทธและชินโต[37]
อาเบะมีช่องยูทูปของเขา ซึ่งเคลื่อนไหวมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ในชื่อ "อาเบะ ชินโซ แชนแนล" (ญี่ปุ่น: あべ晋三チャンネル; โรมาจิ: Abe Shinzō Channeru)[38] ซึ่งกิจกรรมในช่องส่วนมากมักเป็นการติดตามการหาเสียง หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของตัวอาเบะเอง
การลอบสังหาร
[แก้]ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาเบะถูกลอบยิงขณะกำลังปราศรัยเพื่อหาเสียงที่นาระ[39][40][41] เขาสนับสนุนเค ซาโต สมาชิกพรรคแอลดีพีในการเลือกตั้งราชมนตรีสภา[19]
มือสังหารใช้ปืนประดิษฐ์แล้วยิงใส่อาเบะสองครั้ง ครั้งแรกที่คอ และครั้งที่สองที่หัวใจ[42] หลังลอบยิงแล้ว เท็ตสึยะ ยามางามิ อดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลอายุ 41 ปี ที่เคยทำงานเป็นเวลาสามปีใน พ.ศ. 2545 ถึง 2548 จึงถูกจับกุมและต่อมาสารภาพผิดที่สถานีตำรวจท้องที่[43][44] ยามางามิกล่าวว่าเขามีความแค้นต่อ Unification Church[45][46][47] และที่ยิงใส่อาเบะเพราะเขาเชื่อว่า "กลุ่มศาสนากับอาเบะมีความเชื่อมโยงกัน"[48][49][50] ยามางามิกล่าวว่า เขาเคียดแค้นที่ว่าแม่ของตนถูกกลุ่มศาสนาล้างสมองจนล้มละลาย และที่ฆ่าอาเบะเพราะเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีมีส่วนในการนำศาสนานี้เข้าประเทศญี่ปุ่น[51][52] ยามางามิอ้างว่าเขา "ไม่ได้มีความแค้นต่อความเชื่อทางการเมืองของอาเบะ"[48]
มีการส่งร่างอาเบะไปที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์นาระที่คาชิฮาระ จากนั้นมีการประกาศว่าเสียชีวิตในเวลา 17:03 น. ตามเวลาท้องถิ่น[19][53] ก่อนที่จะถึงโรงพยาบาล อาเบะไม่มีสัญญาณชีพ ถึงแม้ว่าจะมีการถ่ายเลือดก็ตาม แต่เขาสูญเสียเลือดมากเกินและไม่สามารถฟื้นคืนชีพอาเบะได้[54][55] เขาเสียชีวิตขณะมีอายุ 67 ปี[41]
ในการตอบสนองต่อการถูกยิงและเสียชีวิตของเขา ผู้นำโลกทั้งปัจจุบันและอดีตได้แสดงความเสียใจและสนับสนุนอาเบะ[56][57] ในวันต่อมา มีการนำร่างของเขากลับที่โตเกียวและจะมีการจัดพิธีศพในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[58]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของชินโซ อาเบะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Sieg, Linda (28 August 2020). "Japan's Shinzo Abe sought to revive economy, fulfil conservative agenda". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2022. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Alexander, Lucy (17 December 2012). "Landslide victory for Shinzo Abe in Japan election". The Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "Japan election: Shinzo Abe set for record tenure". BBC News. 23 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2022. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
- ↑ Ohi, Akai (20 December 2018). "Two Kinds of Conservatives in Japanese Politics and Prime Minister Shinzo Abe's Tactics to Cope with Them". East-West Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
- ↑ 5.0 5.1 Justin McCurry (28 September 2012). "Shinzo Abe, an outspoken nationalist, takes reins at Japan's LDP, risking tensions with China, South Korea". GlobalPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Carney, Matthew (2 December 2015). "Ultra-nationalistic group trying to restore the might of the Japanese Empire". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
Its roll call includes Japanese prime minister Shinzo Abe, 80 per cent of the cabinet and about half of the country's parliamentarians. The biggest champion to the cause and the group's special advisor is Mr Abe.
- ↑ Kato, Norihiro (12 September 2014). "Tea Party Politics in Japan". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 8.0 8.1 "How Shinzo Abe Sought to Rewrite Japanese History". The New Yorker. 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 9.0 9.1 Narusawa, Muneo. "Abe Shinzo: Japan's New Prime Minister a Far-Right Denier of History". The Asia-Pacific Journal: Japan Focus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ "Gov't distances itself from NHK head's 'comfort women' comment". Japan Today (ภาษาอังกฤษ). 27 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2022. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
- ↑ Park, S. Nathan (4 September 2020). "Abe Ruined the Most Important Democratic Relationship in Asia". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2020. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Osaki, Tomohiro (12 January 2018). "Abe rejects Seoul's new call for apology on 'comfort women' issue". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ New Japanese Leader Looks to Expand Nation's Military เก็บถาวร 2013-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NewsHour, 20 September 2006.
- ↑ BBC website Japan upgrades its defence agency, bbc.co.uk, 9 January 2007.
- ↑ "Definition of Abenomics". Financial Times Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
- ↑ "Shinzo Abe: Japan's PM resigns for health reasons". BBC. Retrieved 28 August 2020.
- ↑ "Japan PM Abe announces his resignation at press conference". Kyodo News. 28 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.
- ↑ "Shinzo Abe, Japan’s Longest-Serving Leader, Resigns Because of Illness". 28 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Takahara, Kanako; Otake, Tomoko; Martin, Alex K. T. (8 July 2022). "Former Prime Minister Shinzo Abe dies after being shot in Nara". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe: World leaders express shock over assassination". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-10.
- ↑ "Assassin may have killed Abe as revenge against religious group that bankrupted his mother", Washington Post (ภาษาอังกฤษ), 9 July 2022, สืบค้นเมื่อ 11 July 2022
- ↑ "For Japan's Shinzo Abe, Unfinished Family Business". The Wall Street Journal. 11 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Kishi Nobusuke". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ 24.0 24.1 Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 25. ISBN 9780674988484. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 10. ISBN 9780674988484. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Japanese prime minister's another DNA". The Dong-A Ilbo. 28 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Sterngold, James (16 May 1991). "Shintaro Abe, Japanese Politician And Ex-Cabinet Aide, Dies at 67". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "学校法人 成蹊学園 成蹊ニュース(2006)年度)" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2010.
- ↑ The Dragons of Troy เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, USC Trojan Family Magazine, Winter 2006. Retrieved 22 December 2012.
- ↑ Profile: Shinzo Abe BBC News เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Profile". Shinzo Abe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2008.
- ↑ Craig Mark, บ.ก. (2016). The Abe Restoration: Contemporary Japanese Politics and Reformation. Rowman & Littlefield. p. 147. ISBN 9781498516778.
The return of a fascist Japan is certainly an exaggerated fear; but the restoration of a Japan that can again go to war is now looming ever closer under Prime Minister Shinzo Abe.
- ↑ 33.0 33.1 Wingfield-Hayes, Rupert (15 December 2012). "Japan loses faith in traditional politics". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
Mr Abe is far more right wing than most of his predecessors. In particular he has very right-wing views on the history of Japan's aggression during World War II.
- ↑ Park, Nathan (4 September 2020). "Abe Ruined the Most Important Democratic Relationship in Asia". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Akie Abe not afraid to speak her mind". Japan Today. 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ "Asia-Pacific – Japan PM's wife in rare interview". สืบค้นเมื่อ 14 December 2014.
- ↑ "वो शिंतो धर्म जिससे ताल्लुक रखते थे शिंजो आबे लेकिन अंतिम संस्कार क्यों बौद्ध तरीके से". News18 हिंदी (ภาษาฮินดี). 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
- ↑ "あべ晋三チャンネル".
- ↑ McNurry, Justin (July 8, 2022). "Shinzo Abe death: shock in Japan at killing of former PM during election campaign". The Guardian. สืบค้นเมื่อ July 10, 2022.
- ↑ "安倍晋三元首相死亡 奈良県で演説中に銃で撃たれる". NHK (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo, Japan. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 41.0 41.1 "Shinzo Abe, Japan's Longest-Serving Prime Minister, Dies at 67". The New York Times. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ McDougall, Jake Adelstein,AJ (8 July 2022). "Japan's Shinzo Abe Fatally Shot in the Heart With 'Homemade Gun'". The Daily Beast (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Former Japanese PM Shinzo Abe shot in Nara, man in his 40s arrested". NHK World News – Japan. NHK Broadcasting. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Abe shooting suspect's motive related to 'specific organization,' police say". Nikkei Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "【独自】安倍元首相を撃った山上徹也が供述した、宗教団体「統一教会」の名前(現代ビジネス編集部)". 現代ビジネス (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
山上容疑者は「自分の母親が統一教会の信者で、安倍晋三が統一教会と親しいと知って狙った」と供述している。
[Yamagami stated that he "targeted Shinzo Abe after learning that his mother was a member of the Unification Church, and that Shinzo Abe had ties with the Unification Church".] - ↑ "安倍元首相銃撃の山上容疑者 優等生バスケ少年を変えた"統一教会で家庭崩壊"…事件前には近隣トラブルで絶叫【原点写真入手】". Yahoo! News Japan. July 10, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
しかしその日は、『自分の家族が統一教会に関わっていて、霊感商法トラブルでバラバラになってしまった...』と語りはじめたのです。山上さんは続けて、『統一教会は、安倍と関わりが深い。だから、警察も捜査ができないんだ』
[On that day, he said, "My family was involved with the Unification Church..." Yamagami continued, "The Unification Church is deeply involved with Abe, and that's why the police can't investigate".] - ↑ Bénédicte Lutaud (July 9, 2022). "Assassinat de Shinzo Abe : que sait-on de l'homme qui a tiré sur l'ancien premier ministre japonais ?". Le Figaro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
Plus tard, des médias locaux ont toutefois évoqué le nom de «l'Église de l'Unification», plus connue en Occident sous l'appellation de la secte Moon.
[Later, however, local media referred to the name of the "Unification Church", better known in the West as the Moon sect.] - ↑ 48.0 48.1 FNNプライムオンライン (8 July 2022). "安倍元首相銃撃で山上容疑者「ある特定の宗教団体に恨み」 | FNNプライムオンライン". FNNプライムオンライン (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 共同通信 (8 July 2022). "「特定の団体に恨みがあり犯行に及んだ」 | 共同通信". 共同通信 (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "銃撃の容疑者「安倍氏、特定団体につながりと思い込み」". 日本経済新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 銃撃容疑者「母親が宗教にのめり込み破産」 安倍氏に一方的恨みか (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi shimbun. 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 当初の狙いは宗教団体の幹部襲撃か「母親がのめり込み恨みがあった」 安倍元首相銃撃事件の容疑者が供述 (ภาษาญี่ปุ่น). Yomiuri shimbun. 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ Dutton, Jack; Giella, Lauren; Roos, Meghan (8 July 2022). "Shinzo Abe Assassination Live Updates: Rio Olympics appearance remembered". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe: Gunman admits shooting dead former Japanese prime minister, police say" (ภาษาอังกฤษ). Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe Dies After Being Shot: Latest Updates". Time (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Watsom, Kathryn (8 July 2022). "World leaders mourn assassination of "friend" Shinzo Abe". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ De Guzman, Chad (8 July 2022). "How the World Is Reacting to Shinzo Abe's Death". Time (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe death live updates: Shinzo Abe's body arrives in Tokyo, funeral on Tuesday". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Prime Minister of Japan Official Website (ในภาษาอังกฤษ)
- Shinzo Abe ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน