ข้ามไปเนื้อหา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Science and Technology,
Thammasat University
สถาปนา31 มีนาคม พ.ศ. 2529 (38 ปี)[1]
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล
ที่อยู่
ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ศูนย์ลำปาง
248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190
เพลงสายเลือดธรรม
สี  สีเหลืองทอง
เว็บไซต์www.sci.tu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Science and Technology, Thammasat University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 [2]ซึ่งเป็นคณะลำดับที่ 9[3] ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4] และเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต[5] โดยระยะแรกจัดการเรียนการสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติได้รับโอนมาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนมีครบ คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ประวัติ

  • พ.ศ. 2526 มีมติอนุมัตินโยบายทางวิชาการเรื่อง "ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และ "ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์" และ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[6]
  • พ.ศ. 2527 ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความเห็นเรื่อง "คุณลักษณะของบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน" และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างหลักสูตรขึ้นมา 5 ชุด เพื่อพิจารณาร่างรายละเอียดของหลักสูตรทั้งหมด 8 หลักสูตร และหลักสูตรทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณา[7]
  • พ.ศ. 2528 สภามหาวิทยาลัยได้มีมติอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2528 และได้ขอเปลี่ยนชื่อจาก คณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา มาเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2528[8]
  • พ.ศ. 2528 ภายหลังได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 12 เล่ม 103 ตอนที่ 51[9]
  • พ.ศ. 2529 ได้รับการจัดตั้งโดยประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2)[10]
  • พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสนอโครงงานจัดตั้ง "คณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนา" ต่อคณะกรรมการการปรับแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ. 2528–2529)[11]
  • พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตรได้แก่ สาขาวิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล, สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ [12]
  • พ.ศ. 2558 ขยายการศึกษาไปสู่ภูมิภาคภาคเหนือ โดยตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยเปิดสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาแรก โดยได้รับการสนับสนุนจาก คุณบุญชู ตรีทอง

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ตั้งแต่เริ่มก่อจนถึงปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกอบด้วย 10 สาขาวิชา[13] ดังต่อไปนี้

โครงการ / หลักสูตรอื่นๆ

โครงการ / หลักสูตรอื่นๆในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการ / หลักสูตรอื่นๆ

หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) [14]

  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ

หลักสูตรวิทยาสตรบัณฑิต (วท.บ.) (โครงการพิเศษ)

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาสถิติ (สถิติประยุกต์)
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คณิตศาสตร์การเงิน)
  • สาขาวิชาวิทยาการประกันภัย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) [15]

  • สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีวัสดุ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) (โครงการพิเศษ)

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์




หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) [16]

  • สาขาวิชาสถิติ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์

ทำเนียบคณบดี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.เวคิน นพนิตย์ 2 เมษายน พ.ศ. 25301 เมษายน พ.ศ. 2533
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประโยชน์ ธรรมกรบัญญัติ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 253330 เมษายน พ.ศ. 2536
3. รองศาสตราจารย์ นวลจันทร์ อินทรวิชะ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 253622 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
4. รองศาสตราจารย์ วีนัส พีชวณิชย์ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 253926 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประโยชน์ ธรรมกรบัญญัติ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 254225 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
6. รองศาสตราจารย์ สมชาย วิริยะยุทธกร 26 กรกฎาคม พ.ศ. 254825 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
7. รองศาสตราจารย์ สายทอง อมรวิเชษฐ์ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 255131 สิงหาคม พ.ศ. 2554
8. รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข 1 กันยายน พ.ศ. 255431 สิงหาคม พ.ศ. 2557

1 กันยายน พ.ศ. 255731 สิงหาคม พ.ศ. 2560

9. รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ชคตระการ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 – 30 มีนาคม 2562
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 พฤศจิกายน 2565
11. รองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. เกี่ยวกับธรรมศาสตร์http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/about-us-th เก็บถาวร 2012-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. คณะและหน่วยงาน http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/academics-th/faculties-colleges-institutes-th เก็บถาวร 2013-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www2.tu.ac.th/default.tu/index.php/th/home-new-th เก็บถาวร 2013-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/content.html เก็บถาวร 2012-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. ประวัติความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/aboutus/history.html เก็บถาวร 2015-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. สาขาวิชาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.sci.tu.ac.th/department/content.html เก็บถาวร 2012-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต https://sci.tu.ac.th/all-undergrad-th/
  15. หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต https://sci.tu.ac.th/all-master-programs-th/
  16. หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต https://sci.tu.ac.th/all-phd-th/


แหล่งข้อมูลอื่น