ข้ามไปเนื้อหา

โดฮา

พิกัด: 25°17′12″N 51°32′0″E / 25.28667°N 51.53333°E / 25.28667; 51.53333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
โดฮา

الدوحة
Doha skyline at night
West Bay skyline
The Emir's Palace
Souq Waqif
National Museum of Qatar
Msheireb
Katara Village
ทวนเข็มนาฬิกาจากบน: ตึกระฟ้าโดฮายามค่ำคืน; อาคารสมัยใหม่ที่ย่านเวสต์เบย์; อะมีรีดีวานที่ทำหน้าที่เป็นสำนักงานของเอมีร์แห่งกาตาร์; ซูกวากิฟ; พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ; ย่านมุชัยริบ และหมู่บ้านวัฒนธรรมกะตารอ
โดฮาตั้งอยู่ในกาตาร์
โดฮา
โดฮา
ที่ตั้งของโดฮาในประเทศกาตาร์
โดฮาตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย
โดฮา
โดฮา
ที่ตั้งของโดฮาในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย
พิกัด: 25°17′12″N 51°32′0″E / 25.28667°N 51.53333°E / 25.28667; 51.53333
ประเทศ กาตาร์
เทศบาลโดฮา
สถาปนาค.ศ. 1825
พื้นที่
 • พื้นที่นคร132 ตร.กม. (51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2015)[1]
 • พื้นที่นคร956,457 คน
 • ความหนาแน่น7,200 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+3 (AST)
เว็บไซต์visitqatar.com/about-qatar/doha

โดฮา (อังกฤษ: Doha; อาหรับ: الدوحة) เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางทางการเงินหลักของประเทศกาตาร์ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกของประเทศ ทางเหนือของอัลวักเราะฮ์และทางใต้ของอัลเคาร์ นครนี้เป็นที่ตั้งของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ[2] และยังเป้นนครที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศ โดยประชากรมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศอาศัยอยู่ในโดฮาหรือชานเมืองรอบนคร[1]

โดฮาได้รับการสถาปนาในคริสต์ทศวรรษ 1820 ในฐานะเมืองสาขาของอัลบิดดะอ์ เมื่อกาตาร์ประกาศเอกราชจากรัฐในอารักขาของบริติช โดฮาจึงได้รับการประกาศเป็นเมืองหลวงของประเทศใน ค.ศ. 1971[3]

นครนี้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการพัฒนารอบโดฮาระดับรัฐมนตรีครั้งแรกขององค์การการค้าโลก และยังได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพกีฬาหลายครั้ง เช่น เอเชียนเกมส์ 2006, แพนอาหรับเกมส์ 2011, เวิลด์บีชเกมส์ 2019, กีฬาทางน้ำชิงแชมป์โลก, วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์สโมสรโลก, ดับเบิลยูทีเอ รอบชิงชนะเลิศ และเกมส่วนใหญ่ในเอเชียนคัพ 2011 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 World Petroleum Council จัดการประชุมปิโตรเลียมโลกครั้งที่ 20 ที่โดฮา[4] นอกจากนี้ ตัวนครยังเป็นที่จัดงานการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 2012 และฟุตบอลโลก 2022[5]

ศัพทมูลวิทยา

กระทรวงเทศบาลและสิ่งแวดล้อมโดฮารายงานว่า ชื่อ "โดฮา" มีต้นตอจากศัพท์ภาษาอาหรับว่า เดาฮะฮ์ หมายถึง "ความกลม" ซึ่งสื่อถึงอ่าวโค้งมนล้อมรอบแนวชายฝั่งของนคร[6]

ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

โดฮาถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติใน ค.ศ. 2010 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของนครนับตั้งแต่การค้นพบน้ำมันในคริสต์ทศวรรษ 1960

โดฮาตั้งอยู่บริเวณส่วนกลาง-ตะวันออกของประเทศกาตาร์ โดยชายฝั่งติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีความสูง 10 เมตร (33 ฟุต)[7] โดฮามีความเป็นนครอย่างมาก การถมที่ดินนอกชายฝั่งเพิ่มพื้นผิวที่ไป 400 เฮกตาร์และชายฝั่ง 30 กิโลเมตร[8] มีการสร้างท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัดขึ้นบนบริเวณที่ถมดินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ผิว 22 ตารางกิโลเมตร[9]

ภูมิอากาศ

โดฮามีสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน BWh) ที่มีฤดูร้อนยาวนานและร้อนจัด และฤดูหนาวที่อบอุ่นเล็กน้อยถึงอบอุ่นและสั้น อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) และมักถึง 45 องศาเซลเซียส (113 องศาฟาเรนไฮต์) ความชื้นมักต่ำสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในช่วงฤดูร้อน จุดน้ำค้างอาจสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) ตลอดช่วงฤดูร้อนโดยเฉลี่ย ตัวนครเกือบไม่มีหยาดน้ำฟ้า ส่วนในช่วงเดือนอื่นมีน้อยกว่า 20 มิลลิเมตร (0.79 นิ้ว)[10] อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่บันทึกมาอยู่ที่ 50.4 องศาเซลเซียส (122.7 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2010[11]

ข้อมูลภูมิอากาศของโดฮา (ค.ศ. 1962–2013, สูงสุด ค.ศ. 1962–2013)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32.4
(90.3)
36.5
(97.7)
41.5
(106.7)
46.0
(114.8)
47.7
(117.9)
49.1
(120.4)
50.4
(122.7)
48.6
(119.5)
46.2
(115.2)
43.4
(110.1)
38.0
(100.4)
32.7
(90.9)
50.4
(122.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.0
(71.6)
23.4
(74.1)
27.3
(81.1)
32.5
(90.5)
38.8
(101.8)
41.6
(106.9)
41.9
(107.4)
40.9
(105.6)
38.9
(102)
35.4
(95.7)
29.6
(85.3)
24.4
(75.9)
33.06
(91.51)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 17.8
(64)
18.9
(66)
22.3
(72.1)
27.1
(80.8)
32.5
(90.5)
35.1
(95.2)
36.1
(97)
35.5
(95.9)
33.3
(91.9)
30.0
(86)
25.0
(77)
20.0
(68)
27.8
(82.04)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.5
(56.3)
14.4
(57.9)
17.3
(63.1)
21.4
(70.5)
26.1
(79)
28.5
(83.3)
30.2
(86.4)
30.0
(86)
27.7
(81.9)
24.6
(76.3)
20.4
(68.7)
15.6
(60.1)
22.48
(72.46)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.8
(38.8)
5.0
(41)
8.2
(46.8)
10.5
(50.9)
15.2
(59.4)
21.0
(69.8)
23.5
(74.3)
22.4
(72.3)
20.3
(68.5)
16.6
(61.9)
11.8
(53.2)
6.4
(43.5)
3.8
(38.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 13.2
(0.52)
17.1
(0.673)
16.1
(0.634)
8.7
(0.343)
3.6
(0.142)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
1.1
(0.043)
3.3
(0.13)
12.1
(0.476)
75.2
(2.961)
ความชื้นร้อยละ 74 70 63 53 44 41 50 58 62 63 66 74 59.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1.7 2.1 1.8 1.4 0.2 0.0 0.0 0.0 0.0 0.1 0.2 1.3 8.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 244.9 224.0 241.8 273.0 325.5 342.0 325.5 328.6 306.0 303.8 276.0 241.8 3,432.9
แหล่งที่มา 1: NOAA[12]
แหล่งที่มา 2: Qatar Meteorological Department (ภูมิอากาศปกติ 1962–2013)[13][14]

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1820[15]250—    
1893[16]6,000+2300.0%
1970[17]80,000+1233.3%
1986[3] 217,294+171.6%
1998[18] 264,009+21.5%
2001[19] 299,300+13.4%
2004[3] 339,847+13.5%
2005[20][21] 400,051+17.7%
2010[22] 796,947+99.2%
2015[1] 956,457+20.0%
ประชากรทั้งหมดในเขตมหานครโดฮา[23]
ปี ประชากรในมหานคร
1997 434,000[24]
2004 644,000[25]
2008 998,651[26]

ประชากรในประเทศกาตาร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในโดฮาและในเขตมหานคร[27] เขตที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดคืออันนะญาดะฮ์ ซึ่งก็เป็นบริเวณที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ ความหนาแน่นประชากรทั่วเขตมหานครโดฮาอยู่ในช่วง 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตรถึง 25-50 คนต่อตารางกิโลเมตร[28] โดฮาเผชิญกับอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งดึงดูดประชากรส่วนใหญ่หลายพันคนที่อพยพไปยังกาตาร์ทุกเดือน[29]: 6 

กลุ่มชาติพันธุ์และภาษา

ประชากรในโดฮาเต็มไปด้วยชาวต่างชาติ ส่วนชาวกาตาร์เป็นชนกลุ่มน้อย ชาวต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุดมาจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนใหญ่มาจากอินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, เนปาล, ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ และมีชาวต่างชาติจำนวนมากประเทศอาหรับแถบลิแวนต์, จิบูตี, โซมาเลีย, แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก โดฮายังเป้นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติหลายคนจากยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย[30]

ป้ายจราจรสองภาษาในโดฮาระบุหมายเลขโซน ชื่อถนน และหมายเลขถนนของถนนสองเส้นที่ตั้งฉากกัน

ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการในประเทศกาตาร์ ส่วนภาษาอังกฤษโดยทั่วไปใช้เป็นภาษาที่สอง[31] และเริ่มกลายเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในด้านการค้า[32] เนื่องจากมีประชากรต่างชาติจำนวนมาก มำให้ภาษาอย่างมลยาฬัม, ทมิฬ, เบงกอล, ตากาล็อก, สเปน, สิงหล, ฝรั่งเศส, อูรดู และฮินดีมีผู้พูดอย่างแพร่หลาย[30]

การแจ้งเกิดในโดฮาตามสัญชาติ[23][33][34]
ปี ชาวกาตาร์ ไม่ใช่ชาวกาตาร์ รวม
2001 2,080 3,619 5,699
2002 1,875 3,657 5,532
2003 2,172 4,027 6,199
2004 2,054 3,760 5,814
2005 1,767 3,899 5,666
2006 1,908 4,116 6,024
2007 1,913 4,708 6,621
2008 1,850 5,283 7,133
2009 2,141 5,979 8,120
2010[35] 1,671 5,919 7,590
2011[36] 1,859 6,580 8,439
2015 1,949 9,215 11,164
2020 4,005 15,381 19,386

ศาสนา

พลเมืองในโดฮาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม[37] ส่วนประชากรชาวคริสต์ 150,000 คนในโดฮา แบ่งออกเป็นผู้ที่นับถือโรมันคาทอลิกมากกว่า 90%[38] หลังเอมีร์ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาในการจัดสรรที่ดินแก่โบสถ์ โบสถ์แม่พระแห่งลูกประคำเปิดให้สักการะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 โครงสร้างโบสถ์เป็นแบบพินิจพิเคราะห์ และไม่มีการแสดงสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ที่ด้านนอกอาคาร[39]

เขตการปกครอง

เขต

ในช่วงที่เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดฮามีเพียง 9 เขตหลัก[40] ในสำมะโน ค.ศ. 2010 มีบันทึกเขตในเทศบาลโดฮามากกว่า 60 เขต[41] จำนวนเขตด้านล่างคือตัวอย่างบางส่วน ดังนี้:

หลังกาตาร์เป็นเอกราชไม่นาน มาหลายเขตในโดฮาเก่า ซึ่งรวมไปถึงอันนะญาดะฮ์, Al Asmakh และอัลฮิตมีเก่าเผชิญกับการเสื่อมถอยทีละน้อยและเป็นผลให้สถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถูกทำลาย[42] ส่วนรัฐบาลหันไปมุ่งเน้นในพื้นที่อ่าวโดฮา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตอัดดัฟนะฮ์และเวสต์เบย์[42]

เศรษฐกิจ

น้ำมันและแก๊สธรรมชาติของกาตาร์ส่วนมาก เป็นตัวสำคัญทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า และโดฮายังเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกด้วย เศรษฐกิจโดฮาสร้างรายได้กับประเทศได้อย่างมหาศาล รัฐบาลกาตาร์พยายามที่จะกระจายการลงทุนในการสั่งซื้อน้ำมันอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการขยายตัวเมืองขึ้นมาก

สายการบิน กาตาร์แอร์เวย์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโดฮา

การคมนาคม

ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาเก่า

โดฮา มีการพัฒนาการคมนาคมอย่างมาก เช่น การสร้างทางหลวงสายใหม่ การสร้างท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาใหม่ และวางแผนสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งการคมนาคมของโดฮาเติบโตในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น

การศึกษา

มหาวิทยาลัยกาตาร์

สถานบันอุดมศึกษาในโดฮา

สถานบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในโดฮา

กีฬา

ฟุตบอล

อัสซัดด์เป้นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในกาตาร์สตาร์ลีก

ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมที่สุดในโดฮา โดยมีสโมสรฟุตบอลจากโดฮาถึง 6 ทีมในกาตาร์สตาร์ลีก ลีกฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ ได้แก่ อัลอะฮ์ลี, อัลอะเราะบี, อัสซัดด์, อัดดุฮัยล์ และกาตาร์[43] อัสซัดด์ อัลอะเราะบี และกาตาร์เป็น 3 สโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ลีก[44]

มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในโดฮาหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดคือเอเชียนคัพใน ค.ศ. 1988 และ2011[45] กับฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก 1995[46]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 กาตาร์ชนะสิทธิ์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022[47]

เมืองพี่น้อง

เมืองพี่น้องของนครโดฮา ได้แก่:

ห้องแสดงภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 The Report: Qatar 2016. Oxford Business Group. 2016. p. 17. ISBN 978-1-910068-63-2.
  2. "Doha municipality accounts for 40% of Qatar population". Gulf Times. 20 October 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 Encyclopædia Britannica. "Doha – Britannica Online Encyclopedia". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  4. "Welcome to the 20th World Petroleum Congress". 20wpc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-10. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  5. Saraiva, Alexia (2 August 2018). "Get To Know The 8 2022 Qatar World Cup Stadiums". ArchDaily.
  6. "District map". The Centre for Geographic Information Systems of Qatar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018.
  7. "Map of Doha, Qatar". Climatemps.com. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  8. "New land by the sea: Economically and socially, land reclamation pays" (PDF). International Association of Dredging Companies. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  9. "DEME: Doha Airport Built on Reclaimed Land Becomes Fully Operational". Dredging Today. 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  10. "Doha weather information". Wunderground.com. 2010-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  11. Masters, Jeff. "Bolivia ties its all-time heat record". Weather Underground. Dr. Jeff Masters' WunderBlog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
  12. "Doha International Airport Climate Normals 1962-1992". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ September 29, 2016.
  13. "Climate Information For Doha" (ภาษาอังกฤษ). Qatar Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2016. สืบค้นเมื่อ November 27, 2016.
  14. "41170: Doha International Airport (Qatar)". ogimet.com. OGIMET. 19 March 2021. สืบค้นเมื่อ 19 March 2021.
  15. "Historical references to Doha and Bidda before 1850" (PDF). The Origins of Doha Project. p. 2. สืบค้นเมื่อ 19 May 2015.
  16. Kurşun, Zekeriya (2002). The Ottomans in Qatar: a history of Anglo-Ottoman conflicts in the Persian Gulf. Istanbul : Isis Press. pp. 16–17. ISBN 978-975-428-213-9.
  17. Abdulla Juma Kobaisi. "The Development of Education in Qatar, 1950–1970" (PDF). Durham University. p. 11. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
  18. Hassan Khayat; Ismail Amer; Saleh Arifi; Ahmed Babaker; Bassam Nasr; Nizam Shafei; Fatimah Al Kuwari; Ali Ibrahim Sheib; Mohammed Khazemi; Nasser Fakhro; Mohammed Al Kuwari (1998). موسوعة المعلومات القطرية (Qatar Information Encyclopedia) (ภาษาอาหรับ). Qatar University. p. 235.
  19. "Doha". Tiscali.co.uk. 1984-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  20. "Sheraton Doha Hotel & Resort | Hotel discount bookings in Qatar". Hotelrentalgroup.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  21. "hotelsdoha.eu". hotelsdoha.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-09. สืบค้นเมื่อ 2013-03-26.
  22. "Qatar population statistics". geohive.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  23. 23.0 23.1 "Population statistics". Qatar Information Exchange. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  24. Florian Wiedmann; Ashraf M. Salama; Alain Thierstein. "Urban evolution of the city of Doha: an investigation into the impact of economic transformations on urban structures" (PDF). pp. 44–45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-14. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  25. World and Its Peoples. Marshall Cavendish. 2006. p. 61. ISBN 978-0-7614-7571-2.
  26. "Doha 2016 Summer Olympic Games Bid". GamesBids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  27. Marco Dilenge. "Dubai and Doha: Unparalleled Expansion" (PDF). Crown Records Management UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  28. "Facts and figures". lusail.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  29. De Bel-Air, Françoise (2017). Demography, Migration, and the Labour Market in Qatar (PDF) (Report). European University Institute and the Gulf Research Center. GLMM - EN - No. 3/2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
  30. 30.0 30.1 Humaira Tasnim; Abhay Valiyaveettil; Ingmar Weber; Venkata Kiran Garimella. "Socio-geographic map of Doha". Qatar Computing Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  31. Baker, Colin; Jones, Sylvia Prys (1998). Encyclopedia of Bilingualism and Bilingual Education. Multilingual Matters. p. 429. ISBN 978-1-85359-362-8.
  32. Guttenplan, D. D. (11 June 2012). "Battling to Preserve Arabic From English's Onslaught". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 November 2013.
  33. "WELCOME TO Qatar Statistics Authority WEBSITE". Qsa.gov.qa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2013-03-26.
  34. "Statistics: Births & Deaths". Qatar Planning & Statistics Authority. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
  35. "Births and deaths in 2010" (PDF). Qatar Information Exchange. Qatar Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
  36. "Births and deaths in 2011" (PDF). Qatar Information Exchange. Qatar Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 September 2016. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
  37. "Religious demography of Qatar" (PDF). US Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  38. Shabina Khatri (20 June 2008). "Qatar opens first church, quietly". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  39. Sonia Verma (14 March 2008). "Qatar hosts its first Christian church". The Times. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  40. Jaidah, Ibrahim; Bourennane, Malika (2010). The History of Qatari Architecture 1800-1950. Skira. p. 25. ISBN 978-88-6130-793-3.
  41. "Census 2010". Qatar Statistics Authority. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2013-07-25.
  42. 42.0 42.1 Djamel Bouassa. "Al Asmakh historic district in Doha, Qatar: from an urban slum to living heritage". Journal of Architectural Conservation. 20 (1): 1–14. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
  43. "Qatar Stars League 2014/2015 » Teams". worldfootball.net. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  44. "Qatar Stars League » Champions". worldfootball.net. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  45. "AFC Asian Cup history". AFC Asian Cup. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  46. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 1995fifa
  47. "2018 and 2022 FIFA World Cup Hosts Announced". BBC News. 2 December 2010. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  48. "International Cooperation". Municipality of Tunis. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  49. "Alameda California cuts ties with the emir". Gulf Times. 11 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 September 2019.[ลิงก์เสีย]
  50. "International Links". City Council of Port Louis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-21. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  51. "Sister cities". eBeijing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2010. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  52. "Twinning". Beit Sahour Municipality Palestine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 30 May 2018.
  53. Momodou Faal (28 October 2011). "Gambia: Banjul Signs Twinnng Pact With Doha". The Daily Observer (Banjul). สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  54. "Amir's visit to Algeria significant: envoy". Gulf Times. 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
  55. "Qatar and Bosnia vow to boost ties". The Peninsula. 20 February 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  56. "اتفاقية توأمة بين مدينتي الدوحة وبرازيليا" (ภาษาอาหรับ). Al Sharq. 23 February 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  57. "HE Prime Minister Presides Over Cabinet Regular Meeting". Press Arabia. 28 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2020. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  58. "توقيع اتفاقية توأمة بين بلديتي الدوحة وسان سلفادور" (ภาษาอาหรับ). Ministry of Municipality and Environment. 29 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  59. "Legal Framework". Embassy of Georgia to the State of Qatar. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  60. "زيارة الأمير الأخيرة لكازاخستان أعطت زخماً للعلاقات الثنائية" (ภาษาอาหรับ). Al Raya. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  61. "HH The Amir Issues Two Decrees". Government of the State of Qatar. 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  62. "Mungaab seeks Doha's help in reviving Mogadishu". Somali Agenda. 13 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  63. "Doha, Ankara sign twinning agreement". Gulf Times. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  64. "Joint Statement by the United States and Qatar on the Conclusion of the Second Annual Economic and Investment Dialogue". U.S. Department of State. 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  65. "Twinning Agreement between Miami and Doha". Istithmar USA. 5 June 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  66. "HH the Emir, Venezuelan President Witness Signing of Agreements". Ministry of Foreign Affairs (Qatar). 25 November 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
  67. "Doha and US city of Charleston sign twinning agreement". 22 October 2019.
  68. "The meeting of the Prime Ministers of Armenia and Qatar took place, based on the results of which a number of documents were signed". primeminister.am. 13 June 2022. สืบค้นเมื่อ 14 June 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น