ทาชเคนต์
ทาชเคนต์ | |
---|---|
เมืองหลวง | |
ตามเข็มจากด้านบน: นครทาชเคนต์, โรงแรมฮิลตันทาชเคนต์, ฮูมอไอซ์โดม, พิพิธภัณฑ์อามีร์ตีมูร์, รัฐสภาทาชเคนต์, อาสนวิหารแม่พระอัสสัมชัญนิรมล, ทาชเคนต์ยามค่ำคืน | |
สมญา: ตอช ("หิน") | |
คำขวัญ: Kuch Adolatdadir! ("ความแข็งแกร่งอยู่ในความยุติธรรม!") | |
พิกัด: 41°18′N 69°16′E / 41.300°N 69.267°E | |
ประเทศ | อุซเบกิสถาน |
ตั้งรกราก | 500–300 ปีก่อน ค.ศ. |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลนคร |
• นายกเทศมนตรี | Jahongir Ortiqhojaev |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 334.8 ตร.กม. (129.3 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 455 เมตร (1,493 ฟุต) |
ประชากร (1 มกราคม 2020) | |
• ทั้งหมด | 2,571,668[1] คน |
เขตเวลา | UTC+5 |
รหัสพื้นที่ | 71 |
เอชดีไอ (2017) | 0.793[2] สูง |
เว็บไซต์ | tashkent |
ทาชเคนต์ (อังกฤษ: Tashkent, ออกเสียง: /tæʃˈkɛnt, tɑːʃ-/) หรือ ตอชเกนต์ (อุซเบก: Toshkent/Тошкент/تاشکند, ออกเสียง: [tɒʃˈkent]) หรือชื่อเก่า ชอช (เปอร์เซีย: چاچ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศอุซเบกิสถาน รวมถึงเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยมีประชากร 2,485,900 คนในปี 2018[3] เมืองตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ใกล้พรมแดนกับประเทศคาซัคสถาน
ในอดีต ทาชเคนต์ในยุคก่อนอิทธิพลอิสลามในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมซอกเดียและเติร์ก หลังจากที่เมืองถูกเจงกีส ข่าน ทำลายในปี 1219 ทาชเคนต์เกิดขึ้นใหม่ภายใต้ความมั่งคั่งจากเส้นทางสายไหม ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18–19 เมืองตั้งขึ้นเป็นนครรัฐเอกราช ก่อนจะถูกอาณาจักรข่านโกกอนพิชิต ในปี 1865 ทาชเคนต์ถูกรวมเข้าในจักรวรรดิรัสเซียและกลายเป็นเมืองหลวงของเตอร์กิสถานของรัสเซีย ในสมัยสหภาพโซเวียต ทาชเคนต์เติบโตอย่างมากและประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรจากการเนรเทศผู้คนมาอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ของนครถูกทำลายจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อปี 1966 ก่อนจะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในฐานะนครโซเวียตตัวแบบ และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของสหภาพโซเวียตในเวลานั้น เป็นรองเพียงมอสโก, เลนินกราด และเคียฟ[4]
ทาชเคนต์คงสถานะเป็นเมืองหลวงของประเทศอุซเบกิสถานหลังได้รับเอกราชเรื่อยมา ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นชาวอุซเบก และในปี 2009 เมืองเฉลิมฉลอง 2,200 ปีแห่งประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษร[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ stat.uz. "Численность постоянного населения по возрастным группам (in Russian)". สืบค้นเมื่อ September 29, 2020.
- ↑ "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
- ↑ "Residents of Tashkent city exceeds 2.48m people". Uzdaily.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2018. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
- ↑ Praying Through the 100 Gateway Cities of the 10/40 Window ISBN 978-0-927-54580-8 p. 89
- ↑ "Юбилей Ташкента. Такое бывает только раз в 2200 лет". Фергана – международное агентство новостей. สืบค้นเมื่อ 10 December 2017.