ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เมริบเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน

เซธ เมอร์อิบเร เป็นผู้ปกครองที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์น้อยมากในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม

พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบสี่ และทรงครองราชย์ที่เมืองเมมฟิส และสิ้นสุดรัชสมัยเมื่อ 1749 ปีก่อนคริสตกาล[1] หรือประมาณราว 1700 ปีก่อนคริสตกาล[2] ระยะเวลาของการครองราชย์ของพระองค์นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ สันนิษฐานว่าพระองค์จะทรงครองราชย์ในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ถึงสิบปี[1]

หลักฐานยืนยัน

ปรากฏพระนามของพระองค์ในบันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 7 แถวที่ 23 (ส่วนการพิจารณาของอลัน การ์ดิเนอร์และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธจะอยู่ที่คอลัมน์ที่ 6 แถวที่ 23)[3]

ไรโฮลท์ได้เสนอเกี่ยวกับจารึก รหัส JE35256 ซึ่งค้นพบในอไบดอส และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ เดิมทีจารึกไว้ด้วยพระนามประสูติ พระองค์นำหน้า และพระนามฮอรัสของพระองค์ไว้ ซึ่งบันทึกช่วงเวลาไว้ที่ ปีที่สี่แห่งการครองราชย์ แต่ต่อมาจารึกดังกล่าวได้ถูกแย่งชิงโดยฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1[1] ก่อนหน้านี้ นักประวัติศาสตร์ แอนโธนี ลีฮี[4] ได้แย้งว่าจารึกดังกล่าวโปรดให้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เวกาฟ แทนที่จะเป็นพระองค์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ดาร์เรล เบเกอร์มีร่วมกัน[3]

ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลักซอร์ที่เมดามุด วิหารแห่งหนึ่งปรากฏซากสิ่งปลูกสร้างและซากสถาปัตยกรรมมากมาย บางส่วนอาจจะถูกโปรดให้สร้างขึ้นโดยพระองค์ แต่ต่อมาถูกแย่งชิงโดยผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์คือ ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทับหลังจากเมดามุดและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ รหัส JE 44944 ปรากฏตัวสัญลักษณ์ที่เกือบถูกลบออก ซึ่งสอดคล้องกับพระนามประสูติของพระองค์[ต้องการอ้างอิง]

ด้านทฤษฎี

นักไอยคุปต์วิทยา ดาร์เรล เบเกอร์ และคิม ไรโฮลท์ได้กำหนดให้พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ยี่สิบสี่ของราชวงศ์ที่สิบสาม ในขณะที่เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธมองว่าพระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ยี่สิบ[5] อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เห็นพ้องกันว่า พระองค์อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากผู้ปกครองก่อนหน้าพระนามว่า ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ[3]

ระยะเวลาของการครองราชย์ของพระองค์หายไปในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามฯ ยกเว้นในส่วนท้ายที่ปรากฎช่วงเวลา "... [และ] 6 วัน" คิม ไรโฮลท์ได้เสนอว่ารัชสมัยของฟาโรห์อิมิเรสอาว, ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ และพระองค์รวมกันแล้วอยู่ที่สิบปี[1] นอกจากนี้ ในบันทึกปาปิรุสโบลัก หมายเลข 18 ยังเป็นหลักฐานที่เชื่อได้ว่าฟาโรห์อิมิเรสอาว, ฟาโรห์เซเฮเทปคาเร อินเทฟ ทรงครองราชย์รวมนานกว่าห้าปี จึงเหลือเวลาไม่ถึงห้าปีให้กับรัชสมัยของพระองค์

ส่วนเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธเชื่อว่า สามารถระบุพระองค์ได้ว่าทรงเป็นบุคคลเดียวกับผู้ปกครองที่ได้รับการกล่าวถึงในบันทึกลำดับวงศ์ตระกูลของอังค์เอฟเอนเซคเมตจากช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบสองในเวลาต่อมา ผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวทรงพระนามว่า "อาเกน (Aaqen)" แปลว่า ลาอันแข็งแกร่ง และฟอน เบ็คเคอราธยังเสนอว่าคำดังกล่าวนั้นหมายถึงพระองค์ และเดิมมีพระนามคือ "เซธเกน (Sethqen)" ซึ่งมีความหมายว่า เทพเซธ ผู้ทรงแข็งแกร่ง ซึ่งอันที่จริง เนื่องจากเทพเจ้าเซธถูกห้ามในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง อักษรอียิปต์โบราณรูปสัตว์เซธจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรอียิปต์โบราณรูปลา ซึ่งส่งผลให้อ่านเป็น "อาเกน (Aaqen)"

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  2. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, 2002
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 406
  4. Leahy, Anthony (1989). "A Protective Measure at Abydos in the Thirteenth Dynasty". Journal of Egyptian Archaeology 75: 41–60.
  5. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Konigsnamen, Münchner Ägyptologische Studien 20, Mainz.