ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
Iamike (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 11974128 สร้างโดย 27.145.5.153 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 129: บรรทัด 129:


== การเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย ==
== การเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย ==
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จะเกิดขึ้น ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม]] ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63|รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน]] ในปี 2566<ref>[https://www.thaipbs.or.th/news/content/331202 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"]</ref> และต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็น[[รายชื่อรองนายกรัฐมนตรีไทย|รองนายกรัฐมนตรี]]อีกตำแหน่งหนึ่ง
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จะเกิดขึ้น ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63|รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน]] ในปี 2566<ref>[https://www.thaipbs.or.th/news/content/331202 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"]</ref> และต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็น[[รองนายกรัฐมนตรี]]อีกตำแหน่งหนึ่ง


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:03, 24 พฤศจิกายน 2567

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สุริยะใน พ.ศ. 2566
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
ภูมิธรรม เวชยชัย (2567–ปัจจุบัน)
พิชัย ชุณหวชิร (2567–ปัจจุบัน)
อนุทิน ชาญวีรกูล (2567–ปัจจุบัน)
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (2567)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (2567–ปัจจุบัน)
ประเสริฐ จันทรรวงทอง (2567–ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าภูมิธรรม เวชยชัย
สมศักดิ์ เทพสุทิน
ปานปรีย์ พหิทธานุกร
อนุทิน ชาญวีรกูล
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 48 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยมนพร เจริญศรี
สุรพงษ์ ปิยะโชติ
ก่อนหน้าศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
(0 ปี 144 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยอดิศร เพียงเกษ
ภูมิธรรม เวชยชัย
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(2 ปี 159 วัน)
ก่อนหน้าวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไปตนเอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 250 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอุตตม สาวนายน
ถัดไปอนุชา นาคาศัย
(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รักษาราชการแทน)
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 48 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวัฒนา เมืองสุข
ถัดไปโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(1 ปี 228 วัน)
ก่อนหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(0 ปี 267 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 19 มกราคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 246 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 358 วัน)
เลขาธิการพรรคไทยรักไทย
ดำรงตำแหน่ง
27 มกราคม พ.ศ. 2545 – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(4 ปี 248 วัน)
ก่อนหน้าปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ถัดไปวิเชษฐ์ เกษมทองศรี
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2565
(2 ปี 263 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
สุริยะ แซ่จึง

10 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองกิจสังคม (2519–2542)
ไทยรักไทย (2542–2550)
ภูมิใจไทย (2552–2556)
เพื่อไทย (2556–2561, 2566–ปัจจุบัน)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
คู่สมรสสุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ
ลายมือชื่อ

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ต่อมานายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร แต่งตั้งให้เป็น ประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ประวัติ

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรของนายอาฮง แซ่จึง และ นางม้วยเซียง(แซ่เดิมคือ "แซ่โป่ว" หรือ "แซ่หวัง") มีพี่น้อง 5 คน คือ นายสรรเสริญ จุฬางกูร, นายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ(เสียชีวิตแล้ว), นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ น.ส.อริสดา จึงรุ่งเรืองกิจ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเข้าศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ซึ่งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลเศรษฐา โดยนายสุริยะได้ศึกษาเป็นเวลาครึ่งปี แต่ด้วยผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ทำให้นายสุริยะได้เปลี่ยนแผนไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศแทน จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2521 นอกจากนี้ยังเข้าศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.) จนกระทั่งสำเร็จได้รับวุฒิปริญญาบัตรในปี 2538 ซึ่งเรียนรุ่นเดียวกันกับ คุณทนง พิทยะ คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม คุณพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ การบินไทย [1]

ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสแล้วกับนางสุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตรชาย 1 คน คือ ศาตนันท์ จึงรุ่งเรืองกิจ และเป็นอาของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เข้าสู่ชีวิตทางการเมืองมีตำแหน่งทางการเมืองครั้งแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ปี พ.ศ. 2541 ในโควตาพรรคกิจสังคม ซึ่งการก้าวสู่เส้นทางทางการเมืองได้รับการเชื่อถือจากนายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งนายสุริยะได้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวงในช่วงที่นายสมศักดิ์ เทพสุทินดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

ในเวลาต่อมาเมื่อการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายสุริยะได้เข้าร่วมสังกัดพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค โดยนายสุริยะเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12

เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2545 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีพรรคไทยรักไทย มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งในพรรคไทยรักไทย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เข้าสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคไทยรักไทย แทน ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

ผลงานที่สำคัญระหว่างที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2544 ได้จัดตั้งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้ประเทศ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ในปี พ.ศ. 2545 วันที่ 25 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร พร้อมด้วยนายสุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและนายชัก วิลเลียมสัน ประธานกรรมการบริษัทยูโนแคล คอร์ปอเรชั่น ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กับบริษัท ยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด บริษัทมิตซุยออยล์ เอ็กซพลอเรชั่น จำกัด และบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด จำนวน 2 ฉบับได้แก่ สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ทั้งนี้ส่งผลให้เกิดการประหยัดเงินได้ 10,294 ล้านบาท ตลอดอายุสัมปทาน 10 ปี

ผลงานที่สำคัญในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2545 จนถึง ปี 2548 คือ การดูแลเรื่องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ อย่างการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, การปราบปรามทุจริตในการจัดเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวงในปี พ.ศ. 2545 การเร่งรัดการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ , การสนับสนุนให้มีการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1 , การเร่งรัดการเปิดดำเนินการให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงินตอนหัวลำโพง-บางซื่อ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จนถึงการเปิดเสรีการบินในประเทศไทย พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค นโยบายสายการบินราคาประหยัด(Low Cost Airlines) ในประเทศไทย ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของการเดินทางทางอากาศของประเทศไทย โดยเป็นการเพิ่มโอกาสการเดินทางของประชาชนมากขึ้น ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเร็วขึ้น อันมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มในอุตสาหกรรมการบิน เช่น โครงการนักบินเอื้ออาธร เป็นต้น[2]

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ทาง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้มีมติเอกฉันท์ยกคำร้องกรณีคดีทุจริตเครื่องตรวจสัมภาระภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ CTX9000 ของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น[3]

การทำงาน

การเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ

ในปี พ.ศ. 2550 เขาได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] หลังจากนั้นได้เข้าร่วมแถลงข่าวเปิดตัวพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยร่วมกับแกนนำ อาทิ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ โสภณ ซารัมย์ ศุภชัย ใจสมุทร และพรทิวา นาคาศัย

กระทั่งวันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นายสุริยะในฐานะหัวหน้ากลุ่มสามมิตรได้ประกาศเข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ ต่อมาก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาและกลุ่มสามมิตร ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

การเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จะเกิดขึ้น ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[6] และต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ไพบูลย์เปิดหน้าชน ดัน "สุริยะ" เป็น รมว.พลังงาน ยืนยันเป็นโควตพลังประชารัฐ ไทยรัฐ. 21 กรกฎาคม 2563
  2. 4 ปีซ่อมประเทศไทยเพื่อคนไทย โดย รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร, น. 83
  3. 'ทักษิณ-สุริยะ'เฮยกคำร้องคดีทุจริต "ซีทีเอ็กซ์" ไทยรัฐ. 29 สิงหาคม 2555
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๒๒ ง หน้า ๒, ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๘
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ถัดไป
ชวลิต ยงใจยุทธ
เดช บุญ-หลง
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
จาตุรนต์ ฉายแสง
วิษณุ เครืองาม
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
สมศักดิ์ เทพสุทิน

รองนายกรัฐมนตรี
(ครม. 55)

(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
สนธิ บุญยรัตกลิน
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 63)

(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ครม. 62)

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566)
พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ครม. 55)

(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 — 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 54-55)

(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548)
พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ครม. 54)

(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 — 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
สมศักดิ์ เทพสุทิน
อนุรักษ์ จุรีมาศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ครม. 53)

(5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 — 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย