ข้ามไปเนื้อหา

ตี

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: , ต., ติ, ติ๊, ตี๋, ตึ, ตู, ตู่, และ ตู้

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨲᩦ (ตี), ภาษาลาว ຕີ (ตี), ภาษาไทลื้อ ᦎᦲ (ตี), ภาษาไทใหญ่ တီ (ตี)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ตี
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtii
ราชบัณฑิตยสภาti
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tiː˧/(สัมผัส)

คำกริยา

[แก้ไข]

ตี (คำอาการนาม การตี)

  1. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป
    ตีเด็ก
    ตีดาบ
  2. ตบเบา
    ตีพุง
  3. บุให้เข้ารูป
    ตีขัน
    ตีบาตร
  4. แผ่ให้แบน
    ตีทอง
  5. ทำให้เกิดเสียง
    ตีระฆัง
  6. กด, ประทับ
    ตีพิมพ์
    ตีตรา
  7. ทำให้เข้ากัน
    ตีเกลียวเชือก
  8. กำหนด
    ตีราคา
  9. ทิ้งให้เห็น
    ตีไพ่
  10. ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ
    ตีว่าวไปทางซ้าย
    ตีว่าวหนี
    ตีว่าวแยกกัน

คำแปลภาษาอื่น

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ตี

  1. วิธีนับเวลาในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ 1 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา เรียกว่า ตี 1 ถึง ตี 6, แต่ตี 6 นิยมเรียกว่า ย่ำรุ่ง

ภาษาคำเมือง

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

ตี (คำอาการนาม การตี)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨲᩦ (ตี)