จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส | |||||
ครองราชย์ ครั้งที่ 1 | 18 พฤษภาคม 1804 – 6 เมษายน 1814 | ||||
ราชาภิเษก | 2 ธันวาคม 1804 | ||||
ก่อนหน้า | พระองค์เอง (ในฐานะกงสุลเอก) หลุยส์ที่ 16 (ในฐานะกษัตริย์) | ||||
ถัดไป | นโปเลียนที่ 2 (พิพาท) หลุยส์ที่ 18 (ในฐานะกษัตริย์) | ||||
ครองราชย์ ครั้งที่ 2 | 20 มีนาคม – 22 มิถุนายน 1815 | ||||
ก่อนหน้า | หลุยส์ที่ 18 (ในฐานะกษัตริย์) | ||||
ถัดไป | นโปเลียนที่ 2 (พิพาท) หลุยส์ที่ 18 (ในฐานะกษัตริย์) | ||||
พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี | |||||
ครองราชย์ | 17 มีนาคม 1805 – 6 เมษายน 1814 | ||||
ก่อนหน้า | พระองค์เอง (ในฐานะประธานาธิบดี) คาร์ลที่ 5 (ในฐานะกษัตริย์) | ||||
ถัดไป | ยุบเลิกราชอาณาจักร วิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 (รวมชาติ) | ||||
อุปราช | เออแฌน เดอ โบอาร์แน | ||||
ผู้อารักขาสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ | |||||
ครองราชย์ | 12 กรกฎาคม 1806 – 4 พฤศจิกายน 1813 | ||||
ก่อนหน้า | ฟรันทซ์ที่ 2 (ในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) | ||||
ถัดไป | ฟรันทซ์ที่ 1 (ในฐานะประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน) | ||||
เจ้าชายมุขนายก | คาร์ล เทโอดอร์ ฟ็อน ดาลแบร์ค | ||||
เจ้าชายแห่งเอลบา | |||||
ครองราชย์ | 11 เมษายน 1814 – 26 กุมภาพันธ์ 1815 | ||||
ก่อนหน้า | สถาปนาราชรัฐ | ||||
ถัดไป | ยุบรวมราชรัฐเข้ากับจักรวรรดิฝรั่งเศส | ||||
กงสุลเฉพาะกาลแห่งฝรั่งเศส | |||||
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 1799 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส และรอเฌ ดูว์โก | |||||
ก่อนหน้า | คณะดีแร็กตัวร์ | ||||
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะกงสุลเอก) | ||||
กงสุลเอกแห่งฝรั่งเศส | |||||
ดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม 1799 – 18 พฤษภาคม 1804 | |||||
ก่อนหน้า | คณะกงสุลเฉพาะกาล | ||||
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะจักรพรรดิ) | ||||
ประธานาธิบดีอิตาลี | |||||
ดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม 1802 – 18 พฤษภาคม 1805 | |||||
รองประธานาธิบดี | ฟรังซิสโก เมลซี เดริล | ||||
ก่อนหน้า | สถาปนาสาธารณรัฐ | ||||
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะกษัตริย์) เอนรีโก เด นีโกลา (ในฐานะประธานาธิบดี) | ||||
ผู้ไกล่เกลี่ยแห่งสมาพันธรัฐสวิส | |||||
ดำรงตำแหน่ง 19 กุมภาพันธ์ 1803 – 29 ธันวาคม 1813 | |||||
ก่อนหน้า | ฟื้นฟูสมาพันธรัฐ | ||||
ถัดไป | คณะรัฐบาลสมาพันธรัฐ | ||||
พระราชสมภพ | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1769 อาฌักซีโย คอร์ซิกา ราชอาณาจักรฝรั่งเศส นโปเลียน โบนาปาร์ต | ||||
สวรรคต | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1821 ลองวูด เซนต์เฮเลนา | (51 ปี)||||
ฝังพระศพ | ออแตลเดแซ็งวาลีด | ||||
คู่อภิเษก |
| ||||
พระราชบุตร รายละเอียด | จักรพรรดินโปเลียนที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พระราชบุตรนอกสมรส ชาร์ล เลอง อเล็กซานเดอร์ โคลอนนา-วาเลฟสกี พระราชบุตรบุญธรรม เออแฌน เดอ โบอาร์แน เจ้าชายแห่งเวนิส | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โบนาปาร์ต | ||||
พระราชบิดา | การ์โล บูโอนาปาร์เต | ||||
พระราชมารดา | เลตีเซีย โบนาปาร์ต | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||
ลายพระอภิไธย |
นโปเลียน โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส: Napoléon Bonaparte) หรือชื่อเกิดเป็นภาษาอิตาลีคือ นาโปเลโอเน ดิ บูโอนาปาร์เต (อิตาลี: Napoleone di Buonaparte) มีพระนามเล่นว่า "เลอคอร์ส"(ชาวคอร์ซิกา) หรือ "เลอเปอติ กาโปรัล" (นายสิบน้อย) เป็นรัฐบุรุษและผู้นำทหารชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขานำการทัพที่ประสบความสำเร็จมากมายในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส และปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสในพระนามว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ตั้งแต่ปี 1804 จนถึง 1814 และอีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 1815 ในช่วงสมัยร้อยวัน นโปเลียนครอบงำกิจการในทวีปยุโรปและทั่วโลกนานกว่าทศวรรษ ในขณะที่ได้นำพาฝรั่งเศสเข้าสู้รบกับกลุ่มพันธมิตรประเทศรอบด้านในช่วงสงครามนโปเลียน เขาได้รับชัยชนะในศึกหลายครั้ง และแผ่เขตอิทธิพลกว้างใหญ่ไพศาล เขาก่อตั้งจักรวรรดิขนาดใหญ่ที่ปกครองเกือบทั่วทวีปยุโรปก่อนที่จะล่มสลายในปี 1815 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การทำสงครามและการทัพของเขาได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนวิชาทหารทั่วโลก มรดกทางการเมืองและวัฒนธรรมของนโปเลียนทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
นโปเลียนเป็นชาวเกาะคอร์ซิกาโดยกำเนิด นโปเลียนเกิดในครอบครัวชาวอิตาลีที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย เพียงไม่กี่เดือนภายหลังจากเกาะแห่งนี้จะถูกผนวกรวมเข้ากับราชอาณาจักรฝรั่งเศส เขาได้เข้ารับราชการทหารในฐานะนายทหารปืนใหญ่ในกองทัพหลวงฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้นในปี 1789 เขาก็มีตำแหน่งทางทหารสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับยศนายพลจากรัฐบาลคณะปฏิวัติในวัยเพียง 24 ปี จนในที่สุดคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสก็แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแห่งอิตาลี ภายหลังจากที่เขาได้เข้าปราบปรามการก่อจลาจลในวันที่ 13 เดือนว็องเดมีแยร์ ซึ่งทำการต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มก่อกบฎฝ่ายนิยมเจ้า เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เข้าร่วมปฏิบัติการทหารเป็นครั้งแรกในการต่อกรกับออสเตรียและราชวงศ์อิตาลีที่อยู่เคียงข้างกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และสามารถเอาชนะการรบเกือบทุกครั้งในการพิชิตคาบสมุทรอิตาลีในหนึ่งปี ในขณะที่ได้ก่อตั้ง "สาธารณรัฐน้องสาว" ด้วยการสนับสนุนในท้องถิ่นและกลายเป็นวีรบุรุษสงครามในฝรั่งเศส
ในปี 1798 เขาได้นำคณะเดินทางทหารไปยังอียิปต์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอำนาจทางการเมือง เขาได้ก่อรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน 1799 และกลายเป็นกงสุลเอกแห่งสาธารณรัฐ ภายหลังจากสนธิสัญญาอาเมียงในปี 1802 นโปเลียนได้หันไปสนใจในอาณานิคมของฝรั่งเศส เขาได้ขายดินแดนลุยเซียนาให้กับสหรัฐอเมริกาและเขาได้พยายามรื้อฟื้นทาสในดินแดนอาณานิคมทะเลแคริเบียนของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามในขณะที่เขาได้ประสบความสำเร็จในรื้อฟื้นทาสในทางตะวันออกของทะเลแคริเบียน นโปเลียนได้ล้มเหลวในความพยายามที่จะเข้าปราบปรามในเมืองแซ็ง-ดอแม็งก์ และดินแดนอาณานิคมที่ฝรั่งเศสเคยอวดอ้างว่าเป็น "ไข่มุกแห่งแอนทิลลีส" ได้กลายเป็นอิสระจนกลายเป็นประเทศเฮติในปี 1804 ความทะเยอทะยานของนโปเลียนและการยอมรับจากสาธารณชนเป็นแรงบันดาลใจให้เขาก้าวไปให้ไกลกว่านี้และเขาได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของฝรั่งเศสในปี 1804 ความแตกต่างที่ยากจะเข้าใจกับบริติชซึ่งหมายความว่าฝรั่งเศสกำลังเผชิญหน้ากับฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามในปี 1805 นโปเลียนได้ทำลายฝ่ายสหสัมพันธมิตรนี้ลงด้วยชัยชนะที่เด็ดขาดในการทัพอุล์ม และการได้รับชัยชนะครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์เหนือจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
นโปเลียนได้ก่อตั้งพันธมิตรฝรั่งเศส-เปอร์เซียและต้องการที่จะสร้างพันธมิตรฝรั่งเศส-อินเดียขึ้นมาอีกครั้งกับสุลต่านติปู จักรพรรดิอินเดียชาวมุสลิม โดยจัดหากองทัพที่ได้รับการฝึกฝนจากฝรั่งเศสในช่วงสงครามอังกฤษ-มัยซอร์ ด้วยมีจุดมุ่งหมายอย่างต่อเนื่องในการเปิดทางเพื่อเข้าโจมตีบริติชในอินเดีย ในปี 1806 ฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ได้จับอาวุธปืนลุกขึ้นมาต่อสู้รบกับเขาเพราะปรัสเซียเริ่มกังวลเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลทั่วทั้งทวีปของฝรั่งเศส นโปเลียนได้เอาชนะปรัสเซียได้อย่างรวดเร็วในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท จากนั้นกองทัพใหญ่ของเขาได้กรีฑาทัพเข้าลึกไปในยุโรปตะวันออกและทำลายล้างกองทัพรัสเซียในเดือนมิถุนายน 1807 ในยุทธการที่ฟรีดลันท์ จากนั้นฝรั่งเศสได้บีบบังคับให้ประเทศของฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำการลงนามในสนธิสัญญาทิลซิทในเดือนกรกฎาคม 1807 ได้นำพาความสงบสุขที่ไม่สบายใจมาสู่ทั่วทั้งทวีป ทิลซิทที่มีความหมายว่า น้ำขึ้น ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิฝรั่งเศส ในปี 1809 ออสเตรียและบริติชได้ท้าทายฝรั่งเศสอีกครั้งในช่วงสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า แต่นโปเลียนได้ยึดครองทวีปยุโรปได้อย่างมั่นคง ภายหลังจากได้รับชัยชนะในยุทธการที่วากรัมในเดือนกรกฎาคม
นโปเลียนได้เข้ายึดครองคาบสมุทรไอบีเรีย คาดหวังว่าจะขยายระบบทวีปและขัดขวางการค้าของบริติชกับแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรป และประกาศให้โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พระเชษฐาของพระองค์ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสเปน ในปี 1808 สเปนและโปรตุเกสได้ก่อการลุกฮือด้วยการสนับสนุนของบริติช สงครามคาบสมุทรได้กินเวลาถึงหกปี โดยมีการรบแบบกองโจรที่กว้างขวาง และจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1814 ระบบทวีปทำให้เกิดความขัดแย้งทางการทูตขึ้นมาอีกครั้งระหว่างฝรั่งเศสและรัฐบริวาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ รัสเซีย รัสเซียไม่เต็มใจที่จะแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการค้าที่ลดลงและละเมิดระบบทวีปอยู่เป็นประจำ ทำให้นโปเลียนต้องเข้าสู่สงครามอีกครั้ง ฝรั่งเศสได้เปิดฉากการบุกครองรัสเซียครั้งใหญ่ในช่วงฤดูร้อน ปี 1812 การทัพครั้งนี้ได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ของรัสเซีย แต่ไม่ได้รับชัยชนะที่เด็ดขาดอย่างที่นโปเลียนต้องการ ส่งผลทำให้เกิดการล่มสลายของกองทัพใหญ่และเป็นแรงบันดาลใจก่อให้เกิดแรงผลักดันขึ้นมาใหม่เพื่อต่อต้านนโปเลียนโดยศัตรูของพระองค์
ในปี 1813 ปรัสเซียและออสเตรียได้เข้าร่วมกับกองทัพรัสเซียในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หกกับฝรั่งเศส การทัพทางทหารที่ยาวนานได้สิ้นสุดลงด้วยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรขนาดใหญ่ที่เอาชนะนโปเลียนลงได้ในยุทธการที่ไลพ์ซิช แต่ชัยชนะทางด้านกลยุทธ์ของพระองค์ในยุทธการที่ฮาเนาซึ่งได้อนุญาตให้ล่าถอยกลับไปยังแผ่นดินฝรั่งเศส จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองฝรั่งเศสและเข้ายึดครองกรุงปารีสในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1814 บีบบังคับให้นโปเลียนสละราชบังลังก์ในเดือนเมษายน พระองค์ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา ด้านนอกชายฝั่งของทัสกานี และราชวงศ์บูร์บงได้รับการฟื้นฟูกลับมาเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง นโปเลียนได้หลบหนีออกจากเกาะเอลบาในเดือนกุมภาพันธ์ 1815 และเข้าควบคุมฝรั่งเศสอีกครั้ง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบสนองด้วยการก่อตั้งฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ดซึ่งได้เอาชนะพระองค์ลงได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลู บริติชเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเซนต์เฮเลนาที่ห่างไกลในมหาสมุทรแอตแลนติก พระองค์ป่วยสวรรคตในอีกหกปีต่อมาเมื่อมีพระชน 51 ปีเศษ
อิทธิพลของนโปเลียนที่มีต่อโลกสมัยใหม่ทำให้เกิดการปฏิรูปแบบเสรีนิยมไปสู่ดินแดนจำนวนมากที่พระองค์ได้ยึดครองและเข้าควบคุม เช่น กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ สวิตเซอร์แลนด์ และส่วนขนาดใหญ่ของอิตาลีและเยอรมนีในสมัยใหม่ พระองค์ได้ดำเนินนโยบายเสรีนิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในฝรั่งเศสและทั่วยุโรปตะวันตก ประมวลกฎหมายนโปเลียนของพระองค์นั้นมีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายของประเทศมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก แอนดริว โรเบิร์ต นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวว่า"แนวความคิดที่คอยค้ำจุนโลกสมัยใหม่ของเรา - ไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมนิยม ความเสมอภาคตามกฎหมาย สิทธิในทรัพย์สิน การยอมรับความต่างทางศาสนา การศึกษาทางโลกสมัยใหม่ การเงินที่ดี และอื่น ๆ - ได้รับการปกป้อง ทำให้เกิดความมั่นคง ประมวลและขยายทางภูมิศาสตร์โดยนโปเลียน" สำหรับพระองค์ที่ได้เพิ่มการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ เป็นอันยุติในการโจรกรรมในชนบท การส่งเสริมวิทยาศาสตร์และศิลปะ การยกเลิกระบอบศักดินาและประมวลกฎหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน
วัยเยาว์และการรับราชการทหาร
[แก้]นโปเลียนเกิดที่เมืองอาฌักซีโยหรืออายัชโช ในภาษาอิตาลี บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1769 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปี ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ซื้อเกาะนี้ไปจาก สาธารณรัฐเจโนวา 1768 [1] ครอบครัวของเขาเป็นหนึ่งในตระกูลผู้ดีจำนวนน้อยนิดบนเกาะคอร์ซิก้า บิดาของเขาผู้มีนามว่าการ์โล บูโอนาปาร์เต จัดการให้เขาได้เข้ารับการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เขาได้เข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่อายุ 9 ขวบ[2][3]
ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง[4][5]ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแอนน์ และ โรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ ภายใต้กองกำลังของลาแฟร์ ที่เมืองโอซ็อนน์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยตรีที่เมืองวาล็องซ์ ในปี 1787 ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก ในงานที่เขาเขียน ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำที่เป็นเลิศ ในปี 1789 นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากกว่าทางใช้กำลัง[6]
เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา[7] ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนระบอบกษัตริย์ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี 1792 โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลง (Toulon) ในปี 1793 ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้สหราชอาณาจักรปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌากอแบ็งทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้น ๆ ภายหลังการสิ้นอำนาจของรอแบ็สปีแยร์ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794
หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บารัส อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้านสมัชชาแห่งชาติ ในปี 1795 ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อฌออากีม มูว์รา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์
โบนาปาร์ตมีจิตใจผ่องใส สามารถซึมซับความรู้ทางการทหาร รวมถึงยุทธวิธีในสมัยของเขา มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในกองพลปืนใหญ่ เขาได้คิดค้นการใช้ปืนใหญ่แห่งกริโบวาลเป็นกองทัพเคลื่อนที่ ใช้หนุนกองทหารเดินเท้าอีกทีหนึ่ง
การทัพอิตาลี
[แก้]เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบที่สามารถการนำกองพลปืนใหญ่ปราบกบฏนิยมเจ้า นโปเลียนได้รับการเสนอแต่งตั้งโดยลาซาร์ การ์โน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทัพอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีกลับคืนมาจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ออสเตรีย-เยอรมัน) กองกำลังของเขาขาดแคลน ทั้งยุทโธปกรณ์และเสบียงคลัง ซึ่งแม้เขาจะอดมื้อกินมื้อ และแต่งตัวซอมซ่อ แต่ก็ได้ฝึกฝนนายทหารในบังคับบัญชาด้วยความขะมักเขม้น และสามารถนำทัพเข้าปะทะกับกองกำลังของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีจำนวนมากกว่า และมียุทโธปกรณ์พร้อมกว่าได้ ในการรบหลายต่อหลายครั้ง ในยุทธการที่เมือง มองเตอโนต โลดี หรือ อาร์โกล มีนโปเลียนเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง การรบท่ามกลางห่ากระสุนทำให้ มุยร็อง เพื่อนและผู้ช่วยของเขาเสียชีวิต นโปเลียนเป็นนายทหารฝีมือฉกาจ ผู้ซึ่ง อยู่ทุกหนทุกแห่งและมองเห็นทุกอย่าง ว่องไวดุจสายฟ้าแลบและโจมตีดุจสายฟ้าฟาด เขาเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความสามารถในการบัญชาการ ความกล้าหาญและความเลือดเย็น ในบรรดานายทหารหลายนายที่แวดล้อมเขา นโปเลียนได้มองเห็นความสามารถของนายทหารนิรนามคนหนึ่งชื่อว่าฌ็อง ลาน
ตลอดการสู้รบในช่วงเวลานั้น ภาพวาดกองบัญชาการของนโปเลียนในสมัยนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า นโปเลียนได้ใช้ระบบสื่อสารทางไกล ระบบแรกของโลกที่เรียกว่าโทรเลขที่คิดค้นโดยโกลด ชาปป์ (เช่นเดียวกับกองบัญชาการรบอื่น ๆ ในสมัยนั้น) นโปเลียนได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบัญชาการโดยอาร์ชดยุกคาร์ล ดยุกแห่งเทเชิน จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ที่มีชื่อว่าสนธิสัญญากัมโป-ฟอร์มิโอ ว่าด้วยเรื่องการให้ฝรั่งเศสเข้าครองเบลเยียม และยืดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ถือครองแคว้นเวเนโต
เหตุการณ์ที่ราชอาณาจักรอิตาลีนี้เอง ที่ทำให้นโปเลียนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เขาเป็นต่อ เขาเป็นจ้าวแห่งสนามรบเช่นเดียวกับในทุก ๆ ที่ นครมิลานเกิดสภาพคล้าย ๆ กับพระราชวังเล็ก ๆ รายล้อมนายพลนโปเลียน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของบรรดาเศรษฐีชาวอิตาลีเอาไว้ และได้เปรียบคู่ต่อสู้อยู่มาก แต่เขาก็ยังห่างไกลกับคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสที่มีอำนาจบริหารจัดการประเทศ ในปี 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเฌอโร นโปเลียนได้จัดการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ็น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกฌากอแบ็งเอาไว้ได้
การทัพอียิปต์
[แก้]ในปี 1798 สภาห้าร้อยมีความกังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนโปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้บัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครองครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลางเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย เนื่องด้วยนโปเลียนชื่นชมยุคแสงสว่างอยู่แล้ว เขาจึงได้ตัดสินใจนำคณะนักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาร่วมทัพไปกับเขาด้วย และจัดตั้งสถาบันอียิปต์ศึกษา ซึ่งในช่วงนี้ หนึ่งในนายทหารหนุ่มผู้ติดตามนโปเลียนอย่างปีแยร์-ฟร็องซัว บูชาร์ ค้นพบศิลาโรเซตตาที่ทำให้นักอียิปตวิทยาอย่างฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง สามารถถอดรหัสไฮโรกลิฟในเวลาต่อมา
หลังจากที่มีชัยในยุทธการที่มงตาบอร์ (ฝรั่งเศสต้องการยึดเมืองในอียิปต์คืนจึงรบกับตุรกีที่มีอังกฤษหนุนหลัง) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1799 การเดินทัพต่อไปยังซีเรียของนโปเลียนต้องชะงักเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค อันเป็นเหตุให้มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก นโปเลียนได้เข้าจัดการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อกาฬโรคที่เมืองจาฟฟาเท่าที่สามารถทำได้
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1798 นโปเลียนมีชัยต่อกองกำลังมาเมลุก (ทาสรับใช้กาหลิบของจักรวรรดิออตโตมัน) ในยุทธการที่พีระมิด ในสงครามเอ็มบาเบห์ ทำให้ชื่อของเขาขจรขจายไปไกล แต่การพ่ายแพ้ของเขากลับไม่เป็นที่กล่าวถึง เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 1798 กองเรือฝรั่งเศสของนโปเลียนถูกกองเรือของพลเรือโทโฮราชิโอ เนลสัน ทำลายเกือบย่อยยับในการรบที่อ่าวอาบูกีร์
สถานการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารประจำอียิปต์ให้กับฌ็อง-บาติสต์ เกลเบร์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส ตลอดเส้นทางกลับกรุงปารีส นโปเลียนได้รับเสียงโห่ร้องชื่นชมจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ อีกด้านหนึ่ง กองทัพฝรั่งเศสในอียิปต์ก็พ่ายแพ้การรบเมื่อ 31 สิงหาคม 1801 หลังจากเสียนายทหารไปกว่า 13,500 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของโรคระบาด
ก่อรัฐประหาร
[แก้]เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ รัฐมนตรีการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส, รอเฌ ดูว์โก (สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์สองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่อียิปต์ และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คณะปฏิรูปหัวก้าวหน้า ซึ่งต้องการรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล
หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้สภาสูงเห็นชอบกับการล้มล้างคณะดีแร็กตัวร์ได้แล้ว แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 เดือนบรูว์แมร์ 1799 (ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภา จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังพระราชวังแซ็ง-กลู บริเวณชานเมืองปารีส เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิฌากอแบ็งกำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปั 1789 เป็นต้นมา สภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ ที่พระราชวังแซ็ง-กลู ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะดีแร็กตัวร์ห้าคน ยกขบวนลาออกจากที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ รวมทั้งให้สภาห้าร้อยเลือกรัฐบาลใหม่ แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกฌากอแบ็งสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด
เขาได้นำกำลังทหารกลุ่มเล็กๆเข้าไปในห้องประชุมสภาห้าร้อยที่กำลังถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน และได้พยายามพูดโน้มน้าวให้สภาดังกล่าวยอมรับการโค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์แต่ไม่มีผู้แทนคนใดยอมรับฟัง จากการกระทำอุกอาจของนโปเลียนดังกล่าวทำให้มีผู้เสนอญัตติให้ประกาศนโปเลียนเป็นบุคคลนอกกฎหมาย ซึ่งจะทำให้นโปเลียนหลุดจากตำแหน่งทั้งหมด แต่สถานการณ์กลับตาลปัตรเมื่อมีผู้พยายามลอบแทงนโปเลียนในห้องประชุมสภา ภาพของผู้แทนที่โผล่มาจากทางหน้าต่างเพื่อลอบแทงนโปเลียนแพร่กระจายไปทั่ว นโปเลียนเป็นผู้ได้เปรียบในสถานการณ์นี้อย่างมาก เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร ทำให้นายพลฌออากีม มูว์รา ลูกน้องของนโปเลียน มีข้ออ้างนำกองทัพเข้าล้อมรัฐสภาและก่อรัฐประหารได้สำเร็จในที่สุด
สถาปนาระบอบกงสุล
[แก้]แม้จะก่อรัฐประหารสำเร็จ แต่นโปเลียนก็ยังยึดติดกับรูปแบบการปกครองโดยกระบวนการทางกฎหมาย ในคืนวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ หลังก่อรัฐประหารสำเร็จ คณะผู้แทนยังคงอยู่ที่พระราชวังแซ็ง-กลู เพื่อลงมติเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการสองชุดในการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แสดงให้เห็นได้ว่า นโปเลียนต้องการผลักดันให้มีระบอบการปกครอง ที่กิจการต่าง ๆ ของรัฐผ่านการลงมติจากผู้แทนราษฎร
วันที่ 20 เดือนบรูว์แมร์ กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประเทศ ได้แก่ นโปเลียน, แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส และรอเฌ ดูว์โก นับเป็นจุดเริ่มต้นระบบการปกครองโดยคณะกงสุล นโปเลียนประกาศว่า "สาธารณชนเอ๋ย...การปฏิวัติตามวิถีหลักการที่ได้เริ่มขึ้นมานั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว!"' [8] ระบอบกงสุลเป็นการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่าเป็น "ระบอบเผด็จการโดยประชามติ"[9] ซึ่งในความเป็นจริงมีเพียงกงสุลเอกที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือของจักรพรรดิ
จากกงสุลเอกกลายเป็นจักรพรรดิ
[แก้]นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมายนโปเลียน แห่งปี 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่
ผลงานทางราชการของนโปเลียนมีต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 1814 เขาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส ระบบเงินฟรังก์แฌร์มินาล ที่ว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ (L'ordre national de la Légion d'honneur)
ในปี1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ ทำให้ออสเตรียที่พ่ายต่อทัพของนโปเลียนที่ยุทธการเมืองมาเร็งโก และต่อทัพของฌ็อง วิคตอร์ มารี โมโรที่เมืองโฮเฮนลินเดอร์ ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาลูเนวิลล์ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1801 ซึ่งทำให้อังกฤษยอมลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงในเดือนมีนาคม 1801 ในกาลต่อมา ถ้าหากแม้อำนาจของนโปเลียนถูกสั่นคลอนภายหลังก่อรัฐประหาร ชัยชนะในยุทธการที่มาเร็งโกก็ทำให้สถานะของนโปเลียนแข็งแกร่งขึ้นมาก
เขาส่งทหาร 70,000 นายไปยังนิคมแซ็ง-ดอแม็งก์ในทะเลแคริบเบียน ภายใต้การบังคับบัญชาของนาลพล ชาลล์ เลอแคลฺ เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร โดยเฉพาะจากการจับตูแซงต์ ลูแวร์ตูร์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่ฟอร์ เดอ จัวย์ ที่อำเภอดูบส์ วันที่ 7 เมษายน 1803) กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของไข้เหลือง เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขายรัฐลุยเซียนาให้แก้สหรัฐอเมริกา ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1800 (วันคริสต์มาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า รถม้าของกงสุลเอกได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน โฌแซ็ฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวกฌากอแบ็ง การประหารดยุกแห่งอ็องแกงเป็นหนึ่งในผลพวงตามมา
ในปี 1802 นโปเลียนรื้อฟื้นระบบทาสในอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน หญิงชาวเบเกจากหมู่เกาะ มาร์ตีนีก การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี 1848 กว่าความพยายามในการเลิกทาสอย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ
หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึงสวิส ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยังเยอรมนี กรณีพิพาทของมอลตาก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้งในปี 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะกำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลเอกสั่งประหารดยุกแห่งอ็องแกง เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูร์บง
การประหารเกิดขึ้นที่เมืองแวงแซนน์ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ (ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วนรัสเซียและออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น รอแบ็สปีแยร์บนหลังม้า (ที่เกาะเซนต์เฮเลนา นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าตาแลร็องจะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลเอกขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1804
ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์สตีเฟน อิงลุนด์เชื่อในแนวความคิดที่ว่า การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่างๆ จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึงความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (ความเสมอภาค อิสรภาพ และ ความยุติธรรม) การที่เงินเหรียญของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด
การปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้กลายมาเป็นระบอบจักรวรรดินิยม ในภายหลังเท่านั้น เพื่อปกป้องสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส
ปราบดาภิเษก
[แก้]พิธีปราบดาภิเษกของนโปเลียนถูกจัดขึ้น ภายใต้พระเนตรของสมเด็จพระสันตะปาปา ที่ไม่ได้รับเกียรติให้สวมมหามงกุฎแก่นโปเลียน แต่ถูกลดบทบาทให้แค่มาร่วมอำนวยพรแก่จักรพรรดิฝรั่งเศสเท่านั้น นโปเลียนประกาศในขณะที่สวมมหามงกุฎให้ตัวเองว่า "ข้าพเจ้าพบมหามงกุฎในลำห้วย ข้าพเจ้าเช็ดโคลนออก แล้วข้าพเจ้าก็สวมมันไว้บนหัวข้าพเจ้า"[10]
นี่นับเป็นโอกาสดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับวาติกัน การลงนามของกงสุลเอกในปี 1801 นั้นมีเนื้อหายอมรับว่าคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชจะต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ในการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความกังขาว่า เป็นไปได้หรือที่จะเกิดการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ภายในระยะเวลาไม่ถึงสิบปีหลังจากที่หลวงยึดทรัพย์สินของโบสถ์ นโปเลียนสงวนท่าทีต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปา เขาออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาที่ป่าฟงแตนโบล โดยขี่ม้าไปและสวมชุดล่าสัตว์ ทำให้ฉากการพบปะดังกล่าวมีลักษณะเหมือนการพบกันโดยบังเอิญ และเช่นเดียวกัน ในปี 1804 จักรพรรดิมิได้เป็นผู้เดินทางไปประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ที่กรุงโรมตามที่จักรพรรดิโรมันเคยกระทำ แต่เป็นพระสันตะปาปาที่ถูกเชิญมายังกรุงปารีสราวกับว่าเป็นนักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญ
เราจะเห็นได้ว่า การที่นโปเลียนเข้าหาศาสนจักรนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์เฉพาะอย่าง (สร้างสัมพันธ์ระหว่างคาทอลิกกับฝรั่งเศส และทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากับกษัตริย์อย่างถูกต้อง) และเมื่อพระสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่องต่อคำสั่งของนโปเลียน เขาก็ไม่รอช้าที่จะขังพระสันตะปาปาไว้ในพระราชวังฟงแตนโบล
จักรวรรดิเรืองอำนาจ
[แก้]ในปี 1804 ยังไม่ถึงเวลาแห่งการออกรบครั้งใหญ่เพื่อยึดครองดินแดน และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งยึดติดกับแนวความคิดว่า สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ ต่อเมื่อปราบสหราชอาณาจักรลงได้เท่านั้น ได้ร่วมกับพลเรือเอกลาตุชเชอ-เตรวิลล์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตก่อนจะกระทำการสำเร็จ) วางแผนรุกรานเกาะอังกฤษ ซึ่งเป็นแผนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากการรบที่ยุทธนาวีทราฟัลการ์ กองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนที่บัญชาการโดยพลเรือโท วีลเนิฟว์ ถูกพลเรือโท ลอร์ด เนลสัน แห่งราชนาวีอังกฤษตีจนแตกพ่าย ทำให้สหราชอาณาจักร กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นจวบจนในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา
ในปีเดียวกันนั้นเอง (1805) ได้มีการสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมืองบูลอญในฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จากยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "สงครามสามจักรพรรดิ"
ในปี 1806 สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ได้เริ่มต้นขึ้น ปรัสเซียได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ โดยพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ตัดสินพระทัยที่จะทำสงครามกับกองทัพฝรั่งเศสโดยลำพัง ตามตำนานเล่าว่านายพลคาร์ล ฟ็อน เคลาเซอวิทซ์ นักทฤษฎีทางทหารเคยเสนอแผนการรบที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นแผนการที่จักรพรรดินโปเลียนยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งโลก" ของเฮเกิลมาใช้ แต่แผนรบดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบัญชาการของกองทัพปรัสเซีย อย่างไรก็ดีกองทัพใหญ่ของนโปเลียนมีความได้เปรียบมาก เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ชายแดนปรัสเซีย นโปเลียนจึงทรงลงมือโจมตีก่อนและได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท โดยกองทัพหลวงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซียในยุทธการที่เยนาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในขณะที่จอมพลหลุยส์-นีกอลา ดาวูตีทัพใหญ่ของจอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์แตกพ่ายไปในสมภูมิที่เมืองเอาเออร์ชเต็ท แม้ว่าทัพหลวงของปรัสเซียจะมีจำนวนทหารเหนือกว่ากองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยจอมพลหลุยส์-นีกอลา มากก็ตาม ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์บาดเจ็บสาหัสในที่รบ ทหารของปรัสเซียที่แตกมาจากยุทธการที่เยนาทะลักเข้ามาสู่ยุทธการที่เอาเออร์ชเต็ท นำไปสู่ความเสียขวัญและความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด จอมพลดาวูจึงได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ให้เป็น ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท เพราะความชอบในครั้งนี้
แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาพระองค์ได้ทรงเดินทัพข้ามโปแลนด์ โดยทรงสถาปนาดัชชีวอร์ซอขึ้นและให้พันธมิตรของฝรั่งเศสปกครอง จากนั้นนโปเลียนได้ยกกองทัพขึ้นเหนือเพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซีย นโปเลียนรบชนะกองทัพรัสเซียที่ยุทธการที่ฟรีทลันท์ในวันที่ 14 มิถุนายน 1807 ทางฝ่ายรัสเซียต้องขอยอมสงบศึก และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมืองทิลสิทในเดือนกรกฎาคม 1807 กับจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)
นโปเลียนผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น นั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในยุทธการเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย
ในปี 1808 จักรพรรดินโปเลียนสร้างระบบศักดินาของจักรวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ไม่นานต่อมา บรรดานายพันและนายพลของนโปเลียนต่างได้รับยศขุนนาง เคานต์แห่งจักรวรรดิ เจ้าชายแห่งเนอชาแตล ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท ดยุกแห่งมองต์เบลโล ดยุกแห่งดันท์ซิช ดยุกแห่งเอลชิงเกน กษัตริย์แห่งนาโปลี ฯลฯ
จากกรุงอัมสเตอร์ดัมถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นชาวฝรั่งเศส
ปฏิบัติการที่คาบสมุทรไอบีเรีย ออสเตรีย และรัสเซีย
[แก้]เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เลยพยายามจะบังคับให้เกิดการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษมาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงทรงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดพระองค์ก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้งโฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พี่ชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และโปรตุเกสก็ถูกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานเช่นกันในปี 1807 ประชากรส่วนหนึ่งของสเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ บัญชาการโดยว่าที่ดยุกแห่งเวลลิงตัน (อาร์เธอร์ เวลสลีย์) ก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านโปรตุเกสในปี 1808 และด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของฝรั่งเศสกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในสเปน ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบในยุทธการวากร็อง จอมพลลานส์ เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดิจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองเอสลิง
หลังจากที่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตีสหราชอาณาจักร จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพบุกรัสเซียในปี 1812 กองทัพใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม แม่น้ำนีเมน
กองทัพรัสเซียในบัญชาของจอมพลมีฮาอิล คูตูซอฟ ใช้กลยุทธ์ผลาญภพในการต้านการรุกรานของฝรั่งเศส การรบที่มอสโกเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนพอกัน
วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโก ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโกในทันที ทำให้จักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดนแถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากซาร์ซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย
กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามาและถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้ามแม่น้ำเบเรซินากลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี กองทัพใหญ่ของจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ
หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายจักพรรดินโปเลียนที่ 1 และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งถูกคนในกองทัพของพระองค์เองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่ยุทธการที่ไลพ์ซิจ หรือที่รู้จักในนามของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย (รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี สวีเดน) จอมพลยูแซฟ อันตอญี ปอญาตอฟสกี เจ้าชายแห่งโปแลนด์และพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้ามแม่น้ำเอลสเตอร์ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน
ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส
[แก้]ในปี 1814 สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ปรัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ ฌองโปแบร์ และมองต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี หลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามจักรพรรดินีมารี หลุยส์ มเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และบรรดาจอมพลรวมตัวโน้มน้าวให้จักรพรรดินโปเลียนสละราชสมบัติ
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินี และนโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์ ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้เสวยยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เอง ยาพิษดังกล่าวคือฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน นโปเลียนเลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของตนจะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในยุทธการ
หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าไป นโปเลียนประกาศต่อหลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์ ว่า "ข้าตายด้วยความทุกข์ ข้าทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพช้ากว่าเดิม!"
อาการคลื่นเหียนอาเจียนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมาอย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง จักรพรรดินโปเลียนทรงขอให้แพทย์ถวายยาพิษอีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด
ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โกแล็งกูร์ออกจากห้องและบอกให้ข้าราชบริพารเงียบเสียง นโปเลียนเรียกโกแล็งกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา และแล้วยาพิษก็คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นในปริมาณขนาดนั้น ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง
ท้ายที่สุด นโปเลียนเนรเทศตนเองเองไปยังเกาะเอลบาตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟงแตนโบล โดยยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ และมีอำนาจการปกครองเฉพาะบนเกาะแห่งนี้
คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน
[แก้]ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงขับจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 และขึ้นครองราชย์แทน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เป็นกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของพระมเหสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพระโอรสของพระองค์ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกออสเตรีย รัฐบาลฝรั่งเศสที่ฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ปฏิเสธจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ตามสัญญาในที่สุด และมีข่าวลือว่าเขากำลังจะถูกส่งตัวไปยังเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก
ดังนั้น จักรพรรดินโปเลียนที่หลบหนีออกจากการคุมขังบนเกาะเอลบา ได้ขึ้นสู่ฝั่งบนแผ่นดินฝรั่งเศสใกล้กับเมืองคานส์ เมื่อเดือนมีนาคม 1815 กองทัพที่ถูกส่งไปจับกุมตัวเขากลับมาต่างโห่ร้องต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษตลอดเส้นทางจากชายฝั่งริเวียราฝรั่งเศส ขึ้นมายังเมืองลียอง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถูกเรียกว่า "ถนนสายจักรพรรดินโปเลียนที่ 1" ไปแล้ว จอมพลมิเชล ไนยผู้ซึ่งได้สาบานต่อหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ว่าจะนำจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับมาในกรงเหล็ก ก็รู้สึกโอนอ่อนเข้าหาฝ่ายจักรพรรดิเดิมของตน (หลังที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินอย่างอุกอาจเข้าไปประกาศต่อฝูงชนว่า "ทหารแห่งกองพล 5 เราคือจักรพรรดิของพวกเจ้า พวกเจ้าก็รู้จักเราดีอยู่แล้วมิใช่หรือ ถ้าหากมีใครในหมู่พวกเจ้าทั้งหลายมาเพื่อที่จะจับจักรพรรดิของเจ้า เราก็อยู่ที่นี่แล้ว") ทำให้เขากลายเป็นจอมพลคนเดียวที่ถูกจับกุมในข้อหาทรราชย์ หลังจากการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ครั้งที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินทางถึงกรุงปารีสอย่างง่ายดาย ช่วงเวลา"คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน" เริ่มต้นขึ้น แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของเขาพ่ายการรบกับอังกฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1815 จอมพลกรูชีไม่สามารถต้านทานกองทัพร่วมระหว่างอังกฤษและปรัสเซียได้ เนื่องจากเป็นทัพหลวงที่ยกมา
ถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา และกำเนิดของตำนาน
[แก้]จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ตามบัญชาการของเซอร์ฮัดสัน โลว พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดีบางส่วน รวมถึงเคานต์ลาส กาสด้วย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา ทรงอุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพระราชพินัยกรรม และหมายเหตุพระราชพินัยกรรมหลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ "...ฝรั่งเศส...กองทัพ...โฌเซฟีน" (France, armée, Joséphine) หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะเซนต์เฮเลนา" คือ "...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้า!"
ในปี 1995 จดหมายเหตุของเคานต์ลุยส์ มาร์ชองด์ ข้ารับใช้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์ ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วยสารหนู ในปี 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมืองสทราซบูร์ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนูในเส้นพระเกศา (ผม) ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า การวิเคราะห์ของนิตยสาร วิทยาศาสตร์และชีวิต ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่างที่เก็บได้มาจากปี 1805, 1814 และ 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผมพ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวรรคตจากพระโรคมะเร็งในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัยยังได้สำรวจกางเกงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือนก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงขอให้ฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ริมฝั่งแม่น้ำแซน แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1821 พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกปลงที่เกาะเซนต์เฮเลนา ในปี 1840 พระบรมอัฐิได้ถูกเชิญกลับมายังประเทศฝรั่งเศสด้วยการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และได้ถูกฝังไว้ที่ออแตลเดแซ็งวาลีดในกรุงปารีส โดยใส่ไว้ในโถที่ทำด้วยหินเนื้อดอก (อันเป็นของขวัญที่รัสเซียมอบให้แก่ฝรั่งเศส)
มุมมองร่วมสมัยที่มีต่อนโปเลียน
[แก้]- ชัปตาล: นโปเลียนได้ใช้พระองค์เองเป็นจดหมายเหตุเพื่อทำสงครามกับศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกอังกฤษ พระองค์ได้ทรงเขียนบันทึกทุกฉบับด้วยพระองค์เอง สำหรับให้ลงในหนังสือพิมพ์ le Moniteur เพื่อตอบโต้บทวิจารณ์ที่ขมขื่นและข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นจริงที่ได้ถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์อังกฤษ เมื่อพระองค์ได้ทรงตีพิมพ์บันทึกฉบับหนึ่ง พระองค์ทรงเชื่อว่าสามารถโน้มน้ามผู้อ่านได้แล้ว เราคงจำกันได้ว่าบันทึกส่วนใหญ่ไม่ใช่ต้นแบบที่ดีของงานเขียน หรือตัวอย่างที่ดีของวรรณกรรม แต่พระองค์ก็มิได้ทรงตีพิมพ์อะไรที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิกของพระองค์ หรือความสามารถที่พระองค์มีเอาไว้เลย
ผลงานของนโปเลียน โบนาปาร์ต
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ยัว อิมพีเรียล มาเจสตี |
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้านโปเลียนแห่งอิตาลี | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
การทูล | ยัว มาเจสตี |
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งกงสุลเอก
[แก้]- 13 ธันวาคม 1799 (วันที่ 22 เดือนฟรีแมร์ ปีที่ 8 ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) มาตราที่ 52 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส สถาปนาคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐฝรั่งเศส
- 13 ธันวาคม 1799 (วันที่ 22 เดือนฟรีแมร์ ปีที่ 8) สถาปนาวุฒิสภาฝรั่งเศส
- 13 กุมภาพันธ์ 1800 (วันที่ 24 เดือนปลูวิโอส ปีที่ 8) สถาปนาธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส
- 17 กุมภาพันธ์ 1800 (วันที่ 28 เดือนปลูวิโอส ปีที่ 8) ก่อตั้งที่ทำการอำเภอ
- 8 เมษายน 1802 (วันที่ 18 เดือนแจร์มินาล ปีที่ 10) ลงพระนามร่วมกับสมเด็จพระสันตปาปาปีอุสที่ 7 ในความตกลงว่าด้วยเรื่องศาสนาของประเทศ
- 1 พฤษภาคม 1802 (วันที่ 11 เดือนฟลอเรอาล ปีที่ 10) กงสุลเอกโบนาปาร์ตได้สถาปนาโรงเรียนมัธยมในฝรั่งเศส
- 19 พฤษภาคม 1802 (วันที่ 29 เดือนฟลอเรอาล ปีที่ 10) ได้สถาปนาสมาคมเครื่องราชอิศริยาภรณ์แห่งชาติ
- 24 ธันวาคม 1802 ก่อตั้งหอการค้า 22 แห่ง
- 7 เมษายน 1803 (วันที่ 17 เดือนแฌร์มินาล ปีที่ 11) ได้ริเริ่มระบบเงินฟรังก์แจร์มินาล
- 21 มีนาคม 1804 (วันที่ 30 เดือนเวนโตส ปีที่ 12) ประมวลกฎหมายแพ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้
ในช่วงที่เป็นจักรพรรดิ
[แก้]- 18 มีนาคม 1806 (วันทื่ 21 เดือนแจร์มินาล ปีที่ 9) สถาปนาคณะที่ปรึกษาพรูดอม
- 10 พฤษภาคม 1806 สถาปนามหาวิทยาลัยแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้นเป็นแห่งแรก (ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1257)
- ในปี 1806 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระราชดำริให้สร้างประตูชัยขึ้นที่จตุรัสเดอเลตวล
- 9 กุมภาพันธ์ 1807 ทรงรื้อฟื้นระบบศาลสูงของศาสนายิว (ทำให้ชาวยิวสามารถปรับตัวเข้ากับการพำนักอาศัยในจักรวรรดิฝรั่งเศสได้ง่ายขึ้น)
- 16 กันยายน 1807 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงสถาปนาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้น
- ในปี 1807 นโปเลียนได้มอบหมายให้ อเล็กซองเดรอ เธโอดอร์ บร็องจ์นิอาร์ รับผิดชอบในการก่อสร้างตลาดหุ้นฝรั่งเศสขึ้นในกาลต่อมา
- 17 มีนาคม 1808 นโปเลียนมีพระราชดำริโปรดเกล้าให้สร้างระบบสอบไล่มาตรฐานขั้นมัธยมศึกษาแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้น
- 12 มีนาคม 1810 มีพระราชดำริโปรดเกล้าให้ตรากฎหมายอาญาแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้น
ครอบครัว
[แก้]การสมรสและโอรสธิดา
[แก้]นโปเลียนสมรสสองครั้ง :
- เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1796 (เมื่อครั้งยังเป็นนายพลก่อนออกปฏิบัติการในอียิปต์) ได้เข้าพิธีสมรสกับนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน แม่ม่ายลูกติดชาวฝรั่งเศสเชื้อสายเบเก จากหมู่เกาะมาร์ตีนีก ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพิธีขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน เนื่องจากนางมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีโอรสธิดาให้กับนโปเลียนได้ ซึ่งการที่องค์จักรพรรดิไร้ซึ่งผู้สืบทอดบัลลังก์ดังกล่าวถูกมองว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของจักรวรรดิ การสมรสครั้งนี้จึงจบลงด้วยการหย่าร้าง
- เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1810 ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส (โดยฉันทะ) กับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีและหลีกเลี่ยงสงครามกับ อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ได้แก่ นโปเลียนที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งจากนโปเลียนให้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุงโรม ดยุกแห่งไรช์ชตาดท์ แต่เรามักจะเรียกพระองค์ว่านโปเลียนที่ 2 เสียมากกว่า แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอย่างแท้จริงเลยก็ตาม ถ้าจะว่ากันตามทฤษฎีแล้ว รัชสมัยของพระองค์กินระยะเวลาเพียง 15 วัน ระหว่างวันที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกบังคับให้สละพระราชบัลลังก์ครั้งแรก จนกระทั่งมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง พระฉายานามว่า เหยี่ยวน้อย นั้นมาจากบทกวีของวิคเตอร์ มารี อูโก ที่ประพันธ์ขึ้นในปี 1852
นโปเลียนยังมีบุตรนอกสมรสอีกอย่างน้อยสองคน ซึ่งทั้งสองคนนั้นต่างก็มีทายาทสืบต่อมา:
- เคานต์ชาร์ล เลอง (ชาตะ 1806 มรณะ 1881) บุตรชายของนางแคทเทอรีน เอเลนอร์ เดอนูเอลล์ เดอ ลา เปลจเนอ (ชาตะ 1787 มรณะ 1868)
- เคานต์ฟลอเรียน โจเซฟ โคโลนนา วาลูวสกา (ชาตะ 4 พฤษภาคม 1810 มรณะ 27 ตุลาคม 1868) บุตรชายของเค้าน์เตสมารี วาลูวสกา (ชาตะ 1789 มรณะ 1817)
และจากแหล่งข้อมูลที่ยังเป็นที่ถกเถียงกัน:
- เอมิลลี ลุยส์ มารี ฟร็องซวส โฌซฟีน เปลลาปรา บุตรสาวของฟร็องซัวส-มารี เลอรัว
- คาร์ล ยูจัง ฟอน มูห์ลเฟลด์ บุตรชายของวิคตอเรีย โครส์
- เอเลน นโปเลโอน โบนาปาร์ต บุตรสาวของเค้าน์เตสมองโตลอง
- จูลส์ บาร์เธเลมี-ซังต์-ติแลร์ (ชาตะ 19 สิงหาคม 1805 มรณะ 24 พฤศจิกายน 1895) โดยไม่ทราบว่ามารดาของเขาเป็นใคร
พี่น้องของนโปเลียน
[แก้]- กาโรลีน โบนาปาร์ต
- เอลิซ่า โบนาปาร์ต
- เฌโรม โบนาปาร์ต
- โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต
- หลุยส์ โบนาปาร์ต
- ลูว์เซียง โบนาปาร์ต
- เปาลีน โบนาปาร์ต
หลานชาย-หญิง
[แก้]- นโปเลียนที่ 3 (ชาร์ล หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต) หลานชาย ได้ใช้โอกาสจากความมีชื่อเสียงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ในช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 จากนั้นก็ได้ยึดอำนาจและก่อตั้งจักรวรรดิที่ 2 ขึ้น และเป็นจักรพรรดิปกครองฝรั่งเศสภายใต้พระนามว่านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ตลอดการครองราชย์ของพระองค์ ได้มีการประกาศใช้กฎหมายทางสังคมและกฎหมายสมัยใหม่จำนวนมาก พระองค์พ่ายแพ้สงครามและยอมมอบตัวให้กับปรัสเซียในปี 1870 จากการรบที่ยุทธการเซดาน
- ปีแยร์-นโปเลียน โบนาปาร์ต
- ชาร์ล ลูว์เซียง โบนาปาร์ต นักสัตววิทยา
เชื้อสายของนโปเลียนที่โด่งดัง
[แก้]หนังสือชีวประวัติเกี่ยวกับนโปเลียน
[แก้]- Jean Tulard, Napoléon ou le Mythe du Sauveur
- Jean Tulard (dir.) , Dictionnaire Napoléon
- Thierry Lentz (en collaboration) , Autour de l'empoisonnement de Napoléon, préfacé par Jean Tulard, Éd. Nouveau Monde, 2002
- Thierry Lentz, le Sacre de Napoléon, Éd. Nouveau Monde, 2003
- Thierry Lentz, Napoléon, Presses universitaires de France, coll. « Que sais-je ? », 2003
- André Suarès, Vues sur Napoléon, Grasset, 1933
- Adolphe Thiers, Histoire du Consulat et de l'Empire
- Chaptal, Mes souvenirs sur Napoléon
- François-René de Chateaubriand, Mémoires d'Outre-Tombe, livres XXIX à XXII
- Jacques Bainville, Napoléon, 1931
- Steven Englund, Napoléon « a political life », 2003
- Didier Le Gall, Napoléon et le Mémorial de Sainte-Hélène, Analyse d'un discours, Préface de Jean-Paul Bertaud, Editions Kimé, 2003.
- Maximilien Vox, Napoléon. Paris (France). Éditions du Seuil, collection Le temps qui court. 1959. 184 pages. Cote dewey : 923.1 N216v
- โตลสตอย, Guerre et Paix
- สต็องดาล, La Chartreuse de Parme
- ปาทริก ล็อมโบ, La Bataille
ภาพยนตร์เกี่ยวกับนโปเลียน
[แก้]- พ.ศ. 2455 (1912) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Louis Feuillade (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2470 (1927) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Albert Dieudonné (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2472 (1929) : ซังต์เตเลน (Napoleon auf St. Helena) อำนวยการสร้างโดย Lupu-Pick นำแสดงโดย Werner Krauss (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2477 (1934) : นโปเลียน โบนาปาร์ต อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Albert Dieudonné (นำภาพยนตร์ในปี 1927 มาสร้างใหม่ มีเสียงประกอบ) (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2478 (1935) : Campo di maggio อำนวยการสร้างโดย Giovacchino Forzano นำแสดงโดย Corrado Racca (อิตาลี)
- พ.ศ. 2484 (1941) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Luis César Amadori (อาร์เจนตินา)
- พ.ศ. 2498 (1955) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Sacha Guitry นำแสดงโดย Daniel Gélin (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2503 (1960) : เอาชแตร์ลิทซ์ อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Pierre Mondy (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2513 (1970) : วอเตอร์ลู อำนวยการสร้างโดย Serge Bondartchouk นำแสดงโดย Rod Steiger (อิตาลี และ สหภาพโซเวียต)
- พ.ศ. 2514 (1971) : โบนาปาร์ตกับการปฏิวัติ อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Albert Dieudonné (นำมาสร้างใหม่จากภาคเดิมเมื่อปี 1927 และ 1934) (ละครโทรทํศน์ ออกอากาศในฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2532 (1989) :นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย András Sólyom นำแสดงโดย Péter Rudolf (ละครโทรทํศน์ ออกอากาศในฮังการี)
- พ.ศ. 2533 (1990) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย José Fonseca e Costa, Eberhard Itzenplitz, Pierre Lary, Janusz Majewski, Krzysztof Zanussi นำแสดงโดย Jean-François Stévenin (ภาพยนตร์โทรทัศน์ ออกอากาศในฝรั่งเศส โปแลนด์ เบลเยียม แคนาดา)
- พ.ศ. 2542 (1999) : Pan Tadeusz อำนวยการสร้างโดย Andrzej Wajda นำแสดงโดย Henryk Baranowski (โปแลนด์)
- พ.ศ. 2543 (2000) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Yves Simoneau นำแสดงโดย Christian Clavier (ละครโทรทัศน์ ออกอากาศในฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา สหรัฐ และสหราชอาณาจักร)
- พ.ศ.2566 (2023) : "จักรพรรดินโปเลียน" กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ นำแสดงโดย วาคีน ฟินิกซ์ (สหรัฐอเมริกา)
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ McLynn 1998, p.6
- ↑ McLynn 1998, p.2
- ↑ Cronin 1994, p.20–21
- ↑ Cronin 1994, p.27
- ↑ Roberts 2001, p.xvi
- ↑ Asprey 2000, p.13
- ↑ McLynn 1998, p.55
- ↑ ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศส: "Citoyen,la Révolution est fixée aux principe qui l'avait commencée elle est finie!"
- ↑ Lyons 1994, p. 111
- ↑ ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศศ: "J'ai trouvé une couronne dans le ruisseau, j'ai essuyé la boue qui la couvrait, je l'ai mise sur ma tête."
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Napoleonic Guide
- Napoleon Series
- International Napoleonic Society
- Biography by the US Public Broadcasting Service
- ผลงานของ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- Hit the road with Napoleon
ก่อนหน้า | จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สาธารณรัฐที่ 1 ลำดับก่อนหน้าโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในฐานะกษัตริย์ |
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส (18 พฤษภาคม 1804 – 11 เมษายน 1814) |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในฐานะกษัตริย์ | ||
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในฐานะกษัตริย์ |
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส (สมัยร้อยวัน) (20 มีนาคม – 22 มิถุนายน 1815) |
นโปเลียนที่ 2 ไม่เสวยราชย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในฐานะกษัตริย์ | ||
จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | กษัตริย์แห่งอิตาลี (17 มีนาคม 1805 – 11 เมษายน 1814) |
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ราชอาณาจักรอิตาลียุคใหม่ |
วัยเยาว์และการรับราชการทหาร
[แก้]นโปเลียนเกิดที่เมืองอาฌักซีโยหรืออายัชโช ในภาษาอิตาลี บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1769 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปี ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ซื้อเกาะนี้ไปจาก สาธารณรัฐเจโนวา 1768 [1] ครอบครัวของเขาเป็นหนึ่งในตระกูลผู้ดีจำนวนน้อยนิดบนเกาะคอร์ซิก้า บิดาของเขาผู้มีนามว่าการ์โล บูโอนาปาร์เต จัดการให้เขาได้เข้ารับการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เขาได้เข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่อายุ 9 ขวบ[2][3]
ในตอนแรกเขาถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง[4][5]ภายหลังการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหาร ที่เมืองโอเติง บรีแอนน์ และ โรงเรียนทหารแห่งกรุงปารีส เขาก็ได้เข้าร่วมกองพลปืนใหญ่ ภายใต้กองกำลังของลาแฟร์ ที่เมืองโอซ็อนน์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยตรีที่เมืองวาล็องซ์ ในปี 1787 ด้วยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ออกแนว โรแมนติก ในงานที่เขาเขียน ความอยากรู้อยากเห็นไม่มีที่สิ้นสุด บวกกับความทรงจำที่เป็นเลิศ ในปี 1789 นโปเลียนหนุ่มมีความถนัดทางใช้สติปัญญามากกว่าทางใช้กำลัง[6]
เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่กรุงปารีส โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา[7] ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนระบอบกษัตริย์ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี 1792 โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลง (Toulon) ในปี 1793 ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้สหราชอาณาจักรปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌากอแบ็งทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้น ๆ ภายหลังการสิ้นอำนาจของรอแบ็สปีแยร์ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794
หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บารัส อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้านสมัชชาแห่งชาติ ในปี 1795 ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อฌออากีม มูว์รา เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์
โบนาปาร์ตมีจิตใจผ่องใส สามารถซึมซับความรู้ทางการทหาร รวมถึงยุทธวิธีในสมัยของเขา มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในกองพลปืนใหญ่ เขาได้คิดค้นการใช้ปืนใหญ่แห่งกริโบวาลเป็นกองทัพเคลื่อนที่ ใช้หนุนกองทหารเดินเท้าอีกทีหนึ่ง
การทัพอิตาลี
[แก้]เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบที่สามารถการนำกองพลปืนใหญ่ปราบกบฏนิยมเจ้า นโปเลียนได้รับการเสนอแต่งตั้งโดยลาซาร์ การ์โน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทัพอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีกลับคืนมาจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ออสเตรีย-เยอรมัน) กองกำลังของเขาขาดแคลน ทั้งยุทโธปกรณ์และเสบียงคลัง ซึ่งแม้เขาจะอดมื้อกินมื้อ และแต่งตัวซอมซ่อ แต่ก็ได้ฝึกฝนนายทหารในบังคับบัญชาด้วยความขะมักเขม้น และสามารถนำทัพเข้าปะทะกับกองกำลังของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีจำนวนมากกว่า และมียุทโธปกรณ์พร้อมกว่าได้ ในการรบหลายต่อหลายครั้ง ในยุทธการที่เมือง มองเตอโนต โลดี หรือ อาร์โกล มีนโปเลียนเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง การรบท่ามกลางห่ากระสุนทำให้ มุยร็อง เพื่อนและผู้ช่วยของเขาเสียชีวิต นโปเลียนเป็นนายทหารฝีมือฉกาจ ผู้ซึ่ง อยู่ทุกหนทุกแห่งและมองเห็นทุกอย่าง ว่องไวดุจสายฟ้าแลบและโจมตีดุจสายฟ้าฟาด เขาเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความสามารถในการบัญชาการ ความกล้าหาญและความเลือดเย็น ในบรรดานายทหารหลายนายที่แวดล้อมเขา นโปเลียนได้มองเห็นความสามารถของนายทหารนิรนามคนหนึ่งชื่อว่าฌ็อง ลาน
ตลอดการสู้รบในช่วงเวลานั้น ภาพวาดกองบัญชาการของนโปเลียนในสมัยนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า นโปเลียนได้ใช้ระบบสื่อสารทางไกล ระบบแรกของโลกที่เรียกว่าโทรเลขที่คิดค้นโดยโกลด ชาปป์ (เช่นเดียวกับกองบัญชาการรบอื่น ๆ ในสมัยนั้น) นโปเลียนได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบัญชาการโดยอาร์ชดยุกคาร์ล ดยุกแห่งเทเชิน จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ที่มีชื่อว่าสนธิสัญญากัมโป-ฟอร์มิโอ ว่าด้วยเรื่องการให้ฝรั่งเศสเข้าครองเบลเยียม และยืดพรมแดนไปติดแม่น้ำไรน์ ส่วนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ถือครองแคว้นเวเนโต
เหตุการณ์ที่ราชอาณาจักรอิตาลีนี้เอง ที่ทำให้นโปเลียนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เขาเป็นต่อ เขาเป็นจ้าวแห่งสนามรบเช่นเดียวกับในทุก ๆ ที่ นครมิลานเกิดสภาพคล้าย ๆ กับพระราชวังเล็ก ๆ รายล้อมนายพลนโปเลียน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของบรรดาเศรษฐีชาวอิตาลีเอาไว้ และได้เปรียบคู่ต่อสู้อยู่มาก แต่เขาก็ยังห่างไกลกับคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสที่มีอำนาจบริหารจัดการประเทศ ในปี 1797 ด้วยแผนการของนายพลโอเฌอโร นโปเลียนได้จัดการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ็น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวกฌากอแบ็งเอาไว้ได้
การทัพอียิปต์
[แก้]ในปี 1798 สภาห้าร้อยมีความกังวลต่อกระแสความนิยมที่ประชาชนมีต่อนโปเลียนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้บัญชาการให้เขานำทัพบุกอียิปต์ โดยอ้างว่าฝรั่งเศสต้องการเข้าครองครองดินแดนตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลางเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของอังกฤษไปยังอินเดีย เนื่องด้วยนโปเลียนชื่นชมยุคแสงสว่างอยู่แล้ว เขาจึงได้ตัดสินใจนำคณะนักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาร่วมทัพไปกับเขาด้วย และจัดตั้งสถาบันอียิปต์ศึกษา ซึ่งในช่วงนี้ หนึ่งในนายทหารหนุ่มผู้ติดตามนโปเลียนอย่างปีแยร์-ฟร็องซัว บูชาร์ ค้นพบศิลาโรเซตตาที่ทำให้นักอียิปตวิทยาอย่างฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง สามารถถอดรหัสไฮโรกลิฟในเวลาต่อมา
หลังจากที่มีชัยในยุทธการที่มงตาบอร์ (ฝรั่งเศสต้องการยึดเมืองในอียิปต์คืนจึงรบกับตุรกีที่มีอังกฤษหนุนหลัง) เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1799 การเดินทัพต่อไปยังซีเรียของนโปเลียนต้องชะงักเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค อันเป็นเหตุให้มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก นโปเลียนได้เข้าจัดการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อกาฬโรคที่เมืองจาฟฟาเท่าที่สามารถทำได้
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1798 นโปเลียนมีชัยต่อกองกำลังมาเมลุก (ทาสรับใช้กาหลิบของจักรวรรดิออตโตมัน) ในยุทธการที่พีระมิด ในสงครามเอ็มบาเบห์ ทำให้ชื่อของเขาขจรขจายไปไกล แต่การพ่ายแพ้ของเขากลับไม่เป็นที่กล่าวถึง เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 1798 กองเรือฝรั่งเศสของนโปเลียนถูกกองเรือของพลเรือโทโฮราชิโอ เนลสัน ทำลายเกือบย่อยยับในการรบที่อ่าวอาบูกีร์
สถานการณ์ระหว่างนโปเลียนกับสมัชชาแห่งชาติดีขึ้น ทำให้เขาสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารประจำอียิปต์ให้กับฌ็อง-บาติสต์ เกลเบร์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส ตลอดเส้นทางกลับกรุงปารีส นโปเลียนได้รับเสียงโห่ร้องชื่นชมจากประชาชนในฐานะวีรบุรุษ อีกด้านหนึ่ง กองทัพฝรั่งเศสในอียิปต์ก็พ่ายแพ้การรบเมื่อ 31 สิงหาคม 1801 หลังจากเสียนายทหารไปกว่า 13,500 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของโรคระบาด
ก่อรัฐประหาร
[แก้]เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ รัฐมนตรีการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส, รอเฌ ดูว์โก (สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์สองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่อียิปต์ และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คณะปฏิรูปหัวก้าวหน้า ซึ่งต้องการรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล
หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้สภาสูงเห็นชอบกับการล้มล้างคณะดีแร็กตัวร์ได้แล้ว แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 เดือนบรูว์แมร์ 1799 (ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภา จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังพระราชวังแซ็ง-กลู บริเวณชานเมืองปารีส เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิฌากอแบ็งกำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปั 1789 เป็นต้นมา สภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ ที่พระราชวังแซ็ง-กลู ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะดีแร็กตัวร์ห้าคน ยกขบวนลาออกจากที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ รวมทั้งให้สภาห้าร้อยเลือกรัฐบาลใหม่ แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวกฌากอแบ็งสองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด
เขาได้นำกำลังทหารกลุ่มเล็กๆเข้าไปในห้องประชุมสภาห้าร้อยที่กำลังถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน และได้พยายามพูดโน้มน้าวให้สภาดังกล่าวยอมรับการโค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์แต่ไม่มีผู้แทนคนใดยอมรับฟัง จากการกระทำอุกอาจของนโปเลียนดังกล่าวทำให้มีผู้เสนอญัตติให้ประกาศนโปเลียนเป็นบุคคลนอกกฎหมาย ซึ่งจะทำให้นโปเลียนหลุดจากตำแหน่งทั้งหมด แต่สถานการณ์กลับตาลปัตรเมื่อมีผู้พยายามลอบแทงนโปเลียนในห้องประชุมสภา ภาพของผู้แทนที่โผล่มาจากทางหน้าต่างเพื่อลอบแทงนโปเลียนแพร่กระจายไปทั่ว นโปเลียนเป็นผู้ได้เปรียบในสถานการณ์นี้อย่างมาก เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร ทำให้นายพลฌออากีม มูว์รา ลูกน้องของนโปเลียน มีข้ออ้างนำกองทัพเข้าล้อมรัฐสภาและก่อรัฐประหารได้สำเร็จในที่สุด
สถาปนาระบอบกงสุล
[แก้]แม้จะก่อรัฐประหารสำเร็จ แต่นโปเลียนก็ยังยึดติดกับรูปแบบการปกครองโดยกระบวนการทางกฎหมาย ในคืนวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ หลังก่อรัฐประหารสำเร็จ คณะผู้แทนยังคงอยู่ที่พระราชวังแซ็ง-กลู เพื่อลงมติเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการสองชุดในการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แสดงให้เห็นได้ว่า นโปเลียนต้องการผลักดันให้มีระบอบการปกครอง ที่กิจการต่าง ๆ ของรัฐผ่านการลงมติจากผู้แทนราษฎร
วันที่ 20 เดือนบรูว์แมร์ กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประเทศ ได้แก่ นโปเลียน, แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส และรอเฌ ดูว์โก นับเป็นจุดเริ่มต้นระบบการปกครองโดยคณะกงสุล นโปเลียนประกาศว่า "สาธารณชนเอ๋ย...การปฏิวัติตามวิถีหลักการที่ได้เริ่มขึ้นมานั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว!"' [8] ระบอบกงสุลเป็นการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเรียกว่าเป็น "ระบอบเผด็จการโดยประชามติ"[9] ซึ่งในความเป็นจริงมีเพียงกงสุลเอกที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือของจักรพรรดิ
จากกงสุลเอกกลายเป็นจักรพรรดิ
[แก้]นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองในระบอบกงสุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็สเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของกฎหมายนโปเลียน แห่งปี 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่
ผลงานทางราชการของนโปเลียนมีต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 1814 เขาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยม ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส ระบบเงินฟรังก์แฌร์มินาล ที่ว่าการอำเภอ สภาที่ปรึกษาของรัฐ ริเริ่มการรังวัดพื้นที่ทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส และจัดตั้งสมาคมเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ (L'ordre national de la Légion d'honneur)
ในปี1800 นโปเลียนได้นำทัพบุกออสเตรียและยึดครองได้สำเร็จ ทำให้ออสเตรียที่พ่ายต่อทัพของนโปเลียนที่ยุทธการเมืองมาเร็งโก และต่อทัพของฌ็อง วิคตอร์ มารี โมโรที่เมืองโฮเฮนลินเดอร์ ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาลูเนวิลล์ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1801 ซึ่งทำให้อังกฤษยอมลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงในเดือนมีนาคม 1801 ในกาลต่อมา ถ้าหากแม้อำนาจของนโปเลียนถูกสั่นคลอนภายหลังก่อรัฐประหาร ชัยชนะในยุทธการที่มาเร็งโกก็ทำให้สถานะของนโปเลียนแข็งแกร่งขึ้นมาก
เขาส่งทหาร 70,000 นายไปยังนิคมแซ็ง-ดอแม็งก์ในทะเลแคริบเบียน ภายใต้การบังคับบัญชาของนาลพล ชาลล์ เลอแคลฺ เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร โดยเฉพาะจากการจับตูแซงต์ ลูแวร์ตูร์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่ฟอร์ เดอ จัวย์ ที่อำเภอดูบส์ วันที่ 7 เมษายน 1803) กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของไข้เหลือง เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขายรัฐลุยเซียนาให้แก้สหรัฐอเมริกา ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1800 (วันคริสต์มาสอีฟ) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรงโอเปร่า รถม้าของกงสุลเอกได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน โฌแซ็ฟ ฟูเช ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวกฌากอแบ็ง การประหารดยุกแห่งอ็องแกงเป็นหนึ่งในผลพวงตามมา
ในปี 1802 นโปเลียนรื้อฟื้นระบบทาสในอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน หญิงชาวเบเกจากหมู่เกาะ มาร์ตีนีก การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี 1848 กว่าความพยายามในการเลิกทาสอย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ
หลังจากที่นโปเลียนได้ขยายอิทธิพลไปถึงสวิส ที่ได้จัดตั้งสถาบันกระจายอำนาจในปัจจุบัน และไปยังเยอรมนี กรณีพิพาทของมอลตาก็เป็นข้ออ้างให้อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้งในปี 1803 รวมทั้งหนุนหลังฝ่ายฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ที่ต่อต้านนโปเลียน นโปเลียนได้ตอบโต้ด้วยแนวคิดในการบุกอังกฤษ และเพื่อข่มขวัญฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ที่อาจจะกำลังลอบวางแผนโค่นล้มเขาอยู่ กงสุลเอกสั่งประหารดยุกแห่งอ็องแกง เจ้าชายแห่งราชวงศ์บูร์บง
การประหารเกิดขึ้นที่เมืองแวงแซนน์ชานกรุงปารีส ภายหลังการไต่สวนที่ถูกจัดฉากให้ดูเป็นไปตามกระบวนการ (ซึ่งก็พบว่าเจ้าชายไม่มีความผิด) มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่ทักท้วง ส่วนรัสเซียและออสเตรียนั้น สงวนท่าทีไม่ยอมทัดทาน ทำให้เกิดเสียงเล่าลือเกี่ยวกับนโปเลียนว่าเป็น รอแบ็สปีแยร์บนหลังม้า (ที่เกาะเซนต์เฮเลนา นโปเลียนยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าตาแลร็องจะมีส่วนพัวพันด้วยก็ตาม) หลังจากได้ก่อความผิดนี้ต่อสาธารณรัฐ และเพื่อไม่ให้กงสุลเอกขึ้นชื่อว่าก่อคดีสังหารบุคคลในราชวงศ์ซ้ำซ้อน นโปเลียนจึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1804
ถ้าจะว่ากันไปแล้ว จักรวรรดิฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคำขอของวุฒิสภา นักประวัติศาสตร์สตีเฟน อิงลุนด์เชื่อในแนวความคิดที่ว่า การสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของนโปเลียนนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ หากนโปเลียนถูกโค่น กลุ่มคนต่างๆ จะล่มสลายไปกับเขาด้วย จักรพรรดิได้กลายมาเป็นสถาบัน ตอกย้ำความยั่งยืนของความเชื่อในการปกครองระบอบสาธารณรัฐ หากนโปเลียนตาย นั่นคือการสูญเสียผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากความโกลาหล และนั่นหมายถึงความสูญเสียของสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (ความเสมอภาค อิสรภาพ และ ความยุติธรรม) การที่เงินเหรียญของทางการฝรั่งเศสจารึกคำว่า จักรพรรดินโปเลียน - สาธารณรัฐฝรั่งเศส นั้น มิใช่คำพูดเสียดสีแต่อย่างใด
การปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้กลายมาเป็นระบอบจักรวรรดินิยม ในภายหลังเท่านั้น เพื่อปกป้องสิ่งที่ได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส
ปราบดาภิเษก
[แก้]พิธีปราบดาภิเษกของนโปเลียนถูกจัดขึ้น ภายใต้พระเนตรของสมเด็จพระสันตะปาปา ที่ไม่ได้รับเกียรติให้สวมมหามงกุฎแก่นโปเลียน แต่ถูกลดบทบาทให้แค่มาร่วมอำนวยพรแก่จักรพรรดิฝรั่งเศสเท่านั้น นโปเลียนประกาศในขณะที่สวมมหามงกุฎให้ตัวเองว่า "ข้าพเจ้าพบมหามงกุฎในลำห้วย ข้าพเจ้าเช็ดโคลนออก แล้วข้าพเจ้าก็สวมมันไว้บนหัวข้าพเจ้า"[10]
นี่นับเป็นโอกาสดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับวาติกัน การลงนามของกงสุลเอกในปี 1801 นั้นมีเนื้อหายอมรับว่าคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชจะต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐ ในการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความกังขาว่า เป็นไปได้หรือที่จะเกิดการฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก ภายในระยะเวลาไม่ถึงสิบปีหลังจากที่หลวงยึดทรัพย์สินของโบสถ์ นโปเลียนสงวนท่าทีต่อหน้าสมเด็จพระสันตะปาปา เขาออกไปต้อนรับพระสันตะปาปาที่ป่าฟงแตนโบล โดยขี่ม้าไปและสวมชุดล่าสัตว์ ทำให้ฉากการพบปะดังกล่าวมีลักษณะเหมือนการพบกันโดยบังเอิญ และเช่นเดียวกัน ในปี 1804 จักรพรรดิมิได้เป็นผู้เดินทางไปประกอบพิธีขึ้นครองราชย์ที่กรุงโรมตามที่จักรพรรดิโรมันเคยกระทำ แต่เป็นพระสันตะปาปาที่ถูกเชิญมายังกรุงปารีสราวกับว่าเป็นนักบวชที่เดินทางมาแสวงบุญ
เราจะเห็นได้ว่า การที่นโปเลียนเข้าหาศาสนจักรนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์เฉพาะอย่าง (สร้างสัมพันธ์ระหว่างคาทอลิกกับฝรั่งเศส และทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากับกษัตริย์อย่างถูกต้อง) และเมื่อพระสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่องต่อคำสั่งของนโปเลียน เขาก็ไม่รอช้าที่จะขังพระสันตะปาปาไว้ในพระราชวังฟงแตนโบล
จักรวรรดิเรืองอำนาจ
[แก้]ในปี 1804 ยังไม่ถึงเวลาแห่งการออกรบครั้งใหญ่เพื่อยึดครองดินแดน และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งยึดติดกับแนวความคิดว่า สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ ต่อเมื่อปราบสหราชอาณาจักรลงได้เท่านั้น ได้ร่วมกับพลเรือเอกลาตุชเชอ-เตรวิลล์ (ผู้ซึ่งเสียชีวิตก่อนจะกระทำการสำเร็จ) วางแผนรุกรานเกาะอังกฤษ ซึ่งเป็นแผนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากการรบที่ยุทธนาวีทราฟัลการ์ กองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนที่บัญชาการโดยพลเรือโท วีลเนิฟว์ ถูกพลเรือโท ลอร์ด เนลสัน แห่งราชนาวีอังกฤษตีจนแตกพ่าย ทำให้สหราชอาณาจักร กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นจวบจนในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา
ในปีเดียวกันนั้นเอง (1805) ได้มีการสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมืองบูลอญในฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จากยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "สงครามสามจักรพรรดิ"
ในปี 1806 สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ได้เริ่มต้นขึ้น ปรัสเซียได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ โดยพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ตัดสินพระทัยที่จะทำสงครามกับกองทัพฝรั่งเศสโดยลำพัง ตามตำนานเล่าว่านายพลคาร์ล ฟ็อน เคลาเซอวิทซ์ นักทฤษฎีทางทหารเคยเสนอแผนการรบที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นแผนการที่จักรพรรดินโปเลียนยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งโลก" ของเฮเกิลมาใช้ แต่แผนรบดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบัญชาการของกองทัพปรัสเซีย อย่างไรก็ดีกองทัพใหญ่ของนโปเลียนมีความได้เปรียบมาก เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ชายแดนปรัสเซีย นโปเลียนจึงทรงลงมือโจมตีก่อนและได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท โดยกองทัพหลวงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซียในยุทธการที่เยนาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในขณะที่จอมพลหลุยส์-นีกอลา ดาวูตีทัพใหญ่ของจอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์แตกพ่ายไปในสมภูมิที่เมืองเอาเออร์ชเต็ท แม้ว่าทัพหลวงของปรัสเซียจะมีจำนวนทหารเหนือกว่ากองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยจอมพลหลุยส์-นีกอลา มากก็ตาม ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์บาดเจ็บสาหัสในที่รบ ทหารของปรัสเซียที่แตกมาจากยุทธการที่เยนาทะลักเข้ามาสู่ยุทธการที่เอาเออร์ชเต็ท นำไปสู่ความเสียขวัญและความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด จอมพลดาวูจึงได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ให้เป็น ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท เพราะความชอบในครั้งนี้
แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาพระองค์ได้ทรงเดินทัพข้ามโปแลนด์ โดยทรงสถาปนาดัชชีวอร์ซอขึ้นและให้พันธมิตรของฝรั่งเศสปกครอง จากนั้นนโปเลียนได้ยกกองทัพขึ้นเหนือเพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซีย นโปเลียนรบชนะกองทัพรัสเซียที่ยุทธการที่ฟรีทลันท์ในวันที่ 14 มิถุนายน 1807 ทางฝ่ายรัสเซียต้องขอยอมสงบศึก และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมืองทิลสิทในเดือนกรกฎาคม 1807 กับจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)
นโปเลียนผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวง ได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น นั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในยุทธการเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย
ในปี 1808 จักรพรรดินโปเลียนสร้างระบบศักดินาของจักรวรรดิฝรั่งเศสให้แก่กลุ่มชนชั้นสูงที่แวดล้อมพระองค์ ไม่นานต่อมา บรรดานายพันและนายพลของนโปเลียนต่างได้รับยศขุนนาง เคานต์แห่งจักรวรรดิ เจ้าชายแห่งเนอชาแตล ดยุกแห่งเอาเออร์ชเต็ท ดยุกแห่งมองต์เบลโล ดยุกแห่งดันท์ซิช ดยุกแห่งเอลชิงเกน กษัตริย์แห่งนาโปลี ฯลฯ
จากกรุงอัมสเตอร์ดัมถึงกรุงโรม จักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 70 ล้านคน โดยมีเพียง 30 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นชาวฝรั่งเศส
ปฏิบัติการที่คาบสมุทรไอบีเรีย ออสเตรีย และรัสเซีย
[แก้]เนื่องด้วยแนวคิดของอังกฤษที่จะกีดกันเรือสินค้าฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เลยพยายามจะบังคับให้เกิดการกีดกันภาคพื้นทวีป โดยมีวัตถุประสงค์จะหยุดยั้งกิจกรรมทางการพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอังกฤษ โปรตุเกส อันเป็นประเทศพันธมิตรของอังกฤษมาเป็นเวลาช้านาน ปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญานี้ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงทรงขอความช่วยเหลือจากสเปนในการบุกโปรตุเกส ในที่สุดพระองค์ก็ได้รุกรานประเทศสเปน และตั้งโฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พี่ชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองที่นั่น และโปรตุเกสก็ถูกจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานเช่นกันในปี 1807 ประชากรส่วนหนึ่งของสเปนที่คลั่งใคล้ในกลุ่มนักบวชได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวฝรั่งเศส ในไม่ช้า กองพลทหารราบฝีมือเยี่ยมของอังกฤษ บัญชาการโดยว่าที่ดยุกแห่งเวลลิงตัน (อาร์เธอร์ เวลสลีย์) ก็ได้เคลื่อนทัพสู่สเปน โดยผ่านโปรตุเกสในปี 1808 และด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มผู้รักชาติชาวสเปน ก็ได้ผลักดันกองทัพฝรั่งเศสออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ในขณะที่กองทหารที่ฝีมือดีที่สุดของฝรั่งเศสกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในสเปน ออสเตรียก็ได้บุกฝรั่งเศสอีกครั้งจากแถบเยอรมนี และถูกปราบลงอย่างราบคาบในยุทธการวากร็อง จอมพลลานส์ เพื่อนและผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ของจักรพรรดิจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองเอสลิง
หลังจากที่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตีสหราชอาณาจักร จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพบุกรัสเซียในปี 1812 กองทัพใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตรอิตาลี เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม แม่น้ำนีเมน
กองทัพรัสเซียในบัญชาของจอมพลมีฮาอิล คูตูซอฟ ใช้กลยุทธ์ผลาญภพในการต้านการรุกรานของฝรั่งเศส การรบที่มอสโกเมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนพอกัน
วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโก ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโกในทันที ทำให้จักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดนแถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากซาร์ซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย
กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามาและถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้ามแม่น้ำเบเรซินากลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี กองทัพใหญ่ของจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ
หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายจักพรรดินโปเลียนที่ 1 และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งถูกคนในกองทัพของพระองค์เองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่ยุทธการที่ไลพ์ซิจ หรือที่รู้จักในนามของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย (รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี สวีเดน) จอมพลยูแซฟ อันตอญี ปอญาตอฟสกี เจ้าชายแห่งโปแลนด์และพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้ามแม่น้ำเอลสเตอร์ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน
ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส
[แก้]ในปี 1814 สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ปรัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ ฌองโปแบร์ และมองต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี หลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามจักรพรรดินีมารี หลุยส์ มเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และบรรดาจอมพลรวมตัวโน้มน้าวให้จักรพรรดินโปเลียนสละราชสมบัติ
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินี และนโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์ ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้เสวยยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เอง ยาพิษดังกล่าวคือฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน นโปเลียนเลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของตนจะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในยุทธการ
หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าไป นโปเลียนประกาศต่อหลุยส์ เดอ โกแล็งกูร์ ว่า "ข้าตายด้วยความทุกข์ ข้าทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพช้ากว่าเดิม!"
อาการคลื่นเหียนอาเจียนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมาอย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง จักรพรรดินโปเลียนทรงขอให้แพทย์ถวายยาพิษอีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด
ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โกแล็งกูร์ออกจากห้องและบอกให้ข้าราชบริพารเงียบเสียง นโปเลียนเรียกโกแล็งกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา และแล้วยาพิษก็คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด แต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นในปริมาณขนาดนั้น ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง
ท้ายที่สุด นโปเลียนเนรเทศตนเองเองไปยังเกาะเอลบาตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟงแตนโบล โดยยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ และมีอำนาจการปกครองเฉพาะบนเกาะแห่งนี้
คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน
[แก้]ที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงขับจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 และขึ้นครองราชย์แทน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เป็นกังวลเกี่ยวกับชะตากรรมของพระมเหสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพระโอรสของพระองค์ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกออสเตรีย รัฐบาลฝรั่งเศสที่ฝักใฝ่ระบอบกษัตริย์ปฏิเสธจะจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ตามสัญญาในที่สุด และมีข่าวลือว่าเขากำลังจะถูกส่งตัวไปยังเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก
ดังนั้น จักรพรรดินโปเลียนที่หลบหนีออกจากการคุมขังบนเกาะเอลบา ได้ขึ้นสู่ฝั่งบนแผ่นดินฝรั่งเศสใกล้กับเมืองคานส์ เมื่อเดือนมีนาคม 1815 กองทัพที่ถูกส่งไปจับกุมตัวเขากลับมาต่างโห่ร้องต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษตลอดเส้นทางจากชายฝั่งริเวียราฝรั่งเศส ขึ้นมายังเมืองลียอง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถูกเรียกว่า "ถนนสายจักรพรรดินโปเลียนที่ 1" ไปแล้ว จอมพลมิเชล ไนยผู้ซึ่งได้สาบานต่อหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ว่าจะนำจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับมาในกรงเหล็ก ก็รู้สึกโอนอ่อนเข้าหาฝ่ายจักรพรรดิเดิมของตน (หลังที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินอย่างอุกอาจเข้าไปประกาศต่อฝูงชนว่า "ทหารแห่งกองพล 5 เราคือจักรพรรดิของพวกเจ้า พวกเจ้าก็รู้จักเราดีอยู่แล้วมิใช่หรือ ถ้าหากมีใครในหมู่พวกเจ้าทั้งหลายมาเพื่อที่จะจับจักรพรรดิของเจ้า เราก็อยู่ที่นี่แล้ว") ทำให้เขากลายเป็นจอมพลคนเดียวที่ถูกจับกุมในข้อหาทรราชย์ หลังจากการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ครั้งที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เดินทางถึงกรุงปารีสอย่างง่ายดาย ช่วงเวลา"คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน" เริ่มต้นขึ้น แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของเขาพ่ายการรบกับอังกฤษและปรัสเซียที่ยุทธการวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1815 จอมพลกรูชีไม่สามารถต้านทานกองทัพร่วมระหว่างอังกฤษและปรัสเซียได้ เนื่องจากเป็นทัพหลวงที่ยกมา
ถูกเนรเทศไปเกาะเซนต์เฮเลนา และกำเนิดของตำนาน
[แก้]จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ตามบัญชาการของเซอร์ฮัดสัน โลว พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดีบางส่วน รวมถึงเคานต์ลาส กาสด้วย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา ทรงอุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพระราชพินัยกรรม และหมายเหตุพระราชพินัยกรรมหลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ "...ฝรั่งเศส...กองทัพ...โฌเซฟีน" (France, armée, Joséphine) หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะเซนต์เฮเลนา" คือ "...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้า!"
ในปี 1995 จดหมายเหตุของเคานต์ลุยส์ มาร์ชองด์ ข้ารับใช้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์ ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วยสารหนู ในปี 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมืองสทราซบูร์ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนูในเส้นพระเกศา (ผม) ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า การวิเคราะห์ของนิตยสาร วิทยาศาสตร์และชีวิต ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่างที่เก็บได้มาจากปี 1805, 1814 และ 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผมพ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวรรคตจากพระโรคมะเร็งในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัยยังได้สำรวจกางเกงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือนก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงขอให้ฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ริมฝั่งแม่น้ำแซน แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1821 พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกปลงที่เกาะเซนต์เฮเลนา ในปี 1840 พระบรมอัฐิได้ถูกเชิญกลับมายังประเทศฝรั่งเศสด้วยการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และได้ถูกฝังไว้ที่ออแตลเดแซ็งวาลีดในกรุงปารีส โดยใส่ไว้ในโถที่ทำด้วยหินเนื้อดอก (อันเป็นของขวัญที่รัสเซียมอบให้แก่ฝรั่งเศส)
มุมมองร่วมสมัยที่มีต่อนโปเลียน
[แก้]- ชัปตาล: นโปเลียนได้ใช้พระองค์เองเป็นจดหมายเหตุเพื่อทำสงครามกับศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกอังกฤษ พระองค์ได้ทรงเขียนบันทึกทุกฉบับด้วยพระองค์เอง สำหรับให้ลงในหนังสือพิมพ์ le Moniteur เพื่อตอบโต้บทวิจารณ์ที่ขมขื่นและข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นจริงที่ได้ถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์อังกฤษ เมื่อพระองค์ได้ทรงตีพิมพ์บันทึกฉบับหนึ่ง พระองค์ทรงเชื่อว่าสามารถโน้มน้ามผู้อ่านได้แล้ว เราคงจำกันได้ว่าบันทึกส่วนใหญ่ไม่ใช่ต้นแบบที่ดีของงานเขียน หรือตัวอย่างที่ดีของวรรณกรรม แต่พระองค์ก็มิได้ทรงตีพิมพ์อะไรที่แสดงให้เห็นถึงบุคลิกของพระองค์ หรือความสามารถที่พระองค์มีเอาไว้เลย
ผลงานของนโปเลียน โบนาปาร์ต
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ยัว อิมพีเรียล มาเจสตี |
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้านโปเลียนแห่งอิตาลี | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
การทูล | ยัว มาเจสตี |
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งกงสุลเอก
[แก้]- 13 ธันวาคม 1799 (วันที่ 22 เดือนฟรีแมร์ ปีที่ 8 ตามระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส) มาตราที่ 52 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส สถาปนาคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐฝรั่งเศส
- 13 ธันวาคม 1799 (วันที่ 22 เดือนฟรีแมร์ ปีที่ 8) สถาปนาวุฒิสภาฝรั่งเศส
- 13 กุมภาพันธ์ 1800 (วันที่ 24 เดือนปลูวิโอส ปีที่ 8) สถาปนาธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศส
- 17 กุมภาพันธ์ 1800 (วันที่ 28 เดือนปลูวิโอส ปีที่ 8) ก่อตั้งที่ทำการอำเภอ
- 8 เมษายน 1802 (วันที่ 18 เดือนแจร์มินาล ปีที่ 10) ลงพระนามร่วมกับสมเด็จพระสันตปาปาปีอุสที่ 7 ในความตกลงว่าด้วยเรื่องศาสนาของประเทศ
- 1 พฤษภาคม 1802 (วันที่ 11 เดือนฟลอเรอาล ปีที่ 10) กงสุลเอกโบนาปาร์ตได้สถาปนาโรงเรียนมัธยมในฝรั่งเศส
- 19 พฤษภาคม 1802 (วันที่ 29 เดือนฟลอเรอาล ปีที่ 10) ได้สถาปนาสมาคมเครื่องราชอิศริยาภรณ์แห่งชาติ
- 24 ธันวาคม 1802 ก่อตั้งหอการค้า 22 แห่ง
- 7 เมษายน 1803 (วันที่ 17 เดือนแฌร์มินาล ปีที่ 11) ได้ริเริ่มระบบเงินฟรังก์แจร์มินาล
- 21 มีนาคม 1804 (วันที่ 30 เดือนเวนโตส ปีที่ 12) ประมวลกฎหมายแพ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้
ในช่วงที่เป็นจักรพรรดิ
[แก้]- 18 มีนาคม 1806 (วันทื่ 21 เดือนแจร์มินาล ปีที่ 9) สถาปนาคณะที่ปรึกษาพรูดอม
- 10 พฤษภาคม 1806 สถาปนามหาวิทยาลัยแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้นเป็นแห่งแรก (ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1257)
- ในปี 1806 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระราชดำริให้สร้างประตูชัยขึ้นที่จตุรัสเดอเลตวล
- 9 กุมภาพันธ์ 1807 ทรงรื้อฟื้นระบบศาลสูงของศาสนายิว (ทำให้ชาวยิวสามารถปรับตัวเข้ากับการพำนักอาศัยในจักรวรรดิฝรั่งเศสได้ง่ายขึ้น)
- 16 กันยายน 1807 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงสถาปนาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้น
- ในปี 1807 นโปเลียนได้มอบหมายให้ อเล็กซองเดรอ เธโอดอร์ บร็องจ์นิอาร์ รับผิดชอบในการก่อสร้างตลาดหุ้นฝรั่งเศสขึ้นในกาลต่อมา
- 17 มีนาคม 1808 นโปเลียนมีพระราชดำริโปรดเกล้าให้สร้างระบบสอบไล่มาตรฐานขั้นมัธยมศึกษาแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้น
- 12 มีนาคม 1810 มีพระราชดำริโปรดเกล้าให้ตรากฎหมายอาญาแห่งชาติฝรั่งเศสขึ้น
ครอบครัว
[แก้]การสมรสและโอรสธิดา
[แก้]นโปเลียนสมรสสองครั้ง :
- เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1796 (เมื่อครั้งยังเป็นนายพลก่อนออกปฏิบัติการในอียิปต์) ได้เข้าพิธีสมรสกับนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน แม่ม่ายลูกติดชาวฝรั่งเศสเชื้อสายเบเก จากหมู่เกาะมาร์ตีนีก ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพิธีขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน เนื่องจากนางมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีโอรสธิดาให้กับนโปเลียนได้ ซึ่งการที่องค์จักรพรรดิไร้ซึ่งผู้สืบทอดบัลลังก์ดังกล่าวถูกมองว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของจักรวรรดิ การสมรสครั้งนี้จึงจบลงด้วยการหย่าร้าง
- เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1810 ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส (โดยฉันทะ) กับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีและหลีกเลี่ยงสงครามกับ อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ได้แก่ นโปเลียนที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งจากนโปเลียนให้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุงโรม ดยุกแห่งไรช์ชตาดท์ แต่เรามักจะเรียกพระองค์ว่านโปเลียนที่ 2 เสียมากกว่า แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอย่างแท้จริงเลยก็ตาม ถ้าจะว่ากันตามทฤษฎีแล้ว รัชสมัยของพระองค์กินระยะเวลาเพียง 15 วัน ระหว่างวันที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกบังคับให้สละพระราชบัลลังก์ครั้งแรก จนกระทั่งมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง พระฉายานามว่า เหยี่ยวน้อย นั้นมาจากบทกวีของวิคเตอร์ มารี อูโก ที่ประพันธ์ขึ้นในปี 1852
นโปเลียนยังมีบุตรนอกสมรสอีกอย่างน้อยสองคน ซึ่งทั้งสองคนนั้นต่างก็มีทายาทสืบต่อมา:
- เคานต์ชาร์ล เลอง (ชาตะ 1806 มรณะ 1881) บุตรชายของนางแคทเทอรีน เอเลนอร์ เดอนูเอลล์ เดอ ลา เปลจเนอ (ชาตะ 1787 มรณะ 1868)
- เคานต์ฟลอเรียน โจเซฟ โคโลนนา วาลูวสกา (ชาตะ 4 พฤษภาคม 1810 มรณะ 27 ตุลาคม 1868) บุตรชายของเค้าน์เตสมารี วาลูวสกา (ชาตะ 1789 มรณะ 1817)
และจากแหล่งข้อมูลที่ยังเป็นที่ถกเถียงกัน:
- เอมิลลี ลุยส์ มารี ฟร็องซวส โฌซฟีน เปลลาปรา บุตรสาวของฟร็องซัวส-มารี เลอรัว
- คาร์ล ยูจัง ฟอน มูห์ลเฟลด์ บุตรชายของวิคตอเรีย โครส์
- เอเลน นโปเลโอน โบนาปาร์ต บุตรสาวของเค้าน์เตสมองโตลอง
- จูลส์ บาร์เธเลมี-ซังต์-ติแลร์ (ชาตะ 19 สิงหาคม 1805 มรณะ 24 พฤศจิกายน 1895) โดยไม่ทราบว่ามารดาของเขาเป็นใคร
พี่น้องของนโปเลียน
[แก้]- กาโรลีน โบนาปาร์ต
- เอลิซ่า โบนาปาร์ต
- เฌโรม โบนาปาร์ต
- โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต
- หลุยส์ โบนาปาร์ต
- ลูว์เซียง โบนาปาร์ต
- เปาลีน โบนาปาร์ต
หลานชาย-หญิง
[แก้]- นโปเลียนที่ 3 (ชาร์ล หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต) หลานชาย ได้ใช้โอกาสจากความมีชื่อเสียงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ในช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 จากนั้นก็ได้ยึดอำนาจและก่อตั้งจักรวรรดิที่ 2 ขึ้น และเป็นจักรพรรดิปกครองฝรั่งเศสภายใต้พระนามว่านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ตลอดการครองราชย์ของพระองค์ ได้มีการประกาศใช้กฎหมายทางสังคมและกฎหมายสมัยใหม่จำนวนมาก พระองค์พ่ายแพ้สงครามและยอมมอบตัวให้กับปรัสเซียในปี 1870 จากการรบที่ยุทธการเซดาน
- ปีแยร์-นโปเลียน โบนาปาร์ต
- ชาร์ล ลูว์เซียง โบนาปาร์ต นักสัตววิทยา
เชื้อสายของนโปเลียนที่โด่งดัง
[แก้]หนังสือชีวประวัติเกี่ยวกับนโปเลียน
[แก้]- Jean Tulard, Napoléon ou le Mythe du Sauveur
- Jean Tulard (dir.) , Dictionnaire Napoléon
- Thierry Lentz (en collaboration) , Autour de l'empoisonnement de Napoléon, préfacé par Jean Tulard, Éd. Nouveau Monde, 2002
- Thierry Lentz, le Sacre de Napoléon, Éd. Nouveau Monde, 2003
- Thierry Lentz, Napoléon, Presses universitaires de France, coll. « Que sais-je ? », 2003
- André Suarès, Vues sur Napoléon, Grasset, 1933
- Adolphe Thiers, Histoire du Consulat et de l'Empire
- Chaptal, Mes souvenirs sur Napoléon
- François-René de Chateaubriand, Mémoires d'Outre-Tombe, livres XXIX à XXII
- Jacques Bainville, Napoléon, 1931
- Steven Englund, Napoléon « a political life », 2003
- Didier Le Gall, Napoléon et le Mémorial de Sainte-Hélène, Analyse d'un discours, Préface de Jean-Paul Bertaud, Editions Kimé, 2003.
- Maximilien Vox, Napoléon. Paris (France). Éditions du Seuil, collection Le temps qui court. 1959. 184 pages. Cote dewey : 923.1 N216v
- โตลสตอย, Guerre et Paix
- สต็องดาล, La Chartreuse de Parme
- ปาทริก ล็อมโบ, La Bataille
ภาพยนตร์เกี่ยวกับนโปเลียน
[แก้]- พ.ศ. 2455 (1912) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Louis Feuillade (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2470 (1927) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Albert Dieudonné (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2472 (1929) : ซังต์เตเลน (Napoleon auf St. Helena) อำนวยการสร้างโดย Lupu-Pick นำแสดงโดย Werner Krauss (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2477 (1934) : นโปเลียน โบนาปาร์ต อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Albert Dieudonné (นำภาพยนตร์ในปี 1927 มาสร้างใหม่ มีเสียงประกอบ) (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2478 (1935) : Campo di maggio อำนวยการสร้างโดย Giovacchino Forzano นำแสดงโดย Corrado Racca (อิตาลี)
- พ.ศ. 2484 (1941) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Luis César Amadori (อาร์เจนตินา)
- พ.ศ. 2498 (1955) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Sacha Guitry นำแสดงโดย Daniel Gélin (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2503 (1960) : เอาชแตร์ลิทซ์ อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Pierre Mondy (ฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2513 (1970) : วอเตอร์ลู อำนวยการสร้างโดย Serge Bondartchouk นำแสดงโดย Rod Steiger (อิตาลี และ สหภาพโซเวียต)
- พ.ศ. 2514 (1971) : โบนาปาร์ตกับการปฏิวัติ อำนวยการสร้างโดย Abel Gance นำแสดงโดย Albert Dieudonné (นำมาสร้างใหม่จากภาคเดิมเมื่อปี 1927 และ 1934) (ละครโทรทํศน์ ออกอากาศในฝรั่งเศส)
- พ.ศ. 2532 (1989) :นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย András Sólyom นำแสดงโดย Péter Rudolf (ละครโทรทํศน์ ออกอากาศในฮังการี)
- พ.ศ. 2533 (1990) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย José Fonseca e Costa, Eberhard Itzenplitz, Pierre Lary, Janusz Majewski, Krzysztof Zanussi นำแสดงโดย Jean-François Stévenin (ภาพยนตร์โทรทัศน์ ออกอากาศในฝรั่งเศส โปแลนด์ เบลเยียม แคนาดา)
- พ.ศ. 2542 (1999) : Pan Tadeusz อำนวยการสร้างโดย Andrzej Wajda นำแสดงโดย Henryk Baranowski (โปแลนด์)
- พ.ศ. 2543 (2000) : นโปเลียน อำนวยการสร้างโดย Yves Simoneau นำแสดงโดย Christian Clavier (ละครโทรทัศน์ ออกอากาศในฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา สหรัฐ และสหราชอาณาจักร)
- พ.ศ.2566 (2023) : "จักรพรรดินโปเลียน" กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ นำแสดงโดย วาคีน ฟินิกซ์ (สหรัฐอเมริกา)
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ McLynn 1998, p.6
- ↑ McLynn 1998, p.2
- ↑ Cronin 1994, p.20–21
- ↑ Cronin 1994, p.27
- ↑ Roberts 2001, p.xvi
- ↑ Asprey 2000, p.13
- ↑ McLynn 1998, p.55
- ↑ ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศส: "Citoyen,la Révolution est fixée aux principe qui l'avait commencée elle est finie!"
- ↑ Lyons 1994, p. 111
- ↑ ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศศ: "J'ai trouvé une couronne dans le ruisseau, j'ai essuyé la boue qui la couvrait, je l'ai mise sur ma tête."
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Napoleonic Guide
- Napoleon Series
- International Napoleonic Society
- Biography by the US Public Broadcasting Service
- ผลงานของ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่โครงการกูเทินแบร์ค
- Hit the road with Napoleon
ก่อนหน้า | จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สาธารณรัฐที่ 1 ลำดับก่อนหน้าโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในฐานะกษัตริย์ |
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส (18 พฤษภาคม 1804 – 11 เมษายน 1814) |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในฐานะกษัตริย์ | ||
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในฐานะกษัตริย์ |
จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส (สมัยร้อยวัน) (20 มีนาคม – 22 มิถุนายน 1815) |
นโปเลียนที่ 2 ไม่เสวยราชย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ในฐานะกษัตริย์ | ||
จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | กษัตริย์แห่งอิตาลี (17 มีนาคม 1805 – 11 เมษายน 1814) |
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ราชอาณาจักรอิตาลียุคใหม่ |
- หน้ากำลังใช้แม่แบบ Lang-xx
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2312
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2364
- จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
- จักรพรรดิฝรั่งเศส
- พระมหากษัตริย์เยอรมนี
- ราชวงศ์โบนาปาร์ต
- พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์
- มหาราช
- มหาราชแห่งประเทศฝรั่งเศส
- พระมหากษัตริย์อิตาลี
- บุคคลในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
- ทหารในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
- บุคคลในสงครามนโปเลียนชาวฝรั่งเศส
- ทหารในสงครามนโปเลียน
- ผู้นำในสงครามนโปเลียน
- บุคคลจากอาฌักซีโย
- เสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลี
- พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชสมบัติ
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส
- พระมหากษัตริย์ผู้ทรงก่อตั้ง