อักษรฮันจา
อักษรฮันจา | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ศตวรรษที่ 4 - ปัจจุบัน |
ภาษาพูด | ภาษาเกาหลี |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบพี่น้อง | คันจิ, จู้อิน, จีนตัวเต็ม, จื๋อโนม, คีตัน, จูร์เชน, ตันกุต |
อักษรฮันจา | |
ชื่อเกาหลี | |
---|---|
ฮันกึล | |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Hanja |
เอ็มอาร์ | hancha |
ฮันจา (ฮันจา: 漢字, ฮันกึล: 한자) หรือ ฮันมุน บางครั้งเรียกว่า อักษรจีน-เกาหลี หมายถึงอักษรจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาเกาหลี และออกเสียงเป็นภาษาจีนแต่ในสำเนียงของภาษาเกาหลี ตัวอักษรฮันจาไม่เหมือนตัวอักษรคันจิ ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกปรับปรุงและย่อแบบญี่ปุ่นไปหลายตัว ในขณะที่อักษรฮันจาใช้ตัวอักษรจีนตัวเต็ม มีเพียงส่วนน้อยที่ย่อและใช้เหมือนตัวอักษรคันจิ
ประวัติ
[แก้]ตัวอักษรจีนได้แพร่เข้าสู่อาณาจักรเกาหลีผ่านพระพุทธศาสนา และชาวเกาหลีได้ปรับใช้ให้เข้ากับไวยากรณ์ภาษาเกาหลี และต่อมาได้แพร่สู่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ตำราที่นำตัวอักษรฮันจาเผยแพร่สู่เกาหลีมิได้เป็นวรรณกรรมทางศาสนา ตำรานั้นมีชื่อว่า "อักษรพันตัว" (จีน: 千字文, ฮันกึล: 천자문 Cheonjamun, อังกฤษ: Thousand Character Classic) อักษรฮันจาได้ใช้ในการเขียนภาษาเกาหลีตลอดมา จนกระทั่งพระเจ้าเซจง ได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรฮันกึลขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1987 - 1989 อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเผยแพร่อักษรฮันกึลแล้ว บัณฑิตเกาหลีจำนวนมากก็ยังคงใช้ตัวอักษรฮันจา จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 อักษรฮันกึลได้แทนอักษรฮันจาโดยสมบูรณ์ เกาหลีเหนือได้ยกเลิกการใช้อักษรฮันจาตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2492 (โดยให้เขียนอักษรแนวนอนจากที่แต่เดิมเขียนแนวตั้ง) เนื่องจากคิม อิล-ซ็องได้กล่าวว่าตัวอักษรฮันจาเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ หลายคำที่ยืมจากภาษาจีนได้ถูกแทนที่โดยคำเกาหลีดั้งเดิม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- BRUCE K. GRANT, KOREAN CHARACTERS (a Mini-Dictionary of Characters for Modern Readers) ISBN 0-930878-13-2