ยูโรไมดาน
ยูโรไมดาน | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ วิกฤติการณ์ยูเครน | |||
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: ธงยุโรป (EU) ที่ถูกชูที่ไมดานเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013, รัสลานากับกลุ่มผู้ประท้วงที่ไมดานในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013, กลุ่มผู้สนับสนุน EU ที่ไมดาน, กลุ่มยูโรไมดานที่จตุรัสยุโรป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม, ต้นไม้ที่ตกแต่งด้วยธงกับโปสเตอร์, ฝูงชนฉีดน้ำที่มีลิตซียา, ฐานของอนุสาวรีย์เลนินที่ถูกโค่นล้ม | |||
วันที่ | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 (มีกลุ่มเล็กอีก จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2014) | ||
สถานที่ | ประเทศยูเครน, ส่วนใหญ่เกิดที่เคียฟ | ||
สาเหตุ | เหตุหลัก:
เหตุอื่น ๆ:
| ||
เป้าหมาย |
| ||
วิธีการ | การเดินขบวน, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การดื้อแพ่ง, civil resistance, hacktivism,[11] occupation of administrative buildings[nb 1] | ||
ผล |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
จำนวน | |||
ความสูญเสีย | |||
สงครามรัสเซีย-ยูเครน |
---|
หัวข้อหลัก |
หัวข้อสำคัญ |
หัวข้อเกี่ยวเนื่อง |
ยูโรไมดาน (อังกฤษ: Euromaidan, ยูเครน: Євромайдан, Yevromaidan ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เป็นคลื่นการเดินขบวนในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้มีบูรณาการยุโรปใกล้ชิดยิ่งขึ้น นับแต่นั้นขอบเขตการประท้วงวิวัฒนาขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูคอวิชและรัฐบาลลาออกจำนวนมาก[74] ผู้ประท้วงยังประกาศว่าพวกตนเข้าร่วมเพราะการขับไล่ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และ "ความประสงค์เปลี่ยนแปลงชีวิตในยูเครน"[5] จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 การประท้วงได้มีเชื้อจากความเข้าใจการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล การละเมิดอำนาจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยูเครน[75]
การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น[76] ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[77] สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)[78] ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[78] รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง[78] นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว[77] วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้ก้อนหินและหิมะ โดยตำรวจเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น[79] แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น "การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์"[80]
การประท้วงยังดำเนินอยู่แม้จะมีตำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก[81][82] อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและหิมะเป็นปกติ ความรุนแรงทวีขึ้นในเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน จากกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำให้ระดับการประท้วงยกสูงขึ้น โดยมีผู้ประท้วง 400,000–800,000 คนเดินขบวนในเคียฟในวันสุดสัปดาห์ 1 ธันวาคมและ 8 ธันวาคม[83] หลายสัปดาห์นับจากนั้น ผู้เข้าร่วมการประท้วงอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนระหว่างการชุมนุมที่มีการจัดตั้ง[84][85] เหตุจลาจลรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม และวันที่ 19 ถึง 25 มกราคมเพื่อสนองต่อความทารุณของตำรวจ (police brutality) และการปราบปรามของรัฐบาล[86] ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม อาคารผู้ว่าการหลายแห่งและสภาภูมิภาคหลายแห่งในทางตะวันตกของประเทศถูกยึดในการก่อการกำเริบโดยนักเคลื่อนไหวยูโรไมดาน[15]
ตามการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนธันวาคม 2556 (จัดทำโดยผู้สำรวจสามแห่ง) ผลปรากฏว่า ชาวยูเครนระหว่าง 45% และกว่า 50% สนับสนุนยูโรไมดาน ขณะที่มีผู้คัดค้านระหว่าง 42% ถึง 50%[87][88][89] พบว่าผู้สนับสนุนการประท้วงมากที่สุดอยู่ในเคียฟ (ราว 75%) และยูเครนตะวันตก (กว่า 80%)[87][90] ในการสำรวจความคิดเห็นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ผู้ประท้วง 73% ตั้งใจว่าจะประท้วงต่อไปในเคียฟนานจนกว่าข้อเรียกร้องของพวกตนจะได้รับการตอบสนอง[5] การสำรวจความคิดเห็นยังแสดงว่าประชาชนต่างวัยมีความเห็นแตกต่างกัน ขณะที่คนหนุ่มสาวส่วนมากสนับสนุนสหภาพยุโรป คนสูงวัย (กว่า 50 ปี) มักสนับสนุนสหภาพศุลกากรเบลารุส คาซัคสถานและรัสเซียมากกว่า[91]
จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อสมาชิกพรรคของประธานาธิบดีที่หลบหนีหรือแปรพักตร์มีจำนวนมากพอกระทั่งพรรคเสียเสียงข้างมากในรัฐสภายูเครน ส่งผลให้ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก และมีองค์ประชุมเพียงพอในที่สุด ทำให้รัฐสภาสามารถผ่านชุดกฎหมายซึ่งถอนตำรวจออกจากเคียฟ ยกเลิกปฏิบัติการต่อต้านการประท้วง ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญปี 2547 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และถอดถอนประธานาธิบดียานูโควิช ต่อมา ยานูโควิชหลบหนีไปยังเมืองคาร์คิฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของรัฐสภา รัฐสภากำหนดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเดือนพฤษภาคม 2557[92][93]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "EuroMaidan rallies in Ukraine – Nov. 21–23 coverage". Kyiv Post. 25 November 2013.
- ↑ Snyder, Timothy (3 February 2014). "Don't Let Putin Grab Ukraine". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
The current crisis in Ukraine began because of Russian foreign policy.
- ↑ Calamur, Krishnadev (19 February 2014). "4 Things To Know About What's Happening in Ukraine". Parallels (World Wide Web log). NPR. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Spolsky, Danylo. "One minister's dark warning and the ray of hope". Kyiv Post (editorial). สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Ukrainian opposition uses polls to bolster cause". Euronews. 13 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-28. สืบค้นเมื่อ 2014-02-01. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "3011crackdownRtP" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Where did the downfall of Ukraine's President Viktor Yanukovych begin?". Public Radio International. 24 February 2014.
- ↑ "Ukrainian opposition calls for President Yanukovych's impeachment". Kyiv Post. Interfax-Ukraine. 21 November 2013. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
- ↑ Herszenhorn, David M. (1 December 2013). "Thousands of Protesters in Ukraine Demand Leader's Resignation". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 December 2013.
- ↑ Bonner, Brian (21 November 2013). "Two petition drives take aim at Yanukovych". Kyiv Post. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
- ↑ "EuroMaidan passes an anti-Customs Union resolution". Kyiv Post. Interfax-Ukraine. 15 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
- ↑ Веб-сайт Кабміну теж уже не працює [Cabinet Website also no longer works]. Ukrayinska Pravda (ภาษายูเครน). 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 8 December 2013.
- ↑ "Hereha closes Kyiv City Council meeting on Tuesday". Interfax-Ukraine. 24 December 2013.
- ↑ "Jailed Ukrainian opposition leader Yulia Tymoshenko has been freed from prison, says official from her political party". CNN. 22 February 2014.
- ↑ 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBBCoRSA26114
- ↑ 15.0 15.1 Thousands mourn Ukraine protester amid unrest , Aljazeera.com (26 January 2014)
- ↑ Dangerous Liasons, The Ukrainian Week (18 May 2015)
- ↑ "Ukraine's PM Azarov and government resign". BBC. 28 January 2014. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
- ↑ "Law on amnesty of Ukrainian protesters to take effect on Feb 17", Interfax-Ukraine (17 February 2014)
- ↑ "Ukraine lawmakers offer protester amnesty". The Washington Post. 29 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ "Ukraine: Amnesty law fails to satisfy protesters". Euronews. 30 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
- ↑ Halya Coynash (30 January 2014). "Ruling majority takes hostages through new 'amnesty law'". Kyiv Post. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
- ↑ Ukraine parliament passes protest amnesty law. BBC. 29 January 2014
- ↑ "Ukraine leader's sick leave prompts guessing game". South China Morning Post. Associated Press. 30 January 2014.
- ↑ Ukraine president Viktor Yanukovych takes sick leave as amnesty, other moves fail to quell Kiev protests. CBS news. 30 January 2014
- ↑ "Party of Regions, Communist Party banned in Ivano-Frankivsk and Ternopil regions". Kyiv Post. 27 January 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
- ↑ "Activity of Regions Party, Communist Party, Yanukovych's portraits banned in Drohobych". Kyiv Post. 21 February 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
- ↑ Cabinet resumed preparations for the association with the EU เก็บถาวร 12 มีนาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Ukrinform. 2 March 2014
- ↑ Novogrod, James (21 February 2014). "Dozens of Ukrainian Police Defect, Vow to Protect Protesters". NBC News. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Nemtsova, Anna (13 December 2013). "Kiev's Military Guardian Angels". The Daily Beast. สืบค้นเมื่อ 16 December 2013.
- ↑ В'ячеслав Березовський: Євромайдани України стали потужним об'єднавчим чинником [Vyacheslav Berezovsky: Euromaydan Ukraine became a powerful unifying factor] (ภาษายูเครน). UA: Cun. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-25. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.
- ↑ На Евромайдане в Киеве собрались десятки тысяч украинцев [Euromaydan in Kiev gathered tens of thousands of Ukrainians] (ภาษารัสเซีย). Korrespondent.net. 24 November 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.
- ↑ Ivakhnenko, Vladimir (6 December 2013). Майдан готовит Януковичу вече [Square prepare Yanukovych Veche]. Svoboda (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 December 2013.
- ↑ Об’єднані ліві йдуть з Майдану เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (18 March 2014)
- ↑ "Українські студенти підтримали Євромайдан. У Києві та регіонах – страйки" [Ukrainian students supported Yevromaydan. In Kiev and regions – Strikes]. NEWSru. UA. 26 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2016.
- ↑ "Mr Akhtem Chiygoz: "Crimean Tatars Leave Actively to Kyiv on Maidan Nezalezhnosti"". 3 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
- ↑ "Danyluks group under fire for seizure of government buildings". Kyiv Post.
- ↑ Під час штурму Банкової постраждали вже 15 правоохоронців [During the storm of Bankova already suffered 15 law enforcement officers]. TVi (ภาษายูเครน). 1 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ Митинг в поддержку действий президента по защите национальных интересов Украины прошел в Харькове [Rally in support of the president's actions to protect the national interests of Ukraine took place in Kharkov] (ภาษารัสเซีย). Interfax-Ukraine. 30 November 2013. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
- ↑ "Archived copy" Днепропетровских бюджетников заставляют ехать в Киев на 'Антимайдан' [Dnepropetrovsk state employees are forced to go to Kiev to 'Antimaydan']. Dnepr (ภาษารัสเซีย). UA: Comments. 12 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
{{cite news}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Кожного привезеного на столичний "антимайдан" ошукали на 500 грн. Gazeta (ภาษารัสเซีย). 14 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
- ↑ "Meet Moscow's New "Ukrainian Front" | The XX Committee". 20committee.com. 3 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-25. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ "Archived copy" На Євроманда "тітушки" йдуть з металевими трубами [Titushky go to the Euro-mandai with steel pipes] (ภาษายูเครน). Kyiv Comments. 29 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 29 November 2013.
{{cite news}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 'Анти-євромайдан' завершився. 'Тітушки' чекають відмашки 'стартувати' на Майдан? [Anti-Euromaidan ended. Titushky await sign to go onto the Maidan?]. Ukrayinska Pravda (ภาษายูเครน). 29 November 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
- ↑ "Tyagnibok Zaproponuvav rozformuvati Berkut" [Tiagnybok offered to disband 'Berkut']. Ukrainian National News. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2015.
- ↑ Responsibility for burning private vehicles of protesters was taken by the Red Sector เก็บถาวร 1 พฤษภาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. TVi. 1 February 2014
- ↑ "From Russia, 'Tourists' Stir the Protests". The New York Times. 3 March 2014.
- ↑ "Ukrainian communists not to join other political forces in new parliament, says Symonenko". Interfax-Ukraine. 8 November 2012.
- ↑ "Result of parliamentary votes" (ภาษายูเครน). Verkhovna Rada.
- ↑ Luhansk administration is being guarded by Don Cossacks. 24tv. 26 January 2014
- ↑ "Друг Путина Хирург вывел байкеров на баррикады | Украинская правда". Pravda.com.ua. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ Musicians liven up EuroMaidan stage, Kyiv Post (29 November 2013)
- ↑ Руслана Лижичко разом із однодумцями оголосила голодування на майдані Ruslana together with like-minded hunger strike on Maidan, TSN (25 November 2013) (ยูเครน)
- ↑ Whitmore, Brian (6 December 2013). "Putin's Growing Threat Next Door". The Atlantic.
- ↑ "EuroMaidan rallies in Ukraine – Dec. 16". Kyiv Post. 15 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
- ↑ "The Council of Maidan Self-Defense Organizes "United Revolutionary Army" throughout Ukraine | Euromaidan PR". Euromaidanpr.wordpress.com. 8 February 2014. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlvivdec1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ23janKP
- ↑ Тернопільський Євромайдан зібрав більше 10 тисяч людей [Ternopil Eeuromaydan brought together more than 10 thousand people] (ภาษายูเครน). UA: TE. 8 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
- ↑ Мариинском парке собралось около 3–4 тысяч "титушек" – нардеп [Mariinsky park were about 3–4 thousand "titushek" – People's Deputy] (ภาษายูเครน). UNIAN. 22 January 2014. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014.
- ↑ В Харькове провели масштабный провластный митинг (ภาษารัสเซีย). BBC News. 30 November 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
- ↑ "На провластный митинг в Донецке привезли несколько десятков автобусов "неравнодушных"". Gazeta.ua. 23 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 December 2013.
- ↑ Наша задача: отстаивать национальные интересы, строить Европу в Крыму и в Украине – Павел Бурлаков [Our task: to defend national interests, to build Europe in the Crimea and in Ukraine – Paul Boatmen]. Новости Крыма [Crimean News] (ภาษายูเครน). UkraineInfo. 4 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 December 2013.
- ↑ ЄвромадаЇ в Україні: Запоріжжя вражало кількістю, а в Одесі пам'ятник Дюку "одягли" у прапор ЄС [YevromadaYi in Ukraine Zaporozhye striking number, and in Odessa Monument to Duke "dressed" in the EU flag] (ภาษายูเครน). UA: TSN. 24 November 2013. สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
- ↑ 64.0 64.1 "Around 780 people die during protests in Ukraine in reality, say volunteer doctors". Interfax. 10 April 2014.
- ↑ "On Grushevskogo for Šutka postradali 1400 chelovek oppozitsiya". Liga.
400+(50–100)+1400
- ↑ "Some 700 protestors hospitalized in past two months". Kyiv Post. 30 January 2014.
- ↑ "BBC News – Ukraine: Speaker Oleksandr Turchynov named interim president". BBC News. 23 February 2014. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ "Около 150 активистов с Майдана остаются пропавшими без вести – Беркут, избиение, евромайдан, Революция в Украине (30.03.14 18:12) « Политика Украины « Новости | Цензор.НЕТ". Censor.net.ua. สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
- ↑ 69.0 69.1 Grytsenko, Oksana (31 January 2014). "'On The Brink of Civil War'". Kyiv Post.
- ↑ Список погибших в ходе акций протеста в Украине (январь-март 2014). Дополняется LB.ua, 15 March 2014
- ↑ "Clashes rage as 100,000 Ukrainians demand EU pact". Yahoo!. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2013. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ 72.0 72.1 Міліція повідомила, що госпіталізовано 75 її бійців. Ukrayinska Pravda (ภาษายูเครน). 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.
- ↑ 73.0 73.1 "Medics were short on account of beat up police personnel (Медики недосчитались побитых демонстрантами милиционеров)". Ukrayinska Pravda (ภาษารัสเซีย). 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.
- ↑ Kiev protesters gather, EU and Putin joust เก็บถาวร 2014-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters (12 December 2013)
- ↑ Yanukovych Offers Opposition Leaders Key Posts , Radio Free Europe/Radio Liberty (25 January 2014)
- ↑ "Ukraine drops EU plans and looks to Russia". Al Jazeera. 21 November 2013. สืบค้นเมื่อ 22 November 2013.
- ↑ 77.0 77.1 "EU talking to IMF, World Bank, others about Ukraine assistance". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-03-02.
- ↑ 78.0 78.1 78.2 Ukraine leader seeks cash at Kremlin to fend off crisis
- ↑ Students in Ukraine threaten indefinite national strike เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Euronews (26 November 2013)
- ↑ "Ukraine Offers Europe Economic Growth and More". The New York Times. 12 December 2013. สืบค้นเมื่อ 21 January 2014.
- ↑ Live updates of the protests, Kyiv Post (27, 28 & 29 November 2013)
- ↑ Protests continue in Kyiv ahead of Vilnius EU summit เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Euronews (27 November 2013)
- ↑ "Ukraine's capital Kiev gripped by huge pro-EU demonstration". BBC News. 8 December 2013. สืบค้นเมื่อ 8 December 2013.
- ↑ Olzhas Auyezov and Jack Stubbs (22 December 2013). "Ukraine opposition urges more protests, forms political bloc". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-25. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ Ukraine pro-Europe protesters hold first big rally of 2014 เก็บถาวร 2015-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters (12 January 2014)
- ↑ "No Looting or Anarchy in this Euromaidan Revolution". Kyiv Post. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ 87.0 87.1 "EUROMAYDAN - 2013" เก็บถาวร 2013-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Research & Branding Group (10 December 2013)
- ↑ Half of Ukrainians don't support Kyiv Euromaidan, R&B poll, Interfax-Ukraine (30 December 2013)
- ↑ "Poll reveals Ukrainian majority supports EuroMaidan". 30 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-25. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
- ↑ Ukraine protesters take rally to Yanukovich’s residence, Financial Times (29 December 2013)
- ↑ [1]
- ↑ http://www.interpretermag.com/ukraine-liveblog-day-5-yanukovych-topples/#1543
- ↑ http://www.washingtonpost.com/blogs/worldviews/wp/2014/02/20/ukraines-parliament-just-threw-president-yanukovych-under-the-bus-thats-great-news/
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/>
ที่สอดคล้องกัน