Ad5-nCoV
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | โควิด-19 |
ชนิด | เวกเตอร์ไวรัส |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Convidecia, PakVak |
ช่องทางการรับยา | ฉีดในกล้ามเนื้อ ฉีดเข้าจมูก |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
Ad5-nCoV ซึ่งมียี่ห้อ Convidecia เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่บริษัทยาชีวภาพจีน คือ แคนไซโนไบโอลอจิกส์ (CanSino Biologics) เป็นผู้พัฒนา[1] การพัฒนาได้เริ่มขึ้นต้นปี 2020 โดยเข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในเดือนมีนาคม และระยะที่ 2 ในเดือนเมษายน ในต้นเดือนสิงหาคม 2020 วัคซีนก็กำลังทดลองในระยะที่ 3 ในประเทศอาร์เจนตินา ชิลี เม็กซิโก ปากีสถาน รัสเซีย และซาอุดีอาระเบียโดยมีอาสาสมัครเกิน 40,000 คน[2] มีการทดลองแบบทั้งให้สองโดส[2] และให้โดสเดียว[3] วัคซีนโควิด-19 นี้ใช้เวกเตอร์ไวรัสเหมือนกับวัคซีน AZD1222 ของบริษัทแอสตราเซเนกา (อังกฤษ) และ Gam-COVID-Vac ของ Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology (รัสเซีย) ที่กำลังทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 เช่นกัน[4] ในเดือนพฤศจิกายน แคนไซโนแจ้งว่า จะเริ่มวิเคราะห์ผลการทดลองระยะที่ 3 ในระหว่างเมื่อพบอาสาสมัครที่ติดเชื้อ 50 คน[1]
งานวิจัยทางคลินิก
[แก้]ระยะที่ 1-2
[แก้]ในวันที่ 17 มีนาคม 2020 ทีมนักวิจัยจากทั้งสถาบันชีวภาพ (Institute of Biotechnology), Academy of Military Medical Sciences และแคนไซโนไบโอลอจิกส์ได้ลงทะเบียนทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 สำหรับวัคซีนแคนดิเดตเพื่อตรวจความปลอดภัย[5] โดยทำกับอาสาสมัครมีสุขภาพดี 108 คนในเมืองอู่ฮั่น[5] ในเดือนเมษายน วัคซีนก็เป็นแคนดิเดตวัคซีนโควิด-19 แรกที่เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2[6] โดยผลได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ซึ่งมีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันคือ เดอะแลนซิต ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2020 โดยแสดงว่า วัคซีนก่อสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ (neutralizing antibody) และการตอบสนองของลิมโฟไซต์แบบ T cell ในอาสาสมัคร 508 คน[7]
ในเดือนกันยายน สารภูมิต้านทานในอาสาสมัครการทดลองระยะที่ 1 ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงหลังจากได้ยาโดสแรก 6 เดือน ซึ่งอาจแสดงว่า วัคซีนมีผลป้องกันในระยะยาว แม้จะต้องดูผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ก่อน[8] ในวันที่ 24 กันยายน บริษัทได้เริ่มการทดลองระยะ 2b กับอาสาสมัคร 481 คนเพื่อประเมินความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิต้านทานต่อไวรัสสำหรับเด็กอายุ 6-17 ปี คนอายุ 56 ปีและยิ่งกว่า[9]
ในเดือนสิงหาคม สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ (National Intellectual Property Administration) ได้ให้สิทธิบัตรโดยเป็นสิทธิบัตรวัคซีนโควิด-19 แรกของประเทศแก่บริษัท[10]
ในเรื่องการร่วมมือกับประเทศแคนาดา ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2020 นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด ได้ประกาศว่า กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) ได้อนุมัติให้ทำการทดลองวัคซีนในระยะที่ 2 โดยศูนย์วัคซีนวิทยาแคนาดา (Canadian Center for Vaccinology) จะเป็นผู้จัดทำ[11] ซึ่งถ้าทดลองสำเร็จ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (National Research Council) ก็จะร่วมมือกับบริษัทเพื่อผลิตและแจกจำหน่ายวัคซีนในแคนาดา โดยผู้อำนวยการของศูนย์วัคซีนวิทยาแคนาดาหวังว่า จะเริ่มการทดลองได้ภายในสองสัปดาห์[12] แต่ในเดือนสิงหาคม 2020 คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติก็เปิดเผยว่า เพราะจีนยังไม่อนุมัติให้ส่งวัคซีนไปยังแคนาดา การตกลงร่วมมือกันของบริษัทและศูนย์วัคซีนวิทยาแคนาดาจึงต้องเลิกล้มไป[13]
ระยะที่ 3
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ประเทศซาอุดีอาระเบียยืนยันว่า จะเริ่มทำการทดลองวัคซีนระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 5,000 คนในเมืองต่าง ๆ 3 เมืองรวมทั้งรียาด อัดดัมมาม และมักกะฮ์[14]
ในเดือนตุลาคม เม็กซิโกได้รับวัคซีนชุดแรกเพื่อการทดลองในระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 10,000-15,000 คน ซึ่งเริ่มทำในเมืองต่าง ๆ 14 เมืองตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน[15][16]
ในวันที่ 11 กันยายน บริษัท NPO Petrovax ในรัสเซียก็ได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 500 คน[17] โดยบริษัทประกาศว่าจะทำเพิ่มกับอาสาสมัครอีก 8,000 คน[18] ซึ่งรัฐบาลก็ได้อนุมัติในเดือนธันวาคม[19]
ในวันที่ 15 กันยายน ปากีสถานเริ่มทำการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 40,000 คนโดยเป็นส่วนของงานทดลองที่ทำหลายศูนย์ทั่วโลก[2] โดยรัฐบาลได้ระบุว่า อาสาสมัคร 8,000-10,000 คนจะมาจากปากีสถาน[20]
ในเดือนพฤศจิกายน ชิลีได้อนุมัติให้ทำการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 5,200 คน แต่จะจะใช้วัคซีนแค่โดสเดียวโดยไม่เหมือนกับการทดลองระยะที่ 3 ก่อน ๆ[3][21]
ในเดือนพฤศจิกายน บริษัทแจ้งว่าจะวิเคราะห์ผลการทดลองระยะที่ 3 ในระหว่างเมื่อมีอาสาสมัคร 50 คนติดโรค[1]
ในเดือนธันวาคม อาร์เจนตินาได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ในศูนย์สุขภาพ 11 แห่งในนครบัวโนสไอเรสและเมืองมาร์เดลปลาตา[22]
การทดลองฉีดวัคซีนในจมูก
[แก้]ในเดือนกันยายน แคนไซโนเริ่มการทดลองระยะที่ 1 ในจีนกับผู้ใหญ่อาสาสมัคร 144 คนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิต้านทานของวัคซีนโดยจะให้เป็นยาฉีดทางจมูก เทียบกับวัคซีนโควิด-19 โดยมากที่ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[23]
การผลิต
[แก้]ตามประธานบริหารบริษัท แคนไซโนจะผลิตวัคซีนจำนวน 100-200 ล้านโดสได้ต่อปีที่โรงงานซึ่งจะสร้างเสร็จในปี 2021[24]
ส่วนบริษัท Petrovax แจ้งว่า เมื่อได้อนุมัติในรัสเซียแล้ว จะผลิตวัคซีนเกิน 4 ล้านโดสต่อเดือนในปี 2020 และ 10 ล้านโดสต่อเดือนในปี 2021[25]
การอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน
[แก้]ในวันที่ 25 มิถุนายน ประเทศจีนอนุมัติให้ใช้วัคซีนสำหรับทหารจีนโดยจำกัดเพียงแค่หนึ่งปี บริษัทแจ้งว่า "Ad5-nCoV ปัจจุบันยังจำกัดใช้เพื่อการทหารเท่านั้นโดยไม่สามารถขยายให้วัคซีนได้โดยไม่ได้อนุมัติ"[26]
ในปลายเดือนธันวาคม มีรายงานว่า วัคซีนจะยื่นให้องค์กรควบคุมสุขภาพในเม็กซิโกคือ COFEPRIS ตรวจทบทวนเพื่อการอนุมัติ[27]
การวางตลาดขายและการแจกจำหน่าย
[แก้]ในเดือนกันยายน บริษัทโซลูชั่นไบโอโลจิกส์ของประเทศมาเลเซียได้ใบอนุญาตให้ผลิตและขายวัคซีนได้ในประเทศ[28]
ในเดือนตุลาคม อินโดนีเซียตกลงให้ให้แคนไซโนส่งวัควีน 100,000 โดสในปี 2020 และ 15-20 ล้านโดสในปี 2021[29]
ในเดือนธันวาคม รัฐมนตรีการต่างประเทศของเม็กซิโกเซ็นสัญญาให้บริษัทส่งวัคซีน 35 ล้านโดส[30]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "CanSino to test coronavirus vaccine candidate in Argentina and Chile". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Phase III Trial of A COVID-19 Vaccine of Adenovirus Vector in Adults 18 Years Old and Above - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ 3.0 3.1 Yáñez, PL (2020-11-15). "Así funcionan las cuatro vacunas que se probarán en Chile". La Tercera. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
- ↑ Zimmer, C; Corum, J; Wee, SL (2020-06-10). "Coronavirus Vaccine Tracker". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
- ↑ 5.0 5.1 Cui, J (2020-03-23). "Human vaccine trial gets underway". China Daily. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
- ↑ Xie, J (2020-04-15). "China Announces Phase 2 of Clinical Trials of COVID-19 Vaccine". Voice of America. สืบค้นเมื่อ 2020-04-18.
- ↑ Zhu, FC; Guan, XH; Li, YH; Huang, JY; Jiang, T; Hou, LH; และคณะ (August 2020). "Immunogenicity and safety of a recombinant adenovirus type-5-vectored COVID-19 vaccine in healthy adults aged 18 years or older: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 2 trial". Lancet. 396 (10249): 479–488. doi:10.1016/S0140-6736(20)31605-6. PMID 32702299.
- ↑ O'Brien, E (2020-09-25). "Covid Antibodies Endure Over Six Months in China Trial Subjects". www.bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Phase IIb Clinical Trial of A COVID-19 Vaccine Named Recombinant Novel Coronavirus Vaccine (Adenovirus Type 5 Vector) - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ Yu, S (2020-08-17). "China grants country's first COVID-19 vaccine patent to CanSino: state media". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
- ↑ Bogart, N (2020-05-16). "Health Canada approves first clinical trial for potential COVID-19 vaccine". CTV News. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ Ryan, H (2020-05-16). "Canada's first COVID-19 vaccine trials approved for Halifax university". CBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ Cooke, A (2020-08-26). "Canadian COVID-19 clinical trial scrapped after China wouldn't ship potential vaccine". CBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ Eltahir, N (2020-08-09). "CanSino to start Phase III trial of COVID-19 vaccine in Saudi". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
- ↑ "México recibe el primer lote de la vacuna candidata de CanSino Biologics; alistan pruebas". EL CEO (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
- ↑ "Chinese Covid vaccine trials to be expanded to five more states". Mexico News Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ "Clinical Trial of Recombinant Novel Coronavirus Vaccine (Adenovirus Type 5 Vector) Against COVID-19 - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
- ↑ "Russia's Richest Man Seeks Global Market for Local Covid-19 Drug - BNN Bloomberg". Bloomberg News. 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
- ↑ "Russia approves clinical trials for Chinese COVID-19 vaccine Ad5-Ncov: Ifax". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
- ↑ "Phase 3 clinical trial for vaccine being developed by China begins in Pakistan". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2020-09-24.
- ↑ "Gob.cl - Article: Science Minister: "We Work With Maximum Rigor So That Science And Technology Benefit People'S Health"". Government of Chile (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ "Comenzará en la Argentina un nuevo estudio de vacuna recombinante contra el SARS-CoV-2". infobae (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "A Clinical Trial of a Recombinant Adenovirus 5 Vectored COVID-19 Vaccine (Ad5-nCoV) With Two Doses in Healthy Adults - Full Text View - ClinicalTrials.gov". clinicaltrials.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
- ↑ Mak, E. "Cansino's shares up 86% on STAR debut, plans annual production of 200 million". www.bioworld.com (ภาษาอังกฤษ). No. 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
- ↑ "Russian Recruits Show 'No Side Effects' in Chinese Coronavirus Vaccine Trials". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ "CanSino's COVID-19 vaccine candidate approved for military use in China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
- ↑ Staff, Reuters (2020-12-22). "CanSino vaccine to be submitted for review in Mexico, minister says". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.
- ↑ "Solution Group unit inks deal with CanSino for vaccine distribution". The Malaysian Reserve (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
- ↑ Taufiqurrahman, M. "Indonesia can be manufacutring hub for COVID-19 vaccine, says Chinese foreign minister". Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ "Mexico agrees to buy 35 million doses of Cansino COVID vaccine". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.