วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า
ขวดวัคซีนโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด-บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | โควิด-19 |
ชนิด | อะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่ดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นเวกเตอร์ |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Vaxzevria[3], Covishield[4][5] |
ชื่ออื่น | AZD1222,[6][7] ChAdOx1 nCoV-19,[8] ChAdOx1-S,[1] COVID-19 Vaccine AstraZeneca,[2][9] AstraZeneca COVID-19 Vaccine,[10] AZD2816[11] |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
DrugBank | |
UNII | |
KEGG | |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า อันมีชื่อรหัสว่า AZD1222[7] มีตราสินค้าต่าง ๆ รวมทั้ง Covishield[16] และ Vaxzevria[3][17] เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้ไวรัสเป็นเวกเตอร์หรือเป็นพาหะ และฉีดเข้าในกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าได้พัฒนาขึ้นโดยใช้อะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมชื่อว่า ChAdOx1[18][19][20][21] งานศึกษาที่ทำในปี 2020 พบประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันโรคที่แสดงอาการเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 หลังจากฉีดโดสแรกและร้อยละ 81.3 หลังจากฉีดโดสที่สอง[22] ส่วนงานวิเคราะห์ในปี 2021 พบว่า สำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการ หลังจากได้โดสที่สอง วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ต่อสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และร้อยละ 60 ต่อสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)[23]
วัคซีนปลอดภัยดี มีผลข้างเคียงเป็นความเจ็บปวดที่จุดฉีด ปวดหัว คลื่นไส้ ทั้งหมดปกติจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน[24] ที่เกิดน้อยกว่ารวมการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรงคือแอนาฟิแล็กซิส (อังกฤษมีรายงาน 268 กรณีจากการฉีดวัคซีน 21.2 ล้านโดสจนถึงวันที่ 14 เมย. 2021)[24] ในกรณีที่มีน้อยมาก (น้อยกว่า 1 ในแสนคน) วัคซีนสัมพันธ์กับการเกิดลิ่มเลือดบวกกับเกล็ดเลือดที่ลดลงต่ำ[25][26] สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ระบุว่า จนถึงวันที่ 4 เมย. 2021 มีกรณีเกิดลิ่มเลือด 222 กรณีภายในเขตเศรษฐกิจยุโรปและสหราชอาณาจักรจากคน 34 ล้านคนที่ได้ฉีดวัคซีน[27]
ในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีน[15][28][29] โดยฉีดวัคซีนนอกการทดลองเป็นเข็มแรกในวันที่ 4 มกราคม 2021[30] หลังจากนั้น องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนรวมทั้งสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA)[3][14] องค์กรควบคุมของออสเตรเลีย (TGA)[1] และองค์การอนามัยโลก[31] จนถึงวันที่ 27 เมษายน 2021 วัคซีนนี้ได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศ 137 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ประเทศบางประเทศได้จำกัดให้ใช้วัคซีนเฉพาะในคนสูงอายุเท่านั้น เพราะผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่อาจมีในคนอายุน้อยกว่าแม้จะเกิดน้อยมาก[32]
ในกลางเดือนพฤศจิกายน 2020 คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติงบประมาณ 6,000 ล้านบาทเพื่อสั่งจองวัคซีนจากบริษัทจำนวน 26 ล้านโดสโดยจะซื้อในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 151 บาท) ต่อโดส และที่เหลือ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท) จะใช้เพื่อดำเนินการและเก็บรักษา[33] จนถึงปลายเดือนเมษายน 2021 พบว่า ไทยได้สั่งวัคซีนชนิดนี้รวมทั้งหมดแล้ว 61 ล้านโดส[34][35] โดยรัฐบาลต้องการให้ส่งวัคซีนในเดือน มิ.ย. 6 ล้านโดส, เดือน ก.ค.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส และเดือน ธ.ค. อีก 6 ล้านโดส ทั้งหมดรวมเป็น 61 ล้านโดส[36][37] ซึ่งพอสำหรับประชากร 30.5 ล้านคนคือประมาณร้อยละ 44 ของประชากรประมาณ 69.56 ล้านคน ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2021 จึงปรากฏว่า บริษัทมีแผนจะส่งวัคซีนให้แก่ไทยเดือนละ 5-6 ล้านโดสเท่านั้น[38][39] ดังนั้น วัคซีนทั้งหมดอาจส่งไม่ครบจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2022[40]
จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2021 ประเทศไทยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด 8,193,500 โดส คือญี่ปุ่นบริจาคให้ 1,053,000 โดสและบริษัทส่งให้ที่เหลือ 7,140,500 โดสโดยส่ง 1,651,100 โดสให้ในเดือนกรกฎาคม[41][42]
การใช้ทางการแพทย์
[แก้]วัคซีนใช้ต้านการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ใหญ่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้น[3] โดยฉีดโดสละ 0.5 มล. 2 โดสในกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (ต้นแขน) ซึ่งห่างกัน 4-12 สัปดาห์ แต่องค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้ฉีดโดสที่สอง 8-12 สัปดาห์หลังโดสแรกเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ไม่มีหลักฐานว่าจำเป็นต้องฉีดบูสต์เป็นเข็มที่ 3[43]
ประสิทธิภาพของวัคซีน
[แก้]สายพันธุ์ | 2 โดส | 1 โดส | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ไม่มีอาการ | มีอาการ | เข้า รพ. | ไม่มีอาการ | มีอาการ | เข้า รพ. | |
อัลฟา | 73% (66–78%)[45] | 81% (72–87%)[45] | 86% (53–96%)[b] | 37% (32–42%)[45] | 39% (32–45%)[45] | 76% (61–85%)[b] |
เบตา | ไม่มีรายงาน | 10% (−77 to 55%)[c] | ไม่มีรายงาน | ไม่มีรายงาน | ไม่มีรายงาน | ไม่มีรายงาน |
แกมมา | ไม่มีรายงาน | 78% (69–84%)[49] | 88% (78–93%)[49] | ไม่มีรายงาน | 33% (26–40%)[49] | 55% (47–62%)[49] |
เดลตา | 60% (53–66%)[45] | 61% (51–70%)[45] | 92% (75–97%)[b] | 18% (9–25%)[45] | 33% (23–41%)[45] | 71% (51–83%)[b] |
ข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาสถานการณ์จริงในเมือง Botucatu ประเทศบราซิลที่แกมมาเป็นสายพันธุ์หลักแสดงประสิทธิภาพลดการติดเชื้อที่แสดงอาการได้ถึง 71% หลังจากประชากรทั้งหมด 81% (จากประมาณ 148,130 คน) ได้วัคซีนโดสแรก[50]
ประสิทธิศักย์ของวัคซีน
[แก้]งานวิเคราะห์ที่ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 วันหลังจากโดสแรก และเพิ่มเป็นร้อยละ 81.3 เมื่อฉีดโดสที่สอง 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[22] ในวันที่ 22 พฤษภาคม สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England หรือพีเอชอี) ได้ตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ว่า หลังจากได้โดสที่สองสำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการ วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ต่อสายพันธุ์ B.1.1.7 (อังกฤษ) และร้อยละ 60 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (อินเดีย)[23][22]
ข้อห้ามใช้
[แก้]วัคซีนนี้ไม่ควรให้แก่คนที่มีโรคเส้นเลือดฝอยรั่ว (capillary leak syndrome)[51]
ผลไม่พึงประสงค์
[แก้]ในการทดลองทางคลินิก ผลข้างเคียงที่สามัญปกติจะมีอาการอ่อนจนถึงปานกลาง และดีขึ้นเองภายใน 2-3 วันหลังฉีดวัคซีน[52]
การอาเจียน ท้องเสีย อาการบวมแดงที่จุดฉีด และการมีเกล็ดเลือดต่ำเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 10[52] ส่วนต่อมน้ำเหลืองบวม ความไม่อยากอาหาร เวียนศีรษะ ง่วงนอน เหงื่อออก ปวดท้อง คัน และเป็นผื่นเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 100 คน[52]
ในกรณีที่มีน้อยมาก (น้อยกว่า 1 ในแสน) วัคซีนก่อลิ่มเลือดพร้อมกับอาการเกล็ดเลือดน้อย[26] องค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักรระบุว่า จนถึงวันที่ 14 เมย. 2021 มีการเกิดลิ่มเลือดพร้อมกับเกล็ดเลือดน้อย 7.9 กรณีหลังฉีดวัคซีน 1 ล้านโดส (น้อยกว่า 1 ในแสนคน)[24]
เหมือนกับวัคซีนอื่น ๆ แอนาฟิแล็กซิสและปฏิกิริยาแพ้อื่น ๆ เป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของวัคซีน จึงต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด[53][52] สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ประเมินว่า มีกรณีแอนาฟิแล็กซิส 41 กรณีเนื่องกับการฉีดวัคซีน 5 ล้านโดสในสหราชอาณาจักร[53][54]
วัคซีนอาจมีผลให้เส้นเลือดฝอยรั่ว[51] สำนักงานการแพทย์ยุโรปยังระบุกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (GBS) ว่าเป็นผลข้างเคียงที่มีน้อยมากของ Vaxzevria จึงให้มีคำเตือนในแผ่นผลิตภัณฑ์ของวัคซีน[55]
เภสัชวิทยา
[แก้]วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนที่ใช้เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัสของชิมแปนซีซึ่งไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เวกเตอร์มีลำดับยีนสำหรับโปรตีนหนาม (spike) ของไวรัสโควิด-19 ที่สมบูรณ์และทำให้แสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพสุด (codon-optimized) ประกอบกับลำดับยีนนำ (leader sequence) คือ tissue plasminogen activator (tPA)[A][56][57]
อะดีโนไวรัสแพร่พันธุ์ไม่ได้ก็เพราะได้ลบยีนสำคัญออกแล้วแทนที่ด้วยยีนที่เข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด-19 หลังจากฉีดวัคซีน อะดีโนไวรัสซึ่งเป็นเวกเตอร์ก็จะเข้าไปในเซลล์แล้วปล่อยยีน ซึ่งก็จะนำส่งไปยังนิวเคลียสของเซลล์ต่อไป แล้วกลไกของเซลล์ก็จะถอดรหัสยีนเป็นเอ็มอาร์เอ็นเอแล้วแปลรหัสเป็นโปรตีนหนาม[58]
โปรตีนสำคัญก็คือโปรตีนหนาม (spike protein) ซึ่งเป็นโปรตีนด้านนอกที่ทำให้ไวรัสโคโรนาในกลุ่ม SARS สามารถเข้าไปในเซลล์ผ่าน enzymatic domain ของเอนไซม์ที่ผิวเซลล์ คือ ACE2 (Angiotensin-converting enzyme 2) ได้[59] การผลิตโปรตีนชนิดนี้ของเซลล์หลังได้ฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปโจมตีไวรัสโคโรนาที่ติดจริง ๆ ในภายหลังโดยอาศัยสารภูมิต้านทานและเซลล์เม็ดเลือดขาว (T-cell)[6]
การผลิต
[แก้]วัคซีนเสถียรในอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาธรรมดาและมีราคาขายให้ประเทศตะวันตกเป็นต้นประมาณ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 94-125 บาท)[60] ในวันที่ 17 ธันวาคม 2020 ทวีตของรัฐมนตรีงบประมาณแผ่นดินของประเทศเบลเยียมเปิดเผยว่า สหภาพยุโรปจะซื้อวัคซีนในราคา 2.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 68 บาท) ซึ่งหนังสือพิมพ์สหรัฐเดอะนิวยอร์กไทมส์คาดว่า ราคาซื้อที่ถูกกว่าสหรัฐซื้ออาจเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผลิตวัคซีนของสหภาพยุโรป[61] เป็นวัคซีนอันมีราคาถูกที่สุดซึ่งตกลงขายให้แก่สหภาพยุโรป โดยวัคซีนราคาสูงสุดคือวัคซีนของโมเดิร์นา (โดสละ 564 บาท)[62]
จนถึงเดือนมีนาคม 2021 สารออกฤทธิ์ของวัคซีนคือ ChAdOx1-SARS-COV-2 กำลังผลิตในโรงงานต่าง ๆ หลายแห่งในโลก[63] ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้าระบุว่ามี 25 แห่งในประเทศ 15 ประเทศ[64] รวมทั้งโรงงานของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ในจังหวัดนนทบุรี[65] โรงงานในสหราชอาณาจักรอยู่ที่เมืองออกซฟอร์ดและคีล โดยมีโรงงานบรรจุขวดปิดป้ายที่เร็กซ์แฮม[63] โรงงานอื่น ๆ รวมทั้งสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียในเมืองปูเน (อินเดีย)[63] และโรงงานในเมืองไลเดิน (เนเธอร์แลนด์) อันเป็นโรงงาน 1 ใน 3 แห่งที่ได้รับอนุมัติในสหภาพยุโรป[66]
ประวัติ
[แก้]วัคซีนสร้างขึ้นอาศัยการร่วมมือกันระหว่างสถาบันเจนเนอร์ (Jenner Institute) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและแวกซี่เทค (Vaccitech) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีรากฐานจากมหาวิทยาลัย โดยได้ทุนจากบริษัทร่วมลงทุน Oxford Sciences Innovation, Google Ventures และ Sequoia Capital เป็นต้น[67] วัคซีนชุดแรก ๆ ที่ผลิตเพื่อทดลองทางคลินิกได้พัฒนาขึ้นโดยสถาบันเจนเนอร์และกลุ่มวัคซีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Vaccine Group) โดยร่วมมือกับบริษัทอิตาลี Advent Srl ในกรุงโรม[68] ผู้นำทีมเด่น ๆ รวมทั้ง Sarah Gilbert, Adrian Hill, Andrew Pollard, Teresa Lambe, Sandy Douglas และ Catherine Green[69][68]
การพัฒนาระยะต้น ๆ
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 สถาบันเจนเนอร์ได้ตกลงร่วมมือกับบริษัทอิตาลี Advent Srl[70] เพื่อผลิตวัคซีนแคนดิเดต 1,000 โดสแรกให้ใช้ในการทดลองทางคลินิก
ในเดือนมีนาคม 2020[71][72] หลังจากที่มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ได้กระตุ้นให้มหาวิทยาลัยหาผู้ร่วมงานเป็นบริษัทขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาและนำวัคซีนเข้าตลาด มหาวิทยาลัยจึงกลับคำมั่นที่ให้ไว้ก่อนว่าจะบริจาคสิทธิวัคซีนให้แก่ผู้ผลิตยาใดก็ได้[73] ต่อจากนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าแทนที่จะทำกับบริษัทเมอร์ค เพราะรัฐมนตรีอังกฤษเป็นห่วงว่าวัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอาจไม่ส่งให้สหราชอาณาจักร อนึ่ง อาจมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ด้วยที่ทำให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมมือกับแอสตร้าเซนเนก้า[74][75]
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ตกลงเรื่องสิทธิเบื้องต้นกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าในเดือนพฤษภาคม 2020 เพื่อให้ผลิตวัคซีน 1 พันล้านโดสโดยไม่มีผลกำไรและสหราชอาณาจักรจะได้รับวัคซีนก่อน 100 ล้านโดส อนึ่ง สหรัฐก็ได้จองวัคซีน 300 ล้านโดสด้วยโดยบวกกับการได้สิทธิเพื่อทำการทดลองระยะที่ 3 ในสหรัฐ รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ให้ทุน 68 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 2,695 ล้านบาท) และรัฐบาลสหรัฐ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 37,236 ล้านบาท) เพื่อใช้พัฒนาวัคซีน[76] ในเดือนมิถุนายน 2020 สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (US National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) ได้ยืนยันว่า การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 สำหรับวัคซีนจะเริ่มในเดือนกรกฎาคม 2020[77]
วันที่ 4 มิถุนายน แอสตร้าเซนเนก้าประกาศว่าโปรแกรมโคแวกซ์ที่องค์การอนามัยโลกบริหารโดยได้รับเงินทุนจากเซพี (CEPI) และกาวีได้ลงทุน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 23,273 ล้านบาท) เพื่อจองวัคซีน 300 ล้านโดสไปแจกจำหน่ายให้แก่ประเทศรายได้น้อย[78][79]
การทดลองทางคลินิก
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2020 บริษัทได้ร่วมกับบริษัท IQVIA ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติผู้ทำกิจการในการทดลองทางคลินิก เพื่อเร่งการทดลองในสหรัฐ[80] ในวันที่ 31 สิงหาคม 2020 บริษัทประกาศว่า ได้เริ่มรับอาสาสมัคร 30,000 คนในการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งรัฐบาลสหรัฐเป็นผู้ให้ทุน[81]
ในวันที่ 8 กันยายน 2020 บริษัทได้หยุดการทดลองทั่วโลกเพื่อตรวจสอบผลไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับอาสาสมัครในสหราชอาณาจักร[82][83][84] ต่อมาวันที่ 13 กันยายน จึงได้ดำเนินการต่อในสหราชอาณาจักรหลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมของรัฐสรุปว่า ปลอดภัย[85] หลังจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้วิจารณ์ความปลอดภัยของวัคซีนโดยให้ข้อสังเกตว่า บริษัทไม่ยอมให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาทางประสาทที่รุนแรงของอาสาสมัครสองคนที่ได้วัคซีนในบริเตน[86] แม้การทดลองจะดำเนินต่อไปในสหราชอาณาจักร บราซิล แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น[87] และอินเดีย แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการต่อในสหรัฐจนถึงวันที่ 23 ตุลาคม[88] เพราะกำลังตรวจปัญหากับอาสาสมัครคนหนึ่ง[89]
ผลการทดลองระยะที่ 3
[แก้]ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2020 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลในระหว่างการทดลองระยะที่ 3 (interim)[90] โดยวิธีที่ใช้คำนวณประสิทธิศักย์ของวัคซีนก็ถูกวิจารณ์ เพราะรวมค่าอัตราร้อยละ 62 กับร้อยละ 90 จากกลุ่มทดลองต่าง ๆ ที่ได้ยาในขนาดต่าง ๆ จนได้ผลลัพธ์เป็นอัตราร้อยละ 70[91][92][93] บริษัทจึงกล่าวว่า จะทำการทดลองในประเทศต่าง ๆ โดยใช้ขนาดยาที่ต่ำกว่าซึ่งให้ผลร้อยละ 90[94]
การตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่างอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2020 จากการทดลองที่กำลังทำอยู่ 4 แห่ง ซึ่งเป็นการทดลองแบบอำพราง แบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม แสดงผลของวัคซีนอย่างชัดเจนขึ้น[95] ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสแรกเกิน 21 วันแล้ว ไม่มีการเข้า รพ. หรือเกิดโรคที่รุนแรง ไม่เหมือนกับกลุ่มควบคุมที่เกิดกรณีถึง 10 ราย เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และรุนแรงเกิดขึ้นประมาณเท่า ๆ กันระหว่างกลุ่มที่ได้วัคซีนกับกลุ่มควบคุม คือไม่จัดว่าวัคซีนก่ออาการต่าง ๆ เกินอัตราที่มีอยู่โดยธรรมชาติ มีรายงานว่าเกิด transverse myelitis (TM) กับอาสาสมัครคนหนึ่งหลังจากได้วัคซีนโดสที่สองโดยอาจเกี่ยวกับวัคซีน และคณะประสาทแพทย์อิสระก็ได้วินิจฉัยว่า น่าจะเกิดความเสียหายที่ปลอกไมอีลินของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง (spinal cord demyelination) ช่วงสั้น ๆ ที่ไม่รู้สาเหตุ มีกรณี TM อีกสองกรณี กรณีหนึ่งในกลุ่มที่ได้วัคซีน อีกกรณีหนึ่งในกลุ่มควบคุม คณะประสาทแพทย์พิจารณาทั้งสองกรณีนี้ว่าไม่เกี่ยวกับการได้วัคซีน[95]
งานวิเคราะห์ต่อมาที่ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 วันหลังจากฉีดโดสแรกและร้อยละ 81.3 หลังจากฉีดโดสที่สองถ้าฉีดโดสที่สอง 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[22] แต่ผลไม่ได้แสดงว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการหลังจากฉีดแค่โดสเดียว[22] เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 หลังจากฉีดวัคซีนโดสที่สองตามกำหนดโดยมีระยะเวลาห่างจากโดสแรกต่าง ๆ กัน ผลแสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 66.7 ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ แต่การป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการก็ไม่ปรากฏผลที่ชัดเจน[22] ประสิทธิศักย์ดีกว่าถ้าระยะเวลาระหว่างโดสมากกว่า โดยสูงสุดราว ๆ ร้อยละ 80 เมื่อให้โดสที่สอง 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[22]
ในวันที่ 22 มีนาคม 2021 บริษัทประกาศผลในระหว่างของการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งทำในสหรัฐและระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ร้อยละ 79 และการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงและแบบที่ต้องเข้า รพ. เต็มร้อย[96] แต่ในวันต่อมา สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ก็ประกาศคัดค้านว่า ผลนั้นอาจอาศัย "ข้อมูลเก่า" ซึ่งอาจทำให้เข้าใจข้อมูลประสิทธิศักย์ได้อย่างไม่สมบูรณ์[97][98][99][100] บริษัทภายหลังจึงแก้ค่าประสิทธิศักย์ของวัคซีนเหลือร้อยละ 76 หลังจากทบทวนข้อมูลอย่างละเอียดยิ่งขึ้น[101]
ในวันที่ 28 มิถุนายน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานผลเบื้องต้นของงานศึกษากับอาสาสมัครอายุน้อยกว่า 55 ปีจำนวน 120 รายที่แสดงว่า การเลื่อนฉีดวัคซีนโดสที่สองไปจนถึง 45 สัปดาห์ทำให้ภูมิต้านทานตอบสนองได้ดีกว่า และการฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่ 3 หลังจากฉีดวัคซีนครบเป็นเวลา 6 เดือนก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดีเช่นกัน แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนบูสต์ แต่ผลงานศึกษาช่วยแก้ความกังวลว่า ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสที่ใช้เป็นเวกเตอร์ของวัคซีน ซึ่งก็จะลดฤทธิ์ของวัคซีนที่อาจต้องฉีดทุก ๆ ปี[102]
ประสิทธิภาพของวัคซีนโดสเดียว
[แก้]ประเทศสกอตแลนด์ทำงานศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคหรือของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าโดสแรก สัมพันธ์กับการเข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยเป็นงานศึกษาตามรุ่นตามแผน (prospective cohort study) กับคนในประเทศ 5.4 ล้านคน
ในระหว่างวันที่ 8 ธค. 2020 ถึง 15 กพ. 2021 มีผู้ได้รับวัคซีนในงานศึกษานี้ 1,137,775 คนโดย 490,000 คนได้วัคซีนของ
วัคซีนฉีดทางจมูก
[แก้]ในวันที่ 25 มีนาคม 2021 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ฉีดเข้าทางจมูก[104][105]
การขึ้นทะเบียน
[แก้]ประเทศแรกที่ให้อนุมัติเป็นการชั่วคราวหรือเป็นการฉุกเฉินสำหรับวัคซีนนี้ก็คือ สหราชอาณาจักร คือองค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของประเทศเริ่มทบทวนข้อมูลประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของวัคซีนตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2020[107] แล้วอนุมัติให้ใช้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 เป็นวัคซีนที่สองที่ได้อนุมัติให้ใช้ฉีดแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศ[108] สำนักข่าวบีบีซีรายงานในวันที่ 4 มกราคม 2021 ว่า ชายอายุ 82 ปีเป็นบุคคลแรกที่ได้รับวัคซีนนี้นอกงานวิจัยทางคลินิก[30]
ในวันที่ 12 มกราคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ได้เริ่มทบทวนข้อมูลวัคซีนโดยระบุในแถลงการณ์ข่าวว่า องค์กรจะออกคำแนะนำในวันที่ 29 มกราคม โดยคณะกรรมาธิการยุโรปก็อาจจะให้อนุมัติวางตลาดขายอย่างมีเงื่อนไขภายในไม่กี่วันต่อมา[109] ในวันที่ 29 มกราคม สำนักงานการแพทย์ยุโรปจึงแนะนำให้อนุมัติวัคซีนสำหรับบุคคลอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[3][13] ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปก็ให้อนุมัติในวันเดียวกัน[14][110] แต่ก่อนหน้านี้ สมาชิกสหภาพยุโรปประเทศหนึ่งคือฮังการีได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนก่อนโดยทำเองต่างหาก[111]
ประเทศที่องค์การอนามัยโลกจัดว่ามีกฎเคร่งครัดในการอนุมัติเวชภัณฑ์ (stringent regulatory authorities) มีการอนุมัติวัคซีนนี้ดังนี้
- อนุมัติและใช้วัคซีน
- ออสเตรเลีย
- ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่าง ๆ รวมทั้งออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส เช็กเกีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน (ยกเว้นเดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวาเกีย)
- แคนาดา
- สหราชอาณาจักร
- อนุมัติแต่ได้ระงับการใช้วัคซีนอย่างไม่มีกำหนด
- ยังไม่ได้อนุมัติ
- สหรัฐอเมริกา[117]
การระงับใช้วัคซีน
[แก้]แอฟริกาใต้
[แก้]ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2021 โปรแกรมการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชนได้หยุดชั่วคราวในแอฟริกาใต้ เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐ (University of Witwatersrand) ในกรุงโจฮันเนสเบิร์กได้ตีพิมพ์ผลวิเคราะห์ในระหว่างที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันว่า วัคซีนมีผลป้องกันเพียงเล็กน้อยแม้ต่อโรคที่มีอาการน้อยหรือปานกลางในคนอายุน้อย[118][119] วันต่อมา สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ผู้อำนวยการหน่วยภูมิคุ้มกันที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า เธอรู้สึกว่า "เป็นไปได้จริง ๆ" ที่วัคซีนนี้มี "ผลสำคัญ" ต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้โดยเฉพาะการป้องกันโรคที่รุนแรงและการตาย[120] ข่าวเดียวกันระบุว่า ผู้ช่วยแพทย์ผู้ปรึกษาทางการแพทย์สูงสุด (Deputy Chief Medical Officer for England) ของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า งานศึกษานี้ไม่ได้เปลี่ยนความเห็นของเขาว่า วัคซีนนี้ "น่าจะ" มีผลต่อโรคอาการรุนแรงเหตุไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้[120] ต่อมารัฐบาลแอฟริกาใต้จึงได้ระงับการใช้วัคซีนนี้โดยสิ้นเชิง[121]
ยุโรป
[แก้]ในวันที่ 3 มีนาคม 2021 ออสเตรียหยุดการใช้วัคซีนล็อตหนึ่งชั่วคราวหลังมีคน 2 คนที่เกิดลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโดยคนหนึ่งเสียชีวิต[122] รวม ๆ กันแล้ว มีกรณีเกิดลิ่มเลือด 4 กรณีในการฉีดวัคซีนชุดเดียวกัน 1 ล้านโดส[122] แม้จะไม่พบความสัมพันธ์โดยเป็นเหตุและผล[123] ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งเดนมาร์ก[124] นอร์เวย์[124] ไอซ์แลนด์[124] บัลแกเรีย[125] ไอร์แลนด์[126] อิตาลี[123] สเปน[127] เยอรมนี[128] ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์[129] และสโลวีเนีย[130] ก็ได้หยุดใช้วัคซีนชั่วคราวเพื่อให้สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ทบทวนข้อมูลความปลอดภัยในกรณีเหล่านี้
ในเดือนเมษายน 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรปได้ทบทวนความปลอดภัยเสร็จสิ้นโดยสรุปว่า การมีลิ่มเลือดบวกกับเกล็ดเลือดน้อยควรระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่มีน้อยมาก (very rare) โดยยังยืนยันประโยชน์ในภาพรวมของวัคซีน[27][131] หลังจากแถลงการณ์นี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจึงได้ฉีดวัคซีนต่อไปโดยบางส่วนได้จำกัดการใช้กับเฉพาะคนชราที่เสี่ยงป่วยหนักจากโควิด-19[32][132]
ในวันที่ 11 มีนาคม 2021 รัฐบาลนอร์เวย์ได้ระงับการใช้วัคซีนนี้อย่างชั่วคราวเพื่อรอให้ได้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีน ต่อมาวันที่ 15 เมษายน สถาบันสาธารณสุขแห่งชาตินอร์เวย์แนะนำให้รัฐบาลระงับใช้วัคซีนนี้อย่างถาวรเพราะ "เหตุการณ์ที่มีน้อยแต่รุนแรงคือการมีเกล็ดเลือดต่ำ การเกิดลิ่มเลือด และการตกเลือด" เพราะสำหรับประเทศนอร์เวย์ "ความเสี่ยงตายหลังจากฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้านั้นสูงกว่าความเสี่ยงตายจากโรค โดยเฉพาะในคนผู้มีอายุน้อยกว่า"[133] รัฐบาลจึงประกาศว่าจะรอตัดสินใจแล้วตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ทำการประเมินรวม ๆ ในเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้อะดีโนไวรัสเป็นเวกเตอร์เช่นกัน)[134][135] ในวันที่ 10 พฤษภาคม คณะผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้หยุดใช้วัคซีนทั้งสองชนิด[136] ในที่สุดวันที่ 12 มีนาคมหลังจากได้หยุดใช้เป็นเวลาสองเดือน นายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ก็ประกาศว่า จะเลิกใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อฉีดให้ประชาชน โดยผู้ที่ได้วัคซีนนี้เข็มแรกไปแล้ว ก็จะได้รับวัคซีนโควิด-19 อื่นเป็นเข็มที่สอง[137][138][133]
ในวันที่ 30 มีนาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีประกาศว่า สำหรับบุคคลอายุตั้งแต่ 60 ปีลงมา ควรคุยกับผู้รับวัคซีนก่อนจะฉีดวัคซีนนี้ให้[139] โดยผู้อายุน้อยกว่าก็ยังสามารถฉีดวัคซีน แต่ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของแพทย์ และให้ทำหลังจากตรวจสอบความเสี่ยงแล้วอธิบายให้ผู้รับวัคซีนฟังอย่างละเอียด[139]
ในวันที่ 14 เมษายน เดนมาร์กหยุดการใช้วัคซีนอย่างไม่มีกำหนด[112][140] โดยระบุว่า ประเทศมีวัคซีนอื่น ๆ ให้ใช้และการระบาดของโรคตอนนี้ก็ยังควบคุมได้[140] อนึ่ง กลุ่มประชากรที่จะฉีดวัคซีนต่อไปของเดนมาร์กยังเสี่ยงน้อยกว่าที่จะติดเชื้อโควิด-19 แบบรุนแรง โดยที่ประโยชน์ของวัคซีนนี้ต้องชั่งเทียบกับความเสี่ยงเกิดผลไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากวัคซีน แม้ความเสี่ยงที่ว่าโดยสัมบูรณ์จะเล็กน้อย[140]
แคนาดา
[แก้]วันที่ 29 มีนาคม 2021 คณะกรรมการที่ปรึกษาเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติแคนาดา (National Advisory Committee on Immunization, NACI) แนะนำว่า ให้หยุดให้วัคซีนแก่บุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 55 ปี โดยประธานคณะกรรมการระบุว่า ความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดสูงกว่าในคนอายุน้อยกว่า และคณะกรรมการจะปรับคำแนะนำเมื่อได้ข้อมูลใหม่ ๆ รัฐต่าง ๆ ในแคนาดาโดยมากต่อมาจึงประกาศว่าจะทำตามข้อแนะนำนี้[141][142][143] จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2021 แคนาดามีกรณีเกิดลิ่มเลือดที่เชื่อมกับวัคซีน 3 กรณีจากการฉีดวัคซีน 7 แสนโดส[144][145][146]
เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนภายใต้สถานการณ์คลื่นระบาดลูกที่ 3 รัฐต่าง ๆ รวมทั้งแอลเบอร์ตา บริติชโคลัมเบีย ออนแทรีโอ และซัสแคตเชวันได้ปรับขยายให้ใช้วัคซีนกับคนอายุ 40 ปีและยิ่งกว่า โดยรัฐควิเบกได้ขยายใช้กับคนอายุ 45 ปีและยิ่งกว่า[147][148][149] ข้อแนะนำของคณะกรรมการ NACI ไม่มีผลต่อการอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้ใช้วัคซีนกับบุคคลอายุเกิน 18 ปี โดยกระทรวงระบุในวันที่ 14 ว่า ได้อัปเดตคำเตือนสำหรับวัคซีนโดยเป็นส่วนของการทบทวนข้อมูลที่ทำอย่างต่อเนื่อง และว่า "โอกาสเสี่ยงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้น้อยมาก (very rare) และประโยชน์ของวัคซีนในการป้องกันโควิด-19 มีมากกว่าโอกาสเสี่ยง"[150]
ในวันที่ 23 เมษายน เพราะการขาดแคลนวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอบวกกับข้อมูลใหม่ คณะกรรมการจึงแนะนำให้ใช้วัคซีนแก่บุคคลอายุต่ำถึง 30 ปีถ้าเห็นประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงและเมื่อผู้รับวัคซีน "ไม่ประสงค์จะรอวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ"[151]
ในวันที่ 11 พฤษภาคม จังหวัดต่าง ๆ ประกาศว่าจะหยุดใช้วัคซีนนี้อีกไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดแคลนหรือเพราะเกิดลิ่มเลือด โดยบางจังหวัดระบุว่า มีแผนจะใช้วัคซีนนี้เป็นโดสที่สอง และคณะกรรมการ NACI ก็กำลังตรวจสอบประสิทธิศักย์ของการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อกันระหว่างโดสแรกกับโดสสอง[152][153][154]
อินโดนีเซีย
[แก้]ในกลางเดือนมีนาคม อินโดนีเซียหยุดการฉีดวัคซีนเพื่อรอคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยจากองค์การอนามัยโลก[155] แล้วต่อมาจึงฉีดวัคซีนต่อในวันที่ 19 มีนาคม[156]
ออสเตรเลีย
[แก้]ในวันที่ 8 เมษายน 2021 ออสเตรเลียอัปเดตคำแนะนำการใช้วัคซีนกับบุคคลอายุต่ำกว่า 50 ปี โดยระบุว่าควรใช้วัคซีนของไฟเซอร์แทนสำหรับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนนี้เลย แต่ก็ยังฉีดวัคซีนให้แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 50 ปีได้เมื่อประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง และเมื่อแพทย์พยาบาลให้คำปรึกษาและรายละเอียดแก่ผู้รับวัคซีนเพื่อการตัดสินใจแล้ว[157][158]
มาเลเซีย
[แก้]ภายหลังที่มาเลเซียได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้ กระทรวงสาธารณสุขต่อมาก็ตัดสินใจไม่ใช้วัคซีนนี้ในโปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนโดยอัตโนมัติเพราะประชาชนไม่ไว้วางใจ[159] ดังนั้น ในปลายเดือนเมษายน 2021 วัคซีน 268,600 โดสแรกที่ได้จะส่งไปใช้ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนพิเศษ ณ รัฐเซอลาโงร์และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเกิดกรณีโรคเพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยประชาชนจะต้องอาสาสมัครรับวัคซีนเอง ซึ่งภายในสามชั่วโมงครึ่งที่เปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีน ประชาชนก็จองฉีดวัคซีนนี้จนหมดสิ้น[160]
ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 ล็อตที่สองจำนวน 1,261,000 โดสที่ได้มาก็จัดสรรให้แก่ประชาชนในรัฐเซอลาโงร์ ปีนัง ยะโฮร์ ซาราวัก และกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยสำรอง 29,183 โดสไว้เพื่อคนที่ลงชื่อจองไว้ในคราวก่อน และอีก 275,208 โดสเพื่อคนชรา ที่เหลืออีก 956,609 โดสซึ่งหมายให้คนอายุ 18 ปีและยิ่งกว่า ก็ได้รับการจองจนหมดสิ้นภายใน ชม. เดียว[161]
การทบทวนความปลอดภัย
[แก้]ในวันที่ 11 มีนาคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) แจ้งว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าวัคซีนเป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งยังไม่ได้ระบุว่าเป็นผลข้างเคียงของวัคซีน[122][162] ตามสำนักงาน การเกิดลิ่มเลือดในคนฉีดวัคซีนไม่ได้สูงกว่าที่พบในกลุ่มประชากรทั่วไป[162] จนถึง 11 มีนาคม มีกรณีเกิดลิ่มเลือดเพียง 30 กรณีในบรรดาคน 5 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนนี้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป[162]
ในวันที่ 12 มีนาคม องค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่พบความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุผล ดังนั้น จึงควรให้วัคซีนต่อไป[163] ในวันที่ 14 มีนาคม บริษัทแอสตร้าเซนเนก้ายืนยันว่า หลังจากตรวจข้อมูลคน 17 ล้านคนที่ได้วัคซีน ไม่มีหลักฐานว่าเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดมากขึ้นในประเทศทั้งหมด[164] บริษัทรายงานว่า จนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2021 สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรตลอดทั้งหมดมีเหตุการณ์หลอดเลือดดำเกิดลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) 15 ครั้งและภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism) 22 ครั้งในบรรดาผู้ที่ได้วัคซีน ซึ่งจริง ๆ น้อยกว่าที่ปกติเกิดโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากรนั้น ๆ[164] ในวันที่ 15 มีนาคม องค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักรระบุว่า หลังจากที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 11 ล้านโดส ยังไม่สามารถยืนยันกรณีที่เกิดลิ่มเลือดว่ามีเหตุจากวัคซีน ดังนั้น องค์กรจึงไม่หยุดการให้วัคซีน[165]
แต่ในวันที่ 15 มีนาคม สถาบันเพาล์แอร์ลิช (Paul Ehrlich Institute, PEI) รายงานว่า จากการฉีดวัคซีน 1.6 ล้านโดส พบการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำในสมอง (cerebral vein thrombosis) พร้อมกับการมีเกล็ดเลือดต่ำ 7 กรณี[166] ตามสถาบัน การเกิดภาวะเช่นนี้หลังฉีดวัคซีนสูงกว่าอย่างสำคัญทางสถิติเทียบกับที่เกิดโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากรทั่วไปในระยะเวลาเท่ากัน[166] ซึ่งทำให้สถาบันแนะนำการหยุดใช้วัคซีนชั่วคราวจนกระทั่งสำนักงานการแพทย์ยุโรปตรวจสอบกรณีเหล่านี้ให้เรียบร้อย[167]
ในวันที่ 17 มีนาคม องค์การอนามัยโลกระบุว่า วัคซีนนี้ยังมีประโยชน์ยิ่งกว่าโอกาสเสี่ยง จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนต่อไป[168] ในวันที่ 18 มีนาคม สำนักงานการแพทย์ยุโรปประกาศว่า จากคน 20 ล้านคนที่ได้วัคซีน อัตราการเกิดลิ่มเลือดทั่วไปอยู่ในระดับปกติ แต่ก็พบกรณี disseminated intravascular coagulation (การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย) 7 กรณี และ cerebral venous sinus thrombosis (การเกิดลิ่มเลือดในโพรงหลอดเลือดดำในสมอง) 18 กรณี[169] แม้ยังจะไม่ได้พิสูจน์ว่าวัคซีนเป็นเหตุ สำนักงานการแพทย์ยุโรปก็ระบุว่า จะทำการวิเคราะห์ต่อไปและแนะนำให้บอกคนที่มีสิทธิฉีดวัคซีนว่า ยังไม่ได้พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า วัคซีนไม่เป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งเกิดน้อย[169] โดยสำนักงานก็ยังยืนยันว่า ประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง[169] ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม สำนักงานก็อัปเดตข้อมูลผลิตภัณฑ์ของวัคซีน[170][25][171]
ตามสำนักงาน มีกรณีเกิดลิ่มเลือดแสนรายที่เกิดโดยธรรมชาติทุก ๆ เดือนในสหภาพยุโรป ดังนั้น ความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดจึงไม่สูงกว่าในกลุ่มที่ได้วัคซีน สำนักงานยังให้ข้อสังเกตด้วยว่า โรคโควิด-19 เองก็เป็นเหตุให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดสูงขึ้น ดังนั้น วัคซีนก็จะลดความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดแม้ถ้า 15 กรณีตามที่ว่าจะได้ยืนยันว่าเกิดจากวัคซีน[172] อิตาลีจึงฉีดวัคซีนต่อไปหลังแถลงการณ์นี้[173] และประเทศยุโรปโดยมากก็ทำตามต่อจากนั้นไม่นาน[174] เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนปลอดภัย นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร (บอริส จอห์นสัน) และฝรั่งเศส (ฌ็อง กัสแต็กซ์) ได้ฉีดวัคซีนต่อหน้าสื่อหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนนี้ต่อไปในสหภาพยุโรป[175]
ในวันที่ 13 เมษายน 2021 สำนักงานส่งสารไปยังแพทย์พยาบาล (direct healthcare professional communication, DHPC) เกี่ยวกับวัคซีนว่า ความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุและผลระหว่างวัคซีนกับภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยยังอาจเป็นไปได้ ว่าเกล็ดเลือดน้อยเป็นผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่สามัญ (common) แต่ภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยก็เกิดน้อยมาก (very rare)[176] ตามสำนักงานการแพทย์ยุโรป นี่เป็นเหตกุารณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดน้อยมากราว ๆ 1 รายต่อคนที่ฉีดวัคซีน 100,000 คน[26]
เหตุการณ์ต่อ ๆ มา
[แก้]ประสิทธิศักย์ต่อต้านสายพันธุ์ใหม่
[แก้]งานศึกษาในสหราชอาณาจักร (COVID-19 Genomics United Kingdom Consortium, AMPHEUS Project และ Oxford COVID-19 Vaccine Trial Group) ในเดือนเมษายน 2021 ระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ต่อต้านโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ได้ลดลง (ประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 70.4 สำหรับสายพันธุ์ B.1.1.7 เทียบกับที่ร้อยละ 81.5 สำหรับสายพันธุ์อื่น ๆ)[177] แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ โดยบุคคลที่ได้วัคซีนก็จะมีอาการระยะสั้นกว่าและสร้างไวรัสน้อยกว่า ดังนั้น ก็จะลดการแพร่เชื้อ[178]
งานศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 พบว่า การกลายพันธุ์แบบ E484K ที่พบในสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) และสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) อาจทำให้วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้[179] ในเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทจึงเริ่มทำการเพื่อปรับวัคซีนโดยเล็งเป้าที่สายพันธุ์เหล่านี้[180] และคาดว่า วัคซีนที่ปรับใช้จะได้ภายใน 2-3 เดือนโดยใช้ฉีดเสริมสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนดั้งเดิม 2 โดสแรกไปแล้ว[181]
การฉีดวัคซีนสองเข็มไม่เหมือนกัน
[แก้]ในเดือนธันวาคม 2021 มีการลงทะเบียนการทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและสองแบบผสม คือฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่หนึ่ง และฉีดวัคซีนสปุตนิกวี (Ad26, รัสเซีย) เป็นเข็มที่สองอีก 29 วันต่อมา[182]
หลังจากระงับการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เนื่องกับการเกิดลิ่มเลือดที่มีน้อยในเดือนมีนาคม 2021 แคนาดาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มที่สองต่างชนิดกัน แม้จะไม่มีข้อมูลการทดลองทางคลินิกในเรื่องประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนผสม ผู้ชำนาญการบางพวกก็เชื่อว่า อาจเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยเริ่มมีงานศึกษาที่กำลังตรวจสอบผลเช่นนี้[183][184]
ในเดือนมิถุนายน 2021 มีผลเบื้องต้นจากงานศึกษากับอาสาสมัคร 463 คนที่แสดงว่า การฉีดวัคซีนผสมโดยฉีดโดสแรกเป็นวัคซีนของแอสตร้าฯ แล้วตามด้วยวัคซีนของไฟเซอร์ ก่อการตอบสนองของเซลล์ทีและก่อระดับแอนติบอดีในระดับที่เกือบสูงเท่ากับวัคซีนของไฟเซอร์สองโดส ส่วนการกลับลำดับการฉีดก็จะก่อการตอบสนองของเซลล์ทีลดลงครึ่งหนึ่ง และก่อระดับแอนติบอดีเพียงแค่ 1/7 ถึงกระนั้น ระดับแอนติบอดีที่ว่าก็ยังสูงกว่าการได้วัคซีนแอสตร้าฯ สองเข็มเป็น 5 เท่า การตอบสนองของเซลล์ทีพบว่าต่ำสุดเมื่อฉีดวัคซีนทั้งสองโดสชนิดเดียวกัน[185]
สังคมและวัฒนธรรม
[แก้]การร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเบื้องต้นหวังว่า มีโอกาสสร้างวัคซีนราคาถูกที่ไม่ต้องแช่แข็งในตู้พิเศษ[186] แต่ปัญหาต่าง ๆ ที่บริษัทมีรวมทั้งการสื่อสารไม่ดี การส่งวัคซีนไม่ได้ตามกำหนด รายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ การระงับใช้วัคซีนในประเทศต่าง ๆ และปัญหาทางการเมืองรวมทั้งข้อโต้แย้งของบริษัทกับคณะกรรมาธิการยุโรป จัดเป็นความเสียหายทางประชาสัมพันธ์[187] ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า ทำให้ประชาชนลังเลไม่ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น[186]
ถึงกระนั้น วัคซีนก็ยังเป็นองค์ประกอบหลักของโปรแกรมโคแวกซ์ซึ่งองค์การอนามัยโลกสนับสนุน[186] โดยองค์การทางสาธารณสุขต่าง ๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลกเอง สำนักงานการแพทย์ยุโรป และองค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักร ก็ยังคงยืนหยัดว่า วัคซีนมีประโยชน์ยิ่งกว่าผลไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น[188]
ประเด็นทางเศรษฐกิจในเบื้องต้น
[แก้]ผู้ซื้อ | วันที่ | โดส |
---|---|---|
สหราชอาณาจักร | 17 พ.ค. 2020[a] | 100 ล้าน[189][190] |
สหรัฐอเมริกา | 21 พ.ค. 2020 | 300 ล้าน[191] |
โคแวกซ์ (องค์การอนามัยโลก) |
4 มิ.ย. 2020 | 300 ล้าน[192] |
29 ก.ย. 2020 | 100 ล้าน[193] | |
อียิปต์ | 22 มิ.ย. 2020 | ไม่ทราบแน่ชัด[194] |
ญี่ปุ่น | 8 ส.ค. 2020 | 120 ล้าน[195] |
ออสเตรเลีย | 19 ส.ค. 2020 | 25 ล้าน[196] |
สหภาพยุโรป[b] | 27 ส.ค. 2020[c] | 400 ล้าน[197][198][199][200] |
แคนาดา | 25 ก.ย. 2020 | 20 ล้าน[201][202] |
สวิตเซอร์แลนด์ | 16 ต.ค. 2020 | 5.3 ล้าน[203][204] |
บังกลาเทศ | 5 พ.ย. 2020 | 30 ล้าน[205] |
ไทย | 27 พ.ย. 2020[d] | 26 ล้าน[206] |
21 ม.ค. 2021[e] | ||
4 พ.ค. 2021[f] | 35 ล้าน[208][209] | |
21 พ.ค. 2021[e] | ||
ฟิลิปปินส์ | 27 พ.ย. 2020 | 2.6 ล้าน[210] |
เกาหลีใต้ | 1 ธ.ค. 2020 | 20 ล้าน[211] |
แอฟริกาใต้ | 7 ม.ค. 2021 | 1 ล้าน[g][212] |
|
การตกลงซื้อวัคซีนได้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 โดยสหราชอาณาจักรจะได้วัคซีน 100 ล้านโดสก่อนประเทศอื่นถ้าการทดลองสำเร็จ โดยข้อตกลงก็ได้เสร็จสมบูรณ์เมื่อปลายเดือนสิงหาคม[189][190][213][214]
ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2020 บริษัทตกลงขายวัคซีน 300 ล้านโดสให้แก่สหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดสหนึ่งจึงมีราคา 4 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 125 บาท)[191] โฆษกบริษัทแจ้งว่า ราคานี้รวมค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการทดลองทางคลินิกด้วย[215] บริษัทยังตกลงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่รัฐบาลเม็กซิโกและอาร์เจนตินาเพื่อผลิตวัคซีนอย่างน้อย 400 ล้านโดสเพื่อแจกจำหน่ายทั่วลาตินอเมริกา ตัวยาออกฤทธิ์จะผลิตในอาร์เจนตินาแล้วส่งไปยังเม็กซิโกเพื่อทำให้เสร็จพร้อมแจกจำหน่าย[216]
ในเดือนมิถุนายน 2020 บริษัทยังได้ตกลงกับบริษัทยาชีวภาพอเมริกันคือ Emergent BioSolutions เพื่อผลิตวัคซีนโดยเฉพาะให้แก่สหรัฐ โดยมีมูลค่า 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,700 ล้านบาท) นี่เป็นส่วนของโปรแกรมปฏิบัติการเหนือแสง (Operation Warp Speed) ของรัฐบาลกลางสหรัฐเพื่อเร่งพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด-19 ก่อนสิ้นปี 2020[217]
ในเดือนมิถุนายนเช่นกัน สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก ได้สิทธิจากบริษัทให้ผลิตวัคซีน 1,000 ล้านโดสสำหรับประเทศมีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง รวมทั้งอินเดียเอง[218][219] ในเดือนมิถุนายนเช่นกัน โปรแกรมโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลกเริ่มต้นซื้อวัคซีนเป็นจำนวน 300 ล้านโดสจากบริษัทเพื่อประเทศรายได้ต่ำจนถึงปานกลาง[192] ต่อมาวันที่ 29 กันยายน 2020 มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์จึงบริจาคทรัพย์ซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถซื้อวัคซีนเพิ่มขึ้นอีก 100 ล้านโดส โดยอาจเป็นวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าหรือของโนวาแว็กซ์ และจำกัดราคาที่ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 94 บาท)[220]
ในวันที่ 13 มิถุนายน 2020 บริษัทเซ็นสัญญากับกลุ่ม Inclusive Vaccines Alliance ของยุโรป ซึ่งจัดตั้งโดยประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์เพื่อส่งวัคซีน 400 ล้านโดสให้แก่รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปทั้งหมด[221][222][223] แต่ต่อมาคณะกรรมาธิการยุโรปได้เข้าไปขวางก่อนที่ข้อตกลงจะออกมาอย่างเป็นทางการ แล้วรับช่วงต่อรองในนามของสหภาพยุโรปและเขตเศรษฐกิจยุโรปทั้งหมดเองโดยได้เซ็นสัญญาท้ายเดือนสิงหาคม[224][225][226]
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 บังกลาเทศได้เซ็นสัญญาไตรภาคีกับสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียและบริษัทยา Beximco Pharma แห่งบังกลาเทศ เป็นการสั่งวัคซีน 30 ล้านโดสของรัฐบาลจากสถาบันผ่านบริษัทยาในราคา 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส[205] นี่เท่ากับเพิ่มวัคซีนที่รัฐบาลอินเดียบริจาคให้บังกลาเทศอีก 3.2 ล้านโดส ซึ่งสถาบันก็เป็นผู้ผลิตเช่นกัน แต่ปรากฏว่าในเดือน 2 เดือนแรกแห่งปี 2021 สถาบันสามารถส่งวัคซีนให้ได้เพียง 7 ล้านโดส[227] บังกลาเทศควรจะได้วัคซีน 5 ล้านโดสต่อเดือนแต่ก็ไม่ได้เลยในเดือนมีนาคมและเมษายน[228] จึงทำให้โปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนของประเทศต้องชะงักไปเพราะขาดวัคซีน[228] คนโดยมากที่ได้วัคซีนโดสที่หนึ่งก็จะไม่ได้โดสที่สองอย่างทันการ[227] ซึ่งน่าจะลดประสิทธิภาพของโปรแกรมฉีดวัคซีน อนึ่ง คนบังกลาเทศก็สงสัยในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนอยู่แล้ว[227] บังกลาเทศจึงต้องหาแหล่งวัคซีนอื่น ๆ เพราะอินเดียไม่สามารถแจกจำหน่ายให้ตามกำหนดการ[229]
ในเดือนพฤศจิกายนเช่นกัน ประเทศฟิลิปปินส์ตกลงซื้อวัคซีน 2.6 ล้านโดส[210] โดยสื่อรายงานว่ามีค่าราว ๆ 700 ล้านเปโซ (ประมาณ 5.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส)[230]
ในเดือนธันวาคม 2020 เกาหลีใต้เซ็นสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อซื้อวัคซีน 20 ล้านโดส โดยมีราคาใกล้ ๆ กับที่ไทยและฟิลิปปินส์จ่าย[211] และคาดว่า อาจได้ล็อตแรก ๆ เร็วถึงเดือนมกราคม[231][232] บริษัทได้เซ็นสัญญากับบริษัท SK Bioscience ของเกาหลีใต้เพื่อผลิตวัคซีน โดยมีข้อบังคับให้ผลิตเพื่อทั้งเกาหลีใต้เองและตลาดโลกด้วย[233]
ในเดือนเดียวกัน ประเทศพม่าได้เซ็นสัญญากับสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียเพื่อซื้อวัคซีน 30 ล้านโดส โดยจะได้วัคซีนสำหรับประชาชน 15 ล้านคนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[234]
วันที่ 7 มกราคม 2021 แอฟริกาใต้ประกาศว่าได้รับวัคซีน 1 ล้านโดสเบื้องต้นจากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ซึ่งจะตามมาอีกครึ่งล้านโดสในเดือนกุมภาพันธ์[212] แต่ต่อมารัฐบาลได้ยกเลิกใช้วัคซีนเนื่องจากงานทดลองขนาดเล็กที่ทำพบว่า ไม่สามารถป้องกันอาการโรคขนาดน้อยจนถึงปานกลางสำหรับสายพันธุ์โควิด-19 หลักในพื้นที่คือ 501Y.V2 ได้ดีพอ แล้วขายให้แก่ประเทศแอฟริกาอื่น ๆ โดยเปลี่ยนไปใช้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันแทน[121][235]
ในวันที่ 22 มกราคม 2021 แอสตร้าเซนเนก้าประกาศว่า ถ้าสหภาพยุโรปให้อนุมัติวัคซีนของบริษัท วัคซีนที่จะส่งให้แก่สหภาพยุโรปในเดือนมีนาคม 2021 จริง ๆ จะอยู่ที่ 31 ล้านโดส ซึ่งน้อยกว่าที่คาดไว้คือ 80 ล้านโดส เพราะโรงงานในเบลเยียมมีปัญหาการผลิต[236] ในการสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อิตาลี ประธานบริหารบริษัทกล่าวว่า แผนการส่งวัคซีนในสหภาพยุโรปล้าหลังไปสองเดือน เพราะการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ได้น้อยในหน่วยผลิตยุโรปขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง[237] และการวิเคราะห์เหตุการณ์ในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนก็ระบุว่าเครื่องผลิตชีวภาพ (bioreactor) ในโรงงานเบลเยียมให้ผลผลิตน้อย โดยให้ข้อสังเกตด้วยว่า การจัดตั้งกระบวนการผลิตเยี่ยงนี้ยากเพราะปริมาณผลผลิตที่ได้มักไม่แน่นอน[238] ต่อมา สหภาพยุโรปจึงระงับการส่งออกวัคซีน แล้วก็เกิดข้อโต้แย้งว่า มีวัคซีนที่เบี่ยงส่งไปให้สหราชอาณาจักรหรือไม่ และการส่งวัคซีนให้ไอร์แลนด์เหนือจะถูกระงับหรือไม่[239]
ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 สำนักงานวารสารศาสตร์เชิงสืบสวน (Bureau for Investigative Journalism) ในนครลอนดอนพบว่า แอฟริกาใต้จ่ายค่าวัคซีนเป็นสองเท่าของคณะกรรมการยุโรป และยูกันดาจ่ายเป็นสามเท่า เพราะผู้ผลิตวัคซีนคือ สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ไม่ได้สัญญาผลิตวัคซีนแบบไม่เอากำไร ไม่ขาดทุน[240][241] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 โคแวกซ์ได้ส่งวัคซีนที่ได้เบื้องต้นไปยังเมืองอักกรา ประเทศกานา เป็นประเทศแรกในแอฟริกาที่ได้วัคซีนผ่านโปรแกรมนี้[242]
ประเทศไทย
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน 2020 คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติงบประมาณ 6,000 ล้านบาทเพื่อสั่งจองวัคซีนจากบริษัทจำนวน 26 ล้านโดสพอสำหรับคน 13 ล้านคน (ประมาณ 1/5 ของประเทศตามสำมะโน) โดยจะซื้อในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 151 บาท) ต่อโดส และที่เหลือ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท) จะใช้เพื่อดำเนินการและเก็บรักษา โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า เป็นราคาต้นทุน ในฐานะที่ไทยร่วมผลิต[33][243][244][245] วัคซีนส่วนนี้คาดว่าจะส่งในระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2021[34] คือเดือน มิย. 6 ล้านโดส, เดือน กค. และ สค. เดือนละ 10 ล้านโดส[36][37]
ในเดือนมกราคม 2021 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อนุมัติให้นำเข้าและใช้วัคซีนเป็นเวลา 1 ปี[246] หลังเกิดจากข้อโต้แย้งเกี่ยวกับวัคซีน บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ก็อธิบายว่า ราคาวัคซีนสำหรับแต่ละประเทศจะขึ้นอยู่กับค่าผลิตและความแตกต่างทางโซ่อุปทานต่าง ๆ รวมทั้งกำลังการผลิต ค่าแรงงาน และราคาวัตถุดิบ[247] สยามไบโอไซเอนซ์ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธยจะได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากแอสตร้าเซนเนก้า[248] เพื่อรับจ้างผลิตวัคซีนโดยแอสตร้าเซนเนก้าจะนำไปแจกจำหน่ายในเขตอาเซียนรวมทั้งประเทศไทยเอง โดยมีกำลังการผลิตถึง 200 ล้านโดสต่อปี[249] ซึ่งในช่วงการระบาดทั่วของโรค บริษัททั้งสองจะทำการเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ด้วยนโยบายไม่ได้กำไร ไม่ขาดทุน
ในเดือนมีนาคม 2021 คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติงบประมาณอีก 6,387 ล้านบาท เพื่อซื้อวัคซีนเพิ่ม 35 ล้านโดสโดย 5,674 ล้านบาทเป็นค่าวัคซีน (ประมาณ 162 บาทหรือ 5.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส) และ 714 ล้านบาทเป็นค่าบริหารจัดการ[208][209] วัคซีนล็อตนี้คาดว่าจะส่งในระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2021[34] คือเดือน กย.-พย. เดือนละ 10 ล้านโดสและเดือน ธค. อีก 5 ล้านโดส[36][37]
จนถึงปลายเดือนเมษายน 2021 ประเทศไทยได้สั่งวัคซีนชนิดนี้รวมทั้งหมดแล้ว 61 ล้านโดส[34]
ในต้นเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ประกาศว่า ตัวอย่างวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยได้ผ่านการทดสอบคุณภาพในห้องปฏิบัติการที่บริษัทเป็นผู้กำหนดทั้งในสหรัฐและยุโรปแล้ว[250][251]
ในต้นเดือนมิถุนายน 2021 บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ประกาศว่าจะเริ่มทยอยส่งวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยล็อตแรกจำนวน 1.8 ล้านโดสให้แก่รัฐบาล[252][253]
ในวันที่ 15 กรกฎาคม กระทรวงสาธารณสุขได้บอกแก้แผนการส่งวัคซีนให้แก่ไทยว่า วัคซีน 61 ล้านโดสที่ไทยได้สั่งซื้อ จะมาครบไม่ใช่ในเดือนธันวาคม 2021 ที่ก่อนหน้านี้เคยระบุไว้ แต่อาจเป็นเดือนพฤษภาคม 2022[40] ต่อมาในวันที่ 17 กรกฎาคม สำนักข่าวอิศราจึงได้เปิดเผยหนังสือ "ลับ" วันที่ 25 มิถุนายนที่รองประธานฝ่ายกิจการองค์กรทั่วโลกของบริษัทได้ส่งให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หนังสือมีใจความเกี่ยวกับการผลิตและการส่งวัคซีนให้แก่ประเทศไทยดังนี้
- บริษัทมีเป้าหมายส่งวัคซีนที่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ให้แก่ไทยประมาณ 1/3 จากผลผลิตทั้งหมดเพียงเท่านั้น โดยที่เหลือจะส่งไปยังประเทศอื่น ๆ[254]
- บริษัทจะส่งวัคซีนให้ไทย 61 ล้านโดสจากยอดที่จะผลิต 175 ล้านโดส[255]
- บริษัทคาดว่า กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับวัคซีน 5-6 ล้านโดสต่อเดือน[38]
แม้สำนักข่าวบีบีซีจะระบุว่า ไม่สามารถยืนยันหนังสือลับที่สำนักข่าวอิศราเปิดเผยออกมาได้[41] แต่ในวันที่ 24 กรกฎาคม ประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ก็ระบุใน จม. เปิดผนึกถึงพี่น้องชาวไทยว่า จะส่งวัคซีนให้ประเทศไทยได้โดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดสจริง โดยระบุด้วยว่า กำลังปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่บริษัทมั่นใจว่า จะทำให้ส่งวัคซีนได้มากขึ้นอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า[39][256]
จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2021 ประเทศไทยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด 8,193,500 โดส คือญี่ปุ่นบริจาคให้ 1,053,000 โดสและบริษัทส่งให้ที่เหลือ 7,140,500 โดสโดยส่ง 1,651,100 โดสให้ในเดือนกรกฎาคม[41][42]
อาชญากรรมในประเทศไทย
[แก้]ในปลายเดือนกรกฎาคม เจ้าหน้าตำรวจ จ. ชลบุรีได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 2 รายที่ได้เรียกเงิน 19,000 บาทจากผู้เสียหาย 5 คนโดยแอบอ้างว่าจะฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ ให้แล้วฉีดน้ำเกลือให้แทน ส่วนผู้เสียหายกลับรู้ตัวเพราะต้องการใบรับรองและการฉีดเข็มที่ 2 แต่ไม่ได้ จึงโทรไปถาม รพ. ที่ผู้ต้องสงสัยอ้างว่าได้สิทธิการจองแล้วจึงพบว่า รพ. ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่มีการจอง[257][258][259] ในปลายเดือนกรกฎาคมเช่นกัน ผอ.ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อได้แจ้งความว่ามีการทุจริตจัดคิวจากค่ายโทรศัพท์รายหนึ่งอย่างผิดปกติโดยเพิ่มขึ้นเกิน 2,000 คน ในจำนวนนั้น 300 คนได้รับวัคซีนและกันไว้เป็นพยาน จึงทราบจากพยานเหล่านี้ว่า ถูกเรียกเก็บเงินรายละ 500-1,000 บาท[260][261][262]
ตราสินค้า
[แก้]สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียผลิตวัคซีนโดยใช้ตราสินค้า Covishield[4] ในสหภาพยุโรป วัคซีนเริ่มใช้ตราสินค้า Vaxzevria ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2021[3] ตัวบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเองได้ผลิตวัคซีนโดยใช้ตราสินค้านี้บวกกับ AstraZeneca COVID‐19 Vaccine และ COVID-19 Vaccine AstraZeneca[3][4]
Covishield ปลอมในอินเดีย
[แก้]ในต้นเดือนกรกฎาคม ตำรวจอินเดียได้จับกุมผู้ต้องหา 14 คนฐานฉีดน้ำเกลือให้แก่ประชาชนโดยหลอกลวงว่าเป็นวัคซีนแอสตร้าฯ และฉีดให้ในที่เอกชนเกิน 10 แห่งในนครมุมไบ ผู้ต้องหารวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ได้คิดค่าบริการ 10-17 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 330-560 บาท) โดยมีผู้เสียหายเกิน 2,600 คนที่ได้จ่ายเงินให้แล้ว[263]
งานวิจัย
[แก้]จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทีมพัฒนาวัคซีนนี้ก็กำลังปรับวัคซีนให้มีประสิทธิภาพต่อต้านสายพันธุ์เชื้อไวรัสโควิด-19 อื่น ๆ อยู่โดยทำได้ค่อนข้างไวเพราะต้องปรับแต่ลำดับยีนของโปรตีนหนามที่ใช้ในวัคซีนเท่านั้น[264] แต่ก็ยังต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตและทำการทดลองทางคลินิกระดับย่อย ๆ ด้วย วัคซีนคาดว่าจะมีใช้ในฤดูใบไม้ผลิที่จะถึงนี้[264]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca PI". Therapeutic Goods Administration (TGA).
- ↑ 2.0 2.1 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca". Therapeutic Goods Administration (TGA). 2021-02-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "Vaxzevria (previously COVID-19 Vaccine AstraZeneca) EPAR". European Medicines Agency (EMA). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "AstraZeneca / Covishield COVID-19 vaccine: What you should know". Health Canada. 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
- ↑ 5.0 5.1 "Already produced 40-50 million dosages of Covishield vaccine, says Serum Institute". The Hindu. 2020-12-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
- ↑ 6.0 6.1 "AZD1222 vaccine met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19". Press Release (Press release). AstraZeneca. 2020-11-23. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ 7.0 7.1 "AstraZeneca COVID-19 Vaccine (AZD1222)" (PDF). AstraZeneca. 2021-01-27.
- ↑ "AstraZeneca and Oxford University announce landmark agreement for COVID-19 vaccine". AstraZeneca (Press release). 2020-04-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2021-01-13.
- ↑ 9.0 9.1 "Information for Healthcare Professionals on COVID-19 Vaccine AstraZeneca". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 2020-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ "First COVID-19 variant vaccine AZD2816 Phase II/III trial participants vaccinated". Astrazeneca. 2021-06-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
- ↑ "AstraZeneca COVID-19 Vaccine monograph" (PDF). AstraZeneca. 2021-02-26. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ 13.0 13.1 "EMA recommends COVID-19 Vaccine AstraZeneca for authorisation in the EU". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "European Commission authorises third safe and effective vaccine against COVID-19". European Commission (Press release). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ 15.0 15.1 "Conditions of Authorisation for COVID-19 Vaccine AstraZeneca". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 2020-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ "Covishield and Covaxin: What we know about India's Covid-19 vaccines". BBC News. 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
- ↑ "AstraZeneca vaccine renamed 'Vaxzevria'". The Brussels Times. 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
- ↑ Walsh, N; Shelley, J; Duwe, E; Bonnett, W (2020-07-27). "The world's hopes for a coronavirus vaccine may run in these health care workers' veins". São Paulo: CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
- ↑ "Investigating a Vaccine Against COVID-19". ClinicalTrials.gov (Registry). United States National Library of Medicine. 2020-05-26. NCT04400838. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-14.
- ↑ "A Phase 2/3 study to determine the efficacy, safety and immunogenicity of the candidate Coronavirus Disease (COVID-19) vaccine ChAdOx1 nCoV-19". EU Clinical Trials Register (Registry). European Union. 2020-04-21. EudraCT 2020-001228-32. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
- ↑ O'Reilly, P (2020-05-26). "A Phase III study to investigate a vaccine against COVID-19". ISRCTN (Registry). doi:10.1186/ISRCTN89951424. ISRCTN89951424.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 Voysey, M; SA, Costa Clemens; Madhi, SA; Weckx, LY; Folegatti, PM; Aley, PK; และคณะ (February 2021). "Single-dose administration and the influence of the timing of the booster dose on immunogenicity and efficacy of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine: a pooled analysis of four randomised trials". Lancet. 397 (10277): 881–891. doi:10.1016/S0140-6736(21)00432-3. PMC 7894131. PMID 33617777.
- ↑ 23.0 23.1 Public Health England. "Vaccines highly effective against B.1.617.2 variant after 2 doses". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 "Coronavirus Vaccine : Summary of Yellow Card reporting" (PDF).
It is known from the clinical trials that the more common side effects for both vaccines can occur at a rate of more than one in 10 doses (for example, local reactions or symptoms resembling transient flu-like symptoms)
- ↑ 25.0 25.1 "Annex 1: Summary of Product Characteristics" (PDF). European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 "AstraZeneca's COVID-19 vaccine: benefits and risks in context". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-04-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
- ↑ 27.0 27.1 "AstraZeneca's COVID-19 vaccine: EMA finds possible link to very rare cases of unusual blood clots with low platelets". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-04-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ "Covid-19: Oxford-AstraZeneca coronavirus vaccine approved for use in UK". BBC News Online. 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
- ↑ "Second COVID-19 vaccine authorised by medicines regulator". GOV.UK (Press release). 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ 30.0 30.1 "Covid: Brian Pinker, 82, first to get Oxford-AstraZeneca vaccine". BBC News Online. 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines". World Health Organization (WHO). 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ 32.0 32.1 "Spain, Belgium and Italy restrict AstraZeneca Covid vaccine to older people". The Guardian. 2021-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ 33.0 33.1 "ข่าวดี! ไทยจองซื้อวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้า "ราคาต้นทุน"". hfocus.org. 2020-11-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-23.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 "เปิดแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของไทย สู่เป้าหมาย 100 ล้านโดส". THE STANDARD. 2021-04-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ "นายกฯ จ่อยกระดับเข้มคุมโควิด เร่งจัดหาวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส". Thai PBS News. 2021-04-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ 36.0 36.1 36.2 "แผนการกระจายและความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564". รายการวิทยุไทยคู่ฟ้า ข่าวทำเนียบรัฐบาล. 2021-03-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 "กางปฏิทินวัคซีนโควิดแอสตร้าเซนเนก้า ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ หลังผ่านตรวจสอบจาก ยุโรป-สหรัฐ". PPTVHD36. 2021-05-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ 38.0 38.1 Isranews-07-17 (2021) "เราเชื่อมั่นว่าในแต่ละเดือน ด้วยการผลิตวัคซีนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับวัคซีนประมาณทั้งสิ้น 5-6 ล้านโดสต่อเดือน"
- ↑ 39.0 39.1
"เจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทยวันนี้ (24 ก.ค.64) ว่าสัปดาห์หน้า AZ ส่งมอบอีก 2.3 ล้านโดส พร้อมเร่งผลิตและส่งมอบวัคซีนโดยเร็วที่สุด คาดจัดสรรวัคซีนให้ไทยโดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดสต่อเดือน". NNT. 2021-07-24.
... แต่เราคาดการณ์ว่าจะสามารถจัดสรรวัคซีนให้กับประเทศไทยได้โดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดสต่อเดือน... เราได้พยายามเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และเรามั่นใจว่า จะสามารถส่งมอบวัคซีนได้มากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า...
- ↑ 40.0 40.1 "โควิด-19 : รัฐบาลรับรองประสิทธิภาพซิโนแวค-ซิโนฟาร์ม ส่วนแอสตร้าฯ 61 ล้านโดสมาครบ พ.ค. 65". BBC News ไทย. 2021-07-15.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 41.3 "โควิด-19 : วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ากับทางการไทย ลำดับเหตุการณ์และอุปสรรคการจัดส่ง". BBC News ไทย. 2021-07-20.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 "เปิดไทม์ไลน์จัดหาวัคซีนแอสตร้าฯ ประเทศไทย พร้อมแจงทุกรายละเอียดหนังสือสัญญา". Hfocus. 2021-07-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-18.
- ↑ Interim recommendations for use of the ChAdOx1-S [recombinant] vaccine against COVID-19 (AstraZeneca COVID-19 vaccine AZD1222, SII Covishield, SK Bioscience) (Guidance). World Health Organization. 2021-04-21. WHO/2019-nCoV/vaccines/SAGE_recommendation/AZD1222/2021.2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
- ↑ Krause, P; Fleming, TR; Longini, I; Henao-Restrepo, AM; Peto, R; Dean, NE; และคณะ (2020-09-12). "COVID-19 vaccine trials should seek worthwhile efficacy". The Lancet. 396 (10253): 741–743. doi:10.1016/S0140-6736(20)31821-3. ISSN 0140-6736. PMC 7832749. PMID 32861315.
WHO recommends that successful vaccines should show an estimated risk reduction of at least one-half, with sufficient precision to conclude that the true vaccine efficacy is greater than 30%. This means that the 95% CI for the trial result should exclude efficacy less than 30%. Current US Food and Drug Administration guidance includes this lower limit of 30% as a criterion for vaccine licensure.
- ↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 45.4 45.5 45.6 45.7 Sheikh, A; McMenamin, J; Taylor, B; Robertson, C (2021-06-14). "SARS-CoV-2 Delta VOC in Scotland: demographics, risk of hospital admission, and vaccine effectiveness". The Lancet. 397 (10293). Table S4. doi:10.1016/S0140-6736(21)01358-1. ISSN 0140-6736. PMC 8201647. PMID 34139198.
- ↑ Stowe, J; Andrews, N; Gower, C; Gallagher, E; Utsi, L; Simmons, R; และคณะ (2021-06-14). Effectiveness of COVID-19 vaccines against hospital admission with the Delta (B.1.617.2) variant (Preprint). Public Health England. Table 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29 – โดยทาง Knowledge Hub.
- ↑ SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England, technical briefing 17 (PDF) (Briefing). Public Health England. 2021-06-25. GOV-8576. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
- ↑ Madhi, SA; Baillie, V; Cutland, CL; Voysey, M; Koen, AL; Fairlie, L; และคณะ (May 2021). "Efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 Covid-19 Vaccine against the B.1.351 Variant". The New England Journal of Medicine. 384 (20): 1885–1898. doi:10.1056/NEJMoa2102214. PMC 7993410. PMID 33725432.
- ↑ 49.0 49.1 49.2 49.3 Hitchings, MD; Ranzani, OT; Dorion, M; D'Agostini, TL; Paula, RC; Paula, OF; และคณะ (2021-07-22). "Effectiveness of the ChAdOx1 vaccine in the elderly during SARS-CoV-2 Gamma variant transmission in Brazil" (Preprint). doi:10.1101/2021.07.19.21260802. S2CID 236166091 – โดยทาง medRxiv.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Estudo com vacina AstraZeneca em Botucatu indica queda de 71% de casos de Covid após vacinação em massa" [AstraZeneca vaccine study in Botucatu indicates 71% drop in COVID-19 cases after mass vaccination]. G1 (ภาษาโปรตุเกส). Globo. 2021-06-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ 51.0 51.1 "Vaxzevria: EMA advises against use in people with history of capillary leak syndrome". European Medicines Agency (Press release). 2021-06-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 "Vaxzevria (previously COVID-19 Vaccine AstraZeneca)". European Medicines Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ 53.0 53.1 "COVID-19 vaccine safety update Vaxzevria" (PDF). European Medicines Agency (EMA). 2021-03-29. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ "COVID-19 vaccine safety update Vaxzevria" (PDF). European Medicines Agency (EMA). 2021-05-11. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-15.
- ↑ "Vaxzevria: COVID-19 vaccine safety update" (PDF). European Medicines Agency (EMA). 2021-07-14. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23.
- ↑ Arashkia, A; Jalilvand, S; Mohajel, N; Afchangi, A; Azadmanesh, K; Salehi-Vaziri, M; และคณะ (October 2020). "Severe acute respiratory syndrome-coronavirus-2 spike (S) protein based vaccine candidates: State of the art and future prospects". Reviews in Medical Virology. n/a (n/a): e2183. doi:10.1002/rmv.2183. PMC 7646037. PMID 33594794.
- ↑ Watanabe, Y; Mendonça, L; Allen, ER; Howe, A; Lee, M; Allen, JD; และคณะ (January 2021). "Native-like SARS-CoV-2 spike glycoprotein expressed by ChAdOx1 nCoV-19/AZD1222 vaccine". bioRxiv: 2021.01.15.426463. doi:10.1101/2021.01.15.426463. PMC 7836103. PMID 33501433.
- ↑ Kremer, Eric J.; Dicks, Matthew D. J.; Spencer, Alexandra J.; Edwards, Nick J.; Wadell, Göran; Bojang, Kalifa; Gilbert, Sarah C.; Hill, Adrian V. S.; Cottingham, Matthew G. (2012). "A Novel Chimpanzee Adenovirus Vector with Low Human Seroprevalence: Improved Systems for Vector Derivation and Comparative Immunogenicity". PLoS ONE. 7 (7): e40385. doi:10.1371/journal.pone.0040385. ISSN 1932-6203.
- ↑ Wang, H; Yang, P; Liu, K; Guo, F; Zhang, Y; Zhang, G; Jiang, C (February 2008). "SARS coronavirus entry into host cells through a novel clathrin- and caveolae-independent endocytic pathway". Cell Research. 18 (2): 290–301. doi:10.1038/cr.2008.15. PMC 7091891. PMID 18227861.
- ↑ Belluz, Julia (2020-11-23). "Why the AstraZeneca-Oxford Covid-19 vaccine is different". Vox (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Stevis-Gridneff, M; Sanger-Katz, M; Weiland, N (2020-12-18). "A European Official Reveals a Secret: The U.S. Is Paying More for Coronavirus Vaccines". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ "European vaccine prices revealed in Belgian Twitter blunder". The Brussels Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-18.
- ↑ 63.0 63.1 63.2 "Where is the Oxford-AstraZeneca vaccine made?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ "Delivering COVID-19 vaccine part 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ "Firm Says Vaccine Production Has Started, But Won't Let Media See It". KHAOSOD ENGLISH. 2021-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ "Increase in vaccine manufacturing capacity and supply for COVID-19 vaccines from AstraZeneca, BioNTech/Pfizer and Moderna". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
- ↑ "The Backstory: Vaccitech and its role in co-inventing the Oxford COVID-19 vaccine". Oxford Sciences Innovation. 2020-11-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ 68.0 68.1 "Oxford team to begin novel coronavirus vaccine research". University of Oxford. 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
- ↑ "COVID-19 Oxford Vaccine Trial". COVID-19 Oxford Vaccine Trial. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ "Oxford team to begin novel coronavirus vaccine research | University of Oxford". www.ox.ac.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-02.
- ↑ "Covid Vaccine Front-Runner Is Months Ahead of Her Competition". Bloomberg Businessweek. 2020-07-15.
- ↑ "Bill Gates, the Virus and the Quest to Vaccinate the World". The New York Times. 2020-11-23.
- ↑ "They Pledged to Donate Rights to Their COVID Vaccine, Then Sold Them to Pharma". Kaiser Health News. 2020-08-25.
- ↑ Woo, Jenny Strasburg and Stu (2020-10-21). "Oxford Developed Covid Vaccine, Then Scholars Clashed Over Money" – โดยทาง www.wsj.com.
- ↑ "Oxford Developed Covid Vaccine, Then Scholars Clashed Over Money". MSN.
- ↑ Keown, C. "U.S. gives AstraZeneca $1.2 billion to fund Oxford University coronavirus vaccine — America would get 300 million doses beginning in October". MarketWatch. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ Coleman, Justine (2020-06-10). "Final testing stage for potential coronavirus vaccine set to begin in July". TheHill (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
- ↑ "AstraZeneca takes next steps towards broad and equitable access to Oxford University's COVID-19 vaccine". www.astrazeneca.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ "Oxford University's COVID-19 vaccine: next steps towards broad and equitable global access". University of Oxford. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ "AZN, IQV Team Up To Accelerate COVID-19 Vaccine Work, RIGL's ITP Drug Repurposed, IMV On Watch". RTTNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ "Phase 3 Clinical Testing in the US of AstraZeneca COVID-19 Vaccine Candidate Begins". National Institutes of Health (NIH) (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
- ↑ "AstraZeneca Covid-19 vaccine study is put on hold". STAT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-08. สืบค้นเมื่อ 2020-09-10.
- ↑ "AstraZeneca Covid-19 vaccine study is put on hold". 2020-09-08.
- ↑ Wu, Katherine J.; Thomas, Katie (2020-09-08). "AstraZeneca Pauses Vaccine Trial for Safety Review". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-09-10.
- ↑ Loftus, Peter (2020-09-13). "AstraZeneca Covid-19 Vaccine Trials Resume in U.K." Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
- ↑ Grady, Denise; Wu, Katherine J.; LaFraniere, Sharon (2020-09-19). "AstraZeneca, Under Fire for Vaccine Safety, Releases Trial Blueprints". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ "AstraZeneca resumes vaccine trial in talks with US". Japan Today. 2020-10-03.
- ↑ "FDA authorises restart of the COVID-19 AZD1222 vaccine US Phase III trial". www.astrazeneca.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
- ↑ "U.S. health secretary says AstraZeneca trial in United States remains on hold: CNBC". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-24.
- ↑ "AZD1222 vaccine met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19". www.astrazeneca.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
- ↑ Callaway, E (2020-11-23). "Why Oxford's positive COVID vaccine results are puzzling scientists". Nature (ภาษาอังกฤษ). 588 (7836): 16–18. doi:10.1038/d41586-020-03326-w. PMID 33230278. S2CID 227156970.
- ↑ "Oxford/AstraZeneca Covid vaccine 'dose error' explained". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
- ↑ Robbins, Rebecca; Mueller, Benjamin (2020-11-25). "After Admitting Mistake, AstraZeneca Faces Difficult Questions About Its Vaccine". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
- ↑ Boseley, Sarah (2020-11-26). "Oxford/AstraZeneca vaccine to undergo new global trial". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
- ↑ 95.0 95.1 Voysey, M; Clemens, SA; Madhi, SA; Weckx, LY; Folegatti, PM; Aley, PK; และคณะ (January 2021). "Safety and efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine (AZD1222) against SARS-CoV-2: an interim analysis of four randomised controlled trials in Brazil, South Africa, and the UK". Lancet. 397 (10269): 99–111. doi:10.1016/S0140-6736(20)32661-1. PMC 7723445. PMID 33306989.
- ↑ "AZD1222 US Phase III trial met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19 at interim analysis". www.astrazeneca.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ Robbins, R; Kaplan, S (2021-03-22). "AstraZeneca Vaccine Trial Results Are Questioned by U.S. Health Officials". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ "NIAID Statement on AstraZeneca Vaccine". National Institutes of Health (NIH). 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ "AstraZeneca may have used 'outdated information' on vaccine". Stat. 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ "Mishaps, miscommunications overshadow AstraZeneca's Covid vaccine". Stat. 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ Herper, M (2021-03-25). "New AstraZeneca analysis confirms efficacy of its Covid-19 vaccine". Stat. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ Smout, A (2021-06-28). "Oxford COVID vaccine produces strong immune response from booster shot". Reuters. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ Vasileiou, E; Simpson, CR; Shi, T; Kerr, S; Agrawal, U; Akbari, A; และคณะ (April 2021). "Interim findings from first-dose mass COVID-19 vaccination roll-out and COVID-19 hospital admissions in Scotland: a national prospective cohort study". Lancet. 397 (10285): 1646–1657. doi:10.1016/S0140-6736(21)00677-2. PMC 8064669. PMID 33901420.
- ↑ "University of Oxford to study nasal administration of COVID-19 vaccine". University of Oxford - Wikipedia. 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "A Study of Intranasal ChAdOx1 nCOV-19". clinicaltrials.gov. United States National Library of Medicine. 2021-03-25. NCT04816019. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process". World Health Organization (WHO).
- ↑ "Government asks regulator to approve supply of Oxford/AstraZeneca vaccine". Government of the United Kingdom. 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
- ↑ "Oxford University/AstraZeneca vaccine authorised by UK medicines regulator". Government of the United Kingdom. 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
- ↑ "EMA receives application for conditional marketing authorisation of COVID-19 Vaccine AstraZeneca". European Medicines Agency (EMA). 2021-01-12. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12.
- ↑ "COVID-19 Vaccine AstraZeneca". Union Register of medicinal products. สืบค้นเมื่อ 2021-02-18.
- ↑ "Everything You Need to Know About the Oxford-AstraZeneca Vaccine". 2021-01-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ 112.0 112.1 "Denmark says it's permanently stopping use of the AstraZeneca vaccine". The New York Times. 2021-04-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30.
- ↑ 113.0 113.1 "Review: What is the current status of COVID-19 Vaccine development & approval?". Factly. 2021-05-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ "Slovakia suspends use of AstraZeneca COVID-19 vaccine as a recipient dies". Reuters. 2021-05-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28.
- ↑ "Japan issues final approval for Moderna and AstraZeneca vaccines". The Japan Times. 2021-05-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ "120m AstraZeneca shots caught in Japan's regulatory limbo". Nikkei Asia. 2021-05-22.
- ↑ "AstraZeneca COVID Vaccine Tied to Rare Cases of Low Blood Platelets". US News. 2021-06-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-10.
- ↑ "Latest - Oxford Covid-19 vaccine trial results - Wits University". wits.ac.za. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
- ↑ "South Africa halts AstraZeneca vaccinations after data shows little protection against mutation". CNBC. 2021-02-07. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
- ↑ 120.0 120.1 "Covid: Boris Johnson 'very confident' in vaccines being used in UK". BBC News. 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ 121.0 121.1 "South Africa sells AstraZeneca COVID-19 vaccines to other African countries". Reuters. 2021-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ 122.0 122.1 122.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: PRAC preliminary view suggests no specific issue with batch used in Austria | European Medicines Agency".
- ↑ 123.0 123.1 "AIFA imposes ban of use of AstraZeneca batch. Investigations in progress in coordination with EMA". aifa.gov.it. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ 124.0 124.1 124.2 Noack, Rik (2021-03-11). "Denmark and Norway suspend AstraZeneca covid vaccine over blood clot concerns, even as European regulator maintains it is safe". The Washington Post.
- ↑ Gascón Barberá, Marcel (2021-03-12). "Bulgaria, Romania Order Halt to AstraZeneca Vaccines". BalkanInsight.com. Bucharest. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- ↑ Griffin, Caitlín (2021-03-14). "AstraZeneca vaccinations suspended in Ireland from this morning". Irish Examiner. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- ↑ Keane, Sarah (2021-03-15). "Breaking News: Spain Suspends ALL AstraZeneca Vaccines". Euro Weekly News Spain.
- ↑ "Major European nations suspend use of AstraZeneca vaccine". AP NEWS. 2021-03-15.
- ↑ "Covid-19: Netherlands suspends use of AstraZeneca vaccine". BBC News. 2021-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "Slovenija zaustavlja cepljenje s cepivom AstraZeneca" [Slovenia stops vaccination with AstraZeneca]. RTVSLO.si (ภาษาสโลวีเนีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "AstraZeneca COVID-19 vaccine: review of very rare cases unusual blood clots continues". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ "Netherlands pauses AstraZeneca vaccine rollout for people under 60". The Independent. 2021-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ 133.0 133.1 "FHIs anbefaling om Astra Zeneca". Folkehelseinstituttet (ภาษานอร์เวย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ Olsson, Svein Vestrum (2021-04-15). "Regjeringen utsetter AstraZeneca-avgjørelse". NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ "Disagreement halts decision on vaccine". www.newsinenglish.no. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ Krantz, Andreas (2021-05-10). "Ekspertutvalgets dom over vaksinene fra AstraZeneca og Janssen". NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ Thommessen, Julia Kirsebom (2021-05-12). "Regjeringen vaksinerer de yngste tidligere". NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ omsorgsdepartementet, Helse-og (2021-05-12). "AstraZeneca-vaksinen tas ut av koronavaksinasjons-programmet". Regjeringen.no (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ 139.0 139.1 "Germany restricts use of AstraZeneca vaccine to over 60s in most cases". Deutsche Welle. 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ 140.0 140.1 140.2 "AstraZeneca vaccine: Denmark stops rollout completely". BBC News. 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑
"NACI to recommend halting AstraZeneca vaccine for those under 55: source". CTV News. 2021-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"P.E.I. suspends use of AstraZeneca vaccine for those younger than 55". CTV News Atlantic. 2021-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
Miller, Adam (2021-03-29). "Why Canada is suspending use of AstraZeneca vaccine in people under 55". CBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"Alberta confirms 1st case of rare blood clot after AstraZeneca vaccine". CBC News. 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
Franklin, Michael (2021-04-17). "Alberta doctors find 2nd case of blood clot linked to AstraZeneca vaccine in Canada". CTV News Calgary (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "N.B. reports first case of blood-clotting from AstraZeneca vaccine; no new cases of COVID-19". Atlantic (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "B.C., Alberta, Manitoba and Ontario lower age limits for AstraZeneca COVID-19 vaccine". The Globe & Mail. 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑
"The AstraZeneca vaccine is now available to Quebecers age 45 and up". CTV News Montreal (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"Sask. lowers AstraZeneca age to 40; includes teachers, correctional officers in COVID-19 vaccine priority". CTV News Regina (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Health Canada provides update on safety review of AstraZeneca and COVISHIELD COVID-19 vaccines". Health Canada. 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Aiello, Rachel (2021-04-23). "Canadians aged 30 and older can be offered AstraZeneca vaccine, national vaccine panel says". CTV News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
Aiello, Rachel (2021-05-12). "PM Trudeau says he plans to take second AstraZeneca shot, if it's available". CTV News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
Thompson, Nicole (2021-05-12). "More provinces are limiting the use of the AstraZeneca vaccine" (ภาษาอังกฤษ). Canadian Press. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"Ontario will no longer give AstraZeneca COVID-19 vaccine as 1st dose due to blood clot risk". CBC (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Media, Kompas Cyber (2021-03-15). "Menkes: RI Tunda Penggunaan Vaksin Covid-19 AstraZeneca" [Minister of Health: RI Delays Use of AstraZeneca Covid-19 Vaccine]. KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "Indonesia to resume use of AstraZeneca coronavirus vaccine". Reuters. 2021-03-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ "Australia halts AstraZeneca vaccine for most people under 50". ABC News. 2021-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ "ATAGI statement on AstraZeneca vaccine in response to new vaccine safety concerns". Australian Government, Department of Health. 2021-04-08.
- ↑ Tan, Vincent (2021-04-28). "AstraZeneca removed from Malaysia's mainstream COVID-19 immunisation programme due to public concerns: Khairy". Channel News Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ Timbuong, Jo (2021-05-02). "All 268,800 AstraZeneca vaccination slots taken up in three and a half hours". The Star. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ COVID-19 Immunisation Action Body (CITF) (2021-05-26). "AstraZeneca 2.0 COVID-19 Vaccine Appointment Booking on May 26, 2021" (PDF). The Special Committee for Ensuring Access to COVID-19 Vaccine Supply (JKJAV). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-27.
- ↑ 162.0 162.1 162.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: PRAC investigating cases of thromboembolic events - vaccine's benefits currently still outweigh risks - Update". European Medicines Agency (Press release). 2021-03-11.
- ↑ "WHO backs AstraZeneca COVID vaccine amid clotting concerns; green lights Johnson & Johnson shots". UN News. 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ 164.0 164.1 "Update on the safety of COVID-19 Vaccine AstraZeneca". www.astrazeneca.com.
- ↑ "MHRA response to the precautionary suspensions of COVID-19 Vaccine AstraZeneca". MHRA. 2021-03-15.
- ↑ 166.0 166.1 "Paul-Ehrlich-Institut - News - The Paul-Ehrlich-Institut informs - Temporary Suspension of Vaccination with COVID-19 Vaccine AstraZeneca". www.pei.de. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "Paul-Ehrlich-Institut - Homepage - FAQ - Temporary suspension of COVID-19 vaccine AstraZeneca (PDF version)" (PDF). www.pei.de. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
- ↑ "WHO statement on AstraZeneca COVID-19 vaccine safety signals". World Health Organization (WHO). 2021-03-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
- ↑ 169.0 169.1 169.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: benefits still outweigh the risks despite possible link to rare blood clots with low blood platelets". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
- ↑ "COVID-19 Vaccine AstraZeneca - Update on ongoing evaluation of blood clot cases". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: Risk of thrombocytopenia and coagulation disorders". European Medicines Agency (EMA). 2021-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ Mahase, Elisabeth (2021-03-19). "Covid-19: AstraZeneca vaccine is not linked to increased risk of blood clots, finds European Medicine Agency". BMJ. 372: n774. doi:10.1136/bmj.n774. ISSN 1756-1833. PMID 33741638. S2CID 232271255.
- ↑ Picheta, R (2021-03-18). "EU regulator declares AstraZeneca vaccine safe, but experts fear damage has been done". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "EU Resets Vaccine Drive After Chaos That May Undermine Trust". Bloomberg.com. 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ "AstraZeneca: France, UK prime ministers receive vaccine". Deutsche Welle. 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
- ↑ "Vaxzevria (previously COVID-19 Vaccine AstraZeneca): link between the vaccine and occurrence of thrombosis in combination with thrombocytopenia". European Medicines Agency (EMA). 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Emary, KR; Golubchik, T; Aley, PK; Ariani, CV; Angus, B; Bibi, S; และคณะ (April 2021). "Efficacy of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine against SARS-CoV-2 variant of concern 202012/01 (B.1.1.7): an exploratory analysis of a randomised controlled trial". Lancet. 397 (10282): 1351–1362. doi:10.1016/S0140-6736(21)00628-0. PMC 8009612. PMID 33798499.
- ↑ Laguipo, AB (2021-03-31). "Oxford-AstraZeneca vaccine effective against B.1.1.7 SARS-CoV-2 variant". News Medical. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ Wise, J (February 2021). "Covid-19: The E484K mutation and the risks it poses". BMJ. 372: n359. doi:10.1136/bmj.n359. PMID 33547053.
- ↑ Ellyatt, H (2021-02-08). "AstraZeneca races to adapt Covid vaccine as South Africa suspends rollout". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
- ↑ Triggle, N (2021-02-08). "Covid: Are fears over Oxford-AstraZeneca jab justified?". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ "Study in Adults to Determine the Safety and Immunogenicity of AZD1222, a Non-replicating ChAdOx1 Vector Vaccine, Given in Combination With rAd26-S, Recombinant Adenovirus Type 26 Component of Gam-COVID-Vac Vaccine, for the Prevention of COVID-19". ClinicalTrials.gov. United States National Library of Medicine. 2020-12-29. NCT04686773. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
- ↑ "Angela Merkel receives Moderna dose after first AstraZeneca shot". Al Jazeera. 2021-06-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ Ledford, H (2021-02-18). "Could mixing COVID vaccines boost immune response?". Nature. 590 (7846): 375–376. Bibcode:2021Natur.590..375L. doi:10.1038/d41586-021-00315-5. ISSN 0028-0836. PMID 33547431. S2CID 231946137. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ Sample, I; Grover, N (2021-06-28). "Mixing Covid vaccines offers stong immune protection". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ 186.0 186.1 186.2 Wise, J (2021-04-14). "Covid-19: How AstraZeneca lost the vaccine PR war". British Medical Journal. 373: n921. doi:10.1136/bmj.n921. PMID 33853827. S2CID 233224029.
- ↑ Jack, S (2021-03-30). "AstraZeneca vaccine - was it really worth it?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 9 April 2021". World Health Organization (WHO).
- ↑ 189.0 189.1 Baraniuk, Chris (2021-02-18). "Covid-19: How the UK vaccine rollout delivered success, so far". BMJ. 372: n421. doi:10.1136/bmj.n421. ISSN 1756-1833. PMID 33602672.
- ↑ 190.0 190.1 "AstraZeneca signed up to deliver U.K. shots first. Now it aims to supply COVID-19 vaccine worldwide: report". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ 191.0 191.1 Kirkpatrick, David D. (2020-05-21). "$1.2 Billion From U.S. to Drugmaker to Pursue Coronavirus Vaccine". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ 192.0 192.1 So AD, Woo J (December 2020). "Reserving coronavirus disease 2019 vaccines for global access: cross sectional analysis". BMJ. 371: m4750. doi:10.1136/bmj.m4750. PMC 7735431. PMID 33323376. cited "Agreements with CEPI and Gavi and the Serum Institute of India will bring vaccine to low and middle-income countries and beyond" (Press release). AstraZeneca. 4 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ So & Woo (2020), p. 3 cited "New collaboration makes further 100 million doses of COVID-19 vaccine available to low- and middle- income countries" (Press release). Gavi, the Vaccine Alliance. 2020-09-29. [ลิงก์เสีย]
- ↑ "Egypt signs deal to receive Oxford University's COVID-19 vaccine". EgyptToday. 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ "AstraZeneca to supply Japan with 120m COVID-19 vaccine doses". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ "AstraZeneca Covid-19 vaccine deal signed by Australia". www.pharmaceutical-technology.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
- ↑ "Covid-19: France, Italy, Germany and Netherlands sign vaccine deal for Europe". France 24. 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ "AstraZeneca agrees to supply Europe with 400 mil doses of COVID-19 vaccine". Japan Today. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ Calatayud, A. "AstraZeneca to supply Europe with Covid-19 vaccine". MarketWatch. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑
"Coronavirus: the Commission signs first contract with AstraZeneca". European Commission. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "With no successful vaccine candidates yet, Canada signs deal to secure 20M more COVID-19 vaccine doses". CBC News. 2020-09-25.
- ↑ Health Canada (2020-10-02). "Health Canada begins first authorization review of a COVID-19 vaccine submission". gcnws. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30.
- ↑ "Swiss sign next vaccine agreement with AstraZeneca". SWI swissinfo.ch. สืบค้นเมื่อ 2020-10-16.
- ↑ "COVID-19 vaccine: Swiss federal government signs agreement with AstraZeneca". admin.ch. สืบค้นเมื่อ 2020-10-16.
- ↑ 205.0 205.1 "Dhaka to have 330 vaccination points". The Daily Star. สืบค้นเมื่อ 2021-01-25.
- ↑ "เรื่องน่ารู้ของวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยสั่งซื้อ" [COVID-19: Progress of the Thai Vaccine Purchased from AstraZeneca]. BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ "เปิดจม.ลับ 'แอสตร้า' อ้าง สธ.ไทยเคยแจ้งต้องการแค่เดือนละ3 ล.โดส เพิ่มให้เกือบ 2 เท่าแล้ว". สำนักข่าวอิศรา. 2021-07-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-18.
- ↑ 208.0 208.1 "ครม.อนุมัติ 6,387 ล้านบาท ซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 35 ล้านโดส". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-03-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ 209.0 209.1 "Coronavirus (Covid-19) Cabinet approves budget of over 6.3 billion baht for 35 million more vaccine doses". Thaiger. 2021-03-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ 210.0 210.1 "Philippines, AstraZeneca Sign Deal for 2.6 Million Doses". Bloomberg. 2020-11-27.
- ↑ 211.0 211.1 "Korea signs agreement with AstraZeneca for COVID vaccine". The Korea Times. 2020-11-30.
- ↑ 212.0 212.1 Felix, J (2021-01-07). "SA will get 1 million doses of Covid-19 vaccine from India this month". News24.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
- ↑ "AstraZeneca to begin making vaccine". BBC News Online. 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01.
- ↑
"Mystery of UK's vaccine contract with AstraZeneca revealed".
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Roland, D (2020-05-21). "U.S. to Invest $1.2 Billion to Secure Potential Coronavirus Vaccine From AstraZeneca, Oxford University". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ "AstraZeneca set to start making 400 million COVID-19 vaccines for Latam early in 2021". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-17.
- ↑ "AstraZeneca, Emergent BioSolutions sign $87M deal to produce U.S. supply of COVID-19 vaccine". FiercePharma (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
- ↑ Rajagopal, Divya (2020-06-04). "AstraZeneca & Serum Institute of India sign licensing deal for 1 billion doses of Oxford vaccine". The Economic Times.
- ↑ Kumar, Mayank (2020-08-07). "Covid-19 vaccine: Serum Institute signs up for 100 million doses of vaccines for India, low and middle-income countries". The Financial Express.
- ↑ So & Woo (2020), p. 3 อ้างอิง "New collaboration makes further 100 million doses of COVID-19 vaccine available to low- and middle- income countries" (Press release). Gavi, the Vaccine Alliance. 2020-09-29.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Covid-19: France, Italy, Germany and Netherlands sign vaccine deal for Europe". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ "AstraZeneca agrees to supply Europe with 400 mil doses of COVID-19 vaccine". Japan Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ Calatayud, Adria. "AstraZeneca to supply Europe with Covid-19 vaccine". MarketWatch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ Peston, R (2021-01-26). "What is the dispute between the EU and AstraZeneca over Covid jabs?". ITV News. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ "Another Fine Mess — The EU's Vaccine (Mis) management". www.nationalreview.com. 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
- ↑ "How Europe fell behind on vaccines". Polico. 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
- ↑ 227.0 227.1 227.2 "COVID: Bangladesh faces vaccine shortage as India halts exports". Deutsche Welle. 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ 228.0 228.1 "Bangladesh's Covid-19 vaccine stock to run out in one month". Dhaka Tribune. 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "Russia has proposed manufacturing its Covid-19 vaccine in Bangladesh: Momen". The Daily Star. 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "Over 200 firms to ink deal for more COVID vaccines with gov't, AstraZeneca". INQUIRER.NET. 2021-01-11.
- ↑ Shin, Hyonhee (2020-12-03). "South Korea reaches deal to buy AstraZeneca's COVID-19 vaccine candidate: media". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ Cha, Sangmi (2021-01-04). "S.Korea reviews AstraZeneca COVID-19 vaccine, expands ban on gatherings". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ Kim, Yoo-chul (2020-11-30). "Korea signs agreement with AstraZeneca for COVID vaccine". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ "Myanmar will get doses for 15 million people this February". 7day.news. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-01-08.
- ↑ "South Africa gets rid of 1 million AstraZeneca vaccine doses, but why?". RFI. 2021-03-22. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ Agencies (2021-01-22). "Covid: Oxford/AstraZeneca vaccine delivery to EU to be cut by 60%". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-01-23.
- ↑ "Pascal Soriot: "There are a lot of emotions on vaccines in EU. But it's complicated"". la Repubblica (ภาษาอิตาลี). 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ Boseley, Sarah (2021-01-26). "Why has AstraZeneca reduced promised vaccine supply to EU and is UK affected?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ "EU tightens vaccine export rules, creates post-Brexit outcry". 2021-01-30.
- ↑ Aronoff, Kate (2021-03-03). "The Dark Side of Bill Gates's Climate Techno-Optimism". The New Republic.
- ↑ "The next Covid crisis: a vaccine apartheid endangering us all". The Bureau of Investigative Journalism (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-06. "Unlike AstraZeneca, the Serum Institute has not promised to keep to cost price, and is charging India $3 per dose, South Africa and Brazil $5, and Uganda $7, where the EU only paid AstraZeneca $2."
- ↑ "Ghana receives first historic shipment of COVID-19 vaccinations from international COVAX facility". UN News. 2021-02-24.
- ↑ "ครม.ไฟเขียวงบซื้อวัคซีนโควิดเพิ่ม35ล้านโดส ฉีดให้คนไทย66ล้าน". โพสต์ทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ "ข่าวดี ไทยเริ่มผลิตวัคซีน 'โควิด-19' ในประเทศ รอบที่ 2 แล้ว". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-01-03.
- ↑ "สธ. แจง AstraZeneca เป็นผู้คัดเลือก Siam Bioscience ผลิตวัคซีนราคาทุน ขายถูกสุดในตลาด โต้ธนาธร ไม่ได้แทงม้าตัวเดียว". THE STANDARD. 2021-01-19.
- ↑ "Thai Food and Drug registers COVID-19 vaccine developed by AstraZeneca". Pattaya Mail. 2021-01-23.
- ↑ "วัคซีนโควิด: แอสตร้าเซนเนก้าชี้แจงเหตุผลเลือกสยามไบโอไซเอนซ์เป็นผู้ผลิต". BBC News ไทย. 2021-01-26.
- ↑ "นายกฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ทรงให้ "สยามไบโอไซเอนซ์" รองรับวัคซีนโควิด-19". BBC ไทย. 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ "35m more shots to be bought in 2021". Bangkok Post. 2021-01-05.
- ↑ "AstraZeneca's COVID-19 vaccines made by Siam Bioscience pass quality testing in Europe and U.S." nnt.thainews. 2021-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "AstraZeneca's Covid-19 vaccines made by Thailand's Siam Bioscience pass quality testing in Europe and US". TheStar. 2021-05-09.
- ↑ "แอสตร้าเซนเนก้า ล็อตแรก 1.8 ล้านโดสออกจากโรงงานแล้ว". ch7.com. 2021-06-02.
- ↑ "AstraZeneca commits to 1.8 mln Thai vaccine doses amid supply anxiety". Reuters. 2021-06-02.
- ↑ Isranews-07-17 (2021) "โดยรวมแล้ว ทางแอสตร้าเซนเนก้า มีความมุ่งมั่นที่จะจัดสรรวัคซีนจำนวนหนึ่งในสามของวัคซีนที่ผลิตได้ให้แก่ประเทศไทย กล่าวคือ จากวัคซีนที่ผลิตทุก ๆ 3 ล้านโดส กระทรวงสาธารณสุขจะได้จัดสรรจำนวน 1 ล้านโดส และส่วนที่เหลืออีก 2 ส่วนที่ว่ามานั้น จะจัดสรรไปให้แก่ประชาชนในประเทศอื่น ๆ"
- ↑ Isranews-07-17 (2021) "การจัดสรรนี้นั้นเป็นไปตามความมุ่งมั่นร่วมกันของเราในการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันและยึดโยงกับส่วนแบ่งของประเทศไทยที่จะได้รับวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 61 ล้านโดสจากยอดการผลิตในสัญญารวมทั้งสิ้น 175 ล้านโดส"
- ↑ "'แอสตร้าฯ' รับมีปัญหาผลิตวัคซีนในไทย แม้ห่วงระบาด แต่ส่งได้ 5-6 ล้านโดส/เดือน สิ้น ก.ค.ส่งมอบ 11.3 ล้านโดส". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-07-24.
- ↑ "รวบสาวแอบอ้างฉีดแอสตร้าฯ คิดเงินเกือบ 2 หมื่น เอาน้ำเกลือมาฉีดให้ ปลอมยันใบนัด". sanook. 2021-07-24.
- ↑ "จับสาวแสบ หลอกฉีดแอสตร้าเซนเนก้าให้ชาวบ้าน ที่แท้เป็นแค่น้ำเกลือ". 7HD. 2021-07-24.
- ↑ "จับ 2 สาวแสบ หลอกฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เหยื่อหลงเชื่อจ่าย 1.9 หมื่น ที่แท้ฉีดน้ำเกลือ". kapook. 2021-07-24.
- ↑ "ตร.สอบสวน 11 User แฮกระบบเครือข่ายมือถือ เรียกค่าหัวคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่สถานีกลางบางซื่อ". จส 100. 2021-07-28.
- ↑ "สิงหาคม ปรับศูนย์ฉีดบางซื่อเฉพาะจองล่วงหน้า ผงะพบคนแฮ็คระบบคิวขายต่อ". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-07-28.
- ↑ "แจ้งจับโจร!! แฮกระบบค่าย "ทรู" ฉกโควตาวัคซีนขายสิทธิ เรียกเก็บหัวคิว 500-1,000 บาท". PPTVHD36. 2021-07-28.
- ↑ Kumar, H (2021-07-04). "Indian police investigate whether scammers gave thousands of shots of salt water instead of vaccine". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07.
- ↑ 264.0 264.1 Triggle, Nick; Roxby, Philippa (2021-02-03). "Covid: New Oxford vaccine 'ready by the autumn' to tackle mutations". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Medical Information site for COVID-19 Vaccine AstraZeneca". AstraZeneca.
- "Vaccines: contract between European Commission and AstraZeneca now published". European Commission.
- "How the Oxford-AstraZeneca Vaccine Works". The New York Times.
- Background document on the AZD1222 vaccine against COVID-19 developed by Oxford University and AstraZeneca. World Health Organization (WHO) (Report).
- Australian Public Assessment Report for ChAdOx1-S (PDF) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.