ข้ามไปเนื้อหา

แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน
มีส่วนร่วมในสงครามในประเทศอัฟกานิสถาน และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
บน: ธงของแนวร่วมอิสลาม
ล่าง: ดินแดนที่ควบคุมโดยพันธมิตรฝ่ายเหนือ (น้ำเงิน) กับตอลิบาน (แดง) ในอัฟกานิสถาน ค.ศ. 1996
ปฏิบัติการกันยายน ค.ศ. 1996 – ธันวาคม ค.ศ. 2001
แนวคิดต่อต้านตอลิบาน
ต่อต้านการก่อการร้าย
ต่อต้านอัลกออิดะฮ์
ผู้นำบูร์ฮานุดดีน รับบานี
อับดุลละฮ์ อับดุลละฮ์
อาหมัด ชาห์ มาซูด
อับดุล ราชิด โดสทุม
ฮาจี อับดุล เกาะดีร์
มูฮัมมัด โมฮักกิก
การิม คอลีลี
กองบัญชาการตาโลกอน ประเทศอัฟกานิสถาน (จนถึงกันยายน ค.ศ. 2000)[1]
เฟย์ซอบอด ประเทศอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2000–พฤษจิกายน ค.ศ. 2001)[2]
พื้นที่ปฏิบัติการประเทศอัฟกานิสถาน
พันธมิตร
ปรปักษ์

พันธมิตรฝ่ายเหนือ มีชื่อทางการว่า แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน (ดารี: جبهه متحد اسلامی ملی برای نجات افغانستان Jabha-yi Muttahid-i Islāmi-yi Millī barāyi Nijāt-i Afghānistān) เป็นกลุ่มพันธมิตรทางทหารที่ดำเนินการในช่วงปลาย ค.ศ. 1996 ถึง 2001[4] หลังกลุ่มตอลิบาน (เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน) ยึดครองกรุงคาบูลในปี ค.ศ. 1996 เดิมพันธมิตรฝ่ายเหนือประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญของรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะบูร์ฮานุดดีน รับบานี ประธานาธิบดี และอาหมัด ชาห์ มาซูด อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม[5] กลุ่มมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวทาจิกในช่วงแรก ก่อนที่ในปี ค.ศ. 2000 จะมีผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเข้าร่วม ซึ่งรวมถึงการิม คอลีลี, อับดุล ราชิด โดสทุม, อับดุลละฮ์ อับดุลละฮ์, มุฮัมมัด โมฮักกิก, อับดุล กอดีร์, ออซิฟ โมฮ์แซนี, อัมรุลลอฮ์ ศอเลฮ์ และอื่น ๆ[6]

พันธมิตรฝ่ายเหนือได้สู้รบกับรัฐบาลตอลิบาน[4] โดยได้รับการสนับสนุนจากอินเดีย, อิหร่าน, รัสเซีย, ทาจิกิสถาน, อิสราเอล, เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐ และอุซเบกิสถาน[7] ในขณะที่ฝ่ายตอลิบานได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและหน่วยข่าวกรองระหว่างราชการของปากีสถาน[3] ในปี ค.ศ. 2001 พันธมิตรฝ่ายเหนือควบคุมพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของประเทศ บริเวณทิศเหนือ–ตะวันออกและมีฐานในจังหวัดบาดัคชาน ต่อมาเมื่อสหรัฐโจมตีอัฟกานิสถาน สหรัฐให้การสนับสนุนกองทัพพันธมิตรฝ่ายเหนือในสงครามต่อต้านตอลิบานเป็นเวลาสองเดือน ซึ่งฝ่ายพันธมิตรชนะในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001[8] หลังตอลิบานถูกขับออกจากอำนาจ พันธมิตรฝ่ายเหนือจึงสลายไปเป็นสมาชิกและพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลชั่วคราวอัฟกานิสถาน ซึ่งมีสมาชิกบางส่วนกลายเป็นรัฐมนตรีของแฮมิด คาร์ไซ

กลุ่ม

[แก้]

พันธมิตรฝ่ายเหนือประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ 6 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มญะมิอัต อิสลามี (Jamiat –Islami) ก่อตั้งโดยบูร์ฮานุดดีน รับบานี เมื่อ พ.ศ. 2516 เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวทาจิก กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เคยเป็นรัฐบาลมาก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 2537 แม้จะเสียอำนาจไป แต่สหประชาชาติยังให้การรับรองรัฐบาลของรับบานีว่าเป็นตัวแทนของอัฟกานิสถาน ตลอดยุคที่ตาลีบันครองอำนาจ
  • กลุ่มของนายพลมุฮัมมัด กาซิม ฟาฮีม เดิมเป็นกลุ่มของอาหมัด ชาห์ มาซูดที่แยกตัวออกมาจากกลุ่มของรับบานี หลังจากชาห์ มาซูดถูกสังหารด้วยระเบิดพลีชีพเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2544 นายพลฟาฮีมจึงขึ้นมาเป็นผู้นำแทน กลุ่มนี้เป็นหนึ่งในมุญาฮิดีนที่เคยทำสงครามขับไล่โซเวียต
  • กลุ่มจุมบิช อี มิลลี หรือขบวนการอิสลามแห่งชาติ มีฐานที่มั่นที่เมืองมาซารี ชารีฟ ผู้นำคือนายพลอับดุลรอซีด โดสตุม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534
  • พรรคชีอะห์ ฮาซารา หิซบี-วาห์ดัต เป็นกลุ่มมุสลิมชีอะห์เกิดจากกลุ่มเล็ก 8 กลุ่มรวมตัวกัน หัวหน้าพรรคคือ การิม คอลีล มีกำลังเข้มแข็งอยู่ในอัฟกานิสถานตอนกลางจนกระทั่งถูกตาลีบันขับออกไป
  • กลุ่มซูรออีนาซาร์ จัดตั้งโดย มุฮัมหมัด ซาบิอุลลอห์ ที่แยกตัวออกมาจากกลุ่มของชาห์ มาซูด มีอิทธิพลทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซาบิอุลลอห์เสียชีวิตไปเมื่อ พ.ศ. 2527 กลุ่มนี้ได้รับการสานต่อโดยชาห์ มาซูด เพื่อรวบรวมกำลังชาวอุซเบกต่อสู้กับตาลีบัน
  • กลุ่มของโมลวี มุฮัมหมัด ยูบิสคอลิส แตกออกมาจากพรรคหิซบีอิสลามีเมื่อ พ.ศ. 2522 มีฐานที่มั่นที่เมืองเปศวาร์ เป็นกลุ่มเคร่งศาสนา ต้องการปกครองประเทศด้วยกฎหมายอิสลาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Davis, Anthony. "Fateful Victory". Asia Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-09. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021 – โดยทาง CNN.
  2. "Military Assistance to the Afghan Opposition: Human Rights Watch Backgrounder October 2001". Human Rights Watch. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Coll, Steve (2004). Ghost Wars: The Secret History of the CIA, Afghanistan, and Bin Laden, from the Soviet Invasion to September 10, 2001. Penguin Group. pp. 289–297. ISBN 9781594200076.
  4. 4.0 4.1 "Northern Alliance". fas.org. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.
  5. "Who are the Northern Alliance?" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2001-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.
  6. "Who are the Northern Alliance?". BBC News. 13 November 2001. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012. The alliance is primarily comprised of three non-Pashtun ethnic groups – Tajiks, Uzbeks and the Hazaras – and in the past relied on a core of some 15,000 troops to defend its territories against the predominantly Pashtun Taleban.
  7. "Afghanistan's Northern Alliance". BBC News. 19 September 2001. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012. Until recently, the alliance's main backers were Iran, Russia and Tajikistan.
  8. "USATODAY.com - Taliban flees Kandahar". usatoday30.usatoday.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • จรัญ มะลูลีม. พันธมิตรฝ่ายเหนือ ใน อัฟกานิสถาน. กทม. โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2545