เสรี สุวรรณภานนท์
เสรี สุวรรณภานนท์ | |
---|---|
เสรีใน พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 (5 ปี 364 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 กรุงเทพมหานคร |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ประชาสันติ (2554–2555) |
เสรี สุวรรณภานนท์ (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 โดยเป็นประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เคยเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) เป็นอดีตประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เป็นอดีตประธานกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 – 2549 โดยเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (คนที่หนึ่ง) อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 (สสร.) และอดีตเลขาธิการสภาทนายความ (ประเทศไทย)
ประวัติ
เสรี สุวรรณภานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 จบการศึกษาจากโรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1, โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ปริญญาตรีและปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เนติบัณฑิตไทย วิทยาลัยตลาดทุน รุ่นที่ 5
การทำงาน
เสรี สุวรรณภานนท์ เริ่มทำงานเป็นทนายความ และเป็นหัวหน้าสำนักกฎหมายเสรี เคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสภาทนายความ พ.ศ. 2534 – 2540 และในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ต่อจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 และมีตำแหน่งเป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการอภิปรายในการประชุมวุฒิสภา ด้วยการจัดระบบการจำกัดเวลาอภิปรายให้สมาชิกแต่ละคน และได้ใช้แนวทางนี้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต่อมา สภาผู้แทนราษฎรก็ใช้แนวทางการจำกัดเวลาให้สมาชิกได้อภิปรายเช่นกัน รวมทั้ง เป็นผู้ริเริ่มการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการแต่ละคณะของวุฒิสภาให้มีความชัดเจน และต่อมา สภาผู้แทนราษฎรก็แก้ไขข้อบังคับให้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการแต่ละคณะให้มีความชัดเจนเช่นกันและได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคธรรมาธิปัตย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคประชาสันติ) โดยชักชวน ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นหัวหน้าพรรค[1] แต่ต่อมา ปุระชัย ได้ออกไปจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ทำให้เสรี สุวรรณภานนท์ ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาสันติแทน[2]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคประชาสันติ โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 33[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคในเวลาต่อมา[4]
รางวัล
- พ.ศ. 2542 รับโล่เกียรติคุณในฐานะอาสาสมัครดีเด่น ประเภทแก้ไขปัญหาสังคมของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2542 รับโล่เกียรติคุณ “คนดีของสังคม” จากสถานีวิทยุชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน
- พ.ศ. 2550 รับรางวัล “คนดีศรีรามฯ” จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลแห่งเกียรติยศของนักธุรกิจ “BOSS OF THE YEAR 2007” (ผู้บริหารดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2550)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[7]
อ้างอิง
- ↑ "เสรี สุวรรณภานนท์" เปิดตัวพรรคประชาสันติ เม.ย.นี้. เก็บถาวร 13 กันยายน 2012 ที่ archive.today จาก มติชน.
- ↑ "ประชาสันติ"เปิดตัวผู้สมัคร"เสรี สุวรรณภานนท์"เบอร์ 1. เก็บถาวร 9 กรกฎาคม 2012 ที่ archive.today จาก สยามรัฐ.
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง. เก็บถาวร 26 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาสันติ (จำนวน 7 ราย). เล่ม 129 ตอนที่ 43 ง หน้า 31. 3 พฤษภาคม 2555.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
แหล่งข้อมูลอื่น
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เก็บถาวร 17 สิงหาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พรรคประชาสันติ
- บุคคลจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ภ.