ข้ามไปเนื้อหา

วุฒิสภาไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13
ตรารัฐสภาไทย
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาไทย
ผู้บริหาร
มงคล สุระสัจจะ
ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม 2567
พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์
ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม 2567
บุญส่ง น้อยโสภณ
ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม 2567
โครงสร้าง
สมาชิก200
กลุ่มการเมือง
  อิสระ (200)
ระยะวาระ
5 ปี, เป็นได้วาระเดียว
การเลือกตั้ง
การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียงทางอ้อมด้วยการการเสนอชื่อตนเอง
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
9–26 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ที่ประชุม
ห้องประชุมพระจันทรา[1]
สัปปายะสภาสถาน
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ราชอาณาจักรไทย[2]
เว็บไซต์
เว็บไซต์วุฒิสภา

วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เป็นวุฒิสภาของราชอาณาจักรไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ วุฒิสภามีวาระคราวละ 5 ปี ใช้ห้องประชุมวุฒิสภา (ห้องประชุมพระจันทรา) สัปปายะสภาสถาน เป็นที่ประชุม

การได้มาซึ่งวุฒิสภาแบ่งตามยุค

[แก้]

การแต่งตั้ง

[แก้]

วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีกำหนดวาระคราวละ 6 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาโดยไม่มีการลงมติ และมีหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2540) ยังได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะอีกหลายประการ คือ การพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ

  1. การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
  2. ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  3. การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
  4. เลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ เป็นกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
  5. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด และเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
  6. ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  7. ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด รวมทั้งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้

บททั่วไป

[แก้]

มาตรา 107 วุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน มาตรา 109 อายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 5 ปี นับแต่วันประกาศผลการเลือก สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภานับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก

บทเฉพาะกาล

[แก้]

มาตรา 269 ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ถวายคำแนะนำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตรา 270 นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้วุฒิสภาตามมาตรา 269 มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุกสามเดือน

ลำดับชุดวุฒิสภา

[แก้]
ชุดที่ จำนวนสมาชิก ระยะการดำรงตำแหน่ง การสิ้นสุดสมาชิกสภาพ รัฐธรรมนูญ หมายเหตุ
(แต่งตั้ง/เลือกตั้ง/สรรหา)
1 80 24 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร
2 301 18 พฤศจิกายน 2490 – 29 พฤศจิกายน 2494 ยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
3 120 4 กรกฎาคม 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514 คณะปฏิวัติประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
4 100 26 มกราคม 2518 – 6 ตุลาคม 2519 ยุบสภาตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
5 225 22 เมษายน 2522 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ในวาระเริ่มแรกให้จับสลากออก 1 ใน 3 เมื่อครบ 2 ปีแรก และอีก 2 ปีถัดมาให้จับสลากออกกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่เหลือจากการถูกจับสลากออกคราวแรก
  • จับสลากออก 17 เมษายน 2524 และแต่งตั้งเพิ่มเติม 22 เมษายนของปีเดียวกัน
  • จับสลากออก 15 เมษายน 2526 และแต่งตั้งเพิ่มเติม 22 เมษายนของปีเดียวกัน
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2528 และแต่งตั้งเพิ่มเติมในวันเดียวกัน
  • แต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมตามจำนวน ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น 28 กรกฎาคม 2529
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2530
  • แต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมตามจำนวน ส.ส.ที่เพิ่มขึ้น 25 กรกฎาคม 2531
  • สมาชิกครบวาระ 6 ปี วันที่ 22 เมษายน 2532
6 270 22 มีนาคม 2535 – 22 มีนาคม 2539[3] ครบวาระ 4 ปี ตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
7 260 22 มีนาคม 2539 – 21 มีนาคม 2543 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2535 (พ.ศ. 2538)
8 200 22 มีนาคม 2543 – 21 มีนาคม 2549 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เลือกตั้ง 2543 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มาจากการเลือกตั้ง สว. โดยตรง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543
9 180 19 เมษายน 2549 – 19 กันยายน 2549 รัฐประหาร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548
เลือกตั้ง 2549 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) รับรองผลไม่ครบ
10 150 2 มีนาคม 2551 – 1 มีนาคม 2557 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เลือกตั้ง 2551
สรรหา 2551
สรรหา 2554
11 150 30 มีนาคม 2557 - 11 เมษายน 2557 สมาชิกวุฒิสภาสรรหา 2554 ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554
เลือกตั้ง 2557
สรรหา 2554
11 77 12 เมษายน 2557 – 24 พฤษภาคม 2557 รัฐประหาร/ รัฐสภา วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบเลิก
(ประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2557)
เลือกตั้ง 2557
12 250 11 พฤษภาคม 2562 - 10 พฤษภาคม 2567

(รักษาการ 11 พฤษภาคม - 10 กรกฎาคม 2567)

ครบวาระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
13 200 10 กรกฎาคม 2567[4] - ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564
เลือก 2567

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดห้องประชุมสุริยัน-จันทรา พาชม "สัปปายะสภาสถาน" ก่อนใช้งานจริง ส.ค.นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-04.
  2. ประกาศรัฐสภา เรื่อง กำหนดสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการชั่วคราว
  3. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-04-30.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]